เหรียญ ท้าวสักกะเทวราช ท้าวเวสสุวรรณ-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เครื่องรางของขลัง

เหรียญ ท้าวสักกะเทวราช ท้าวเวสสุวรรณ

เหรียญ ท้าวสักกะเทวราช ท้าวเวสสุวรรณ - 1เหรียญ ท้าวสักกะเทวราช ท้าวเวสสุวรรณ - 2เหรียญ ท้าวสักกะเทวราช ท้าวเวสสุวรรณ - 3เหรียญ ท้าวสักกะเทวราช ท้าวเวสสุวรรณ - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ ท้าวสักกะเทวราช ท้าวเวสสุวรรณ
อายุพระเครื่อง 18 ปี
หมวดพระ เครื่องรางของขลัง
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 27 ก.ย. 2561 - 21:01.33
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 15 ก.ย. 2567 - 12:28.15
รายละเอียด
ปิดท้าย...

ของดี ของขลัง รูปลักษณ์ที่ ที่ไม่ค่อยเห็นสำนักไหนสร้างกันครับ

เหรียญ ท้าวสักกะเทวราช เทวดาผู้ใหญ่ชั้นดาวดึงส์
ด้านหลัง ท้าวเวสสุวรรณ เทวดาผู้ปกครองจตุโลกบาลทั้งสี่ทิศ

เหรียญ ขนาดสูง 3.5 ซ.ม.

ผิ ว เ ดิ ม และ ส ว ย ม า ก ครับ...


มนุษย์รู้จักเทพเจ้าหรือเทวดามาตั้งแต่โบราณกาล ยาวนานเท่ากับการเกิดขึ้นของสังคมมนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์ ในทรรศนะของผู้เขียน มีความเห็นว่าเทพเจ้าหรือเทวดาในยุคแรก ๆ เกิดขึ้นมาจากความไม่มั่นคงทางอารมณ์ของมนุษย์ คือ ผสมผสานกันระหว่างความกลัว และความต้องการที่พึ่งทางใจในการดำเนินชีวิต ในยุคแรก ๆ ที่สภาพสังคมยังไม่ซับซ้อน สิ่งที่มนุษย์เผชิญหน้าเป็นสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวทั่วไป อันได้แก่ภัยธรรมชาติต่าง ๆ เมื่อมนุษย์ไม่สามารถควบคุมความเป็นไปของธรรมชาติได้ด้วยตนเอง จึงสร้างเกราะป้องกันภัย โดยใช้มโนภาพสร้างเทพเจ้าสายฟ้า เทพเจ้าลม เทพเจ้าฝน และเทพเจ้าอื่น ๆ ขึ้นมาเพื่อควบคุมธรรมชาติอันตนไม่สามารถควบคุมได้ และเพื่อใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ นานเข้าเรื่องราวของเทพเจ้าถูกเล่าขานปากต่อปาก กระทั่งถ่ายทอดผ่านวรรณกรรมสร้างเป็นตำนาน ทำให้เทพเจ้าเหล่านี้เป็นที่รู้จักและมีตัวตนมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากตำนานเทพเจ้ากรีก-โรมัน เทพเจ้าองค์แรก ๆ ล้วนเริ่มต้นมาจากเทพเจ้าผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น เทพเจ้าซูส หรือ จูปิเตอร์เป็นเทพปกครองสูงสุดเป็นเจ้าแห่งท้องฟ้า โพไซดอนเป็นเทพเจ้าแห่งท้องทะเล[๑] ต่อมาเมื่อมนุษย์พัฒนาขึ้น มีปฏิสัมพันธ์กันจนเกิดเป็นสังคม ก็เริ่มมีเทพีแห่งปัญญา เทพีแห่งความรัก และเทพเจ้า อื่น ๆ ตามมามากมาย เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความเชื่อ ความคิด และจิตใจ สอดคล้องกับแนวคิดของเฮเกล (George Hegel) นักปรัชญาจิตนิยม (Idealist) ชาวเยอรมัน ที่ว่า “พระเจ้าจะเป็นพระเจ้าก็โดยรู้จักตัวของพระองค์เอง การรู้ตัวพระองค์เองก็คือการสำนึกถึงพระองค์โดยมนุษย์ และนั่นก็คือ ความรู้ที่มนุษย์เรามีถึงพระเจ้านั่นเอง ความรู้นี้จะช่วยให้คนเราเข้าใจตัวเองในพระเจ้า”[๒] กล่าวแบบง่าย ๆ พระเจ้าก็คือจิตของมนุษย์นั่นเอง

