-
0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน
พระนาคปรก หลวงปู่เนย สมจิตโต วัดป่าโนนแสนคำ สกลนคร ครบ 65 ปี 2545




ชื่อร้านค้า | จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระนาคปรก หลวงปู่เนย สมจิตโต วัดป่าโนนแสนคำ สกลนคร ครบ 65 ปี 2545 |
อายุพระเครื่อง | 23 ปี |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 08-6560-4037 |
อีเมล์ติดต่อ | Tayanrum@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อา. - 09 ก.ย. 2561 - 20:38.51 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | จ. - 25 ม.ค. 2564 - 22:20.49 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระนาคปรก หลวงปู่เนย สมจิตโต วัดป่าโนนแสนคำ สกลนคร ครบ 65 ปี 2545 ขนาด กว้าง 1.5 ซ.ม. สูง 4 ซ.ม. สวยเดิม "พระครูวิมลสีลาภรณ์ หรือ "หลวงปู่เนย สมจิตโต" วัดป่าโนนแสนคำ บ้านทุ่งคำ ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร ถือเป็นพระป่านักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง ทำให้มีพุทธศาสนิกชนให้ความเครพศรัทธามาเนิ่นนาน อัตโนประวัติ ชื่อ เนย มูลสธูป เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2480 ที่บ้านกุดแห่ ต.กุดเชียงหมี อ.เลิงนกทา จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบัน จ.ยโสธร) เมื่อวัยเด็กอายุ 7 ขวบ ได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนบ้านกุดแห่ แต่เกิดป่วยเป็นโรคท้องเรื้อรัง ขาดการเรียนอยู่ 3 เดือน อายุ 11 ขวบ เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา ด้วยในสมัยนั้น การที่จะเรียนต่อให้สูงขึ้น ต้องเดินทางไปเรียนยังต่างถิ่น กลายเป็นเรื่องลำบาก จำต้องออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพ พออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาได้นำผ้าป่าถวายให้พระอาจารย์ดี ฉันโน ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้ขอฝากบุตรชายให้บวชตามประเพณี นายเนย ได้ฝึกขานนาคอยู่เป็นเวลา 3 เดือนเต็ม จึงได้รับการบรรพชาอุปสมบทในเขตวิสุงคามสีมา วัดป่าสุนทราราม อ.เลิงนกทา เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2500 โดยมีพระครูภัทรคุณาธาร วัดพรหมวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สิงห์ทอง ปภากโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์อุ้ย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้เข้ารับฟังธรรมกับพระอาจารย์ดี ฉันโน เจ้าอาวาสวัดป่าสุนทรารามอยู่บ่อยๆ พ.ศ.2500 ได้จำพรรษาที่วัดป่าสุนทราราม โดยมีพระอาจารย์สิงห์ทอง เป็นผู้ให้นิสัยรับโอวาทการปฏิบัติธรรม และในพรรษา ได้ถือธุดงค์ห้ามภัตตาหารที่นำมาถวาย ภายหลังตลอด 3 เดือน ในช่วง พ.ศ.2504-2508 ท่านได้จำพรรษาที่ภูถ้ำพระ ประกอบความเพียรด้วยความวิริยอุตสาหะแรงกล้า ไม่จำวัดตลอดกลางวัน พ.ศ.2510 ได้จำพรรษาที่วัดกลาง บ้านหนองสูง อ.คำชะอี จ.นครพนม (ปัจจุบันเป็นจังหวัดมุกดาหาร) ท่านพระอาจารย์กงแก้ว ขันติโก เจ้าอาวาสวัดกลาง ให้ช่วยเร่งทำความเพียรอย่างแรงกล้า จนเป็นลม 2 ครั้ง เนื่องจากฉันอาหารน้อย บางวันถึงกับอดอาหาร ทำให้การประกอบความเพียรเป็นไปได้ด้วยดี ต่อสู้กับกิเลสขันธมารตลอดเวลาอย่างไม่ย่อท้อ ได้ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า ถ้าจะตายขอให้ตายไปเลย อย่าได้เดือดร้อนญาติโยม ปรารถนาจะไม่ให้ใครเดือดร้อนลำบากด้วยเรื่องของสังขาร แม้ในปัจจุบัน รักษาร่างกายด้วยตัวเอง ท่านเคยบอกว่าผู้คนมักมัวเมาลุ่มหลงด้วยถูกทรมานมาแสนสาหัสจากภพภูมินรก ภูมิสัตว์เดรัจฉาน ทำให้หลงลืมที่จะรักษาความเป็นมนุษย์ไว้ ด้วยภพภูมินี้เป็นภพภูมิที่จะสามารถนำไปสู่นรก สวรรค์ หรหมโลก นิพพานได้ ภพภูมิต่างๆ ล้วนต้องอาศัยความเป็นมนุษย์เท่านั้นที่จะบำเพ็ญไปสู่ภพนั้นๆ เทวดาจะไปนิพพานต้องจุติมาเกิดในโลกมนุษย์ก่อน อย่างนี้เป็นต้น จึงได้ปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไปตลอดพรรษา แต่ก็ยังเป็นแบบเคร่งครัด ปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลาย ทุกช่วงออกพรรษา หลวงปู่เนย มักเดินทางออกไปธุดงค์ แต่มาระยะหลังสุขภาพไม่แข็งแรง จึงเลือกที่จะปฏิบัติอยู่กับวัดป่าโนนแสน หลวงปู่เนย เป็นพระที่มีศีลาจาริยวัตรอันงดงาม เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง สงบเสงี่ยมเรียบร้อยงดงามด้วยข้อวัตรปฏิบัติ ท่านมักสอนเสมอๆ ว่าการรักษาศีลข้อวัตรปฏิบัติเป็นหัวใจของพระศาสนาและต้องปฏิบัติทุกลมหายใจเข้าออก ถือเป็นหน้าที่ จะหาข้อหลบหลีกปลีกหนีที่จะไม่ปฏิบัติไม่ได้โดยเด็ดขาด แม้ข้อสิกขาบทเพียงเล็กน้อยก็ไม่มีการยกเว้นได้เลย ศีลสิกขาบทเป็นความงดงามของพระเรา ใครปฏิบัติได้มากยิ่งงดงามมาก ไม่มีอะไรจะงดงามเท่าการรักษาศีลได้เลย การสอนที่ดีที่สุด คือ การปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้ดู แม้ยามเจ็บป่วยหรือไม่แข็งแรง หลวงปู่เนย ไม่เคยบอกกล่าวให้ญาติโยมทราบ น้อยคนนักที่จะรับรู้ปัญหาสุขภาพ บางคณะถึงกับนิมนต์ท่านให้เดินทางไปในที่ไกลๆ ท่านต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างมาก บางครั้ง ท่านได้ปรารภกับพระในวัด ห้ามบอกว่าไม่สบาย ด้วยหลวงปู่ ต้องการทำคุณประโยชน์ให้กับโลกมากที่สุด คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6 สุพจน์ สอนสมนึก |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...










อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments