ปราชญ์แห่งวัดราชผาฯ 1-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

ปราชญ์แห่งวัดราชผาฯ 1

ปราชญ์แห่งวัดราชผาฯ 1 - 1ปราชญ์แห่งวัดราชผาฯ 1 - 2ปราชญ์แห่งวัดราชผาฯ 1 - 3ปราชญ์แห่งวัดราชผาฯ 1 - 4ปราชญ์แห่งวัดราชผาฯ 1 - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง ปราชญ์แห่งวัดราชผาฯ 1
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 04 พ.ย. 2560 - 20:30.27
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 16 ก.ค. 2567 - 20:16.03
รายละเอียด
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ปราชญ์แห่งวัดราชผาติการาม

เหรียญ รุ่น 2

พระมหาวีรวงศ์ วิน ธรรมสารมหาเถระ วัดราชผาติการาม กทม. ประวัติ มีนามเดิมว่า วิน ทีปานุเคราะห์ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2449 ณ บ้านนาพญา อ.ขันเงิน จ.หลังสวน (ปัจจุบัน คือ อ.หลังสวน จ.ชุมพร) สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 3 จากโรงเรียนประชาบาล วัดนาบุญ ก่อนเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัดโตนด เรียนอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน ต้องลาออก เพราะมารดาประสงค์จะให้บรรพชาเป็นสามเณร บรรพชาเป็นสามเณรปี2466ที่วัดโตนด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ท่านเจ้าคุณพระธรรมารามคณีสุปรีชา (หนู อชิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่าน อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดราชาธิวาส ซึ่งมีท่านเจ้าคุณ พระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม) เป็นเจ้าอาวาสในครั้งนั้น แต่ด้วยความเคารพในอาวุโสและคุณธรรม จึงได้นิมนต์พระอุปัชฌาย์เดิมหนู อชิโต) มานั่งเป็นพระอุปัชฌาย์ในพิธีอุปสมบท หลังจากนั้นก็มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม จนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก และสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ที่สำนักเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพฯ ท่านได้สร้างคุณูปการแก่วงการคณะสงฆ์นานัปการ ได้รับตำแหน่งด้านปกครอง อาทิ พ.ศ.2486 เป็นกรรมการเถรสมาคมธรรมยุต พ.ศ.2493 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2494-2536 เป็นเจ้าคณะอำเภอดุสิต ปทุมวัน พระโขนง บางเขน บางกะปิ (ธรรมยุต) พ.ศ.2503 เป็นแม่กองธรรมสนามหลวงและเป็นเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม พ.ศ.2508 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2484 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระอริยเมธี ในรัชกาลที่ 8 พ.ศ.2490 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชเมธี พ.ศ.2496 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพโมลี พ.ศ.2500 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปาโมกข์ พ.ศ.2509 เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ พระพรหมมุนี พ.ศ.2512 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปแรก ในรัชกาลที่ 9 สถิต ณ วัดราชผาติการาม ย้อนหลังกลับไป เมื่อครั้งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปอยู่วัดราชผาติการามใหม่ๆ ท่านให้สร้างกุฏิไม้หลังเล็กๆ กว้างยาวพอปูที่นอนและเหลือที่นั่งอ่านหนังสือ ฉันหมาก ฉันน้ำชา น้ำอ้อย น้ำส้มคั้น เป็นครั้งคราว ไม่นิยมฉันจุกจิก เจ้าประคุณสมเด็จถือว่างานหลักในชีวิต คือ การเตรียมเทศน์ วันพระ การอ่านและการขบคิดธรรมะในพระไตรปิฎก คือ งานหมายเลข 1 ติดตามด้วยหนังสืองานศพที่ผู้รู้หลายท่านถือว่ามีค่าที่สุดในเมืองไทย ติดตามด้วยหนังสือพิมพ์ที่ผู้ใหญ่นิยมอ่านพอเป็นเครื่องกระสายการเทศน์ ท่านเจ้าประคุณจึงครุ่นคิดอยู่กับธรรมะเสมอ นิยมแสดงธรรมตามหลักพระธรรมกถึก ที่ทรงแสดงไว้ในนวโกวาท คือ 1.แสดงธรรมโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ 2.อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ 3.ตั้งจิตเมตตาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง 4.ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ 5.ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือ ไม่ยกตนข่มผู้อื่น มีการนำพระบาลีมาวิเคราะห์พระพุทธคุณแต่ละบท 5 ข้อบ้าง 7 ข้อบ้าง 10 ข้อบ้าง ทั้งนี้ เพราะถือว่าเมตตากรุณาคือฐานสำคัญของการประกาศพระศาสนา นอกจากนี้ ยังมีผลงานด้านการแต่งหนังสือต่างๆ เป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็เคยทรงสดับพระธรรมเทศนาจากท่านเจ้าประคุณตามกาลที่เหมาะสม ดังที่ทรงมีพระราชปรารภในหนังสือพระมหาชนก ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ว่าทรงสดับพระธรรมเทศนาจากท่านเจ้าประคุณเรื่องพระมหาชนก จนทำให้พระองค์สนพระราชหฤทัย ทรงค้นเรื่องดังกล่าวจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ 9 ภาคที่ 2 และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษตั้งแต่ต้นเรื่อง โดยทรงดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น นอกจากนี้ ท่านเจ้าประคุณยังได้กำหนดแนวปฏิบัติภายในวัดราชผาติการาม คือ ให้ตีระฆังเล็กเวลาตี 4 ให้พระเณรตื่นขึ้นนั่งกัมมัฏฐาน ในวันพระ เวลาบ่ายจะลงอบรมและนำอุบาสก อุบาสิกานั่งกัมมัฏฐาน หลังจากทำวัตรค่ำประจำวัน ขึ้นกุฎีแล้วจุดธูปเทียน นั่งสงบอยู่หน้าพระประธาน 15-20 นาทีทุกวัน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ มีพระเถระชื่อดังเป็นกัลยาณมิตรมากมาย ท่านเหล่านั้นพักและแวะเวียนอยู่เสมอ อาทิ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงพ่อนิกรครุนาถ ชุมพร, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นต้น ท่านนิยมพูดถึงเจ้าคุณพระธรรมวโรดม วัดราชาธิวาส ซึ่งเป็นพระอาจารย์และยึดถือเป็นแบบอย่างสืบมา ว่า ท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นพระที่ละเอียดอ่อนในระเบียบวินัย เป็นต้นว่า การจัดกระถางธูป เชิงเทียน แจกันหน้าพระ เป็นระเบียบเรียบร้อยปฏิบัติเคร่งครัดในพระวินัยขั้นละเอียด กวดขันว่าพระไม่ควรจับต้องวัตถุอนามาส ไม่ควรจับต้องเครื่องปรุงอาหาร ศาสตรา อาวุธ เครื่องแต่งกายของคฤหัสถ์สตรี เครื่องดนตรี พระไม่ควรดมดอกไม้ตามวินัยชั้นสูง เมื่อพระธรรมวโรดม รับหน้าที่เป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช และภูเก็ต เจ้าพระคุณสมเด็จ รับหน้าที่เป็นเลขานุการ การปฏิบัติตามระเบียบวินัยเหล่านี้ สืบสายมาแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร ท่านเจ้าประคุณก็พลอยได้รับต้นแบบที่ดี และปฏิบัติตามเข้าถึงต้นแบบ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีบุคลิกสง่าแกมอ่อนน้อม รูปร่างสูงใหญ่กว่าพระเณรทั่วไป มีน้ำเสียงนุ่มไพเราะ เป็นต้นแบบการสวดสรภัญญะเป็นอย่างดี และมักต้องรับหน้าที่ขัดตำนานในพระราชพิธีต่างๆ เพราะได้ฝึกฝนในเรื่องนี้จนเป็นต้นแบบได้ พระเถระต่างกล่าวชมว่า น้ำเสียงไพเราะทำนองเหมาะสม เมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา อาพาธเนื่องจากอาการเส้นโลหิตดำที่ขาซ้ายตีบตัน เป็นเหตุให้ขาด้านซ้ายบวม ได้เข้าพักรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชเป็นครั้งคราว และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์มาโดยตลอด ครั้งสุดท้าย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2536 และได้ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ในวันเสาร์ที่ 10 เมษายน 2536 เวลา 00.10 น. สิริอายุ 87 พรรษา 65

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top