พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ทรงนก-dd-team2005 part II - webpra
VIP
ซื่อตรง จริงใจ ไม่หลอกลวง ครับ ผมมีความเชื่อว่า...พระทุกองค์มีเจ้าของครับ...
พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ทรงนก - 1พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ทรงนก - 2พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ทรงนก - 3พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ทรงนก - 4พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ทรงนก - 5
ชื่อร้านค้า dd-team2005 part II - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ทรงนก
อายุพระเครื่อง 100 ปี
หมวดพระ หลวงพ่อกลั่น - หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม - หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ d.d.team2005@hotmail.co.th
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 16 มิ.ย. 2554 - 17:35.06
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 21 ก.ย. 2558 - 08:10.07
รายละเอียด


พระเครื่องของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

พระเครื่องเนื้อดินเผา สร้างโดยหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จังหวัดอยุธยา เป็นพระเครื่องที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนพระเครื่องอื่นใด คือเป็นพระเนื้อดิน บรรจุผงพระพุทธคุณ ถือว่าเป็น “พระหมอ” โดยอาจอาราธนาเพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ มีอายุการสร้างกว่า 80 ปี จึงเป็นพระที่น่ามีไว้บูชาเป็นอย่างยิ่ง..


ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค....
พระครูวิหารกิจจานุการ หรือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ ปาน นามสกุล สุทธาวงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2418 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 เมื่ออายุครบ 21 ปี เข้าอุปสมบท ณ พัทสีมาวัดบางนมโค เมื่อ พ.ศ.2439 มีหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพน เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “โสนนโท” อุปสมบทแล้วได้ศึกษาและได้ปฏิบัติในสำนักอาจารย์พอสมควร แล้วได้ไปศึกษาคันธาธุระ และวิปัสสนาธุระ ณ วัดสระเกศราชวรวิหาร กับวัดสังเวชวิศยาราม ในกรุงเทพมหานคร (จังหวัดพระนครในสมัยนั้น) และวัดเจ้าเจ็ดในอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีประวัติ(เป็นคำบอกเล่าจากพระราชพรหมยานหรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี) ว่าท่านได้เรียนวิชามาจากหลวงพ่อเนียม วัดน้อย และหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จังหวัดสุพรรณบุรีอีกด้วย
หลวงพ่อปานได้เล่าเรียนศึกษาวิชากัมมัฏฐานจนท่านมีความรู้สามารถเป็นอย่าง ยิ่ง และเป็นแพทย์แผนโบราณที่มีคนไข้รักษาเดินทางมาให้ท่านรักษากับท่านไม่เว้น แต่ละวัน ท่านเป็นที่เคารพนับถือของชาวอยุธยา ข้าราชการ คหบดี และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ เช่น หม่อมเจ้าโฆษิต กรมพระนครสวรรค์ฯ พ.อ.หลวงพิชัยรณสิทธิ์ พระยาชนภาณพิสิทธิ์ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ นายประยงค์ ตั้งตรงจิตร เป็นต้น
หลวงพ่อปานได้รับพระราชทานเป็น “พระครูวิหารกิจจานุการ” เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2474

หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค มีอุปนิสัยหรือปฏิปทาเหมือนกับ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย คลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ อยู่อย่างหนึ่ง คือ ไม่ปรารถนาที่จะเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด ท่านมีนิสัยชอบอยู่อย่างสงบ ๆ มากกว่าที่จะมีภารกิจยุ่งในการบริหารวัด หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ท่านไม่ยอมเป็นเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ย ให้หลวงพ่อถัน ผู้มีอาวุโสน้อยกว่าเป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ก็เช่นกัน ท่านให้ “สมภารเย็น สุนทราวงษ์” ซึ่งอาวุโสน้อยกว่าท่านเป็นเจ้าอาวาส จนกระทั่งสมภารเย็นถึงมรณภาพใน พ.ศ.2470 (หนังสือบางเล่มเขียนว่า พ.ศ.2479) จากนั้นหลวงพ่อปานจึงเป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมา
หลวงพ่อปานท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโคจนถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2481 (แรม 14 ค่ำ เดือน 8) อายุ 63 พรรษา 42 แม้ท่านจะมรณภาพไปนานกว่า 70 ปีแล้ว ผู้คนยังเดินทางไปเคารพรูปหล่อที่ประดิษฐานที่วัดบางนมโคอยู่เสมอ ทุก ๆ ปีในวันมรณภาพวันที่ 26 กรกฎาคม ทางวัดได้จัดงานถวายสักการบูชาเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีและ ความเคารพแด่ปรมาจารย์โดยพร้อมเพรียงกัน มรดกที่ท่านได้ทิ้งไว้ให้กับพุทธศาสนิกชนก็คือ พระคาถาปัจเจกะโพธิ์ (เพื่อโชคลาภและการทำมาค้าขาย) ซึ่งท่านเรียนมาจากฆราวาสผู้เฒ่าชื่อ “ครูผึ้ง” (หรือชื่อเดิมว่า “ครูพึ่งบุญ”) คำสอนในการเรียนสมถกัมมัฏฐานภาวนา ผ้ายันต์เกราะเพชร และ พระเนื้อดินหกพิมพ์ทรงที่จะได้เสนอรายละเอียดต่อไป
(ข้อความส่วนใหญ่นำมาจากหนังสือ “ปัจโจปการบรรณ” มูลนิธิร้อยปีหลวงพ่อปาน วันอาทิตย์ที่ 10 ต.ต. 19)เข้าใจ”


