เหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอน ปี 2536-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540

เหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอน ปี 2536

เหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอน ปี 2536 - 1เหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอน ปี 2536 - 2เหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอน ปี 2536 - 3เหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอน ปี 2536 - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอน ปี 2536
อายุพระเครื่อง 32 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 31 ม.ค. 2562 - 20:44.32
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 28 มี.ค. 2563 - 13:13.56
รายละเอียด
เหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอน ปี 2536

หลัง พระพุทธเจ้าหลวง ร.5

เหรียญ สวย ผิวเดิม มีโค้ด..

....


ศักดิ์สิทธิมาก!"คาถา อิติปิโสเรือนเตี้ย"หลวงปู่เอี่ยม"ให้"เสด็จพ่อ ร.๕ "ไว้ขจัดอุปสรรค ตอนเสด็จประพาสยุโรป


Publish 2016-11-10 20:14:02

Facebook0TwitterGoogle+LineShare



เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ได้รับคำแนะนำจาก “พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์” ให้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เข้าถวายนมัสการ “หลวงปู่เอี่ยม” วัดโคนอน เพื่อขอรับคำพยากรณ์ก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น ภายหลังที่กำหนดการเสด็จวัดโคนอนได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นการส่วนพระองค์เรียบร้อยแล้ว ก็ได้ส่งหมายกำหนดการไปถวายแด่หลวงปู่เอี่ยมเป็นการภายใน เพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับเสด็จ ขบวนเสด็จประกอบด้วยเรือพายสี่แจวที่ทรงประทับ และขบวนเรือคุ้มกัน ควบคุมโดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ ได้เคลื่อนที่เข้าคลองลัดสู่วัดโคนอน ชาวบ้านละแวกนั้นไม่ได้ไหวตัวหรือเอะใจแต่อย่างใด เพราะเห็นเป็นขบวนเรือธรรมดา มิได้ประดับประดาธงทิวให้แปลกไปกว่าเรือลำอื่น ดูเหมือนกับเรือที่ขุนนางหรือเศรษฐีผู้มีทรัพย์ใช้กันทั่วไป และผู้ที่ขึ้นมาจากเรือสี่แจวต่างก็แต่งกายแบบธรรมดา มีหมวกสวมไว้บนศีรษะ ใบหน้าบ่งบอกถึงเป็นผู้มีบุญ หนวดบอกถึงผู้มีอำนาจ ดวงตาฉายแววแห่งความเมตตาปราณีตลอดเวลา เวลาเดินมีคนล้อมหน้าล้อมหลัง ทุกคนไม่ได้เฉลียวใจเลยว่า “บุรุษผู้ขึ้นมาจากเรือสี่แจวนั้น คือ เจ้าชีวิตแห่งกรุงสยาม พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า ผู้ทรงประกาศเลิกทาสโดยสิ้นเชิง”




พระปลัดเอี่ยมนั่งรออยู่บนอาสนะอันสมควรแก่ฐานานุรูป ภายในอุโบสถอันแคบแบบวัดราษฏร์ ในเขตอันไกลจากพระบรมมหาราชวัง กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ก้าวนำเสด็จเข้ามาภายใน พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าทรงจุดธูปเทียนบูชาสักการะพระประธาน กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วจึงเสด็จกลับมาถวายนมัสการ พระปลัดเอี่ยม ซึ่งกราบทูลให้ทรงประทับนั่งธรรมดาตามสบายพระองค์



“ที่รูปมาในวันนี้ (“รูป” เป็นคำที่พระมหากษัตริย์สมัยก่อนใช้แทนพระนามเมื่อมีพระราชดำรัสกับพระสงฆ์) เพื่อขอให้ท่านปลัดได้ช่วยตรวจดูเหตุการณ์ว่า การที่รูปจะเสด็จไปยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักในยุโรปนั้น จักเป็นอย่างไรบ้าง ด้วยหนทางไกลและอันตรายมีอยู่รอบด้าน”




“มหาบพิตร อาตมาจักตรวจสอบให้ อย่าได้ทรงมีพระหทัยกังวล ทั้งนี้ด้วยพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพแบบพระองค์นั้น มีบุญญาธิการ สามารถผ่านพ้นความทุกข์ได้อย่างมั่นคง”



พระปลัดเอี่ยมลุกจากที่นั่งไปคุกเข่าลงหน้าพระประธาน ก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ระลึกถึงองค์พระรัตนตรัย และหลวงปู่รอด พระอาจารย์ของท่านผู้มรณภาพไปแล้ว ขอบารมีในการจะเข้า “ฌาน” เพื่อดูอนาคตด้วย “อนาคตังสญาณ” จากนั้นก็กลับเข้ามาสู่ท่านั่งสมาธิตัวตรง เจริญอานาปานสติ แล้วเข้าสู่ฌานที่ ๔ ตามลำดับ จากนั้นเข้าสู่อนาคตังสญาณ โดยกำหนดจิตไว้มั่นเพื่อให้นิมิตเกิด



ในท่ามกลางความคะนองของท้องทะเล และคลื่นลม ตลอดจนวังวนของทะเล เรือพระที่นั่งกำลังอยู่ในปากแห่งวังวนนั้น น้ำในวังวนเชี่ยวกราก และส่งแรงดูดมหาศาล ภายใต้วังวนนั้นซากเรือใหญ่น้อยจมอยู่เป็นอันมาก พ้นจากทะเลมาสู่บก พลันภาพของกลุ่มคนที่นั่งกันอยู่เป็นชั้นๆ ส่งเสียงจ้อกแจัก ด้านล่างเป็นผืนหญ้า และมีผู้จูงม้าเข้ามาในที่นั้น ม้าตัวนั้นมีคนถือเชือกที่ล่ามขาทั้งสี่ คอยดึงไว้ไม่ให้พยศ ดวงตาของมันเหลือกโปน น้ำลายฟูมปาก ภาพของฝรั่งแต่งตัวด้วยเครื่องแบบประหลาด ผายมือให้พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าทรงเสด็จไปรับม้าเพื่อประทับ แล้วทุกอย่างก็ดับวูบหายไป ถึงวาระที่ออกจากญาณพอดี พระปลัดเอี่ยมลุกขึ้นเดินมานั่งบนอาสนะที่เดิม ก่อนจะกราบทูลความถวายว่า






“มหาบพิตร การเสด็จพระราชดำเนินสู่ยุโรปครั้งนี้ จะต้องประสบภัย ๒ ครั้ง ครั้งแรกในทะเลที่วังวน อาตมาจะถวายผ้ายันต์พิเศษและคาถากำกับ เมื่อเข้าที่คับขันขอให้ทรงเสด็จไปยืนที่หัวเรือ แล้วภาวนาคาถากำกับผ้ายันต์แล้วโบกผ้านั้น จะเกิดลมมหาวาตะพัดให้เรือหลุดจากการเข้าสู่วังวนได้



ภัยครั้งที่สองเกิดจากสัตว์จตุบาท (สี่เท้า) คืออัศดรชาติอันดุร้ายที่ฝ่ายตรงข้ามจะทดสอบพระบารมีของพระองค์ อาตมาจะถวายคาถาพิเศษสำหรับภาวนาเวลาถอนหญ้าให้อัศดรอันดุร้ายนั้นกิน จะคลายพยศและสามารถประทับบังคับให้ทำตามพระราชหฤทัยได้เหมือนม้าเชื่อง”



ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เล่าลือกันมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง ปู่ย่าตายายได้เล่าสืบทอดกันมา อันมีส่วนหนึ่งเกี่ยวพันกับพระบรมรูปทรงม้าที่ลานพระราชวังดุสิต




คาถาเสกหญ้าให้ม้ากินที่หลวงปู่เอี่ยมถวายนั้น คือ “คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย” หรือ “มงกุฎพระพุทธเจ้า” มีตัวคาถาว่า “อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ”



หลังจากได้ทรงมีพระราชดำรัสกับพระปลัดเอี่ยมพอสมควรแก่เวลาแล้ว ก็ทรงถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่พระปลัดเอี่ยม จากนั้นได้เสด็จทอดพระเนตรโดยรอบวัดโคนอน ซึ่งตอนนี้มีผู้จดจำพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าได้แม่นยำ ได้บอกกันออกไป ทำให้มีผู้มาหมอบเฝ้ารับเสด็จกันเป็นจำนวนพอสมควร ครั้นทรงสำราญพระอิริยาบถพอสมควรแล้ว ก็เสด็จกลับสู่พระบรมมหาราชวังเพื่อเตรียมพระองค์ไปทวีปยุโรปต่อไป…

------------------------------------------------

คาถา “มงกุฎพระพุทธเจ้า”หรือที่่รู้จักกันในชื่อ "คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย"

มีตัวคาถาว่า "อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ "



" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ

คำแปลคาถามงกุฏพระพุทธเจ้า

อิ ติปิโส วิเสเส อิ

แม้เพราะเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงวิเศษ

อิ เสเส พุทธะนาเม อิ

เพราะวิเศษ ควรนอบน้อมพระพุทธเจ้า

อิ เมนา พุทธะตังโส อิ

เพราะนอบน้อมพระพุทธเจ้า เราจะเข้าถึงพระองค์

อิ โสตัง พุทธะปิติ อิ

เพราะเราเข้าถึงพระองค์ ก็จะปิติในพระพุทธเจ้า



อุปเท่ห์ในการใช้พระคาถา

ภาวนาทุกวัน เสกน้ำล้างหน้าทุกวันกันโรคภัยไข้เจ็บคุณไสยทั้งมวล ถ้าจะให้มีตบะเดชะให้ภาวนาทุกวัน เกิดสง่าราศีเป็นที่เมตตาแก่คนทั้งหลาย ให้ภาวนาแล้วแผ่เมตตาให้คนทั้งปวง ใครคิดร้ายก็ต้องมีอันเป็นไป ถ้าปรารถนาสิ่งใด ให้ภาวนาคาถานี้ ๑๘ คาบ เป็นไปได้ดังใจนึก

ถ้าจะให้เป็นมหาจังงัง ให้ภาวนาคาถานี้ ๘ คาบเป็นมหาจังงังแล ถ้าจะให้เป็นมหาละลวยให้ภาวนา ๙ คาบ

ถ้าช้างม้าวัวควายสัตว์ที่ดุร้ายทั้งหลาย ให้เสกหญ้าเสกของให้มันกิน กลับใจอ่อนรักเราแล ถ้าภูตพรายมันเข้าอยู่คน เสกข้าวให้มันกินออกแล
ถ้าปรารถนาจะให้เสียงเพราะ ให้เสกสีผึ้งสีปากเสกหมากกินไป เทศนาสวดร้องเป็นที่พอใจคนทั้งหลาย ให้เสกแป้งผัดหน้า เสกมงกุฎรัดเกล้า เป็นสง่าราศีใครเห็นใครรักทุกคน

อนึ่งให้เอาใบลานหรือกระดาษว่าวมาลงคาถานี้ ทำเป็นมงคลเสกด้วยตัวเอง สารพัดกันศาสตราอาวุธทั้งหลาย เป็นวิเศษนัก

อนึ่งพระคาถานี้ใช้สำหรับภาวนาสักการะซึ่งพระบรมธาตุ พระพุทธปฏิมา พระเจดีย์สิ้นทั้งปวง แต่โบราณมากำหนดเอาพระคาถานี้ใช้อัญเชิญพระบรมธาตุเสด็จโดยปาฏิหาริย์



จินต์จุฑา สำนักข่าวทีนิวส์ เรียบเรียง

จาก http://www.lucky4u.org ,http://www.appgeji.com และ Jaruvat Chanposri



เพิ่มเพื่อน

เรียบเรียงโดย

จินต์จุฑา เจนสระคู

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top