กะลาตาเดียว (เต็มลูก) แกะเลเซอร์ "พระราหู" และ "หญามังกร" รุ่น ไตรภาคี มหาเฮงเสริมดวง 2555 (รุ่นแรก)-บูชาครู - webpra
VIP
ธรรมะ และ วัตถุมงคล คือของขวัญที่มอบไว้แทนความห่วงใยจากครู...ครูสิทธิ์ ครูธงค์ องอาจไม่ประมาทครู

หมวด พระเกจิภาคอีสานใต้

กะลาตาเดียว (เต็มลูก) แกะเลเซอร์ "พระราหู" และ "หญามังกร" รุ่น ไตรภาคี มหาเฮงเสริมดวง 2555 (รุ่นแรก)

กะลาตาเดียว (เต็มลูก) แกะเลเซอร์ "พระราหู" และ "หญามังกร" รุ่น ไตรภาคี มหาเฮงเสริมดวง 2555 (รุ่นแรก) - 1กะลาตาเดียว (เต็มลูก) แกะเลเซอร์ "พระราหู" และ "หญามังกร" รุ่น ไตรภาคี มหาเฮงเสริมดวง 2555 (รุ่นแรก) - 2กะลาตาเดียว (เต็มลูก) แกะเลเซอร์ "พระราหู" และ "หญามังกร" รุ่น ไตรภาคี มหาเฮงเสริมดวง 2555 (รุ่นแรก) - 3กะลาตาเดียว (เต็มลูก) แกะเลเซอร์ "พระราหู" และ "หญามังกร" รุ่น ไตรภาคี มหาเฮงเสริมดวง 2555 (รุ่นแรก) - 4
ชื่อร้านค้า บูชาครู - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง กะลาตาเดียว (เต็มลูก) แกะเลเซอร์ "พระราหู" และ "หญามังกร" รุ่น ไตรภาคี มหาเฮงเสริมดวง 2555 (รุ่นแรก)
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเกจิภาคอีสานใต้
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 0888822123
อีเมล์ติดต่อ buchakru@gmail.com
สถานะ กำลังประมูล คลิ๊กที่นี่เพื่อดูรายการประมูล
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 24 เม.ย. 2565 - 20:39.19
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 30 ก.ย. 2567 - 15:08.53
รายละเอียด
***** ค่าบูชา 20,000 บาท *****

### กะลาตาเดียวใบใหญ่ สวยเต็มใบ ของศักดิ์สิทธิ์มีคุณในตัวที่เข้มขลังมากด้วยพลานุภาพจากการปลุกเสกเดี่ยวจากพระคณาจารย์หรือพระทองคำแห่งยุคหลายรูป มีที่ละสังขารไปแล้วถึง 4 รูป คือ หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง และหลวงปู่หงษ์ สุสานทุ่งมน รุ่น "ไตรภาคี มหาเฮงเสริมดวง 2555" เจตนาการสร้างบริสุทธิ์ดังข้อมูลเต็มที่ลงประกอบไว้ท้ายนี้ ปกติกะลาตาเดียวถือเป็นของธรรมชาติที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวอยู่แล้ว ยิ่งถูกนำมาแกะเป็นรูปพระราหู (ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ถอดแบบ) เรื่องคุ้มครองอุ้มชูดวงชะตา แก้ดวงชงดวงตกนั้นเป็นหายห่วง ยิ่งถ้าได้พระอาจารย์ที่ทรงภูมิและเปี่ยมด้วยพลังจิตที่กล้าแกร่งอธิษฐานจิตปลุกเสกให้ คุณค่าความมีอิทธิคุณนับไม่เป็นสองรองจากอดีตอย่างแน่นอนครับ หากต่อไปภายหน้าแม้แตกหักหรือจะนำมาพลีเลี่ยมสร้างองค์น้อยๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปเคารพใด ความศักดิ์สิทธิ์ก็ยังคงอยู่ "ไม่เสื่อม" เหมือนดั่งที่ครูบาอาจารย์ท่านรับรองวัตถุมงคลที่ท่านเสกไว้เป็นอย่างดีแม้ด้วยชีวิตก็ตาม ###
__________________