พระเครื่องของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
เมื่อหลวงพ่อปานท่านสร้างพระเนื้อดิน ท่านได้พิมพ์ “ใบฝอย” (คำชี้แจง) วิธีใช้พระของท่านด้วย ในหนังสือสำคัญนี้ลงท้ายว่า : “ได้แจกตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พระพุทธศักราช 2460” แสดงว่าพระของท่านได้เริ่มสร้างแจกตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2460 หรืออาจเป็น พ.ศ.2461 หากนับศักราชแบบในปัจจุบัน แต่ก่อนหน้านั้น ท่านอาจจะสร้างพระเนื้อดินบ้างแล้ว ซึ่งคนเรียกกันว่า “พิมพ์โบราณ” ฝีมือช่างไม่สวยงามเท่าพิมพ์มาตรฐาน
พระเนื้อดินของท่านแบ่งออกได้เป็น 6 พิมพ์ทรง คือ
1. พิมพ์ขี่ไก่
2. พิมพ์ขี่ครุฑ
3. พิมพ์ขี่เม่น
4. พิมพ์ขี่นก
5. พิมพ์ขี่ปลา
6. พิมพ์ขี่หนุมาน
แต่ละแม่พิมพ์ยังแบ่งเป็นพิมพ์ย่อยอีกหลายพิมพ์
ขั้นตอนการสร้างพระของหลวงพ่อปาน
1. ทำผงพระพุทธคุณ ท่านทำผงและลบผงด้วยตนเอง ทำเฉพาะในระหว่างวันเข้าพรรษาเท่านั้น ผงที่ทำได้แก่ ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห และผงมหาราช ทำโดยปั้นดินสอพองเป็นแท่ง เขียนอักขระลงบนกระดานแล้วลบผงรวบรวมไว้

2. ทำแม่พิมพ์ กำหนดแบบจากนิมิตที่ท่านได้เห็นในสมาธิ ทำเป็นทรงสี่เหลี่ยม องค์พระปฏิมาประทับนั่งปางสมาธิและปางมารวิชัย มีรูปสัตว์เป็นพาหนะ ได้แก่ ไก่ หนุมาน ครุฑ เม่น นก และปลาอยู่ข้างล่าง และมีอักขระขอม มะ อะ อุ อยู่ด้านข้างขององค์พระ ผู้แกะแม่พิมพ์เป็นศิษย์และชาวบ้านผู้มีฝีมือในทางการช่าง ด้วยเหตุนี้ พระของท่านจึงมีหลายพิมพ์และหลายฝีมือ
3. ดินใช้สร้างพระ ใช้ดินก้นคลองในแม่น้ำหน้าวัดนำมากรองเอาส่วนที่หยาบออก เหลือดินละเอียดมาโขลกตำเข้าด้วยกัน แล้วกดแม่พิมพ์ และใช้ไม้ไผ่ปลายแหลมเสียบทางด้านบน เพื่องัดออกจากแม่พิมพ์
4. นำพระที่ได้ไปผึ่งแห้ง แล้วนำเข้าสุมไฟแกลบรวม 7 วัน 7 คืน แล้วจึงนำพระออกจากบาตร
5. บรรจุผงพุทธคุณ พระในวัดจะช่วยกันบรรจุผงพระพุทธคุณที่หลวงพ่อปานทำไว้ในรูที่ถูกไม่ไผ่เจาะทุกองค์
6. ปลุกเสก หลวงพ่อปานจะทำพิธีปลุกเสกเดี่ยวอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นอันเสร็จพิธี
(รายละเอียดนำมาจากหนังสือพระเครื่องปริทัศน์ )




B315

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top