พระรอดทองคำ วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ปี2551-จามเทวี53 - webpra
VIP
รับผิดชอบ-ซื่อสัตย์-จริงใจ"085-9891660" *รับประกันพระแท้ทุกองค์-เก๊คืนเต็ม* (ID Line....paopongs.r)

หมวด พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520

พระรอดทองคำ วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ปี2551

พระรอดทองคำ วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ปี2551 - 1พระรอดทองคำ วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ปี2551 - 2พระรอดทองคำ วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ปี2551 - 3พระรอดทองคำ วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ปี2551 - 4พระรอดทองคำ วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ปี2551 - 5
ชื่อร้านค้า จามเทวี53 - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระรอดทองคำ วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ปี2551
อายุพระเครื่อง 16 ปี
หมวดพระ พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 085-9891660 (ID Line....paopongs.r)
อีเมล์ติดต่อ paopongs.r@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 01 ก.ย. 2565 - 14:56.03
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 20 ส.ค. 2566 - 07:36.45
รายละเอียด
พระรอด วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ (เนื้อทองคำ) "รุ่นปิดทอง ปี ๕๑" ปี 2551 จ.ลำพูน

สุดยอดวัตถุมหามงคล มหากุศล.มหาบารมี.***พระรอด วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ (เนื้อทองคำ) "รุ่นปิดทอง ปี ๕๑" *** .(หมายเลขประจำองค์พระ #85 , นำ้หนักทองคำ 16.8 กรัม)

***จำนวนจัดสร้างน้อยมาก..เพียง 200 กว่าองค์ เท่านั้น***

(พร้อมบัตรรับรองพระแท้มาตรฐาน จาก..บจก. นิตยสารพระท่าจันทร์ รหัส/Code : 65081701 , ออกให้ ณ วันที่ : 13/08/65 )

-พระรอด วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ (เนื้อทองคำ) "รุ่นปิดทอง ปี ๕๑" สร้างจากมวลสารศักดิ์สิทธิ์คือ..ยอดฉัตรทองคำ ๙ ชั้น ที่ชำรุด (ทองคำบริสุทธิ์ 96.5 %) ซึ่งประดิษฐานอยู่บน.."พระบรมธาตุหริภุญชัย" ของ วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร..นับเป็นวัตถุมงคล ที่เป็นมหามงคลอย่างยิ่ง..(หมายเลขประจำองค์พระ #85 , นำ้หนักทองคำ 16.8 กรัม)
*****(หมายเหตุ: ฉัตรทองคำ ๙ ชั้น ที่ชำรุด..และได้นำมาจัดสร้างพระรอดรุ่นนี้นั้น มีอายุกว่า 100 ปี)*****

-พระรอด วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ (เนื้อทองคำ) "รุ่นปิดทอง ปี ๕๑" จัดสร้างเพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ ๙) เนื่องในโอกาสทรงพระเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปี พ.ศ. 2551

-ในวันที่ 18 มกราคม 2553 เวลา 09.30 น.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงยกยอดฉัตรพระบรมธาตุหริภุญชัย ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ในการนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้มีอุปการคุณจำนวน 100 ราย

ขนาดองค์พระ
-ฐานกว้างประมาณ 1.2 ซ.ม.
-สูงประมาณ 2.4 ซ.ม.
-หนาประมาณ .8 ซ.ม.

***จำนวนจัดสร้างน้อยมาก(ตามปริมาณ "ยอดฉัตรทองคำ" ที่ชำรุด) เพียง 200 กว่าองค์ เท่านั้น***
********************(อีกหน่อยจะต้องหากันขนาดไหนครับ.)**********************

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

-ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน บูรณะซ่อมแซมองค์พระธาตุหริภุญชัย พร้อมสร้างฉัตรและปลียอดฉัตรใหม่ เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ ๙)

พระศรีธรรมโสภณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน เปิดเผยว่า รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณจำนวนกว่า 18 ล้านบาท เพื่อการบูรณะซ่อมแซมองค์พระธาตุหริภุญชัย และปรับภูมิทัศน์รอบบริเวณองค์พระธาตุฯ เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ ๙) ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ปี 2551 โดยการดำเนินงานดังกล่าว ทางวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ได้เชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมเป็นเจ้าภาพปิดทององค์พระธาตุ และร่วมสร้างฉัตรและปลียอดฉัตรองค์พระธาตุฯ ขณะนี้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ใช้เวลาดำเนินการเป็นระยะเวลา 2 ปี (ปี2551-2552)

โดยในวันที่ 18 มกราคม 2553 เวลา 09.30 น.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงยกยอดฉัตรพระบรมธาตุหริภุญชัย ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ในการนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้มีอุปการคุณจำนวน 100 ราย

-ข้อมูลทั่วไป
พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัย ที่ พระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สถาปนาขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 17 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า-ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสัณฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง เมื่อ พญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระธาตุฯ จากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา ในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมาประมาณปี พ.ศ. 1951 โปรดให้มีการปิดทององค์พระธาตุ พ.ศ. 1990 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์องค์สำคัญแห่งเมืองเชียงใหม่ ทรงร่วมกับพระมหาเมธังกรเถระ ก่อพระมหาเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น 92 ศอก กว้างยาวขึ้น 52 ศอก เป็นรูปร่างที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน

-ตัวพระบรมธาตุ ประกอบด้วย
ฐานปัทม์แบบฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้นรับฐานบัวซึ่งมีลักษณะคล้าย มาลัยเถาสามชั้นซึ่งตั้งรับองค์ระฆังกลม องค์ระฆังประดับด้วยลวดลายดอกไม้สี่กลีบระหว่างลายดอกไม้สี่กลีบนั้นมีการดุนนูนเป็นภาพพระพุทธรูป รอบองค์ระฆังซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์ย่อมุม ส่วนบนเป็นปล้องไฉน ปลียอดเหนือสุดทำเป็นฉัตรเก้าชั้น นอกจากนี้พระเจ้าติโลกราช ได้โปรดให้ก่อกำแพงโดยรอบเขตพุทธาวาสเพื่อเป็นการป้องกันรักษาองค์พระธาตุอีกชั้นหนึ่ง ทั้งยังทรงให้ก่อสร้างซุ้มประตูโขงประดับด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างงดงามทางประตูด้านทิศตะวันออกหน้าวิหารหลวงทางทิศเหนือและทางทิศใต้และ ทิศตะวันตก ปัจจุบันคงเหลือแต่ซุ้มประตูโขง ทางทิศตะวันออก และทางด้านทิศใต้ปี พ.ศ. 2054 พระเมืองแก้ว กษัตริย์นครเชียงใหม่โปรดให้หุ้มบุองค์พระธาตุ ด้วยแผ่นทองจังโกฐ ที่เป็นแผ่นทองแดง และทรงให้ปิดทองทั้งหมดพร้อมๆกับโปรดให้สร้างระเบียงหอก ทำด้วยทองเหลืองซึ่งสั่งทำจากเมืองเชียงแสนขึ้นเป็นรั้วล้อมโดยรอบขององค์พระธาตุด้วย โปรดให้สร้างวิหารหลวงทางด้านทิศตะวันออกขององค์พระธาตุหริภุญชัยเป็นศิลปะล้านนา นอกจากนี้ยังสร้างกำแพงเมือง และขุดคูโดยรอบกำแพงเมืองใหม่ขึ้น เป็นการย่นย่อตัวเมืองหริภุญชัยให้มีขนาดเล็กลงเพื่อเป็นการสะดวกที่จะดูแลรักษาองค์พระธาตุให้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งในการสร้างกำแพงเมืองในครั้งนี้ทำให้วัดสี่มุมเมืองที่สำคัญและสร้างขึ้นในสมัยของพระนางจามเทวีกลายเป็นวัดนอกเมืองลำพูนไป ในปี พ.ศ. 2329 ในสมัยของพระเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้มีพระราชศรัธทาตั้งฉัตรหลวงสี่มุม และยกฉัตรยอดเป็นทองคำเนื้อเจ็ด ฐานฉัตรกว้าง 1 เมตร พระธาตุเจ้าหริภุญชัยเป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวลำพูนและชาวเมืองเหนือมาแต่โบราณกาลจนตราบเท่าทุกวันนี้.

ที่มา พระสมุห์ปฏิภาณ ภูริปญฺโญ

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมตามลิ้งค์ข้างล่างนี้ครับ
https://www.cmprice.com/forum/?content=detail&wb_type_id=1&topic_id=185402

พุทธคุณ: พระอานุภาพของพระรอด มีความเชื่อกันว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี เป็นเลิศ.

อีกหน่อยจะต้องหากันขนาดไหนครับ.



คลิ๊กที่รูปบ้าน-(ดูหน้าร้าน)
หรือตามลิ้งค์ http://www.web-pra.com/Shop/jamadevi53
เผื่อเจอพระที่ท่านถูกใจ..085-9891660

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top