เหรียญฉลองศาลา หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ พศ.๒๕๒๘-ชัมภลพระเครื่อง - webpra
ขอพรเทพเจ้าแห่งโชคลาภ มหาเศรษฐีชัมภล "โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน สวาหะ" ร่ำรวยรับทรัพย์ทุกวัน
เหรียญฉลองศาลา หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ พศ.๒๕๒๘ - 1เหรียญฉลองศาลา หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ พศ.๒๕๒๘ - 2
ชื่อร้านค้า ชัมภลพระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญฉลองศาลา หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ พศ.๒๕๒๘
อายุพระเครื่อง 34 ปี
หมวดพระ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ - หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ - หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ apol2025@yahoo.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 23 พ.ย. 2555 - 09:17.34
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 29 เม.ย. 2556 - 14:59.57
รายละเอียด
มีสองเนื้อ กะหลั่ยทองตอกโค้ดจีน และเนื้อทองแดงรมดำ

สุดยอดแห่งโชคลาภ ร่ำรวย เจริญรุ่งเรือง เมตตาแรง และแคล้วคลาด พระดี ชื่อเป็นมงคล(ฮวด =ร่ำรวย,โชคดี เจริญรุ่งเรือง และท่านเกิดปีมังกร)

พระเกจิยุคกลางพศ.2500 ขึ้นมา สอบถามคนรุ่นเก่าดูได้จะรู้ว่าท่านเก่งจริง มีวัตรปฏิบัติงดงาม วัตถุมงคลของท่านที่สร้างในแต่ละครั้งจะมีวัตถุประสงค์การจัดสร้างที่ชัดเจน เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม จำนวนพอประมาณ และท่านตั้งใจปลุกเสกให้อย่างดี คณะกรรมการวัดทำงานง่ายเนื่องจากวัุตถุมงคลทุกรุ่นที่จัดสร้าง จะหมดจากวัดไปอย่างรวดเร็ว แค่ในช่วงที่ออกให้บูชาในช่วงวันงานของวัดของก็หมดแล้ว วัตถุมงคลของท่านไม่มีการวางให้บูชาใส่ตู้เหมือนสมัยนี้ ไม่ได้เป็นพุทธพาณิชย์ ท่านปฏิเสธการสร้างวัตถุมงคลที่มีนายทุนส่วนกลางจะมาสร้างให้ นายทุนพร้อมจะโปรโมทโฆษณาประชาสัมพันธ์ลงหนังสือต่างๆให้ แม้กระทั่งคณะกรรมการวัดและคณะศิษย์ที่นับถือจะขอจัดทำหนังสือ ประวัติและวัตถุมงคลของท่าน ท่านยังขอร้องไม่ให้จัดทำ ท่านบอกกับลูกศิษย์ว่า "ไม่อยากดัง เพราะทองก็คือทอง ถึงเวลาคนจะเห็นคุณค่าเอง ไม่จำเป็นต้องไปป่าวประกาศโฆษณา"

**ชาติภูมิหลวงพ่อฮวด**

หลวงพ่อฮวด ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2447 ตรงกับแรม7 ค่ำ เดือน 7 ปี มะโรง ที่บ้านดอนหวาย อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี โยมบิดาตั้งชื่อว่า"ฮวด" นามสกุลเดิม "พงษ์ทอง" โยมบิดาชื่อ "สา" โยมมารดาชื่อ "มี" หลวงพ่อเป็นบุตรคนโต จากจำนวนพี่น้องสี่คน ทั้งนี้โยมบิดามารดาได้ย้ายมาประกอบอาชีพที่บ้านหัวถนนใต้

เมื่ออายุครบ 20 ปี พ.ศ.2466 ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดพนมรอก อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ โดยมีหลวงพ่อคล้าย เป็นพระุอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วได้ฉายาว่า "กัณฑโว" เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อคล้าย เพื่อปรนนิบัติรับใช้พร้อมทั้งได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย พระปริยัติธรรม หลังจากนั้นจึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหัวถนนใต้ตลอดมา


***สมณศักดิ์และงานด้านการปกครอง***

พ.ศ. 2472 สอบได้นักธรรมโท
พ.ศ. 2472 ได้รับแต่งตั้งเป็นฐานะนุกรมที่ใบฏีกา
พ.ศ. 2474 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลหัวถนน
พ.ศ. 2488 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และเป็นฐานะนุกรมที่ปลัด
พ.ศ. 2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบประโยคธรรม
พ.ศ. 2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี "พระครูนิยุตธรรมประวิตร"
พ.ศ. 2513 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท


**พระอาจารย์ของหลวงพ่อฮวด**

หลวงพ่อฮวด ได้เริ่มศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมครั้งแรก จากหลวงพ่อคล้าย
ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อ (หลวงพ่อคล้ายเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเดิมได้สร้างเหรียญทวิภาคีร่วมกัน เมื่อคราวหลวงพ่อเดิม-หลวงพ่อคล้าย ช่วยสร้างอุโบสถวัดพนมรอก เมื่อปี พ.ศ. 2483 )
หลวงพ่อฮวดได้เดินทางไปขอศึกษาวิทยาคมจาก หลวงพ่อสุข วัดสระโบสถ์ต.ดอนคา อ.ท่าตะโก และยังได้รับตำราใบลานของ หลวงพ่อเฒ่า (รอด) แห่งวัดหนองโพ ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อเดิม โดยได้รับคำชี้แนะอย่างใกล้ชิดจากหลวงพ่อเดิม เล่ากันว่าในสมัยนั้น เมื่อหลวงพ่อเดิมได้รับกิจนิมนต์ไปยังที่ใด ก็มักจะชวนหลวงพ่อฮวดร่วมเดินทางด้วยเสมอ จึงนับได้ว่าหลวงพ่อฮวดเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกับหลวงพ่อเดิม และยังได้ขอศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติมจากหลวงพ่อเดิมอีกด้วย และมีคำกล่าวของหลวงพ่อเดิม "เมื่อสิ้นฉันแล้ว วิชาและของดีของฉัน อยู่ที่วัดหัวถนนใต้"
หลังจากนั้นหลวงพ่อฮวด ได้ศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมกับอีกหลาย พระ
อาจารย์ตามความชำนาญของแต่ละท่าน เช่นการเรียนวิชาทำตะกรุด กับ หลวงพ่อนอวัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา, การเรียนวิทยาคม กับหลวงพ่อพุฒ วัดกลางพุทธนิมิตรอ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง การเรียนทำผงเมตตา มหานิยมโชคลาภ จากหลวงพ่อศักดิ์ วัดวังกระโดนใหญ่ อ.ไพศาลี จ..นครสวรรค์

**มรณภาพแล้วศพไม่เน่าเปื่อย**

หลวงพ่อฮวดได้มรณภาพลงเมื่อ วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เวลา
08.47 น. ที่วัดหัวถนนใต้ สิริอายุ 88 ปี พรรษาที่68 คณะกรรมการวัดได้บรรจุร่างของท่านไว้ในโลงแก้ว เป็นที่น่าอัศจรรย์เพราะว่าศพไม่เน่าเปื่อย ทั้งที่เป็นโลงแก้วธรรมดาไม่ได้เป็นสูญญากาศ ทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีการเปิดโลง เพื่อทำการเปลี่ยนผ้าสบง-จีวร ปัจจุบันศพตั้งไว้บนจตุรมุขวิหาร

ด้วยศีลจารวัตรที่ดี เคร่งครัดพระธรรมวินัย เป็นพระนักพัฒนา เก่งในทางเวทวิทยาคม มีเมตตาบารมี เป็นที่ยอมรับกันไปทั่ว จนกระทั่งชาวบ้านตั้งสมญานามให้กับท่านว่า "พระของชาวบ้าน"

(ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเวปวัดหัวถนนใต้ ; www.luangpohhuad.com)

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top