ขวานครูพิษณุกัณห์ พ่อท่านเวาะ (โต๊ะกือปะ) อาศรมท้ายวัดมุจลินทวาปีวิหาร (ตุยง)-อิฐ สงขลา - webpra
VIP
พระแท้ดูง่าย สวยตาเปล่า

หมวด พระเกจิภาคใต้

ขวานครูพิษณุกัณห์ พ่อท่านเวาะ (โต๊ะกือปะ) อาศรมท้ายวัดมุจลินทวาปีวิหาร (ตุยง)

ขวานครูพิษณุกัณห์ พ่อท่านเวาะ (โต๊ะกือปะ) อาศรมท้ายวัดมุจลินทวาปีวิหาร (ตุยง) - 1ขวานครูพิษณุกัณห์ พ่อท่านเวาะ (โต๊ะกือปะ) อาศรมท้ายวัดมุจลินทวาปีวิหาร (ตุยง) - 2ขวานครูพิษณุกัณห์ พ่อท่านเวาะ (โต๊ะกือปะ) อาศรมท้ายวัดมุจลินทวาปีวิหาร (ตุยง) - 3ขวานครูพิษณุกัณห์ พ่อท่านเวาะ (โต๊ะกือปะ) อาศรมท้ายวัดมุจลินทวาปีวิหาร (ตุยง) - 4
ชื่อร้านค้า อิฐ สงขลา - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง ขวานครูพิษณุกัณห์ พ่อท่านเวาะ (โต๊ะกือปะ) อาศรมท้ายวัดมุจลินทวาปีวิหาร (ตุยง)
อายุพระเครื่อง 8 ปี
หมวดพระ พระเกจิภาคใต้
ราคาเช่า 2,500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 081-346-6638,081854-8799
อีเมล์ติดต่อ itsda99@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 19 ก.ค. 2560 - 21:17.04
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 19 ก.ค. 2560 - 21:17.04
รายละเอียด
ขวานครูพิษณุกัณห์ พ่อท่านเวาะ (โต๊ะกือปะ) อาศรมท้ายวัดมุจลินทวาปีวิหาร (ตุยง) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน ขวานครูพิษณุกัณฑ์ เทพอาวุธปราบมาร สิ่งชั่วร้าย ลมเพลมพัด อาถรรพ์ต่างๆ
ขวานครูพิษณุกัณฑ์…มีคติการสร้างจากเทวบรมครู...เป็นขวานพระเวทย์ของบรมครูทั่วทั้งฟากฟ้าจักรวาล..ไว้ต้านปราบมารมีอำนาจดุจขวานของปรศุราม...มีประโยชน์มาก พกติดตัวแทนมีดหมอเพราะเป็นของกายสิทธิ์ ใช้ไล่ผี แก้อาถรรพ์ ทางสามแพร่ง ถนนชน ตึกสูง ฮวงจุ้ยได้ทุกอย่างโดยเอา คนขวานชนกับสิ่งไม่ดีนั้นๆใช้ทำน้ำมนต์รักษาโรค กดที่บวม แก้โรคที่รักษาไม่หายโรคเวรกรรม โดยเอาคมขวานแกว่ง ที่น้ำยาต้มยาสมุนไพรก็ได้ เดินทางไกล ป้องกันตัว ผีป่า เจ้าที่เล่นงาให้เอาขวานนี้ซุกไว้ใต้หมอนก่อนนอนก็ได้ บันดาลให้เกิดโชคลาภ บันดาลให้เกิดความเป็นสิริมงคลตามอิทธิฤทธิ์ของเทพส่งผลดีต่อดวงเมืองของประเทศไทย และส่งผลดีต่อประชาชนผู้ประกอบการดี เกื้อกูลอุดหนุนให้มีอำนาจ มีบารมี สมบูรณ์พูนผล ทวีลาภ เป็นมหานิยม ป้องกันโรคภัย คุณไสย จะเป็นผู้โชคดี ร่ำรวยเป็นเศรษฐี...
