หมวด หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า - หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส – หลวงปู่สมชาย วัดเขาสุกิม – หลวงปู่บัว วัดศรีบูรพาราม
เหรียญกนกข้างหลวงปู่คร่ำวัดวังหว้ากะไหร่ทองปี2534
ชื่อร้านค้า | อิฐ สงขลา - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญกนกข้างหลวงปู่คร่ำวัดวังหว้ากะไหร่ทองปี2534 |
อายุพระเครื่อง | 28 ปี |
หมวดพระ | หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า - หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส – หลวงปู่สมชาย วัดเขาสุกิม – หลวงปู่บัว วัดศรีบูรพาราม |
ราคาเช่า | 1,800 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 081-346-6638,081854-8799 |
อีเมล์ติดต่อ | itsda99@gmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อ. - 05 ก.พ. 2556 - 10:55.49 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พ. - 17 เม.ย. 2556 - 11:26.38 |
รายละเอียด | |
---|---|
เหรียญกนกข้างหลวงปู่คร่ำวัดวังหว้ากะไหร่ทองปี2534 พระมงคลศิลาจารย์ หรือหลวงปู่คร่ำ ยโสธโร ซึ่งชาววังหว้าและหมู่บ้านใกล้เคียงเรียกนามท่านว่า?ท่านพ่อคร่ำ?ท่าน มีอายุ๑๐๐ปีบริบูรณ์เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๐ พรรษา ๘๐นับเป็นพระเถระที่มีพรรษาสูงสุดของเมืองไทยรูปหนึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ ได้รับความนิยมและเป็นที่ศรัทธาของประชาชนทั่วประเทศ หลวงปู่คร่ำเป็นพระภิกษุที่มีบุญญาบารมีเป็นที่ปรากฏแก่ประชาชนมาเป็นเวลา นานแล้ว ท่านมีคุณูปการแก่สังคมหลายวงการอย่างกว้างขวาง ทั้งฝ่ายจักร และอาณาจักรทั้งในจังหวัดระยองและจังหวัดอื่นๆและเป็นปูชนียบุคคลที่ได้รับ การคารวะศรัทธาเป็นอย่างสูงจากชาวพุทธทั่วประเทศ เห็นได้จากงานพุทธาภิเษกที่สำคัญที่จัดในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของบ้านเมือง หลวงปู่จะได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีเกือบทุกครั้ง เนื่องจากมีผู้ให้ ความเคารพศรัทธาหลวงปู่คร่ำจำนวนมากต่างพากันยึดหลวงปู่เป็นสรณะในยามที่ ต้องเผชิญกับภาวะคับขัน ทั้งยังขอพรบารมีจากท่านช่วยบันดาลใช้ประสบโชคลาภ ประสบความสำเร็จสมปรารถนามีความสุขสมหวังในชีวิตจึงมีผู้ให้สมญานามท่านว่า? เทพเจ้าของชาวระยอง?บ้าง?ท่านพ่อแห่งฝั่งทะเลตะวันออก? บ้าง?เทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก?ฯลฯรวมความว่าหลวงปู่คร่ำเป็นพระที่อยู่ในใจ ของทุกคน กำเนิดหลวงปู่คร่ำมีนามเดิมว่า คร่ำ อรัญวงศ์ ท่านเกิด วันพุธ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา ตรงกับวันที่๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ที่บ้านวังหว้า ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โยมบิดาชื่อ นายครวญ อรัญวงศ์ โยมมารดาชื่อ นางต้อย อรัญวงศ์ หลวงปู่เป็นบุตรคนโต มีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน๓คนเป็นชายสองหญิงหนึ่งคือ ๑. นางเลื่อม อรัญวงศ์ ๒. นายเกิด อรัญวงศ์ ๓. นายทองสุข อรัญวงศ์ ต้นตระกุลของหลวงปู่ ตั้ง รกรากอยู่ที่บ้านวังหว้ามาช้านานหลายชั่วอายุคนมีญาติพี่น้องมากมายหลายสาย