พระปิดตาอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม จ.ปทุมธานี-จามเทวี53 - webpra
VIP
รับผิดชอบ-ซื่อสัตย์-จริงใจ"085-9891660" *รับประกันพระแท้ทุกองค์-เก๊คืนเต็ม* (ID Line....paopongs.r)

หมวด พระปิดตาทั่วไป

พระปิดตาอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม จ.ปทุมธานี

พระปิดตาอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม จ.ปทุมธานี - 1พระปิดตาอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม จ.ปทุมธานี - 2พระปิดตาอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม จ.ปทุมธานี - 3พระปิดตาอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม จ.ปทุมธานี - 4พระปิดตาอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม จ.ปทุมธานี - 5
ชื่อร้านค้า จามเทวี53 - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระปิดตาอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม จ.ปทุมธานี
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระปิดตาทั่วไป
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 085-9891660 (ID Line....paopongs.r)
อีเมล์ติดต่อ paopongs.r@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 26 มี.ค. 2560 - 23:02.51
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 27 มี.ค. 2560 - 20:16.36
รายละเอียด
พระปิดตาอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม จ.ปทุมธานี

ตัวจริงหายากครับ ขนาดเล็กกระทัดรัด จิ๋วแต่แจ๋ว จัดเป็นสุดยอดพระปิดตาเบอร์ต้นๆของเมืองไทย อาจารย์เปิง ท่านเป็นสหธรรมมิกกับ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า..ประสบการณ์ครอบจักรวาล.

พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก อาจารย์เปิง วัดชินวราราม จ.ปทุมธานี
พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักอันดับ ๑ ของเมืองปทุม มีมากกว่า ๓๐ พิมพ์ แต่ละพิมพ์มีจำนวนไม่มาก แค่หลักสิบหลักร้อยเท่านั้น ด้วยจำนวนการสร้างที่น้อยมาก เนื้อมีความละเอียดเนียน แห้งแกร่ง ลักษณะเดียวกับพระปิดตาสายเมืองชลบุรี จึงทำให้ในอดีตพระปิดตาบางพิมพ์ของท่าน ถูกย้ายวัดไปเป็นของหลวงปู่จีนก็มี เนื่องจากเนื้อพระ และอายุใกล้เคียงกันมาก

อาจารย์เปิง ท่านเป็นสหธรรมิกกับ "หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า" เพราะศึกษาวิชาอาคมร่วมอาจารย์เดียวกันมา หลวงปู่ศุข ท่านยกย่องนับถือและไปมาหาสู่ท่านอาจารย์เปิงเป็นประจำ ดังนั้นจึงเคยเอาพระปิดตาพิมพ์เม็ดบัวของอาจารย์เปิง กลับไปแจกที่วัดของท่าน จึงทำให้ผู้ที่รับไปเข้าใจผิด คิดว่าพระพิมพ์นี้เป็นของหลวงปู่ศุขกันมานาน

ชีวประวัติของอาจารย์เปิง วัดชินวราราม หรือวัดมะขามใต้ในอดีต

พระอาจารย์เปิง หรือพระอธิการเปิง หรือพระวินัยธรเปิง นามเดิมว่า เปิง นามสกุล เที่ยงสัตย์ ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๙ เดือน ๗ ปีมะโรง พ.ศ.๒๓๙๔ โยมบิดาชื่อ ปั๋น โยมมารดาชื่อ กั้ว มีพี่น้อง ๕ คน เป็นชาย ๓ คน หญิง ๒ คน หลวงพ่อเป็นคนสุดท้อง ตระกูลของท่านเป็นชาวรามัญโดยกำเนิด ท่านมรณภาพด้วยโรคลมปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ สิริมายุได้ ๗๐ปี ๕๐พรรษา

ท่านศึกษา ร่ำเรียนพุทธาคมจาก หลวงพ่อเชย จันทสิริ อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์บางเขน (ปัจจุบันคือ วัดโพธิ์ทองล่าง จ.นนทบุรี) ในอดีตเป็นสำนักตักศิลาทางด้านพุทธาคม หลวงพ่อเชย ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์และเป็นอาจารย์ของ "หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า" ชัยนาท

หลวงพ่อเชย ท่านนี้เป็นพระสงฆ์ฝ่ายรามัญที่เคร่งในวัตรปฏิบัติและพระธรรมวินัย เชี่ยวชาญวิปัสสนากัมมัฏฐานและมีพุทธาคมแก่กล้า หลวงปู่ศุข ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้มาพร้อมกับ อาจารย์เปิง วัดชินวราราม และหลวงปู่เฒ่า วัดหงส์ปทุมวาส อาจารย์เปิง จึงเป็นสหธรรมิกใกล้ชิดสนิทสนมกับ หลวงปู่ศุข นอกเหนือไปจากเป็นศิษย์ร่วมสำนัก