กีรติ บุญเจือ กล่าวถึงมโนภาพของปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติว่า ศาสนาทุกศาสนาที่มีองค์การ เช่น ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู มองว่า “เรารู้เรื่องเหนือธรรมชาติโดยศาสดาเป็นผู้สอน และมีวิธีให้เราคิดจนเข้าใจได้ ศาสดาจะรู้มาได้โดยวิธีใดนั้น แล้วแต่องค์การทางศาสนาแต่ละองค์การจะแถลงไว้ เราปุถุชนธรรมดาต้องอาศัยเชื่อตามศาสดา อย่างน้อยก็ในตอนเริ่มต้นเข้าถึงศาสนา เพื่อจะได้รู้อย่างซาบซึ้งต่อไปด้วยตนเองในภายหลัง”[๓]

ปอล ทิลลิค นักปรัชญาชาวเยอรมันปฏิเสธพระเจ้าสมบูรณ์แบบ ที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยมโนคติ พระเจ้าของทิลลิคไม่ได้มีพลังพิเศษ เขาให้คำจำกัดความของพระเจ้าว่า “พระเจ้าดำรงอยู่ด้วยตนเองในฐานะที่เป็นความจริงสูงสุด”[๔]

พุทธทาสภิกขุ กล่าวในหนังสือภาษาคนภาษาธรรมว่า “พระเป็นเจ้าหรือพระเจ้าในภาษาคนหมายถึงเทวดาที่มีอำนาจในการสร้าง ในการบันดาล ในการเนรมิตต่างๆ แต่ในภาษาธรรม พระเป็นเจ้า หมายถึงอำนาจลึกลับที่ไม่ต้องเป็นตัวคน ไม่ต้องเป็นตัวเทวดา ไม่ต้องเป็นตัวอะไรทั้งหมด แต่เป็นนามธรรมเช่นกฎของธรรมชาติ”[๕]

ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามักกล่าวถึงเทพเจ้าหรือเทวดาไว้มากมาย ในบรรดาเทวดาที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดคือท้าวสักกะ เทวราชาประจำสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แต่เดิมพระอินทร์ หรือท้าวสักกเทวราช เป็นเทพที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท คนอินเดียคุ้นเคยกับเรื่องราวการต่อสู้ของพระอินทร์กับอสุระหรือพวกยักษ์ จากเทวาสุรสงคราม[๖] นอกจากนี้ศาสนาพราหมณ์ฮินดูโบราณ ยังนับถือพระอินทร์เป็นเทพเจ้าแรก กระทั่งปัจจุบันยังมีการบูชาพระอินทร์อยู่ในหมู่ผู้นับถือทั่วไป แต่พระอินทร์ในศาสนาพราหมณ์ถูกลดบทบาทลง และหันมายกย่องพระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะขึ้นเป็นใหญ่แทนอย่างไรก็ตามพระอินทร์ เป็นที่รู้จักกันดีในสังคมของอินเดียสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม โดยทรงนำพระอินทร์หรือท้าวสักกเทวราชเข้ามาในฐานะเป็นบุคคลาธิษฐาน ประกอบการแสดงธรรม จึงเป็นเสมือนกุญแจสำคัญเพื่อสื่อสารกับผู้คนในสมัยนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ หรือ ฮินดู ที่รู้จักกับพระอินทร์เป็นอย่างดี

ผู้เขียนเห็นว่า การทำความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่อยู่เหนือธรรมชาติ เป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์โดยอาศัยวิธีปฏิฐานนิยมในเชิงตรรกะ (Logical Possitivism) แต่สามารถทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งขึ้นได้ ด้วยการตีความในเชิงสัญลักษณ์ เช่นเดียวกับการทำความเข้าใจในการมีอยู่ของพระอินทร์หรือสักกเทวราช หากพิจารณาให้ลึกซึ้งจะพบว่าตั้งแต่พระอินทร์เป็นมนุษย์จนถึงเทพธรรมบาล มีธรรมสัญลักษณ์หลายประการปรากฏให้เห็นชัดเจนมากมายในคัมภีร์พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพระไตรปิฎก
ความเป็นมาของท้าวสักกเทวราช
ท้าวสักกเทวราชแต่เดิมเป็นมนุษย์ชื่อมฆมาณพ เป็นผู้มีใจบุญ สร้างประโยชน์แก่ผู้คน สร้างสาธารณูปโภคมากมาย อาทิ สะพาน ถนนหนทาง ศาลาที่พักสำหรับผู้เดินทาง และรมณียสถานอันรี่นรมณ์ อาทิ สวนดอกไม้ สระน้ำ แม้ใครกลั่นแกล้งก็ไม่ถือโกรธ มีจิตใจที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ทำความดีช่วยเหลือผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ การปฏิบัติตนของมฆมาณพ สื่อถึงคุณความดีที่มนุษย์พึงปฏิบัติหลายประการ โดยเฉพาะในเรื่องของทาน และ สุจริต ๓ คือการปฏิบัติชอบทางกาย วาจา และใจ[๗] ธรรมอันมฆมาณพปฏิบัตินี้ คือ “วัตตบท ๗”[๘] ประกอบด้วย

