พระกริ่งหลวงปู่บุษราคัม หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระกริ่ง พระชัยวัฒน์

พระกริ่งหลวงปู่บุษราคัม หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง

พระกริ่งหลวงปู่บุษราคัม หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง - 1พระกริ่งหลวงปู่บุษราคัม หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง - 2พระกริ่งหลวงปู่บุษราคัม หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง - 3พระกริ่งหลวงปู่บุษราคัม หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง - 4พระกริ่งหลวงปู่บุษราคัม หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระกริ่งหลวงปู่บุษราคัม หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง
อายุพระเครื่อง 19 ปี
หมวดพระ พระกริ่ง พระชัยวัฒน์
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 22 มิ.ย. 2561 - 21:21.49
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 25 มิ.ย. 2561 - 18:03.31
รายละเอียด
พระกริ่งหลวงปู่บุษราคัม หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง

สุดยอดของดีของท่านครับ...


เนื้อนวะโลหะ

ว่าง ๆ ค่อยมาลงประวัติต่อ...วันนี้เลิกงานเย็นมาก...ทำไม่ทันครับ

....

ข้อมูลยาวมากครับ.....ขอตัดต่อมาเท่าที่เนื้อที่ พอ

ครั้งหนึ่งเมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว ผมเคยไปดอยบุษราคัม ซึ่งจำได้ว่าอยู่ที่จังหวัดพะเยา คับคล้ายคับครากับที่เคยอ่านในหนังสือของวัดโนนสว่าง วันรุ่งขึ้นจึงไปขอหนังสือของวัดโนนสว่างซึ่งอยู่ที่คุณประยูร พอมาเปิดดูก็เป็นดอยบุษราคัมที่จังหวัดพะเยาจริงๆ ผมดีใจ รีบโทรไปหาผู้จัดการสาขาพะเยา ถามถึงดอยบุษราคัม และอยากให้เงาะ (ผู้จัดการพะเยา) ไปนำน้ำมนต์ของทางวัดมาให้ และขอให้ถ่ายรูปพระมาให้ด้วย เพราะอยากจะสร้างให้เหมือนพระที่ดอยบุษราคัม ผู้จัดการบอกว่าพี่รอหน่อยได้ไหม ผมบอกว่า รอได้ มีอะไรหรือ ผู้จัดการบอกว่าอีกไม่กี่วันหลวงพ่อไพบูลย์เจ้าอาวาสวัด อนาลโยทิพยาราม (ดอยบุษราคัม) จะมีงานฉลองอายุครบ 71 ปี ของหลวงพ่อไพบูลย์ (หลวงพ่อไพบูลย์เป็นพระที่อยู่ในประวัติที่มาของหลวงพ่อบุษราคัมที่วัดโนนสว่าง) ผมจึงมีความต้องการที่จะขึ้นไปที่วัดในวันงานดังกล่าวซึ่งห่างจากวันที่โทรเพียงสองสามวัน ผมได้เอาเรื่องนี้ไปคุยกับคุณประยูร พอดีมีทีมวิทยุ คือคุณสุเทพและคุณปกรณ์ จะขึ้นไปที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดพะเยา พอดี ผมจึงขอร่วมเดินทางไปด้วย โดยไปพร้อมกับคุณประยูร ในขณะที่เดินทางประมาณเกือบห้าทุ่มรถก็เกิดอุบัติเหตุ โชว์เฟอร์ฝีมือดี โดยคุณสุเทพเป็นคนขับ (หลังจากงานนี้ไม่มีใครอยากให้ขับแต่เจ้าตัวอยากขับ) คุณสุเทพต้องการทดสอบความแข็งแกร่งของรถโตโยต้าวีโก้ กับรถพ่วงสิบล้อ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เป็นเวลาประมาณห้าทุ่ม ช่วงลงเขา และฝนก็ตกพรำๆ ปรากฏว่ารถโตโยต้าเบรกไม่อยู่ไถลไปชนท้ายรถพ่วงสิบล้อ กันชนท้ายรถพ่วงยุบเล็กน้อย ส่วนรถกระบะโตโยต้าไปไหนไม่รอด จอดรอรถยก เป็นเหตุให้ภาคธานินท์ และผู้จัดการสาขาลำปาง ต้องรุดถึงที่เกิดเหตุบริเวณทางลงเขา ก่อนถึงอำเภอสบปราบ แต่เหตุการณ์ต่างๆก็ผ่านไปด้วยดี เราอาศัยรถภาค ไปถึงจังหวัดพะเยาทันเวลาในงานพิธี ได้ร่วมในพิธี ได้ใส่บาตร ได้ถ่ายรูปพระพุทธรูปทองคำที่ดอยบุษราคัม ได้ขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสนำรูปพระพุทธรูปทองคำ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปลักษณะแบบเชียงแสน หรือที่เรียกว่าแบบสิงห์หนึ่ง มาเป็นต้นแบบหล่อพระกริ่งบุษราคัม นี่จึงเป็นที่มาของการปรับเปลี่ยนพระพักตร์ของพระกริ่งบุษราคัม ส่วนองค์พระเป็นแบบพระกริ่งของท่านอาจารย์ฝั้น ที่แปลกไปกว่านั้นคือได้พบกับหลวงพ่อเจริญที่ดอยบุษราคัม ซึ่งท่านได้ไปร่วมงานและนั่งปรกสร้างพระในพิธีสืบชะตาของหลวงพ่อไพบูลย์ด้วย
ผมค้างเรื่องการสร้างพระกริ่งเงินเอาไว้ ขอเล่าต่อว่าอันที่จริงเราไม่ได้มีเจตนาในการสร้างพระกริ่งเงิน และก็ไม่ได้เปิดให้ใครเช่าไม่ว่าจะเป็นพนักงานที่บริษัทหรือที่วัด (แต่ที่วัดคนต้องการพระกริ่งเงินเป็นจำนวนมาก) เรื่องของเรื่องคือหลวงพ่อเจริญ ท่านต้องการให้สร้างพระกริ่งเงินเอาไว้เป็นที่ระลึก โดยยอมออกเงินค่าสร้างเองจำนวน 30 องค์ ผมได้ไปเรียนเรื่องนี้ให้ท่านกรรมการผู้จัดการทราบ ท่านจึงบอกว่าสร้างทำไม 30 องค์ สร้างไป 100 องค์เลย เราเลยน้อมถวายพระกริ่งเงินให้หลวงพ่อโดยไม่ได้เก็บเงินจากท่าน ครั้นพอสร้างเข้าจริงๆ โรงหล่อก็ทำพระมาเผื่อ 10 องค์ ผมเลยเสียดายไม่คืนโรงงานแต่รับไว้ทั้งหมด โดยส่วนที่เกินนี้เราก็ได้ถวายให้หลวงพ่อเจริญ พระกริ่งเงินนั้นทุกองค์มีโค๊ต กำกับ
18 ก.ย. 48 วันเททองหล่อพระกริ่งบุษราคัม ในที่สุดวันนี้ก็มาถึง เป็นวันที่ชาวคณะสร้างพระรอคอย เรามีทีมงานทั้งที่เป็นคณะกรรมการและเป็นผู้มีความศรัทธามาช่วยแบกหาม ยกของ (กลุ่มผู้บริหาร…ร่างกาย) อันประกอบด้วย คุณสุเทพ คุณวรมิตร คุณปกรณ์ ที่มาช่วยเสริมแรงอีกสามคนนอกเหนือจากคณะทำงาน ส่วนคุณนา รับบทเป็นสมุห์ ตามมาทีหลัง และต้องขอขอบคุณทีมงานทางวัดอย่างสูง (ทั้งพระทั้งฆราวาส) เพราะถ้าไม่มีคงทำไม่ได้ ต้องขอบคุณพี่(ไม่ทราบชื่อ) เอารถแทรกเตอร์มาเกลี่ยปรับพื้นดินบริเวณพิธีให้ด้วย แต่ก่อนที่จะพูดถึงวันเททองจะขอเล่าเรื่องก่อนวันงานสักคืนสองคืน คือเรามีทีมงานซึ่งประกอบด้วย ผอ.ประยูร โก้ ปกรณ์ และยักษ์ขึ้นมานอนที่วัดเพื่อเตรียมความพร้อม คืนหนึ่งหลวงพ่อให้นำคนที่มารักษาผีฟ้าไปนอนด้วย เป็นคุณยาย อายุราวๆ 50-60 ปี คุณยายได้ไปนอนที่ศาลาโดยนอนห่างจากทีมงานประมาณ 15 เมตร พอตกดึกประมาณตีสอง คุณยายเธอมาสะกิดเจ้ายักษ์ ซึ่งจับจองพื้นที่การนอนก่อนใคร แต่นอนเป็นคนนอกสุด (แต่ใกล้คุณยายมากที่สุด) เธอบอกเจ้ายักษ์ว่า ช่วยเปิดประตูให้หน่อย ยายจะไปฉี่ (พูดเป็นภาษาอีสานฟังกันไม่ค่อยรู้เรื่อง) หลังจากนั้นยายก็ปลุกเจ้ายักษ์อีกประมาณตีสี่ โดยคุณยายเอามือมาสะกิด พอยักษ์หันหน้าไปมอง เห็นภาพคุณยายอยู่ในท่าที่นอนคว่ำ เอามือมาค้ำคางทั้งสองข้าง (ถ้าเป็นสาวๆคงน่ารักน่าดู) ส่วนดวงตามองจ้องมาที่เจ้ายักษ์ บอกว่าช่วยนวดที ยักษ์ซึ่งไม่ค่อยจะหลับอยู่แล้วตกใจกลัวผีฟ้ากินตับ เอามือไปสะกิดเจ้าโก้ โก้แทนที่จะมาช่วยเป็นเพื่อน กลับกลัวสุดๆ หันหลังให้เจ้ายักษ์ แล้วเอาผ้าคุมโปง ปล่อยให้ยักษ์ต้องนอนเกร็งหลับตาอยู่กับความกลัวจนรุ่งสาง ส่วนงานในวันเททองก็ผ่านไปด้วยดีมีฝนตกลงมาไม่ขาดสายแต่ไม่หนัก หลวงพ่อท่านเมตตาให้มวลสารมาเพิ่ม เช่น เหล็กไหล (แบบที่งอกจากถ้ำ) เกล็ดทองคำ ปรอทดำ ส่วนที่เราเตรียมมาประกอบด้วย เงิน ทอง เหล็กน้ำพี้ สังกะสี ตะกั่ว ปรอท เจ้าน้ำเงิน(พลวง) ทองแดง ดีบุก มาผสมกับของช่าง ในเนื้อนวะโลหะ ซึ่งจะมี เงิน ดีบุก ทองเหลือง ทองแดง ส่วนพระกริ่งองค์ใหญ่ซึ่งเป็นเนื้อทองเหลืองเราก็แบ่งมวลสารใส่ครบเช่นกัน รวมทั้งแผ่นจารอักขระที่หลวงพ่อท่านจารให้ ในการได้มาซึ่งมวลสารนั้นถึงแม้นว่าจะไม่มากมายแต่ก็ครบตามที่เราต้องการ ต้องขอขอบคุณพระเดชพระคุณหลวงพ่อเจริญ และผู้มีส่วนร่วมในการหามวลสาร อาทิ คุณประสิทธิ์ (ผจก.กำแพง) คุณนารีรัตน์ (ผจก.อุตรดิตถ์) รวมทั้ง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ที่ผอ.ด๊องและ ผอ.พงศ์กฤษณ์ ไปขอแร่มาให้ พิธีการเททองเข้มขลังอย่างไร ผู้เข้าร่วมพิธีในงานวันเททอง ซึ่งมีทั้งพนักงานจากส่วนกลาง ผู้บริหาร และน้องๆภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มาร่วมงาน ย่อมเห็นและสัมผัสได้ด้วยตัวเอง การเททองหล่อที่ใช้เวลาเกินกำหนดคือ การเททองหล่อพระกริ่งเนื้อนวะโลหะ ซึ่งจริงๆต้องแล้วเสร็จช่วงที่ถัดจากการกล่อพระกริ่งองค์ใหญ่เก้านิ้ว ประมาณบ่ายโมงกว่าๆ แต่กว่าจะเสร็จตกราว 6 โมงเย็น (เผาไฟตั้งแต่ 6 โมงเช้า จนถึง 6 โมงเย็น) จนช่างต้องตั้งเตาเผาใหม่ พระต้องสวดนานขึ้นมาก หลวงพ่อเจริญท่านต้องเข้าไปไหว้หลวงพ่อบุษราคัมในโบสถ์อีกครั้ง (ช่วงที่หล่อพระไม่ได้เพราะโลหะไม่ยอมหลอมละลาย) หลังจากหล่อเสร็จมีอยู่เบ้าหนึ่งที่โลหะข้างในยังเผาไม่หลอมละลาย ช่างบอกว่าไม่น่าเป็นไปได้ อะไรอยู่ข้างใน ไฟแรงขนาดเตาหลอมแดงเป็นไฟ แต่ของที่อยู่ข้างในยังไม่ไหม้ น่านำมาทุบใส่คล้องคอได้เลย หลังจากเทหล่อเสร็จฝนก็ตกลงมาหนักขึ้น (ที่จริงวันนั้นมีพายุเข้า) ทีมงานเอาช่อพระกริ่งที่พึ่งทุบเสร็จไปให้หลวงพ่อท่านดู ท่านกำช่อพระกริ่งสองช่อในมือ แล้วด้วยเหตุใดไม่ทราบช่อพระกริ่งก็ไปติดกับถังเครื่องสังฆทาน ดึงไม่ขึ้น ในข้อนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เรานำช่อพระกริ่งไปคืนช่างเพื่อนำกลับไปแต่งให้เรียบร้อย แล้วทีมงานก็พักเหนื่อยโดยทานข้าวที่วัด เสร็จแล้วผม ผอ.ประยูร และ ผอ.ด๊อง ก็ไปประชุมต่อที่อุดรตอนสองทุ่ม ถึง สี่ทุมกว่าๆ เท่าที่จำได้ในการประชุมคืนนั้นคือง่วงมากๆ
ทีมงานและพนักงานได้มีโอกาสเห็นพระกริ่งบุษราคัมเป็นครั้งแรกส่วนใหญ่มีความพอใจ บอกว่าพระสวยมาก จะบ่นก็มีแต่เรื่องขนาด ที่สาวๆอยากให้เล็กกว่านี้ บ่นอุบอิบว่าใหญ่จัง แต่สำหรับคณะทำงานโดยเฉพาะคนชอบพระบอกว่า ขนาดกำลังเหมาะ เพราะต้องสามารถมองเห็นยันต์ด้านหลังองค์พระได้ และพระกริ่งส่วนใหญ่ องค์ไม่เล็ก ลึกๆเราก็รู้สึกดีใจที่คนส่วนใหญ่ชอบ คณะทำงานก็ชอบ ทำให้คิดถึงคำสอนของ ในหลวง เรื่องปิดทองหลังพระ (รู้สึกดีจริงๆ) พระกริ่งที่เราร่วมกันสร้างนั้นไม่มีเสียง (ส่วนใหญ่ที่มีเสียงเพราะมีโลหะด้านใน) ที่ไม่มีเสียงเพราะเราใช้วิธีฝังมวลสารที่หลวงพ่อเจริญท่านจะนำมาใส่ให้ใต้ฐานองค์พระ แล้วตีโลหะปิดทับอีกที และเพื่อเป็นการป้องกันการปลอมในอนาคต ในฐานะคนชอบพระ เราจึงทำชื่อหลวงพ่อ ซึ่งเราเห็นฟ้องต้องกันว่าชื่อของท่านเป็นมงคล เลยทำชื่อ “เจริญ” ตอกใต้องค์พระกริ่งองค์เล็กทุกองค์ และขอเรียนแจ้งให้ทราบว่า มวลสารที่อยู่ใต้ฐานพระประกอบด้วย ผงคายธรรม เหล็กไหล(แบบงอกได้) ชาญหมาก อิฐพระธาตุพนม และบางองค์ก็มีปรอท ด้วย (ปรอท อยู่ในจานผงคายธรรมไม่รู้ว่ามาได้อย่างไร)
ก่อนวันพิธีพุทธาภิเษก คณะทำงานขึ้นไปเตรียมงานตามปกติ ได้นำพระกริ่งองค์เล็กที่หล่อเพิ่มและชนวนที่เหลือจากการหล่อ ไปถวายหลวงพ่อ และ เรามีโอกาสได้นอนในศาลาที่จะจัดงาน มีหน้าที่หลักนอกจากจะทำหน้าที่บรรจุมวลสารในองค์พระแล้วยังมีหน้าที่เย็บห่อใส่พระกริ่ง รวมทั้งหน้าที่หลักคือการเฝ้าพระที่จะเข้าพิธี (กันพระที่จะเข้าพิธีหายก่อนเวลาอันควร) ซึ่งก็รวมถึงพระกริ่งของเราด้วย นอกจากนั้นยังมีพระผงรุ่นสู้ไม่ถอย และพระกริ่งองค์เล็กที่ลูกศิษย์ของท่านนำมาร่วมพิธีด้วย เฝ้ากันทั้งวันทั้งคืน และได้เห็นศรัทธาของชาวบ้านโนนสว่างและชาวบ้านที่อื่น มาช่วยกันทำงาน บ้างก็ทำบายศรี บ้างก็จัดเตรียมดอกไม้ เพื่อบูชาในงานพิธี แต่ละคนที่มาช่วยงานล้วนมากันด้วยจิตใจที่งดงาม ใช้เงินของตนเองในการซื้อของมาจัดทำ ลงแรง และก็พอใจเพียงได้ร่วมทำบุญโดยไม่ได้หวังสิ่งใด นี่เป็นอีกหนึ่งความรู้สึกที่ดีๆในงานบุญครั้งนี้
18 ตุลาคม 2548 พิธีพุทธาภิเษก พระกริ่งบุษราคัม ซึ่งตรงกับวันออกพรรษาพอดี ในช่วงเช้าจึงมีชาวบ้านมากมายมาทำบุญที่วัด ต่อด้วยการแข่งขันตีกลองกริ่ง ซึ่งเป็นกลองโบราณ หลวงพ่อเจริญท่านคิดริเริ่ม ส่งเสริม การแข่งขันการตีกลองกริ่งขึ้นมาเพื่อสืบสานวัฒนธรรม มีการแข่งตีกลองกันอย่างสนุกสนาม กลองกริ่งนี้ก็แปลกคือพอตีแล้วเสียงดังคล้ายๆกริ่ง แถมยังมีรูให้เติมน้ำใส่ไปในกลองเพื่อปรับเสียงกลองให้กังวานใสได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังมีการแข่งสรภัญญะ ซึ่งเป็นบทกลอนที่สรรเสริญพระพุทธเจ้า หรือเกี่ยวกับการเล่าพุทธประวัติ หรือ เป็นกลอนลา กลอนคติ ซึ่งมีการแข่งขันทั้งระดับประชาชนทั่วไป และรุ่นเยาวชน มีการแข่งขันกันหลายคณะ กว่าจะตัดสินได้ก็เกือบทุ่ม เรื่องนี้ผมรูสึกประทับใจมาก เพราะเห็นว่าเป็นการส่งเสริมพุทธศาสนา อีกทั้งมีการแข่งขันทั้งรุ่นเล็ก และรุ่นใหญ่ เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมอันดี และให้ทุกคนมีส่วนร่วม ที่จริงน่าจะมีการแข่งขันในระดับประเทศก็จะดี
งานพิธีช่วงพุทธาภิเษกจริงๆเริ่มประมาณ 2 ทุ่มกว่าๆ เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อหลวงพ่อเจริญ จุดเทียนชัย และผู้บริหารจุดเทียน นำโดยท่านกรรมการผู้จัดการ (คุณสมพร) เทียนที่จุดนั้นมีหลายชื่อ อาทิ เทียนมหาเศรษฐี เทียนมหาทรัพย์ เทียนมหาธนทรัพย์ เทียนมหาโภคทรัพย์ เทียนมหาอุต เทียนมหาอุดม เทียนมหาลาภ เทียนมหาโชค เทียนมหามงคล เทียนมงคล หลังจากนั้นพิธีกรรมก็ดำเนินอย่างเข้มขลัง ทั้งการอัญเชิญครูบาอาจารย์ และการสวดมนต์ เช่น อิติปิโส 108 จบ สลับกันไปมา ระหว่างพระกับฆราวาส ในช่วงของการสวดโดยเฉพาะการอัญเชิญครู(ปลุก) จะมีประชาชนที่ฝึกฝนการสวดและปฏิบัติได้ระดับหนึ่ง เรียกว่า ครูธรรม (จะสวดเป็นภาษาธรรม เวลาอัญเชิญครู เป็นภาษาที่เราฟังไม่รู้เรื่อง) เรื่องนี้อธิบายยากต้องเห็นเอง บางคนถ้าถูกของก็จะโวยวาย ร้องห่มร้องไห้ ทำให้ชาวเมืองหลวงอย่างเราๆแปลกใจกันใหญ่ (สามารถดูภาพจากวีดีโอได้) พิธีการไปจบเอาตอนรุ่งสาง เมื่อหลวงพ่อท่านดับเทียนชัย หลังจากงาน ผมได้ขออนุญาตนายเอาเทียนชัยที่หลวงพ่อจุด
ฯลฯ
อ่านเพิ่มเติม
http://www.watnon.com/bbsss/read.php?tid=2&page=4

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top