บูชาครู

โบราณนั้นท่านถือว่าพระราหูจะปรากฎในคราวเกิดจันทรุปราคา เพราะราหูจะกลืนพระจันทร์เอาไว้ทั้งดวงบ้างบางส่วนบ้าง ต้องตีเกราะเคาะไม้หรือยิงปืนไล่กันเอิกเกริก ส่วนวิธีป้องกันพระราหูนั้นก็คือการใช้กะลาจากมะพร้าวตาเดียว หรือไม่มีตามาทำเป็นเครื่องรางเอาไว้จะบรรเทาโทษภัยจากพระราหูไปได้ กะลาตาเดียวนั้นหายาก ในมะพร้าว 1,000 ลูกจะมีก็เพียงแค่ลูกเดียวหรือสองลูก เมื่อได้มาถือว่าเป็นโชคของผู้นั้นพระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว ขององค์บูรพาจารย์ หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง พุทธคุณพระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว เชื่อกันว่า ช่วยป้องกันเภทภัยต่างๆ เมื่อยามดวงชะตาตกต่ำ จะช่วยแก้ ช่วยพยุงให้ดวงชะตาดีขึ้นดังเดิม ผู้ที่มีดวงปกติหรือดวงดี ก็จะได้อานิสงค์ในการส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้น ทั้งพระราหูอมจันทร์ ยังดีเด่นทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาด มหาอุด และป้องกันภูตผีปีศาจ ในตำราทักษามหาพยากรณ์นั้นกล่าวว่า เมื่อบุคคลใดก็ตามถูกพระราหูเสวยอายุแล้ว ในช่วงเวลานั้นจะเกิดความรุ่มร้อนมีเคาระห์ต่าง ๆ เพราะพระหูนั้นเป็นความมืด เป็นสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว แม้ยามที่พระราหูจะจรพ้นจากการเสวยอายุไปก็ยังแผลงฤทธิ์ถีบเท้าจากอีกด้วย จึงกำหนดเอาไว้ว่าเมื่อพระราหูเสวยอายุจักต้องทำพิธีต้อนรับพระราหู หาไม่จะเดือนร้อนจนไม่อาจประคองตัวได้ และสิ่งหนึ่งที่โบราณใช้บรรเทาฤทธิ์พระราหูก็คือกะลาตาเดียว นั่นเอง

สมัยกรุงศรีอยุธยาก็เช่ากัน ยังมีชาวบ้านนำกะลาตาเดียวเป็นเครื่องรางของขลัง และใช้ตักข้าวสาร เวลาหุงข้าว เชื่อกันว่าจะทำให้มีข้าวกินไม่มีอดอยากตลอดชีวิต ส่วนข้าราชการที่ทำงานสมัยกรุงศรีอยุธยามักจะนำกะลาตาเดียวมาแขวนคอติดตัวไปทำงานด้วย เพื่อความเจริญรุ่งเรืองทางยศฐาบรรดาศักดิ์ ได้เป็นเจ้าขุนมูลนาย เป็นใหญ่เป็นโตกว่าคนอื่น ส่วนทหารที่ออกศึกก็มักจะนำไปให้อาจารย์ที่มีวิชาลงคาถาอาคมกำกับ เพื่อให้ตนออกศึกและชนะรอดกลับมาได้ ต่อมากะลาตาเดียวก็มักจะถูกนำมาแกะเป็นรูปพระราหูไว้ติดสร้อยคอ เนื่องจากหายากขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้ในบทประพันธ์เรื่อง "พระอภัยมณี" ของสุนทรภู่ ได้มีการแต่งกล่าวถึงเครื่องรางรูปพระราหูเอาไว้เช่นกันว่า

นางระเวงมีเครื่องรางกะลาตาเดียว แกะเป็นรูปพระราหู แขวนติดประจำกายอยู่ และมีคืนหนึ่ง
นางระเวงได้นอนหลับมี "อ้ายย่องตอด" ผู้มีวิชาแก่กล้าทางไสยศาสตร์ ชองจับสัตว์ และคน
ดูดเลือดเป็นอาหาร ได้ลอบเข้าไปทำร้ายนางระเวง แต่พอเห็นกะลาตาเดียว ที่แกะเป็นรูปพระราหูที่แขวนเป็นประจำกายนางระเวง จึงไม่กล้าทำร้ายรีบหนีออกไป

ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีประวัติกะลาตาเดียวทั้งลูกว่า กะลาตาเดียวทั้งลูก หรือมะพร้าวตาเดียวเอาเนื้อมะพร้าวออกหมดแล้ว จะเหลือแต่กะลาทั้งลูก ที่ไม่มีรอยแตกร้าว จะเป็นที่นิยมของพวกพ่อค้าแม่ค้า ชาวไร่ ชาวสวน ชาวนา และคู่บ่าวสาวที่แต่งงาน ตลอดจนพวกข้าราชการชั้น เจ้าขุน เจ้าพระยา จะนิยมเก็บไว้ในบ้าน เพราะเชื่อว่ามีไว้ในบ้านแล้ว จะช่วยส่งเสริมบารมี ให้มียศฐาบรรดาศักดิ์ สูงขึ้นเร็วกว่าคนอื่น และจะช่วยล้างอาถรรพ์ที่เป็นเสนียดจัญไรภายในบ้านได้เป็นอย่างดี และทำให้มีกินมีใช้ มีเงินมีทองมากขึ้น ไม่รู้จักหมด ส่วนพ่อค้า แม่ค้า ชาวไร่ชาวสวนที่นำข้าวของไปขายในเมืองและต่างแดน ก็จะถือกะลาตาเดียวไปด้วย ซึ่งจะทำให้ขายดีให้กำไรอย่างงาม

กะลาตาเดียวเต็มลูก รุ่น "ไตรภาคี มหาเฮง เสริมดวง 2555" จัดสร้างในนักษัตรปีมะโรง ซึ่งถือเป็นปีที่ดีมากเนื่องจากคนจีนเชื่อว่ามังกร เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ ความสง่างาม และความเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัว ศิลป์กะลาตาเดียวแกะด้วยเลเซอร์เป็นรูปเศียรพระราหู หลังหญามังกร จัดสร้างเป็นครั้งแรก (รุ่นแรก) จำนวน 59 ลูก ได้รับอนุญาตจัดสร้างเป็นกรณีพิเศษและปลุกเสกโดย *****หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด , หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี (สุานทุ่งมน) , หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง ซึ่งหลวงปู่ผาดและหลวงปู่คีย์ปลุกเสกให้ 2 วาระ และหลวงปู่หงษ์ปลุกเสกให้ในอิริยาบถนั่งและนอนอมยิ้มสบายๆ ทั้งวัตถุมงคลรุ่นนี้ยังได้รับเมตตาปลุกเสกให้กรณีพิเศษ โดย หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ , หลวงปู่เอก วัดศาลาลอย , หลวงปู่เหลือง วัดกระดึงทอง , หลวงพ่อเมียน วัดบ้านจะเนียง***** จึงนับได้ว่า "ราหูกะลาตาเดียว" รุ่นนี้ ถือเป็นเครื่องรางของขลัง ของมงคล ที่ผ่านฉันทานุมัติโดยมีหนังสืออนุญาตอย่างเป็นทางการ และผ่านการอธิษฐานจิตปลุกเสกให้อย่างเอกอุโดยพระสุปฏิปัณโณในยุคปัจจุบันเลยทีเดียว

วัตถุประสงค์ในการสร้าง
1. เพื่อถวายหลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง จ.สุรินทร์ เพื่อใช้ในการรักษาสุขภาพ และบำรุงรักษาศาสนสถานของวัด
2. เพื่อถวายหลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ เพื่อใช้ในการรักษาสุขภาพ และบำรุงรักษาศาสนสถานของวัด
3. เพื่อถวายหลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี จ.สุรินทร์ เพื่อใช้ในการรักษาสุขภาพ และบำรุงรักษาศาสนสถานของวัด
4. เพื่อถวายวัดในชนบทใช้ในการรักษาศาสนสถานของวัด

"เกล็ดความรู้"

ที่มา : บทความบางส่วนจากหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก
ชั่วโมงเซียน - "พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง"

วัดศีรษะทอง ตั้งอยู่ที่ ต.ห้วยตะโก อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม สร้างจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ขณะที่มีการขุดดินสำหรับสร้างวัด ได้พบเศียรพระทองจมอยู่ในดิน จึงถือเป็นนิมิตที่ดีเลยตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดหัวทอง” ตั้งแต่นั้นมาเจ้าอาวาสองค์แรกคือ หลวงพ่อไตร เป็นชาวลาวที่มาจากเวียงจันทน์ จากวัดเล็กๆ กลายมาเป็นวัดใหญ่ จนมาถึงสมัยหลวงพ่อน้อย คันธโชโต นาสกุลเดิมคือ นาวารัตน์ ซึ่งได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วัดและหมู่บ้านเป็นอย่างมาก