เครื่องรางขวานถือเป็นอาวุธที่ทรงแสนยานุภาพเพื่อทำลายล้างสิ่งชั่วร้าย ปีศาจ และความทุกข์ทั้งปวง เชื่อกันว่าหากมีขวานติดตัวไป ณ ที่ใด จะไม่มีความชั่วร้ายใดๆ สามารถเข้ามากล้ำกลายได้ สิ่งชั่วร้ายจะโดนทำลายจนหมดสิ้น เป็นหนึ่งในเครื่องรางและสิ่งศักดิ์สิทธิเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังอันสูงสุดใน ศาสนาพุทธันตระ(มหายาน) เป็นพลังงานที่ทรงแสนยากรอันทรงพลานุภาพ สามารถป้องกันภยันตรายทั้งปวง แคล้วคลาด ปลอดภัย ป้องกันคุณไสยมนต์ดำ

ประวัติพ่อท่านเว๊าะห์ มีดังนี้
พ่อหลวงเวาะห์...โต๊ะกือป๊ะ
อหิงสกะอาศรม ท้ายวัดตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
......โดย ศุภักษร ลอยสุวรรณ์
เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ ชนน้อมนำศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา ปัตตานีสันติสุขแดนใต้" ปัตตานีเป็นหนึ่งในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีความเป็นมาและมีความสำคัญจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้สุด ติดกับทะเลจีนใต้หรืออ่าวไทยมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสงขลายะลาและนราธิวาส จากหลักฐานทางโบราณคดีและโบราณวัตถุที่พบมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ได้แสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของเมืองปัตตานีที่ชาวพื้นเมืองเรียกว่า"ลังกาสุกะ"โดยยังมีร่องรอยของเมืองโบราณขนาด ใหญ่ที่บริเวณอำเภอยะรัง ซึ่งได้รับการขุดแต่งและอนุรักษ์ไว้ เป็นซากอาคารศาสนสถานที่แสดงว่าชุมชนแห่งนี้มีความเจริญทางวัฒนธรรมสูงมาแล้วในอดีต นักวิชาการทางประวัติศาสตร์เชื่อว่าปัตตานีในอดีตเป็นที่แวะพักจอดเรือเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า ระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียทางตะวันตกกับพ่อค้าชาวจีนทางตะวันออกและชนพื้นเมืองบนแผ่นดินและตามหมู่เกาะใกล้เคียงต่างๆเมืองปัตตานีในอดีตจึงมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน....ที่นี่คือ..เมืองงามสามวัฒนธรรมที่ผสานความต่างให้เกิดความสวยงามในการอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว วัดช้างให้ศาสนสถานที่เป็นที่พึ่งหลักชัยให้พุทธศาสนิกชน มัสยิดกรือเซะศูนย์รวมใจของผองพี่น้องมุสลิม ตลอดถึงศาลเจ้าเล่งจูเกียง(เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว) ศาลเจ้าเก่าแก่คู่เมือง ที่เป็นหลักชัยของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน เอ่ยถึงปัตตานีผู้นิยมชมชอบขลัง ทุกลมหายใจต่างระลึกถึงมหาบารมีหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ สุดยอดพระนิรันตรายสยามที่พุทธศาสนิกชนต่างใฝ่ฝันสักครั้งขอไปกราบสักการะบูชาท่านสักครั้งที่วัดช้างให้...
สังคมพหุวัฒนธรรม อันเป็นพื้นที่ซึ่งมีการอยู่ร่วมกันของผู้คนต่างศาสนา และต่างวัฒนธรรม อันมีหลักฐานเชิงสัญลักษณ์ปรากฏให้เห็นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นศาสนสถาน หรือชุมชนบางหมู่บ้านที่ชาวพุทธและมุสลิมยังคงพึ่งพาอาศัยกันดุจพี่น้อง ตั้งแต่ครั้งบรรพกาลจวบจนปัจจุบัน เฉกเช่นเรื่องราวของ “พระอาจารย์เรวัตร ถิรสัทโธ”อายุกว่าห้าสิบปี หรือที่ชาวบ้านไทยพุทธ-มุสลิมเรียกกันติดปากว่า "พ่อหลวงเวาะห์"
“นายเรวัตร เชาว์ทอง”เป็นชื่อและสกุลเดิมของพ่อหลวงเวาะห์ ซึ่งพื้นเพเดิมเป็นชาว อ.ตากใบ จ.นราธิวาส และได้เดินเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์มาแล้วเป็นเวลากว่า 30 ปี โดยปูมหลังของชีวิตมีบรรพบุรุษนับถือศาสนาอิสลาม กระทั่งมาถึงรุ่นของโยมพ่อซึ่งเป็นชาวพุทธ ส่วนโยมแม่เป็นชาวมุสลิม เป็นคนที่มีนิสัยรักเพื่อน เลือดร้อน มุทะลุ และชอบช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก ไม่ว่าเห็นใครลำบาก จะต้องเสนอตัวเข้าไปช่วยเหลืออยู่เสมอ จนบางครั้งต้องมีเรื่องราวทะเลาะเบาะแว้งไปทั่ว เพราะนิสัยที่ไม่ยอมเห็นคนถูกรังแกนั่นเอง
เมื่อครั้งเป็นวัยรุ่น มีเพื่อนทั้งไทยพุทธและมุสลิม ชอบเฮฮาตามประสาคนวัยคะนอง กระทั่งเรียนหนังสือจบจากวิทยาลัยเกษตรกรรมนราธิวาส เพื่อนฝูงรุ่นราวคราวเดียวกันได้เดินทางไปศึกษาต่อในระดับสูง แต่ชีวิตของ “เรวัตร เชาว์ทอง”ยังคงโลดโผนโจนทะยานในเมืองนราธิวาส กระทั่งเริ่มรู้สึกอยากหาหนทางยุติความรุ่มร้อน เพื่อสงบจิตสงบใจ โดยได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2525 ที่วัดธารากร (บางน้อย) ต.ธารากร อ.ตากใบ จ.นราธิวาส โดยมี พระครูสุนทรธรรมานุรักษ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านเวาะห์ศึกษาธรรมที่วัดแห่งนี้เป็นเวลา 2 ปีเต็ม ก่อนจะมาจำพรรษาที่วัดพิกุลทอง ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส เป็นเวลา 17 ปี จากนั้นจึงได้เดินทางออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ทั่วประเทศ อีกทั้งยังมีโอกาสไปศึกษาความรู้ต่างๆ กับ หลวงพ่อคง สุวณฺโณ วัดวังสรรพรส ต.บ่อ อ.ขลุง จ.จันทบุรี ก่อนจะเดินทางกลับมายังจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจำพรรษาที่วัดสถิตชลธาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ....ปัจจุบันจำพรรษาที่กุฏิซึ่งอยู่ในบริเวณที่ดินท้ายวัดมุจลินทวาปีวิหาร..หรือที่เรียกกันว่า..วัดตุยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
“เดิมเราเป็นคนมีฐานะ พ่อแม่ทำธุรกิจค้าผ้า แถมมีทรัพย์สินที่บรรพบุรุษรุ่นทวดสร้างทิ้งไว้ให้ ไม่สนใจความสุขที่แท้จริง ได้แต่โลดโผนไปวันๆ กระทั่งวันหนึ่งอยากหยุดและละวางทุกสิ่งขึ้นมาเฉยๆ จึงตัดสินใจศึกษาธรรมในเส้นทางของพระภิกษุสงฆ์ เพื่อหาหนทางดับทุกข์ให้กับตัวเอง”พ่อหลวงเวาห์ะกล่าวแม้จะเป็นคนที่มีรากฐานครอบครัวเป็นชาวมุสลิม ก่อนจะเข้าสู่เส้นทางพุทธศาสนา
แต่บัดนี้ “พ่อหลวงเวาะห์”ยังคงมีปฏิสัมพันธ์กับพี่น้องมุสลิมมาตลอด โดยไม่ได้รับเพียงกิจนิมนต์ของญาติโยมชาวพุทธเท่านั้น แต่งานบุญ งานแต่ง งานขึ้นบ้านใหม่ ร่วมไปถึงพิธีศพของชาวมุสลิม งานมัสยิด “พ่อหลวงเวาะห์”ก็เดินทางไปร่วมงานด้วยตามปกติ ซึ่งถือว่าเป็นพระรูปเดียวที่ไปร่วมงานทั้งของชาวพุทธ และชาวมุสลิม ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
ทุกแห่งหนไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สีแดงหรือสีอะไรก็ตาม เมื่อมีงานบุญทั้งของพุทธและอิสลามจะพบเห็น "พ่อหลวงเวาะห์" เพราะท่านคิดอยู่เสมอว่า ศาสนาใดก็มีเป้าประสงค์เดียวกัน นั่นคือ การช่วยให้ทุกคนพ้นจากบ่วงแห่งความทุกข์ จนทุกวันนี้ชาวบ้านทั้งไทยพุทธและมุสลิม ไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินชื่อของภิกษุสงฆ์ที่เรียกขานกันติดปากว่า“พ่อหลวงเวาะห์โต๊ะกือป๊ะ” หรือ “ท่านเวาะห์อาจารย์ขุนขวาน” ซึ่งมีที่มาจากบุคลิกเมื่อครั้งเป็นฆราวาสที่ชอบพกขวานขนาดเล็ก หรือ ที่ชาวปักษ์ใต้เรียกกันว่า“ลูกขวาน”ติดตัวไปไหมาไหนตลอดเวลา นั่นเอง
เมื่อถามที่มาของชื่อที่ว่า "พ่อหลวงเวาะห์ โต๊ะกือป๊ะ" ซึ่งเป็นภาษายาวี พระเรวัตร อธิบายให้ฟังว่า “พ่อหลวงเวาะ นั้นเป็นชื่อทางสงฆ์ที่ชาวพุทธเรียก ส่วน โต๊ะ เป็นคำเรียกของคนมุสลิมในพื้นที่ ซึ่งมีความหมายว่า ครู ในขณะที่คำว่า กือป๊ะ แปลว่า ขวาน ดังนั้นจึงกลายเป็นชื่อที่เขาเรียกเรากันติดปากในหมู่คนพุทธและคนมลายูในชายแดนใต้ว่า พ่อหลวงเวาะ โต๊ะกือป๊ะ” พระอาจารย์เรวัตร ถิรสัทโธ เล่า..
บทบาทของพ่อหลวงเวาะห์ ทุกวันนี้ นอกจากจะช่วยเหลือชาวบ้านทั้งพุทธและมุสลิมด้วยวิธีทางสายกลางอย่างเท่าเทียมกันแล้ว ยังเป็นที่ปรึกษาเจ้าหน้าที่ระดับสูง เพื่อให้ความเห็นและแนะนำการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ อย่างเรียบๆ แบบธรรมชาติ เพราะธรรมะ คือธรรมชาติ โดยมองว่าที่ผ่านมามักจะให้ยึดหลักการแก้ปัญหาแบบใช้อำนาจ ให้มีความยำเกรง ไม่ตรงกับสภาพของชาวบ้านในพื้นที่ ที่อยู่แบบเรียบง่าย แบบธรรมชาติ การแก้ปัญหาภาคใต้ต้องใช้แบบพระคุณ ไม่ใช่พระเดช
ในร่มกาสาวพัสตร์มากว่า 30 ปี วันนี้ท่านเวาะห์ยังมีอีกหนึ่งภารกิจสำคัญที่ยังคงสานต่อในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จนเป็นที่รับรู้กันในวงกว้าง นั่นคือ การทำหน้าที่เป็น “หมอช้าง” ซึ่งเป็นวิชาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก“ทวด” เนื่องจากใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีช้างป่าและช้างเผือกจำนวนมาก ดังนั้นจำเป็นต้องมีกระบวนการอันเป็นศาสตร์ที่มีการถ่ายทอดมาจากบรรพชน ซึ่งวันนี้ในพื้นที่เหลือ มีเพียงพ่อหลวงเวาะห์เท่านั้นที่สามารถประกอบพิธีเต็มรูปแบบ ตามสูตรโบราณ อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ในพื้นที่จะมีพิธีเข้าสุนัตหมู่ (มาโซะยาวี)อย่างไรก็ตาม เมื่อครั้งได้จัดขึ้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ได้มีช้างเข้าร่วมขบวนแห่ถึง 16 เชือก เด็กเข้าร่วมพิธี 75 คน ซึ่งการที่มีพระสงฆ์เข้าร่วมในพิธีดังกล่าว รวมถึงบรรดาท่านผู้รู้ทางด้านศาสนาอิสลามในพื้นที่ บอกว่าไม่ผิดหลักศาสนาแต่อย่างใด เพราะเป็นการร่วมงานวัฒนธรรมประเพณี ไม่ได้เข้าร่วมพิธีทางศาสนา อีกทั้งถือเป็นภาพลักษณ์ที่ดีที่ทำให้สังคมภายนอกได้เข้าใจ ในอีกมิติหนึ่งของพี่น้องชาวจังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้จะมีความต่างในเรื่องศาสนาและความเชื่อ แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยยึดหลัก แม้แตกต่าง แต่ไม่แตกแยก
...ในท่ามกลางความไม่สงบและวุ่นวายของดินแดนสามจังหวัดภาคใต้ พ่อหลวงเวาะ โต๊ะกือป๊ะ ที่มีทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แวะเวียนไปหาท่านทุกวัน บ้างก็ให้ท่านทำน้ำมนต์ให้อาบ บ้างก็ไปขอของดีจากท่าน ท่านเป็นพระที่พูดภาษายาวีชำนาญมาก ชาวมุสลิมนับถือกันมาก เรียกท่านว่า ดาโต๊ะ หรือโต๊ะกือปะ ท่านทำวัตถุมงคลเป็นรูปขวานเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของท่าน …ผมเคยเขียนประวัติท่านเป็นคนแรกเมื่อประมาณสิบปีที่แล้วในนิตยสารพระเครื่องชื่อดังเล่มหนึ่ง...ซึ่งครั้งนั้นท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส..ก่อนที่ท่านจะมาพำนักท้ายวัดสถิตย์ชลธาร (วัดไร่) กับพระสมุห์ชัยยะ (อาจารย์แดง)โอภาโส ซึ่งเป็นพระสหธรรมิกรุ่นน้อง..เป็นศิษย์ของพระสิทธิญาณมุนี พ่อท่านสุข วัดตุยงเช่นเดียวกัน...จนกลับคืนสู่ถิ่นบูรพาจารย์...ท้ายวัดตุยงในวันนี้...
สถานที่แห่งนี้คณะศิษย์ได้รวมกันซื้อที่ดินถวายสร้างที่พำนัก และมอบถวายที่ดินที่ซื้อนั้นให้เป็นกรรมสิทธิ์ของวัดตุยง ในการนี้ท่านได้จัดสร้าง วัตถุมงคลรูปขวานหล่อแบบโบราณ ขึ้นมาจำนวนหนี่ง เพื่อให้เป็นที่ระลึกแก่ลูกศิษย์ที่ร่วมกันซื้อที่…..ในปีนี้มีกำหนดจะซื้อที่ดินขยายอาณาเขตออกไปอีก
ขวานครูพิษ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top