สิงห์สองขวัญหลวงพ่อหอม วัดซากหมาก-จามเทวี53 - webpra
VIP
รับผิดชอบ-ซื่อสัตย์-จริงใจ"085-9891660" *รับประกันพระแท้ทุกองค์-เก๊คืนเต็ม* (ID Line....paopongs.r)

หมวด เครื่องรางของขลัง

สิงห์สองขวัญหลวงพ่อหอม วัดซากหมาก

สิงห์สองขวัญหลวงพ่อหอม วัดซากหมาก - 1สิงห์สองขวัญหลวงพ่อหอม วัดซากหมาก - 2สิงห์สองขวัญหลวงพ่อหอม วัดซากหมาก - 3สิงห์สองขวัญหลวงพ่อหอม วัดซากหมาก - 4สิงห์สองขวัญหลวงพ่อหอม วัดซากหมาก - 5
ชื่อร้านค้า จามเทวี53 - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง สิงห์สองขวัญหลวงพ่อหอม วัดซากหมาก
อายุพระเครื่อง 47 ปี
หมวดพระ เครื่องรางของขลัง
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 085-9891660 (ID Line....paopongs.r)
อีเมล์ติดต่อ paopongs.r@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 31 ส.ค. 2562 - 22:51.56
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 11 ต.ค. 2562 - 07:13.12
รายละเอียด
สิงห์สองขวัญหลวงพ่อหอม วัดซากหมาก

โชว์............................เท่านั้น.

สิงห์สองขวัญยกขา-ตะปบเหยื่อ..ตาพลอยแดง (ยุคต้น) หลวงพ่อหอม วัดซากหมาก...ศิลป์นิยมหัวมังกร...รอยจารเก่าๆ..เดิมๆ..สุดๆๆ.

สวยงามอลังการ..งานแกะได้สมส่วนลงตัวขนาดประมาณเกือบ 1 นิ้ว อานุภาพทั้งอำนาจบารมี..แคล้วคลาด..เมตตามหานิยมสุดยอด.

-สิงห์หลวงพ่อหอมมีหลายศิลปะแบ่งแยกได้ดังนี้
1. คชสีห์ทรงเครื่องติดปีกตาฝังพลอย
2. คชสีห์ทรงเครื่องตาฝังพลอย
3. สิงห์ทรงเครื่องติดปีกตาฝังพลอย (คาบแก้ว, ไม่คาบแก้ว)
4. สิงห์ทรงเครื่องตาฝังพลอย (ยกขา, ไม่ยกขา)
5. สิงห์มหาดไทยตาฝังพลอย (ยกขา, ไม่ยกขา, ขวัญกลม, ขวัญเลขหนึ่งไทย)
6. สิงห์มหาดไทยตาไม่ฝังพลอย (ยกขา, ไม่ยกขา, สองขวัญ, สามขวัญ, ขวัญกลม, ขวัญเลขหนึ่งไทย)
7.สิงห์คอไก่สองขวัญ
8. สิงห์ตัวเล็กศิลปพิเศษ (ในกรอบต่างๆ, หมอบก้ม,ในมิติชิ้นงาต่างๆ, อื่นๆ)
9. สิงห์ตัวเล็กตาไม่ฝังพลอยปากนกแก้ว (สองขวัญ, สามขวัญ)
10. สิงห์สาริกาปากนกแก้ว (สองขวัญ, สามขวัญ)
11. สิงห์จิ๋วไซส์เล็กเลี่ยมเดิมจากโรงงาน (กรอบพลาสติกหน้าเลนส์หนา, กระเช้ามิเนียม)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ประวัติหลวงพ่อหอม จนฺทโชโต (พระครูภาวนานุโยค)

ในปัจจุบันแม้ระยะเวลาจะห่างออกมาจากพุทธกาลกว่า ๒๕๐๐ปีกว่าๆสัจจธรรม จากการตรัสรู้แท้ของพระบรมศาสดาก็ยังมีอยู่ไม่หนีหายไปไหน แต่หากว่าได้อยู่กับสาวกผู้มีความเพียรต่อการศึกษา จดจำและปฏิบัติอย่างถูกต้องแท้จริงเท่านั้น แม้สาวกผู้มีความเพียรดังกล่าวนี้จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็ยังคงมีสืบทอดต่อๆกันมามิได้ขาดสาย ดังจะเห็นได้จากกรรมานุภาพของพระภิกษุบางรูป มีผลให้เกิดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อย่างน่าอัศจรรย์ ยากที่พระภิกษุธรรมดาอื่นๆ อีกจำนวนมากจะทำเช่นนั้นได้.

หลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า หลวงพ่อทอด หลวงพ่อท่านคล้าย หลวงพ่ออี๋ หลวงพ่อโอภาสี หลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อครูบาศรีวิชัย หลวงพ่อเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต หลวงพ่อทิม หลวงพ่อครูบาอินโต หลวงพ่อถิร หลวงพ่อเต๋ หลวงพ่อเงิน หลวงพ่อชี่น พระอาจารย์ฝั้นและอื่นๆ ฯลฯ เป็นตัวอย่างของพระภิกษุผู้ทรงคุณวิเศษในยุคใหม่นี้

และในยุคดังกล่าวนี้ มีที่จะต้องกล่าวถึงอย่างสนิทใจอีกรูปหนึ่งซึ่งเป็นพระภิกษุที่เปรียบเสมือนเป็น “ช้างเผือก” ในพุทธอาณาจักร นั่นคือ "หลวงพ่อหอม แห่งวัดซากหมาก" ซึ่งเป็นวัดเล็กๆทางจังหวัดชายทะเลฝั่งตะวันออกของประเทศไทย แต่กลับมีชื่อเสียงโดงดังในทางคุณวิเศษระบือลือลั่น ไม่น้อยไปกว่าบรรดาท่านผู้ทรงคุณวิเศษที่ได้กล่าวนามมาแล้วนั้นเลย

ในมณฑลพิธีพุทธาภิเษกที่สำคัญ ทั้งที่เป็นพระราชพิธีและพิธีสามัญที่จัดให้มีขึ้นในเกือบทุกหนแห่งในประเทศไทย เว้นเสียแต่ หลวงพ่อหอม วัดซากหมาก จะอาพาธหรือติดศาสนกิจอย่างอื่นอยู่ก่อนเท่านั้น จึงไม่มีรายชื่อของท่านรวมอยู่ในมณฑลพิธีนั้นๆด้วย ทั้งนี้เพราะในหมู่ผู้นิยมวัตถุมงคลทุกระดับ น้อยคนนักที่คงไม่ได้ยินกิติศัพท์ความเป็นเป็นผู้ทรงพุทธเวทย์อย่างยอดเยี่ยมของท่าน จากวัตถุมงคลที่ท่านได้ปลุกเสกด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็น สิงห์งาช้าง สีผึ้ง นางกวักงาช้าง ไซมงคล พระกริ่งรูปเหมือน แหนบรูปเหมือน เหรียญรูปเหมือน แหวนทองแดงรูปเหมือน ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ล็อกเก็ต หรือตะกรุด ที่ล้วนแต่ให้คุณวิเศษแก่ผู้ที่มีไว้บูชาทั้งสิ้น

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ รัฐบาลสมัยนั้นซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
ได้จัดให้มีงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ขึ้นเป็นพิธีใหญ่ที่สุดในพุทธอาจักรของโลก โดยมีการจัดทำพระเครื่อง พระบูชาและวัตถุมงคลต่างๆขึ้นไว้เป็นที่ระลึกจำนวนมาก หลวงพ่อหอมแห่งวัดซากหมาก ก็เป็น ๑ ในจำนวนพระเวทยาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษ ๑๐๘ รูป ที่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาราธนาไปเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ในมณฑลพิธี ณ.ท้องสนามหลวง ท่ามกลางพุทธศาสนิกชนที่หลั่งไหลมาจากทุกมุมโลก เพื่ออนุโมทนาในการประกอบพิธีอันเป็นมหามงคลครั้งนั้นอย่างมืดฟ้ามัวดิน และด้วยเกียรติคุณอันสูงยิ่งของท่าน เมื่อท่านสำเร็จกิจกรรมในพระราชพิธีนั้นออกไปพักเป็นการชั่วคราว ที่วัดสุทัศน์เทพวนาราม
ก็ยังปรากฏว่าได้มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์หลั่งไหลติดตามไปขอพร และวัตถุมงคลจากท่านมิได้ขาดสาย จนศิษย์ผู้ทำหน้าที่อุปัฏฐากต้องขอร้องให้หลวงพ่อได้มีเวลาจำวัดพักผ่อนบ้างแต่ก็ไม่เป็นผล เพราะ ตัวหลวงพ่อกลับพูดออกมาด้วยน้ำเสียงที่เปี่ยมด้วยเมตตาอย่างยิ่งว่า ”ช่างเขา เถอะลูก” และคำพูดคำนี้ภายหลังหลวงพ่อก็ได้ใช้เรื่อยมากับทุกๆคนจนตลอดอายุขัยของท่าน

เมื่อท่านเจ้าคุณพระอมรสุธี อดีตเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนกลาง แห่งคณะ น.๑๘ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์ท่าเตียน)กรุงเทพฯ ดำริจะหาทุนสร้างศาลาการเปรียญที่วัดชะอำคีรี อำเภอชะอำ เพชรบุรี และสร้างกุฏิเจ้าอาวาสวัดช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดน่าน กับสร้างอุโบสถวัดดอนตัน อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน จึงได้ร่วมกับพลตรี ประสิทธิ์ ชื่นบุญ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์กองทัพบก จัดทำพระแก้วมรกตจำลองฝังเพชรรุ่นวิสาขบูชา ผ้ายันต์ธงชัย เหรียญหลวงพ่อวัดดอนตัน จ. น่าน โดยจัดพิธีพุทธาภิเษกเป็นพิธีใหญ่ที่พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หลวงพ่อหอม วัดซากหมากฯ ซึ่งเป็นพระภิกษุบ้านนอกจากชายฝั่งทะเลตะวันออก ก็เป็นอีกท่านหนึ่ง ที่คณะกรรมการผู้ดำเนินงานอาราธนาไปร่วมเป็นพระเวทยาจารย์ด้วย เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๘ โดยครั้งนั้นพระอาจารย์กัสสปมุนี แห่งสำนักปิปผลิวนาราม อำเภอบ้านค่าย ก็ได้อาราธนาไปร่วมพิธีด้วย

หลวงพ่อหอม วัดซากหมากฯ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ อายุ ๓๖ ปี ณ พัทธสีมาวัดทับมา ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยมีหลวงพ่อขาว วัดทับมา เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อจี๊ด วัดเขาตาแขก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า เป็นอนุสาวนาจารย์

เมื่อหลวงพ่อหอมอุปสมบทใหม่ๆ ยังเป็นนวกภิกษุผู้น้อยด้วยคุณวุฒิไม่อาจจะปกครองตนเองและผู้อื่นได้ จึงยังจำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยเบื้องต้นในฐานะอันเตวาสิกของหลวงพ่อชื่น อยู่ที่วัดมาบข่าแต่เพียงชั่วระยะ ๒ พรรษาเท่านั้น หลวงพ่อหอมก็เป็นผู้แตกฉานในพระธรรมวินัยอย่างน่าอัศจรรย์ เนื่องจากเป็นผู้มีความเพียรเป็นเลิศ ยากที่จะหาพระภิกษุรูปใดในรุ่นเดียวกันเสมอเหมือนได้ แม้หลวงพ่อชื่นเองก็ยังเคยปรารภให้พระภิกษุรูปอื่นๆฟังว่า ”อีกหน่อยคุณหอมเขาจะหอมทวนลมนะ” และต่อมาหลวงพ่อหอมก็ได้กลายเป็นหลวงพ่อผู้มีชื่อเสียงหอมทวนลมจริงดั่งคำของหลวงพ่อชื่นนั้น.

เมื่อหลวงพ่อหอมได้รับอนุญาตจากหลวงพ่อชื่น ซึ่งเป็นพระอาจารย์เบื้องต้นไปอยู่ที่วัดซากหมากใกล้ๆบ้านเกิดของท่านแล้ว ก็ได้พยายามค้นคว้าศึกษาพุทธเวทย์เพิ่มเต็มอย่างจริงจัง
จนบังเกิดผลดังที่ได้ประจักษ์แก่บรรดาศิษยานุศิษย์อย่างถ้วนหน้าแล้วนั้น นอกจากท่านจะได้สร้างวัตถุมงคลอันศักดิ์สิทธ์ เพื่อให้ผู้มีไว้บูชาบังเกิดที่พึ่งทางใจอย่างได้ผลแล้ว ก็ยังได้สร้างถาวรวัตถุขึ้นไว้ในวัดอีกหลายประการด้วยกัน เช่น อาคาร ศาลา หอระฆัง หอไตรกลางสระน้ำและอีกหลายๆอย่างที่ท่านได้สร้างไว้

ด้วยความที่หลวงพ่อหอม เป็นผู้ประกอบคุณงามความดีให้ปรากฏในศาสนจักรและราชอาณาจักรมากมาย จึงได้พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรีฯ พระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรีเป็น "พระครูภาวนานุโยค" ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ นับเป็นเกียรติยศอย่างยิ่งแก่หลวงพ่อและบรรดาศิษยานุศิษย์โดยทั่วหน้ากัน.

และในโอกาสนี้เอง ทีหลวงพ่อหอม ได้สร้างพระกริ่งรูปเหมือน แหนบบูชารูปเหมือน(ชนิดสั้น)รูปปั้นเหมือนองค์จริงแบบบูชาเป็นรุ่นแรกขึ้น และได้สร้างเหรียญรูปเหมือนรุ่นสอง
แบบหน้านูนครึ่งองค์ ด้านหลังเหมือนกับเหรียญรุ่นแรก พร้อมกับแหวนทองแดงรูปเหมือนและแบบเดียวกับที่สร้างเมื้อปี พ.ศ. ๒๔๙๘

หลวงพ่อหอม จนฺทโชโต หรือ พระครูภาวนานุโยค ได้อาพาธด้วยโรคชราและมรณภาพด้วยอาการสงบเมื่อเวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น.ของวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐ รวมสิริอายุ 87 ปี พรรษาที่ 51



คลิ๊กที่รูปบ้าน-(ดูหน้าร้าน)
หรือตามลิ้งค์ http://www.web-pra.com/Shop/jamadevi53
เผื่อเจอพระที่ท่านถูกใจ..085-9891660

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top