ชาวลาวตำบลศีรษะทองได้แกะพระราหู จากกะลาตาเดียวกันมาตั้งแต่ครั้งอพยพแล้ว เมื่อชาวบ้านสร้างวัดจนสำเร็จ ชาวบ้านทั้งหมดจึงพร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อไตร ซึ่งเป็นชาวลาวที่อพยพมาด้วยกัน ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดเป็นรูปแรก ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิชาคาถาอาคม และการทำเครื่องรางของขลังได้แก่กล้ามาก โดยเฉพาะการสร้างราหูอมจันทร์แกะจากกะลามะพร้าวที่มีตาเดียว พระราหูอมจันทร์กะลาตาเดียว กรรมวิธีการแกะเป็นตำราที่ท่านนำมาจากเวียงจันทน์สมัยอพยพ จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้บูชา หรืออาราธนาพกติดตัวตามความเชื่อทางศาสนาและไสยศาสตร์

การแกะพระราหูจากกะลาเป็นจุดเริ่มต้นของงานศิลปะพื้นบ้าน โดยการฝึกฝนการแกะกันในหมู่บ้าน พระราหูอมจันทร์กะลาตาเดียวมีการพัฒนารูปแบบให้สวยงาม สุดแล้วแต่ความสามารถของช่างแต่ละคนจะออกแบบลวดลาย การแกะจึงมักไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน ต่อมาศิลปะวิชาการแกะกะลาพระราหูนี้ได้ตกทอดสืบต่อกัน โดยเฉพาะเจ้าอาวาสวัดศีรษะทอง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือมนต์พิธีต่างๆ

ประวัติอดีตเจ้าอาวาสวัดศีรษะทอง ต่อเนื่องกันมาหลังจากหลวงพ่อไตร วัดศีรษะทองเป็นเจ้าอาวาส คือ
1.หลวงพ่อตัน ท่านเป็นหลานหลวงพ่อไตร ท่านได้สร้างราหูอมจันทร์เช่นกัน แต่ไม่มากนัก และมีรูปแบบที่ไม่ได้มาตรฐาน
2.หลวงพ่อลี ท่านเป็นชาวลาวเช่นกัน ท่านสร้างราหูอมจันทร์ เช่นกัน แต่ไม่มากนัก รูปแบบก็ไม่เป็นมาตรฐานเช่นกัน
3.หลวงพ่อทอง ท่านเป็นชาวไทย ท่านไม่ได้รับการถ่ายทอดและครอบครู จึงไม่ได้สร้างพระราหูเช่นกัน
4.หลวงพ่อช้อย ท่านเป็นชาวลาวเช่นกัน แต่เนื่องจากท่านไม่ได้สนใจเรื่องวิชาอาคม สมัยท่านจึงไม่มีการแกะพระราหูเลย
5.หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ท่านก็เป็นชาวลาว ในพื้นที่บ้านศีรษะทองเช่นกัน ส่วนวิชาคาถาอาคมนั้น ส่วนใหญ่ท่านได้รับการถ่ายทอดเล่าเรียนมาจากหลวงพ่อลี เจ้าอาวาสองค์ที่ 2 และโยมบิดาซึ่งเป็นผู้มีความรู้และมีตำรับตำราคาถาอาคมการสร้างพระราหูจากกะลาแกะ หลวงพ่อน้อยท่านเป็นคนที่มีความสนใจมากทางด้านนี้ จึงศึกษาจนได้รับความรู้มาโดยละเอียดทั้งหมด จากหลวงพ่อลี และโยมบิดา

เมื่อท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดแล้ว ท่านก็ได้เริ่มวางรากฐานรูปแบบและขั้นตอน ตลอดจนลวดลายการแกะกะลาพระราหูให้เป็นมาตรฐาน โดยมีการพัฒนาเป็นขั้นตอนตามตำราในใบลานต้นฉบับการแกะกะลาพระราหูที่หลวงพ่อไตรนำติดตัวมาจากประเทศลาว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นรูปแบบหรือลายจะแกะเป็นลายอย่างไรก็ตาม กะลาที่นำมาแกะพระราหูนั้นจำเป็นต้องเป็นกะลามะพร้าวที่มีเพียงตาเดียวเท่านั้นอ่อนหรือแก่ไม่เป็นอะไร

(ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนที่นำมาเรียบเรียงเพิ่มเติมจาก เว็ปอิทธิปาฏิหารย์พระเครื่อง และ ร้านหวายเก้าเส้น ด้วยครับ)

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top