หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
พระฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พ.ศ. ๒๕๐๐ นิยม-มีเข็ม (เนื้อชิน) สุดสวย......
ชื่อร้านค้า | จามเทวี53 - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พ.ศ. ๒๕๐๐ นิยม-มีเข็ม (เนื้อชิน) สุดสวย...... |
อายุพระเครื่อง | 62 ปี |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 085-9891660 (ID Line....paopongs.r) |
อีเมล์ติดต่อ | paopongs.r@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อา. - 06 มิ.ย. 2553 - 07:41.55 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | จ. - 01 เม.ย. 2556 - 18:48.50 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พ.ศ. ๒๕๐๐ (เนื้อชิน) นิยม-มีเข็ม สุดสวย...... "พระฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ" พุทธพิธีครั้งยิ่งใหญ่เมื่อเกือบห้าสิบปีมาแล้ว เป็นพิธีการจัดสร้างพระเครื่องที่ใหญ่โตมโหฬาร ตามขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณทุกประการ ตลอดอายุขัยของเราเห็นจะไม่มีพิธีใดเสมอเหมือน ต้องจารึกเป็นประวัติศาสตร์ทางพุทธศาสนา ของพุทธศาสนิกชนชาวไทยงานหนึ่ง นั่นคือ "งานยี่สิบห้าศตวรรษ" ในปีพุทธศักราช 2500 เมื่อคราวฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งชาวพุทธถือกันว่า "กึ่งพุทธกาล" (อายุพุทธศาสนา 5,000 ปี) โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์สกลมหาสังฆปรินายก สมเด็จพระสังฆราชในสมัยนั้น เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส กำหนดงานฉลองถึง 7 วัน 7 คืน ในระหว่างวันวิสาขบูชา คือ เริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2500 (ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6) ถึง วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม 2500 (แรม 5 ค่ำ เดือน 6) จัดงาน ณ บริเวณท้องสนามหลวง และในตลอด 7 วันนี้ วัดวาอาราม บริษัท ห้าง ร้านทั่วประเทศตกแต่งธงทิวและประดับประดาโคมไฟเป็นพุทธบูชา ชักชวนประชาชนรักษาศีล 5 หรือศีล 8 มีการจัดอุปสมบทหมู่ 2,500 คน และถวายเพลพระสงฆ์ 2,500 รูปตลอด 3 วัน จัดสร้างเหรียญที่ระลึกงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ จัดทำดวงตราไปรษณีย์ มีการอภัยโทษแก่นักโทษ งดการฆ่าสัตว์และดื่มสุรา ถือเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่ยิ่งใหญ่มโหฬาร กลางคืนมีมหรสพสมโภชตลอด 7 วัน และในวันวิสาขบูชาที่ 13 พฤษภาคม 2500 เวลา 16.00 น. วัดวาอารามทั่วประเทศมีการย่ำฆ้องกลองระฆัง พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ มีการยิงสลุต การสมาทานศีล แผ่เมตตา และเวียนเทียน จุดดอกไม้เพลิง เป็นพุทธบูชา มีการจัดสร้างวัตถุมงคลและบูรณะปูชนียสถานที่สำคัญรวม 15 แห่ง และอื่นๆ อีกมากมาย สมเป็นงานที่มีความหมายและสำคัญอย่างยิ่งของพุทธศาสนิกชนชาวไทยจริงๆ นโอกาสนี้ ทางราขการได้จัดสร้าง "พระพุทธรูปแบบพุทธมณฑล (ปางลีลา)" เพื่อแจกจ่ายไปยังจังหวัดและอำเภอต่างๆ ทั่วประเทศ รวม 71 องค์ สำหรับ 71 จังหวัดในขณะนั้น ต่อมาสร้างเพิ่มอีก 500 องค์ เพื่อส่งไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ ที่สำคัญที่จะกล่าวถึงคือการจัดสร้าง "พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ" เพื่อเป็นที่ระลึก และแจกจ่ายแก่ข้าราชการทั่วประเทศ พ่อค้า ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบทุนในการสร้างพุทธสถานชื่อ "พุทธมณฑล" เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสืบไป "พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ" มีการจัดสร้างจากหลายหน่วยงาน แต่องค์หลักที่จัดสร้างโดยประธานกรรมการการจัดงานจะมี 2 เนื้อ คือ เนื้อชิน และเนื้อผง - พระเนื้อชิน โดยการนำโลหะต่างๆ อาทิ ดีบุก, ตะกั่วดำ, พลวงบริสุทธิ์ ผสมเป็นเนื้อชิน แล้วได้สร้างนวโลหะขึ้นอีกอย่างหนึ่งตามตำราการสร้างพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ อันมี ชินหนัก 1 บาท, เจ้าน้ำเงินหนัก 2 บาท, เหล็กละลายตัวหนัก 3 บาท, บริสุทธิ์หนัก 4 บาท, ปรอทหนัก 5 บาท, สังกะสีหนัก 6 บาท, ทองแดงหนัก 7 บาท, เงินหนัก 8 บาท, ทองคำหนัก 9 บาท แล้วตะไบเนื้อนวะโลหะของดีนี้เป็นผงผสมลงไปด้วย นอกจากนี้ยังมีแผ่นเงิน แผ่นทองแดง ตะกั่ว ที่พระเกจิอาจารย์ทั่วราชอาณาจักรลงเวทมนตร์ เลขยันต์คาถา พร้อมด้วยเศษชนวนหล่อพระในพิธีต่างๆ ผสมลงไปด้วย - พระผง (ดิน) โดยการนำดินที่ขุดจากฝั่งทะเลสงขลา เป็นดินสีเหลืองนวล ละเอียด คล้ายเนื้อพระเครื่องโบราณที่เรียกว่า "พระเครื่องบึงสามพัน" ซึ่งทำปลอมได้ยาก ผสมกับผงเกสรดอกไม้ 108 ชนิด ว่านใบไม้ต่างๆ รวมทั้งดินหน้าพระอุโบสถจากวัดทั่วประเทศ ดินจากบริเวณที่จะสร้างพระพุทธรูปยืนที่พุทธมณฑล ดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่งจากอินเดีย ผงวิเศษจากพระเกจิอาจารย์ต่างๆ และพระเครื่องของโบราณที่ชำรุด เช่น พระสมเด็จฯ พระนางพญา พระขุนแผน และพระรอด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหลายหน่วยงานร่วมจัดสร้างในโอกาสเดียวกันอีกหลายเนื้อทั้งทองคำ เงิน และนาก การจัด "พิธีพุทธาภิเษก" นั้นทำพิธีถึง 2ครั้ง ครั้งแรกที่พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร ครั้งที่ 2 ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ละครั้งจะทำพิธี 3 วัน 3 คืน โดยมีพระราชาคณะเจริญพระพุทธมนต์ถึง 25 รูป พระเกจิอาจารย์ดังๆร่วมปลุกเสกอีก 108 รูป ระหว่างการทำพิธีก็เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ต่างๆ ให้ผู้ร่วมพิธีเกิดความปิติกับงานมหามงคลในครั้งนั้นมากมาย พูดกันถึงเรื่องอภินิหาริย์ มีผู้คนกล่าวถึงอยู่มากเรื่องอยู่ยงคงกระพัน เรียกได้ว่า ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า กันหละ นับได้ว่า "พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ" เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสและเป็นที่นิยมทั้งในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชา และพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวาง สิบเนื่องจากมูลเหตุการจัดสร้าง พิธีมหาพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ และอภินิหาริย์ขององค์พระ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments