ปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิปี47-อิฐ สงขลา - webpra
VIP
พระแท้ดูง่าย สวยตาเปล่า

หมวด จตุคามรามเทพ พ.ศ. 2530 ถึง 2549

ปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิปี47

ปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิปี47 - 1ปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิปี47 - 2
ชื่อร้านค้า อิฐ สงขลา - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง ปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิปี47
อายุพระเครื่อง 12 ปี
หมวดพระ จตุคามรามเทพ พ.ศ. 2530 ถึง 2549
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ itsda99@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 27 พ.ย. 2553 - 09:14.10
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 08 ม.ค. 2566 - 22:19.53
รายละเอียด
ประวัติความเป็นมา
ตำนานเดิมและที่มาของพระบรมธาตุ
เนื่องจากเกิดสงครามแย่งชิงพระบรมธาตุระหว่างท้าวโกสีหราชผู้ครองเมืองทนบุรีกับท้าวอังกุศราชผู้ครองเมืองชนทบุรี ท้าวโกสีหราชเล็งเห็นว่าภัยจะเกิดเพราะมีกำลังน้อยกว่า จึงรับสั่งให้พระนางเหมชาราพระธิดากับพระโอรสทันตกุมารนำพระบรมธาตุหนีภัยสงครามลงเรือไปยังเมืองลังกา ขณะกำลังเดินทางผ่านเมืองช้างค่อมศิริธัมมาราช ( นครศรีธรรมราชปัจจุบัน) ได้เกิดอาถรรพณ์คลื่นลมปั่นป่วนด้วยอำนาจของครุฑและนาคที่มานมัสการพระบรมธาตุจนเป็นเหตุให้สำเภาแตกอับปางกลางทะเล เจ้าสองพี่น้องจึงนำพระบรมธาตุเสด็จขึ้นฝั่งและอธิษฐานฝังลง ณ กลางหาดทรายแก้วประมาณปี พ. ศ. 6 - 8 เริ่มสร้างเจดีย์ทรงศรีวิชัย ในราวปี พ. ศ. 272 พระโอรสสองพี่น้องของพระเจ้าตะวันอธิราช เจ้าผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ( จังหวัดนครปฐม ราชบุรีและเพชรบุรีในปัจจุบัน) คือ เจ้าเดือนเด่นฟ้าและเจ้าดาวเด่นฟ้า ผู้จดจารึกกระเบื้องจาร จากคำพยากรณ์ของพระโสณะมหาเถระ ( หัวหน้าพระอรหันต์ที่มาเผยแพร่ศาสนาครั้งแรกในดินแดนสุวรรณภูมิ) ในคำโสณะพยากรณ์ได้กล่าวไว้ว่าสุวรรณภูมิจะถึงกาลอวสานในภายภาคหน้าและจะได้เมืองหลวงใหม่ชื่อว่าศรีวิชัยสุวรรณภูมิ ซึ่งต่อมาเมืองนั้นก็คือเมืองช้างค่อมศิริธัมมาราช และก็กลายเป็นเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบันนั่นเอง จากคำพยากรณ์ทำให้เจ้าเดือนเด่นฟ้าและเจ้าดาวเด่นฟ้าเดินทางมายังเมืองช้างค่อมและได้สร้างบ้านเรือน ก่อตั้งกองทัพเรือและโรงเรียนนายเรือ โดยมีชาวชวากะชนพื้นเมืองเดิมเป็นกำลังช่วยเหลือจนได้มาค้นพบเนินดินอันเป็นที่ฝังพระบรมธาตุ จึงสร้างพระเจดีย์ทรงศรีวิชัยคร่อมเนินดินไว้ให้เป็นที่สักการะบูชาเป็นต้นมา

จากตำนานที่ได้ถูกค้นพบในกระเบื้องจาร ที่มีชาวบ้านขุดพบในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพชรบุรี และอีกหลายๆ จังหวัดในประเทศไทยได้มีการกล่าวถึงประวัติของเมืองศรีวิชัยสุวรรณภูมิ หรือเมืองช้างค่อมศิริธัมมาราชในอดีต ที่มาขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ ตำนานของต้นกำเนิดของพระสงค์ไทยซึ่งเป็นพระอรหันต์สมัยแรกของประเทศไทยและตำนานของพระมหากษัตริย์ที่เกี่ยวข้อง กับการบูรณะบรมธาตุเจดีย์ ในทุกๆ รอบ 700 ปี จนได้กลายมาเป็นตำนานแห่งอาถรรพณ์ลึกลับ เชื่อมโยงกาลเวลากับการบูรณะให้เป็นอัศจรรย์ปรากฏแก่ชาวพุทธ ซึ่งจะได้กล่าวดังต่อไปนี้

การบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ ครั้งที่ 1 ( หลังจากสร้างมาได้ประมาณ 700 ปี)

ประมาณปี พ . ศ. 1026-1040 ในขณะนั้นกษัตริย์ผู้ปกครองสุวรรณภูมิ ( ดินแดนนับตั้งแต่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี เรื่อยมาจนสุดแหลมมาลายู) คือพระเจ้าจันทรภานุ มีพระบารมีบุญญาธิการมาก ได้แผ่อำนาจขยายอาณาเขตออกไปถึงประเทศอินเดีย ไม่ยอมกลับมาสุวรรณภูมิเป็นเวลากว่า 20 ปีพระโอรสสองพี่น้องของพระเจ้าจันทรภานุ คือ ขุนอินทรไสเรนทร์และขุนอินทรเขาเขียวเห็นบ้านเมืองทรุดโทรมลง ขาดกษัตริย์ปกครอง จะตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์แทนบิดาก็ไม่ได้จึงร่วมกันย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองช้างค่อมศิริธัมมาราช เปลี่ยนใหม่ชื่อว่าศรีวิชัยสุวรรณภูมิ ในปี พ. ศ.1040 ตรงตามคำทำนายของพระโสณะมหาเถระในฐานะที่ท่านเป็นปฐมกษัตริย์ของเมืองศรีวิชัยสุวรรณภูมิได้สร้าง ขยายเมือง และซ่อมแซมบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ที่เริ่มทรุดโทรมลงเป็นครั้งแรกร่วมกับชาวชวากะชนพื้นเมืองเดิมด้วย ด้วยคุณงามความดีของพระโอรสสองพี่น้องหลังจากที่ได้สิ้นพระชนม์ลง ประชาชนทั้งหลายจึงได้ยกย่องให้เป็นเสื้อเมือง และทรงเมือง มีฐานะเป็นเทวดาประจำเมือง และเรียกพระนามของท่านทั้งสองว่า “ ท้าวจัตุคาม” และ “ ท้าวรามเทพ” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ ครั้งที่ 2 ( หลังจากบูรณะครั้งแรกประมาณ 700 ปีเศษ)

ประมาณปี พ. ศ. 1800 พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ทำการบูรณะเป็นเจดีย์ทรงลังกา คร่อมองค์เดิมที่เป็นทรงศรีวิชัย ซึ่งชำรุดกองเป็นเนิน ( ตามตำนาน) โดยได้รับความร่วมมือจากกษัตริย์อีกหลายๆ เมืองที่อยู่ในความปกครองของกรุงศรีวิชัย โดยกษัตริย์จากเมืองต่างๆ ได้นำทรัพย์สินเป็นทองคำบ้างเป็นเครื่องใช้บ้าง ต่างๆ นานา นำมาถวายเป็นพุทธบูชา ทำให้การบูรณะครั้งนี้เสร็จเร็วมาก ในคราวนั้นมีผู้เดินทางมาจากทั่วทิศ มาถึงบ้าง มาไม่ถึงบ้าง บางกลุ่มก็มาทางเรือ บางกลุ่มก็มาทางบก บางกลุ่มก็มาตายระหว่างทางเพราะเกิดโรคระบาด มีอีกหลายกลุ่มที่มาถึงแต่ไม่ได้ร่วมบูรณะเพราะเจดีย์ได้สร้างเสร็จก่อน ก็ได้มาสร้างเจดีย์องค์ใหญ่เกือบเท่าพระบรมธาตุเจดีย์ที่ชาวนครศรีธรรมราชเรียกว่า เจดีย์ยักษ์ เพราะยักย้ายไปอยู่อีกฝั่งถนนขององค์พระบรมธาตุและสร้างวัดขึ้น ( ปัจจุบันคือวัดพระเงิน อยู่ข้างเทศบาลเมืองนครฯ) บางกลุ่มมาจากทางทิศเหนือเรือมาเกยตื้นที่ อ. ท่าศาลาได้สร้างวัดนางตรา ( วัดพระนังตรา) อีกกลุ่มมาสร้างวัดแจ้งแหยงที่ ต. กลาย ( สระแก้ว) กลุ่มที่มาทางทิศตะวันตกมาถึง ต. จันดี อ. ฉวาง เกิดโรคระบาดจึงเอาสมบัติกองบนพื้นดิน 3 กอง และเอาดินถม ( เดี๋ยวนี้เป็นวัด) กลุ่มที่มาทางทิศตะวันออกมาทางทะเลมาเกยตื้น จึงนำทรัพย์สินบรรจุในถ้ำที่เป็นเกาะเล็กๆที่เกาะนางยมโดย อ. ปากพนัง และยังมีอีกหลายๆ แห่ง บางแห่งมีแท่งทองคำ จารึกคำว่าพระธาตุที่แผ่นทองคำ รวมแล้วสมบัติทั้งหมดผู้ที่นำมามีเจตนาเป็นกุศลหวังได้ร่วมบูรณะพระบรมธาตุทั้งสิ้น นับเป็นการบูรณะครั้งยิ่งใหญ่มากและต้องมีบุญมากจริง ถึงได้ร่วมบูรณะ และอยู่เห็นการบูรณะเสร็จสมบูรณ์เพราะตายไปมากในระหว่างทางก็มี

การบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ ครั้งที่ 3 ( หลังจากบูรณะครั้งที่ 2 ประมาณ 700 ปีเศษ)

นับตั้งแต่ พ. ศ. 2497 หน่วยงานราชการและพุทธบริษัท ได้ร่วมกันบูรณะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ โบสถ์ วิหารและเสนาสนะต่างๆ ให้กลับมาอยู่ในสภาพสมบูรณ์เรื่อยๆ มาองค์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชเป็นพุทธสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในดินแดนคาบสมุทรทะเลใต้ซึ่งคราวชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลาและได้รับการบูรณะมาตลอด แต่การบูรณะครั้งยิ่งใหญ่จริงๆ นั้นตามตำนานที่ปรากฏอยู่จะเกิดขึ้นในราวทุกๆ รอบ 700 ปี ต่อครั้งโดยประมาณ ซึ่งเป็นเสมือนอาถรรพณ์กำหนดลึกลับที่มีมาแต่โบราณกาล และมีน้อยคนนักที่ได้ล่วงรู้ในช่วงการบูรณะรอบที่ 3 วัดพระมหาธาตุนครศรีธรรมราช ได้รับการบูรณะเสร็จสิ้นไปแล้ว มีดังนี้

1. พ. ศ. 2497 บูรณะกำแพงและสร้างซุ้มประตูหน้า โดย พล. ต. ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช กับอาจารย์ชุม ไชยศรีร่วมกันจัดสร้างพระผงชุดยอดขุนพล พระผงท่าเรือ พระผงนางตรา พระผงขุนแผน พระรอด พระพระพวย และพระผงพุทธนิมิตร

2. พ. ศ. 2517 บูรณะและต่อเติมวิหารคดด้านทิศเหนือ โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชร่วมกับ พล. ต. ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นเจ้าพิธีกรรม จัดสร้างพุทธสิหิงค์จำลอง ขนาด 12 นิ้ว 9 นิ้ว 5 นิ้ว พระกริ่ง และเหรียญ

3. พ. ศ. 2537 บูรณะพระวิหาร 4 วิหาร โดยกรมศิลปากร

4. พ. ศ. 2538 โดยกรมศิลปากร บูรณะปลียอดทองคำ และองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ให้กลับมาอยู่ในสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดังเดิมและยังมีความประสงค์ที่จะได้บูรณะเจดีย์รายรอบๆ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ที่เหลืออีกจำนวน 163 องค์เช่นกัน แต่หมดงบประมาณเสียก่อน

5. พ. ศ. 2545 บูรณะพระวิหารกัจจายนะ และพระวิหารพระเจ้าศรีธรรมโศกราช โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคร่วมกับ พล. ต. ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นเจ้าพิธีกรรมได้จัดสร้างพระพุทธสิหิงค์จำลอง มีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ที่ผ้าทิพย์ขนาด 12 นิ้ว 5 นิ้ว พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ และเหรียญ 2 ขนาดทำพิธีพุทธาพิเษกตั้งแต่ พ. ศ. 2537 โดยนำเงินมอบให้กรมศิลปากร เมื่อต้นปี พ. ศ.2545 แต่เนื่องจากงบประมาณของกรมศิลปากรและเงินที่ได้รับบริจาคของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้หมดลงก่อน ไม่เพียงพอที่จะได้นำไปบูรณะเจดีย์พระบรมธาตุที่เหลืออีก 163 องค์ให้เสร็จสมบูรณ์เมื่อเป็นเช่นนี้ ทางวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารนครศรีธรรมราช ร่วมกับ พล. ต. ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดชและพ่อค้าประชาชนได้ร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อหาทุนมาสมทบกับงบประมาณของกรมศิลปากรเพื่อบูรณะเจดีย์รายรอบๆ องค์พระบรมธาตุ ให้กลับมามีสภาพสมบูรณ์คงทนถาวรดังเดิม ในการนี้จึงได้จัดสร้างรูปบูชา รูปเหมือนลอยองค์ ท้าวจัตุคามและท้าวรามเทพ เหมือนรูปปูนปั้นที่นั่งอยู่สองฟากทางขึ้นพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งมีอยู่ในวัดพระมหาธาตุนครศรีธรรมราชมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย สาเหตุที่ได้สร้างรูปของท่านก็เพื่อเป็นการให้ประชาชนระลึกถึงท่านทั้งสอง ที่ได้มาบูรณะวัดพระบรมธาตุเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ พ. ศ. 1026-1040 เศษ หลังจากที่พระเจ้าเดือนเด่นฟ้าและพระเจ้าดาวเด่นฟ้าพระโอรสของพระเจ้าตะวันอธิราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรสุวรรณภูมิ ได้มาสร้างเป็นเจดีย์ทรงมารวิชัยไว้ โดยนิมนต์พระมูนียะเถระมาช่วยด้วย และเปลี่ยนชื่อเมืองช้างค่อมเป็นชื่อเมืองว่า นครธัมราช เมื่อประมาณ พ. ศ. 270 เศษ

โดยในการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ ได้จัดสร้างพระผงและเหรียญชื่อว่า พระอุดมโชคปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิ เพื่อถวายตอบแทนพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมทำพิธีให้กับวัดพระมหาธาตุนครศรีธรรมราช ในการบูรณะเจดีย์รายและถวายแก่วัดที่มอบมวลสารมาให้สร้างพระผงว่านอุดมโชค ๘ อรหันต์ สุวรรณภูมิ เนื่องจากไม่มีการถวายให้กับพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีและไม่ได้ถวายให้กับวัดที่ให้มวลสารมา จึงจัดสร้างพระผงว่านอุดมโชดปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิขึ้นเป็นการถวายตอบแทนพระคุณ

ปัจจุบันนี้ พระผงว่านอุดมโชค ๘ อรหันต์สุวรรณภูมิได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้พระที่จัดสร้างจำนวน 50,000 องค์ หมดไปจากวัดมหาธาตุวรมหาวิหารภายในเวลาไม่ถึง 6 เดือน และพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีจัดสร้างพระผงว่านอุดมโชค ๘ อรหันต์สุวรรณภูมิ ได้ขอร้องให้ พล. ต. ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช จัดสร้างให้กับวัดของท่านบ้าง เพราะทุกวัดก็มีภาระที่จะต้องทำนุบำรุงเช่นเดียวกับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร พล. ต. ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดชก็รับปากว่าจะจัดสร้างให้ แต่เนื่องจากมีอายุมากแล้ว และต้องให้ทุนทรัพย์มากมาย จึงปรารภให้กรรมการผู้ใหญ่ที่จัดสร้างพระผงว่านอุดมโชค ๘ อรหันต์สุวรรณภูมิ ( พระเจดีย์ราย) ในขณะนั้นช่วยรับภาระ จากวันนั้นถึงปัจจุบันนี้ คณะกรรมการมิได้นิ่งนอนใจเริ่มดำเนินการออกแบบใหม่ เพื่อมิให้ประชาชนหลงผิดว่าเป็นพระชุดเดียวกันกับพระผงว่านอุดมโชค ๘ อรหันต์สุวรรณภูมิ ส่วนมวลสารใช้มวลสารเดิมของพระผงว่านอุดมโชค ๘ อรหันต์ สุวรรณภูมิทั้งหมด หามาสมทบเพิ่มอีกเล็กน้อย ที่เกี่ยวข้องกับพระอรหันต์โดยตรง รวมทั้งค้นคว้าประวัติของพระอรหันต์ต้นปฐมของไทยและบรรดาขุนเมืองที่รับพระพุทธศาสนาพระองค์แรก บรรพชาพระองค์แรก ทอดกฐินพระองค์แรก จุลกฐินพระองค์แรก และบรรพบุรุษไทยที่ทำคุณประโยชน์ต่อแผ่นดินทุกยุคในแผ่นดินสุวรรณภูมิที่ปรากฏในจารจารึก รายละเอียดปรากฏอยู่ในหนังสือคู่มือ ซึ่งจะออกมาพร้อมกับพระ ในการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ได้จัดสร้างพระผงและเหรียญ ชื่อว่า พระผงว่านอุดมโชคปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิ โดยกำหนดรูปแบบและความหมายเพื่อเป็นการเคารพบูชาบรรพบุรุษทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายฆราวาส ดังนี้

ด้านหน้า ประกอบด้วยรูปแบบและความหมาย

ตรงกลาง เป็นวงกลม 2 วงซ้อนกัน ตรงกลางมีอักขระขอม ( ยะ) วงกลมหมายถึง กระดุมล้อเกวียน ส่วนอักขระ ( ยะ) คือพระศรีอริยะเมตตรัย ที่จะมาจุติในพุทธันดรที่ 5
ส่วนซี่ล้อทั้ง 4 เป็นรูปพระพุทธนั่งสมาธิ มีอักขระอก องค์ละตัวคือ นะ มะ พะ ทะ เป็นธาตุประจำมนุษย์ ส่วนพระเศียรค้ำวงล้อเกวียน หมายถึง พระเป็นผู้ประกาศและยืนยันให้รู้ว่า สิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ตราบใดที่ยังไม่บรรลุธรรมชั้นสูงก็ยังเวียนว่านตายเกิดอยู่ในวัฏจักรอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ระหว่างองค์พระทั้ง 4 มีเลข ๑ ด้านล่าง ด้านบนมีอักขระเขียนว่า กุกกุสนโธ คือพระพุทธเจ้าในพุทธันดรที่ ๑ ช่องที่ 2 มีเลข ๒ ด้านล่าง ด้านบนมีอักขระเขียนว่า โกนาคมโน คือพระพุทธเจ้าในพุทธันดรที่ ๒ ช่องที่ 3 มีเลข 3 ด้านล่าง ด้านบนมีอักขระเขียนว่า กัสโป คือพระพุทธเจ้าในพุทธันดรที่ 3 ช่องที่ 4 มีเลข ๔ ด้านล่าง ด้านบนมีอักขระเขียนว่า สักกายบุตรโต คือพระพุทธเจ้าในพุทธันดรที่ ๔ ล้อมรอบด้วยวงล้อเกวียน หมายถึง พระธรรมจักร
รอบวงล้อเกวียน มีอักขระ 13 ตัว เป้นพระคาถาป้องกันอันตราย ของอาจารย์ต้นสำนักเขาอ้อ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top