-
0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน
เหรียญมหาโภคทรัพย์ หลวงพ่อสุนทร วัดท่าพระเจริญพรต นครสวรรค์





ชื่อร้านค้า | จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญมหาโภคทรัพย์ หลวงพ่อสุนทร วัดท่าพระเจริญพรต นครสวรรค์ |
อายุพระเครื่อง | 14 ปี |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 08-6560-4037 |
อีเมล์ติดต่อ | Tayanrum@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ศ. - 31 พ.ค. 2562 - 20:47.05 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อ. - 16 เม.ย. 2567 - 09:03.46 |
รายละเอียด | |
---|---|
เหรียญมหาโภคทรัพย์ หลวงพ่อสุนทร วัดท่าพระเจริญพรต นครสวรรค์ เหรียญ รุ่นนี้ พิธีดีมาก... พื้นที่นิยมกันมากครับ... เหรียญ แจกทาน ของท่าน...ขลังมาก... เหรียญทองแดง หน้ากาก ประวัติ พระครูนิวาสธรรมสุนทร หลวงพ่อสุนทร ขนฺติโก โดยสังเขป ปัจจุบัน ท่านอายุ 75 ปี พรรษาที่ 55 เจ้าอาวาสวัดท่าพระเจริญพรต ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภอชุมตะบง จ.นครสวรรค์ ชาติภูมิ พระครูนิวาสธรรมสุนทร นามเดิม สุนทร นามสกุล ทัศนัย เกิดวัน ๒ ฯ ๖ ค่ำ ปีชวด วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ บิดาชื่อ เทียบ มารดาชื่อ ทัน บ้านเลขที่ ๕๗ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลบ้านมะเกลือ อำเภอเมือง ฯ จังหวัดนครสวรรค์ อุปสมบท เมื่อ วัน ๗ ฯ ๘ ค่ำ ปีวอก วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ณ พัทธสีมาวัดท่าพระเจริญพรต อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ โดยพระครูนิจิตธรรมประวุฒิ ( หลวงพ่อแขก ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังอดีตเจ้าอาวาสวัดเขาดินเหนือศิษย์สายหลวงพ่อเฮงวัดเขาดินใต้ ) วัดเขาดินเหนือ ตำบลเขาดิน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เป็นพระอุปัชฌาย์ การศึกษา พ.ศ. ๒๔๙๒ สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนวัดนิเวศวุฒาราม ตำบลบางม่วง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ๒๕๐๘ สอบได้ น.ธ. เอก สำนักเรียนวัดท่าพระเจริญพรต ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง ฯ จังหวัดนครสวรรค์ การศึกษาพิเศษได้รับการอบรมพระอภิธรรมจากมูลนิธิมหาธาตุวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับประสาทปริญญาบัตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน้าที่การงาน พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดท่าพระเจริญพรต พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าพระเจริญพรต พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียนบ้านมะเกลือ พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบบัญชีการเงินของวัดในเขตตำบล พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานหน่วยอบรมประชาชนตำบลบ้านมะเกลือ (อ.ป.ต. ) พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานรุ่น ในการอบรมสาธารณสุขขั้นมูลฐาน ณ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร ( เป็นประธานรุ่น ๔ ) พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระวิทยากรโครงการแผ่นดินธรรม-แผ่นดินทอง พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับอาราธนาจากกองทัพภาคที่ ๓ เข้าร่วมสัมมนาวิทยากร แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง โดยสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยอบรมที่สำนักงาน ก.พ. ร่วมพัฒนาหมู่บ้านกับสภา ตำบลบ้านมะเกลือโดยถือเอาวัดเป็นสำนักงานกลางของสภาตำบล เฉพาะกุฏิเจ้าอาวาสเป็นที่ประชุมประจำเดือนกำหนดวันที่ ๑๘ ของทุกๆ เดือน ประวัติวัดท่าพระเจริญพรต เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมเรียกว่า วัดบ้านมะเกลือ ตรงตามชื่อของหมู่บ้าน (บริเวณโดยรอบบ้านแต่เดิมเป็นดงต้นมะเกลือ) เริ่มสร้างวัดเมื่อ พ.ศ. ๑๙๔๓ ในรัชสมัยของ พระรามราชาธิราช (พ.