ท่านอาจารย์เปิง อดีตเจ้าอาวาสวัดชินวรารามหรือวัดมะขามใต้รูปที่ ๖ ในสมัยนั้นท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านพุทธาคม กฤติยาคม เป็นทั้งอาจารย์ที่สอนพระธรรมวินัย ตลอดจนภาษาบาลีแบบรามัญ และภาษาขอม ที่ขึ้นชื่อลือชา เป็นสุดยอดพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ถึงขนาดที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิตร ทรงโปรดปราณรักใคร่ เสด็จไปมาหาสู่ แวะมาพำนักที่วัดอยู่เป็นนิจ เรียกว่า วัดมะขามใต้กับวัดราชบพิตรในสมัยนั้น เป็นคู่แฝดที่แยกกันไม่ได้โดยเด็ดขาด พระองค์มีพระเมตตาทรงปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่เมื่อปี ๒๔๕๕ จนแล้วเสร็จใน ปี ๒๔๕๖ ทรงสร้างพระตำหนักริมน้ำ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ และทรงโปรดให้สร้างมณฑปบรรจุอัฐิของพระมารดาไว้ที่วัดชินวรารามด้วย นอกจากนี้ยังมีรูปเหมือนของพระองค์ ขนาดเท่าองค์จริงที่ทรงประทานไว้ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ

วัดมะขามใต้ ถูกยกให้เป็นพระอารามหลวง และเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า “วัดชินวราราม” เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ เพื่อเป็นการเฉลิมพระนาม และเทิดทูลพระเกียรติแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ พระผู้ทรงอุปถัมภ์วัดชินวราราม มายาวนานถึง ๒๔ ปี

ไม่แต่เท่านั้น ย้อนหลังลงไปอีก ในสมัยสมเด็จพระพระสังฆราช กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แห่งวัดบวรนิเวศ ก็ทรงโปรดปรานท่านอาจารย์เปิงเป็นพิเศษเช่นกัน

พระอาจารย์เปิง ท่านเก่ง และเชี่ยวชาญด้านกฤติยาคมต่างๆ สีผึ้งของท่านเรื่องเมตตามหานิยม ค้าขาย เหมือนกับเทพเนรมิต พูดสิ่งใดได้สิ่งนั้น เนรมิตได้ดั่งใจ ส่วนน้ำมนต์นั้น คนที่ถูกกลั่นแกล้งให้โดนคดีความ หลุดพ้นจากคดีความทุกราย

ท่านเป็นพระที่มีกระแสจิตแรงกล้ามาก ท่านเคยเพ่งกอสวะที่ลอยอยู่กลางแม่น้ำซึ่งไหลเชี่ยว ให้ลอยทวนน้ำกลับมาที่ท่าน้ำหน้าวัดซึ่งท่านนั่งอยู่ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง หรืออีกาที่ว่าเลี้ยงไม่เชื่อง ท่านยังเรียกให้บินมาเกาะที่ฝาบาตรต่อหน้าท่านได้เลย

ตะกรุดที่ท่านทำแจกให้ไป ใครนำไปใช้ในทางที่ผิด เวลาที่ท่านลงสรงน้ำท่าน้ำหน้าวัด ตะกรุดเหล่านั้นจะกลับมาหาท่านโดยวิ่งวนรอบเอวท่าน ท่านยังเคยหยิบจากในน้ำ ส่งให้ลูกศิษย์ใกล้ชิด แล้วบอกว่า “ผู้ที่ได้รับ นำไปใช้ในทางที่ผิด เขาจึงกลับมา”

การสร้างพระปิดตา
ลุงจั๊ด (เป็นชื่อทางภาษามอญ) คุณลุงท่านนี้มีศักดิ์เป็นหลานในไส้ของท่านอาจารย์เปิง สมัยเด็กๆ คุณลุงเป็นลูกศิษย์รับใช้ใกล้ชิดท่านอาจารย์เปิง สุดแต่ท่านจะใช้สอยไหว้วานให้ทำอะไร ในการสร้างพระปิดตาแต่ละครั้ง คุณลุงจะช่วย บดตำเม็ดรักรวมทั้งมวลสาร และว่านต่างๆ

คุณลุงเล่าว่า...จากการที่ท่านอาจารย์เปิง เป็นอาจารย์สอนพระเณรที่มาเรียนกับท่านด้านอักขระภาษารามัญและขอม รวมทั้งวิชามูลกัจจายน์ ที่ต้องเรียกสูตร เรียกยันต์ ลบผงต่างๆ ต้องฝึกฝนกันเป็นประจำ ผงที่ได้ เช่น ผงมหาราช ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงปถมัง ผงพุทธคุณ ผงต่างๆหล่านี้เป็นผงศักดิ์สิทธิ์ที่สำเร็จด้วยหัวใจพระคาถา มีอำนาจ มีเสน่ห์ เมตตามหานิยม ตบะเดชะ และสรรพคุณต่างๆ ตามแต่ผู้สร้างหรือผู้นำไปบูชาจะอธิฐานไปทางใด ซึ่งผงต่างๆเหล่านี้ได้มาด้วยความยากลำบากยิ่ง กว่าจะรวบรวมได้เพียงพอ

ท่านอาจารย์เปิงจะนำผงที่รวบรวมได้แต่ละครั้ง มาผสมกับตัวยาบางชนิด รวมกับว่านเสน่ห์จันทร์ขาว เสน่ห์จันทร์แดง ว่านเศรษฐี ฯลฯ ที่เป็นของวิเศษตามตำราที่ท่านได้ร่ำเรียนมา เมื่อบดผสมเข้ากันดีแล้ว ก็นำไปคลุกเคล้ากับรักอีกครั้งหนึ่ง การสร้างแต่ละครั้ง ได้พระแค่ ๒๐๐ ถึง ๓๐๐ องค์เท่านั้น เนื้อพระมีความละเอียดเนียน แห้งแกร่ง ลักษณะเดียวกับ พระปิดตาสายเมืองชลบุรี มีหลายสี ทั้งสีน้ำตาลอ่อนแบบยานัตถ์ สีน้ำตาลเข้ม สีออกน้ำตาลไหม้คล้ำจัด สีดำแบบผงคลุกรัก และแบบ ๒ สีในองค์เดียวกัน บางองค์เม็ดรักโผล่ขึ้นมาให้เห็นบนผิวพระก็มี

ท่านจะทำพิธีสร้าง และปลุกเสกพระปิดตาของท่านในช่วงเข้าพรรษาเท่านั้น เรียกว่าปลุกเสกกันตลอดไตรมาส ๓ เดือนเลยทีเดียว พอออกพรรษาแล้วจึงจะนำมาแจกให้แก่ลูกศิษย์ ญาติโยม แต่ถ้าใครไม่ออกปากขอ ท่านก็จะไม่ให้ เมื่อจะให้ผู้ใด ท่านจะพิจารณาเห็นสมควรแล้วจึงให้ เพราะเกรงว่าจะนำพระของท่านไปใช้ในทางไม่ดี

ท่านอาจารย์เปิง จัดสร้างวัตถุมงคลไว้หลายแบบ แต่ที่ได้รับความนิยมมากคือพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก นอกจากนี้ยังมี ตะกรุดเงิน ลงอักขระมอญ (จารนอกจารใน) และประคำเนื้อผงคลุกรัก เป็นต้น

ศิษย์ของท่านที่เลื่องชื่อ มีหลายองค์ เช่น

๑.พระครูปัญญารัตน์ (ติ๊ด) อดีตเจ้าอาวาสวัดชินวรารามรูปที่ ๗ พระอาจารย์รูปนี้ อาจารย์เปิงเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ ท่านเคยสร้างพระปิดตาสืบต่อจากอาจารย์เปิง และนำออกแจกในงานฉลองสมณะศักดิ์ของท่าน เมื่อ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓ ท่านมรณภาพ เมื่อ ๑ ธันวาคม ๒๔๘๗ ศิษย์ของท่านที่มีชื่อเสียง คือ พระครูจันทคุณวัฒน์ (อำภา) อดีตเจ้าอาวาสวัดน้ำวน เก่งวิชาประสานกระดูก นอกจากนี้พระอาจารย์รูปนี้ ยังเป็นศิษย์ของ อาจารย์ อรรถ อีกด้วย

๒.พระอริยทัต (อาจารย์ไพ่) อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนมะม่วง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

๓.พระอาจารย์พลาย อดีตเจ้าอาวาสวัดมะขามเหนือ อ.เมือง จ.ปทุมธานี

๔.พระครูปทุมวรคุณ (เอี่ยม) อดีตเจ้าอาวาสวัดหงส์ปทุมวาส

๕.พระครูบวรธรรมกิจ (เทียน) อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์

๖.พระสมุห์อรรถ อดีตเจ้าอาวาสวัดน้ำวน

๗.หลวงปู่รอด วัดเกริน

พระปิดตาของอาจารย์เปิง พุทธคุณโดดเด่นมากด้านเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ แม้กระทั่งหลวงปู่ศุข ยังแบ่งผงพุทธคุณจากอาจารย์เปิงไปผสมทำพระปิดตาของท่าน เพื่อเสริมทางด้านเมตตา มหานิยมด้วยเลย และยังเคยแนะนำ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ถ้าอยากเรียนทางด้านเมตตา ให้มาเรียนกับอาจารย์เปิง ท่านบอกว่า “ เรื่องเมตตา ท่านเปิงเขาเก่งกว่าฉัน ”

ขอบคุณข้อมูลจาก
๑.หนังสือพระเครื่องยอดนิยมประจำจังหวัดปทุมธานี
๒.นิตยสารพระเครื่อง “มหาโพธิ์” ฉบับที่ ๑ วันที่ ๒๐ ก.ค. ถึง ๒๐ ส.ค. ๒๕๒๔ โดย อุตสาหะ ศิริวัฒน์




คลิ๊กที่รูปบ้าน-(ดูหน้าร้าน)
หรือตามลิ้งค์ http://www.web-pra.com/Shop/jamadevi53
เผื่อเจอพระที่ท่านถูกใจ..085-9891660

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top