มาตาปติภโร เลี้ยงมารดาบิดา
กุเลเชฏฺปจายี เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล
สณฺหวาโจ พูดคำสุภาพอ่อนหวาน
อปิสุณวาโจ หรือ เปสุเณยฺยปฺปหายี ไม่พูดส่อเสียด พูดสมานสามัคคี
ทานสํวิภาครโต หรือ มจฺฉรวินย ชอบเผื่อแผ่ให้ปัน ปราศจากความตระหนี่
สจฺจวาโจ มีวาจาสัตย์
อโกธโน หรือโกธาภิภู ไม่โกรธ ระงับความโกรธได้
เมื่อ มฆมาณพ ละจากภพภูมิของความเป็นมนุษย์ ไปอุบัติเป็นสักกะจอมเทพ เทวราชาผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อันเป็นสถานที่น่ารื่นรมณ์ ดังที่พระโมคคัลลานะกล่าวชมว่า “สถานที่ที่น่ารื่นรมย์ของท้าวโกสีย์นี้ งดงามเหมือนสถานที่ของผู้ที่ได้ทำบุญไว้ในปางก่อน แม้มนุษย์ทั้งหลายเห็นสถานที่ที่น่ารื่นรมย์ใด ๆ แล้ว ก็กล่าวอย่างนี้ว่า งามจริง ดุจสถานที่ที่น่ารื่นรมย์ของพวกเทพชั้นดาวดึงส์”[๙]

๒. พระอินทร์ในเชิงสัญลักษณ์
การตีความพระอินทร์ในเชิงสัญลักษณ์เป็นเรี่องที่น่าสนใจ เนื่องจากมีพระนามของท้าวสักกเทวราชปรากฏอยู่มากมาย ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระไตรปิฎก

ดังนั้น ผู้เขียนจึงเลือกตีความธรรมสัญลักษณ์สักกเทวราชในงานวิจัยนี้ ด้วยเทศนาหาระในคัมภีร์เนตติปกรณ์ โดยวิเคราะห์จากบริบทในพระไตรปิฎกเป็นหลัก

๒.๑ คัมภีร์เนตติปกรณ์
พระมหากัจจยนเถระผู้แตกฉานในพระไตรปิฎก และได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้เลิศในทางขยายเนื้อความย่อ ให้ละเอียดกว้างขวาง ปรารถนาจะช่วยให้คนทั้งหลาย ฟังธรรมแล้วเข้าใจพระพุทธพจน์อย่างแจ่มแจ้ง และสามารถรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ จึงได้แสดงหลักการอธิบายขยายความพระพุทธพจน์ไว้ เรียกว่า เนตติปกรณ์ หรือคัมภีร์เนตติ ที่ท่านให้ชื่อว่า “เนตติ” เพราะสามารถนำเวไนยสัตว์ทั้งหลายไปสู่มรรคผลนิพพาน[๑๐]

เนตติปกรณ์นี้แสดงหลักการอธิบายขยายความพระพุทธพจน์ไว้ ๓ ประการ กล่าวโดยสรุปคือ (๑) หาระ ได้แก่ วิธีการช่วยขจัดความหลง ความสงสัย ความเข้าใจผิดในพุทธพจน์ (๒) นัย ได้แก่ วิธีให้รู้อกุศลธรรมอันเศร้าหมอง และกุศลธรรมอันหมดจด (๓) สาสนปัฏฐาน ได้แก่ การแสดงประเภทของพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้[๑๑]

เนตติปกรณ์จัดอยู่ในชั้นพระบาลีหรือพระไตรปิฎกที่เป็นเถรภาษิต แต่ก็มีลักษณะเหมือนอรรถกถาด้วย เพราะเป็นคัมภีร์อธิบายขยายความพระบาลีพุทธพจน์ ประเภทสังวรรณาพิเศษ มีการวางกฎเกณฑ์ไว้เป็นสูตรเหมือนไวยากรณ์ ฉะนั้น อาจกล่าวได้ว่าเนตติปกรณ์เป็นอรรถกถารุ่นแรกที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งเป็นต้นแบบของคัมภีร์อรรถกถา และฎีกาทั้งหลายในภายหลัง[๑๒

ยาวครับ ....ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้จาก

https://www.phuttha.com/

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top