ศ. ๑๙๓๘ - ๑๙๕๒) ซึ่งตรงกับ สมัยสุโขทัยตอนปลาย ติดต่อกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๕๓ มีประวัติเล่ากันมาว่า ชาวตำบลบ้านมะเกลือเคยได้จัดสถานที่ประทับถวาย และรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ครั้งทรงเสด็จมณฑลนครสวรรค์หัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้ทรงประราชทานนามวัดเขาดินใต้ไว้ว่า วัดพระหน่อธรณินทร์ใกล้วารินทร์คงคาราม และทรงพระราชทานตำแหน่งหม่อมหลวงให้แก่หญิงคนหนึ่งซึ่งเป็น บุตรตรีของขุนบรรจง หมู่บ้านตรงนั้นจึงเรียกกันว่า หมู่บ้านหม่อม ซึ่งตั้งอยู่ ณ หมู่ ๓ ตำบลบ้านมะเกลือ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาปี พุทธศักราช ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จประภาสต้นมายังมณฑลนครสวรรค์ ประชาชนชาวบ้านมะเกลือได้จัดตั้งพลับพลา รับเสด็จ (และภายหลังพระองค์ได้ทรงพระราชทานนามกำนันตำบลบ้านมะเกลือคนแรก เป็นขุนแสงมะเกลือคราม) ต่อจากนั้นได้เสด็จไปอำเภอเก้าเลี้ยว และเลยไปจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเสด็จกลับได้ทรงแวะที่วัดเขาดิน ทรงศรัทธาเลื่อมใสหลวงพ่อเฮง เจ้าอาวาส ต่อมาทรงพระราชทานสมณศักดิ์ให้เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูพิสิสสมถคุณ จากนั้นได้เสด็จไป บ้านบางพระหลวง ทรงพระราชทานทรัพย์ ๘๐ บาท ถวายเจ้าอาวาสวัดบางพระหลวง เพื่อบำรุงวัด (จากหนังสือเสด็จประพาสต้น) การสำรวจรอบอุโบสถ ได้พบเศษเครื่องถ้วย ชาม สมัยสุโขทัยหลายชิ้น หลักฐานทางโบราณคดี ประเภทอื่นที่ยังคงเหลือในปัจจุบัน คือ ลวดลายปูนปั้นที่ประดับที่อุโบสถ เป็นศิลปกรรมแบบอยุธยาตอนปลายตั้งแต่หลังรัชกาลของพระเจ้าปราสาททองเป็นต้นมา (ราวปี พ.ศ. ๒๑๗๒ - ๒๓๑๐) เป็นวัดป่ารกชัฏกลับมาเป็นวัดที่สมบูรณ์อีกครั้ง วัดท่าพระเจริญพรต ถูกทิ้งร้างจนบริเวณโดยรอบกลายเป็นป่ารกชัฏ จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๕ พระอธิการเทียน ธมฺมสุวณฺโณ อดีตเจ้าอาวาส ได้ปรับปรุงอาคารต่างๆ ได้แก่ อุโบสถและก่อสร้างมณฑปจำนวน ๓ หลัง จนสามารถตั้งเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎระเบียบของ กรมการศาสนาได้อีกครั้งหนึ่ง และมีเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งสืบกันมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันวัดท่าพระเจริญพรต เป็นวัดประจำตำบลบ้านมะเกลือ และเป็นศูนย์กลางการศึกษาของพระภิกษุ สามเณร ในจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียง โดยเปิดเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี แผนกสามัญ ซึ่งเริ่มดำเนินการเรียนการสอนมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ และได้รับยกย่องเป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรมดีเด่น จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ มีพระภิกษุและสามเณรสอบได้เป็นจำนวนมาก และมีสอบได้ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค ในนามสำนักศาสนศึกษาวัดท่าพระเจริญพรต มีศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน เปิดโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ที่จัดขึ้นโดยวัด ทั้งยังเป็นสถานที่ศึกษาอบรมวิปัสสนากรรมฐาน เป็นสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๔ ประจำจังหวัดอีกด้วย ปัจจุบันวัดท่าพระเจริญพรต มีพระสงฆ์จำพรรษาปีละประมาณ ๕๕ รูป และสามเณร ๕๐ รูป (ประมาณปีละ ๙๐ – ๑๐๐ รูป) หลวงพ่อโต พระประธานในอุโบสถวัดท่าพระเจริญพรต ปูชนียวัตถุได้แก่พระประธานในพระอุโบสถเป็น พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก เจดีย์ด้านหน้าอุโบสถเป็นเจดีย์ย่อมมุมก่ออิฐถือปูนขนาดย่อมองค์หนึ่ง ใกล้กันอีกองค์หนึ่ง ซึ่งเล่าสืบกันมาว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงให้สร้าง ตั้งแต่ยังทรงครองหัวเมืองเหนือที่เมืองพิษณุโลก ตั้งอยู่ทางทิศใต้เยื้อง ๆ ด้านหน้าอุโบสถ และเจดีย์รายขนาดเล็กตั้งอยู่ด้านหน้าและด้านข้างมณฑปมี 9 องค์ ด้านหลังวัดด้านทิศตะวันออกเป็นสวนป่าสำหรับปฏิบัติธรรม และฌาปนสถาน ความเป็นมา วัดท่าพระเจริญพรต เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายเดิมเรียกวัดบ้านมะเกลือ ตรงตามชื่อหมู่บ้าน (เพราะบริเวณโดยรอบบ้านแต่เดิมเป็นดงต้นมะเกลือ) สร้างเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.1943 ในรัชสมัยพระรามราชาธิราช (พ.ศ. 1938 – 1952) ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย ติดต่อสมัยกรุงศรีอยุทธยาตอนต้น รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.1953 |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...










อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments