พระเนื้อดินเผากรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก กรุงเทพฯ พ.ศ.2473-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระเนื้อดินเผากรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก กรุงเทพฯ พ.ศ.2473

พระเนื้อดินเผากรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก กรุงเทพฯ พ.ศ.2473 - 1พระเนื้อดินเผากรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก กรุงเทพฯ พ.ศ.2473 - 2พระเนื้อดินเผากรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก กรุงเทพฯ พ.ศ.2473 - 3พระเนื้อดินเผากรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก กรุงเทพฯ พ.ศ.2473 - 4พระเนื้อดินเผากรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก กรุงเทพฯ พ.ศ.2473 - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระเนื้อดินเผากรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก กรุงเทพฯ พ.ศ.2473
อายุพระเครื่อง 93 ปี
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 27 เม.ย. 2561 - 20:49.03
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พฤ. - 17 พ.ค. 2561 - 22:26.27
รายละเอียด
ปิดท้าย...

พระเนื้อดินเผากรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก กรุงเทพฯ พ.ศ.2473


สวยสุด ๆ ....



พิมพ์ซุ้มกอใหญ่.....




พระเนื้อดินเผากรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ถ้าเราจะเรียกว่า พระเนื้อดินเผาผสมผง กรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ก็ไม่ผิดครับ แล้วแต่ใครจะเรียกก็แล้วกันครับ

ประวัติความเป็นมาของการจัดสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาผสมผง ของหลวงพ่อพ่วง รุ่นเพดานโบสถ์ มีประวัติความเป็นมา โดยอาศัยการบอกเล่าของ หลวงพ่อน้อม ญาณสุทธิ อดีตเจ้าอาวาสวัดกก (ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกก ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ - พ.ศ. ๒๕๓๕) โดยหลวงพ่อน้อมท่านได้เล่าถึง ขั้นตอนการจัดสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาของหลวงพ่อพ่วงโดยพอสังเขปว่า ในสมัยที่หลวงพ่อพ่วงได้ทำการจัดสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาชุดนี้ หลวงพ่อน้อมท่านยังมีอายุไม่มากนัก จำได้ว่า หลวงพ่อพ่วงท่านได้สั่งให้ลูกศิษย์ไปนำดินมาจากจังหวัดนนทบุรี โดยดินที่ได้มานั้นเป็นดินเหนียวที่ขุดมาจากท้องนา จากอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี โดยขนลงเรือแล้วล่องมาที่วัดกก เมื่อดินเหนียวขนมาถึงวัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อพ่วงท่านก็นำดินเหนียวที่ได้มาจากท้องนา (โดยที่ไม่ได้กรองดินก่อน จึงทำให้ดินเหล่านั้นมีแร่เม็ดกรวดเม็ดทรายปะปนอยู่ด้วย) แล้วเอามาผสมกับผงวิเศษ ๕ ประการ อันมี ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงปถมัง ผงมหาราช และผงพุทธคุณ นอกจากนี้ยังผสมด้วยสมุนไพรและว่านต่างๆ แร่บด ตลอดจนปากเหยี่ยว ปากกา เขี้ยวเสือ เล็บเสือ งาช้าง นำมาบดพอละเอียดแล้วจึงนำมาผสมลงในดินเหนียวที่จะสร้างพระเครื่อง

หลวงพ่อน้อมท่านเล่าต่อไปว่าช่างแกะพิมพ์พระชุดนี้ได้แก่ นายจง พึ่งพรหม และ นายชิต ซึ่งช่วยกันแกะพิมพ์ ถ้าพระขนาดใหญ่ส่วนมากเป็นฝีมือของ นายจง พึ่งพรหม ส่วนพระขนาดเล็กๆมักเป็นฝีมือของนายชิต เมื่อแกะพิมพ์พระขึ้นเสร็จ หลวงพ่อได้เอาดินที่ผสมกับผงวิเศษทั้ง ๕ ประการ และเครื่องสมุนไพรของเคล็คต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงได้นำมากดพิมพ์พระ โดยหลวงพ่อพ่วงตั้งใจที่จะสร้างให้ได้ ๘๔,๐๐๐ องค์ ซึ่งเท่ากับ จำนวนของพระธรรมขันต์ โดยมีแบบพิมพ์ทั้งหมด ๒๔ แบบพิมพ์ จึงได้ขอร้องให้ทางวัดสีสุก และ วัดยายร่ม ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันมาช่วยกดพิมพ์พระด้วย และเมื่อกดพิมพ์พระเสร็จแล้ว หลวงพ่อพ่วงท่านให้นำพระเครื่องทั้งหมดไปผึ่งแดดจนแห้งได้ที่ หลังจากนั้นหลวงพ่อพ่วงท่านก็นำพระเครื่องที่ผึ่งแดดแห้งได้ที่แล้วเข้าเผา โดยสุมแกลบที่ลานวัด และในขณะที่เผาพระเครื่องเนื้อดินเหนียวอยู่นั้น หลวงพ่อพ่วงจะไปเฝ้าบริกรรมปลุกเสกแผ่พลังจิตลงไป ขณะที่พระได้รับความร้อนเป็นการหนุนเตโซธาตุ (ซึ่งเป็นวิธีเดียวกันกับหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งหลวงพ่อโหน่งท่านก็ปลุกเสกขณะพระกำลังเผาไฟอยู่เช่นกัน)

หลังจากเผาพระเครื่องเนื้อดินเผาผสมผงเสร็จแล้ว หลวงพ่อพ่วงท่านจึงเข้าปลุกเสกภายในพระอุโบสถวัดกกเป็นเวลานานหลายพรรษา โดยที่หลวงพ่อพ่วงท่านจะปลุกเสกอยู่ตลอดแทบทุกวันหลังจากทำวัตรสวดมนต์ในพระอุโบสถตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๙ รวมแล้วนานถึง ๖ ปีเต็ม แล้วจึงนำพระเครื่องเนื้อดินเผาทั้งหมดขึ้นเก็บไว้บนเพดานพระอุโบสถวัดกก

ต่อมาในสมัยพระมหาสมบูรณ์ ปภากโร ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดกก (ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดกกเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕) ได้ทำการเปิดกรุพระเครื่องเนื้อดินเผาของหลวงพ่อพ่วง ซึ่งบรรจุอยู่บนเพดานโบสถ์วัดกก ออกมาให้ประชาชนได้เช่าบูชา โดยทางวัดกกจัดทำเป็นชุดกรรมการแบ่งออกเป็น ๓ ชุดกรรมการใหญ่ โดยที่ฝากล่องของแต่ละชุดจะวงเล็บหมายเลขชุดกำกับไว้อย่างชัดเจนอีกด้วย ซึ่งภายในกล่องของแต่ละชุดจะบรรจุพระเครื่องเนื้อดินเผาของหลวงพ่อพ่วงไว้ทั้งหมดจำนวน ๘ องค์ องค์ละ ๑ พิมพ์ แบบไม่ซ้ำพิมพ์กัน โดยรวมพระเนื้อดินเผากล่องละ ๘ องค์ หากทำบุญเช่ากับทางวัดทั้งหมด ๓ ชุด ก็จะได้พระเครื่องเนื้อดินเผากรุเพดานโบสถ์ครบถ้วนทุกพิมพ์ ซึ่งทางวัดกกได้นำปัจจัยรายได้ทั้งหมดไปใช้ร่วมซ่อมแซมและบูรณะวัดกกต่อไป

แบบพิมพ์พระทั้งหมด ๒๔ พิมพ์ กระผม เล็ก พาต้า สายตรงพระเนื้อดินเผา หลวงพ่อพ่วง วัดกก ได้รวบรวมรายชื่อของแต่ละพิมพ์ (ซึ่งยังไม่มีผู้ใดยอมเปิดเผยกันออกมา) ดังนี้คือ





๑.พิมพ์ปางมารวิชัย สดุ้งกลับ
๒.พิมพ์ไพ่ตองสดุ้งกลับ
๓.พิมพ์ฐานบัวสามชั้น
๔.พิมพ์สมาธิข้างยันต์ ระบุปี พ.ศ.
๕.พิมพ์ชินราชซุ้มเรือนแก้ว (บางคนเรียกเป็นพิมพ์ชินราชซุ้มประตู)
๖.พิมพ์ชินราชซุ้มเปลวเพลิง
๗.พิมพ์ปางมารวิชัยข้างยันต์ นะ มะ อะ อุ ระบุปี พ.ศ.
๘.พิมพ์สมาธิข้างยันต์ มะ อะ อุ ระบุปี พ.ศ.
๙.พิมพ์โมคัลลาน์สารีบุตร
๑๐.พิมพ์ปรกโพธิ์
๑๑.พิมพ์ซุ้มหยัก
๑๒.พิมพ์ขุนแผนซุ้มเรือนแก้วใหญ่
๑๓.พิมพ์ขุนแผนซุ้มเรือนแก้วเล็ก
๑๔.พิมพ์ยอดขุนพล
๑๕.พิมพ์ซุ้มกอใหญ่
๑๖.พิมพ์ซุ้มกอเล็ก
๑๗.พิมพ์พระสมเด็จฐานเจ็ดชั้นใหญ่
๑๘.พิมพ์พระสมเด็จฐานเจ็ดชั้นเล็ก
๑๙.พิมพ์พระลีลาใหญ่
๒๐.พิมพ์พระลีลาเล็ก
๒๑.พิมพ์จันทร์ลอย
๒๒.พิมพ์งบน้ำอ้อย
๒๓.พิมพ์นางพญาพิมพ์ใหญ่บล็อคลึกกับบล็อคธรรมดา
๒๔.พิมพ์นางพญาพิมพ์เล็ก

จากใจจริง เล็ก พาต้า สายตรงพระเนื้อดินเผา หลวงพ่อพ่วง วัดกก บางขุนเทียน กรุงเทพฯ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top