หลายตระกุลครอบครัวของท่านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเช่นเดียวกับคนส่วนใหญ่ใน ย่านนั้น เฉพาะอย่างยิ่งอาชีพทำสวนพริกไทย ซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อของอำเภอแกลงในสมัยนั้นเช่นเดียวกับจังหวัดจันทบุรี ที่มีเขตแดนติดกัน(เดิมอำเภอแกลงขึ้นอยู่กับจันทบุรี) เล่ากันว่าเมื่อหลวงปู่อายุได้ ๑๕ ปี หลังจากไปเรียนหนังสือที่วัดระยะหนึ่งแล้วก็กลับมาช่วยครอบครัวประกอบอาชีพ สวนพริกไทย ดังที่บรรพบุรุษทำกันมา แต่ครั้งนั้นได้เกิดฝนแล้งไปทั่วบรรดาสวนพริกไทยในละแวกนั้นทั้งหมดได้พากัน เหี่ยวแห้งเฉาตายชาวบ้านแถบหมดตัวไปตามๆกันทุกครัวเรือนครอบครัวหลวงปู่คร่ำ จึงได้เลิกทำสวนพริกไทยและหันไปประกอบอาชีพอื่นตั้งแต่นั้นมาการศึกษา เมื่อเยาว์วัย หลวงปู่คร่ำเป็นเด็กฉลาดมีไหวพริบปฏิภาณดีเมื่ออายุได้ประมาณ๑๑ปีโยมบิดาได้ นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอาจารย์ตรีเจ้าอาวาสวัดวังหว้า ตำบลวังหว้า ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน โดยจัดพานดอกไม้ธูปเทียน เครื่องสักการะนำไปถวายในวันพฤหัสบดี(วันครู)ตามประเพณีการเล่าเรียนและการ บวชเรียนของสังคมไทยเราแต่โบราณมาในสมัยนั้นต้องเรียนกันตามวัด อาศัยวัดเป็นโรงเรียน มีพระเป็นครูสอนการเรียนไม่มีหลักสูตรกำหนดไว้ชัดเจนเช่นปัจจุบันแต่พระก็ สอนจนลูกศิษย์สามารถอ่านออกและเขียนได้เป้นอย่างดีทั้งอักษรไทยและอักษรขอม ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเนื่องจากตำราต่างๆสมัยก่อนเฉพาะอย่างยิ่งคัมภีร์ ทางพุทธศาสนาจะเขียนด้วยอักศรขอมทั้งสิ้น ไม่มีหนังสือที่พิมพ์ด้วยอักษรไทยเช่นทุกวันนี้ผู้ที่เรียนหนังสือจะต้อง เรียนภาษาไทยควบคู่ไปกับภาษาขอมด้วยเสมอ การเรียนของหลวงปู่คร่ำนั้นมิได้เรียนเฉพาะที่วัดวังหว้าเท่านั้นท่านยังไป เรียนต่อกับสมภารหลำ ที่วัดพลงช้างเผือก ซึ่งอยู่ใกล้กับตำบลวังหว้าอีกด้วยเรียนอยู่จนอายุได้๑๕ปีมีความรู้หนังสือ ดีแล้วจึงได้กลับไปอยู่กับบิดามารดาตามเดิม เพื่อช่วยเหลือครอบครัวประกอบอาชีพต่อไปสมณเพศ เมื่ออายุครบ๒๐ปีหลวงปู่ได้อุปสมบทที่วัดวังหว้าเมื่อวันจันทร์ แรม ๗ ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่๑๑มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับฉายาว่า?ยโสธโร?แปลว่าผู้ทรงไว้ซึ่งยศหรือผู้ดำรงยศ พระอุปัชฌาย์ คือ พระครูสังฆการบูรพทิศ (ปั้น อินทสโร) เจ้าคณะแขวงแกลงวัดราชบัลลังก์ พระกรรมวาจารย์ คือพระใบฎีกาหลำ ปัญญายิ่ง รองเจ้าคณะแขวงแกลง วัดพลงช้างเผือก พระอนุสาวนาจารย์ คือพระอธิการเผื่อน เจ้าอาวาสวัดวังหว้า หลวง ปู่คร่ำมุ่งศึกษาด้านพระธรรมวินัยซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมา ของพุทธศาสนาและหลักธรรมของ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยนั้นวัดวังหว้ายังไม่มีสำนักสอนธรรมหลวงปู่ต้องไปเรียนที่วัดพลงช้าง เผือก และสอบได้นักธรรมตรีและโทเป็นลำดับนอกจากเรียนรู้พระธรรมวินัยเป็นพื้นฐาน แล้ว ท่านยังศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ และตำรับยาสมุนไพรจนมีความรู้ความสามารถนำไปใช้บำบัดรักษาช่วยเหลือชาวบ้าน ได้เป็นอย่างดีในสมันที่ยังไม่มีสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลดังเช่นทุกวันนี้ วิชาที่หลวงปู่ชำนาญเป็นพิเศษ คือ กรรมวิธีต่อและประสานกระดูกอันเกิดจากอุบัติเหตุต่างๆ มีผู้มารับการรักษาที่วัดวังหว้าเป็นประจำและหายกลับไปทุกคน จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว การศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคม หลวงปู่ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระครูนิวาสธรรมสาร(หลวงพ่อโต) วัดเขากะโดนและวัดเขาบ่อทอง ซึ่งหลวงพ่อโตเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐานชำนาญการธุดงควัตร เป็นผู้มีพลังจิตรแก่กล้า และวิทยาคมขลังเป็นเลิศ หลวงปู่คร่ำได้ร่ำเรียนด้วยอุตสาหะพากเพียรจนมีความรู้ความชำนาญในวิชาอาคม หลายด้านเมื่อกลับมาที่วัดวังหว้าก็ได้ฝึกฝนพลังจิตเจริญสมาธิภาวนาโดยตลอด มิได้ขาดในกาลต่อมาหลวงปู่ได้ใช้วิทยาคมที่ได้ฝึกฝนร่ำเรียนมานั้นให้เป็น ประโยชน์ต่อญาติโยมและบุคคลทั่วไปนานัปการจนชื่อเสียงเกียรติคุณขจรไกลไป ทั่วเมืองไทยและต่างประเทศสิ่งหนึ่งที่หลวงปู่ยึดมั่นโดยตลอดคือ กตัญญุตาการรำลึกถึงคุณของบูรพาจารย์ทุกปีของหลวงปู่จะประกอบพิธีไหว้ครู ตามหลักปฏิบัติสืบเนื่องมาไม่เคยขาดจึงส่งผลให้หลวงปู่คร่ำเจริญยิ่ง ด้วยชื่อเสียงเกียรติคุณตลอดมาการปกครองและอบรมสานุศิษย์หลังจากหลวงปู่อบรม ได้ ๔ พรรษา พระอธิการเผื่อนเจ้าอาวาสวัดวังหว้าได้มรณภาพลงหลวงปู่คร่ำได้รับมอบหมายให้ ทำหน้าที่เจ้าอาวาสสืบแทนหลวงปู่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่พระภิกษุสงฆ์โดย ทั่วไป จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆดังนี้ ปี พ.ศ. ๒๔๖๔เป็นเจ้าอาวาสวัดวังหว้า ปี พ.ศ. ๒๔๗๔เป็นเจ้าคณะหมวดเนินฆ้อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๙เป็นเจ้าคณะตำบลเนินฆ้อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ หลวงปู่สูงอายุขึ้น สุขภาพพลานามัยไม่สมบูรณ์ จึงลาออกจากเจ้าคณะตำบลเนินฆ้อ มุ่งสร้างเสนาสนะและปฎิสังขรณ์วัดวังหว้าจนเจริญรุ่งเรืองตราบเท่าทุกวันนี้ หลวงปู่คร่ำได้อบรมสั่งสอนศิษย์ให้ยึดมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควร ท่านได้กำหนดระเบียบการปกครองของวัดวังหว้า ให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติและระเบียบคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคม รวมทั้งระเบียบต่างๆของทางราชการทุกประการกฎระเบียบของวัด ภิกษุสามเณรทุกรูปในวัด ต้องยึดถืออย่างเคร่งครัดต้องตั้งใจเล่าเรียนพระธรรมวินัย ต้องทำวัตรทุกเช้าเย็น ภายในบริเวณวัดงดเว้นอบายมุขทุกชนิดของดีหลวงปู่ วัตถุมงคล เครื่องรางของขลังของหลวงปู่คร่ำ มีมากมายหลายอย่าง ทั้งตะกรุดโทนสีผึ้งเมตรตา ผ้ายันต์ น้ำมันงา และเหรียญแบบต่างๆ สมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูประทวน พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้น เอก พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระมงคลศีลาจารย์ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments