เหรียญเสมาเล็ก รุ่นแรก หลวงพ่ออินทร์ อินทโชโต วัดเกาะหงษ์ พศ.๒๕๐๔-ชัมภลพระเครื่อง - webpra
ขอพรเทพเจ้าแห่งโชคลาภ มหาเศรษฐีชัมภล "โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน สวาหะ" ร่ำรวยรับทรัพย์ทุกวัน

หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญเสมาเล็ก รุ่นแรก หลวงพ่ออินทร์ อินทโชโต วัดเกาะหงษ์ พศ.๒๕๐๔

เหรียญเสมาเล็ก รุ่นแรก หลวงพ่ออินทร์ อินทโชโต วัดเกาะหงษ์  พศ.๒๕๐๔ - 1เหรียญเสมาเล็ก รุ่นแรก หลวงพ่ออินทร์ อินทโชโต วัดเกาะหงษ์  พศ.๒๕๐๔ - 2เหรียญเสมาเล็ก รุ่นแรก หลวงพ่ออินทร์ อินทโชโต วัดเกาะหงษ์  พศ.๒๕๐๔ - 3เหรียญเสมาเล็ก รุ่นแรก หลวงพ่ออินทร์ อินทโชโต วัดเกาะหงษ์  พศ.๒๕๐๔ - 4เหรียญเสมาเล็ก รุ่นแรก หลวงพ่ออินทร์ อินทโชโต วัดเกาะหงษ์  พศ.๒๕๐๔ - 5
ชื่อร้านค้า ชัมภลพระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญเสมาเล็ก รุ่นแรก หลวงพ่ออินทร์ อินทโชโต วัดเกาะหงษ์ พศ.๒๕๐๔
อายุพระเครื่อง 57 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ apol2025@yahoo.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 28 มี.ค. 2555 - 10:35.01
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พฤ. - 16 ก.ค. 2563 - 09:41.40
รายละเอียด
เหรียญเสมาเล็ก รุ่นแรก สภาพสวยแชมป์ หายากครับ

เป็นพระที่เก่งจริงของนครสวรรค์อีกรูปหนึ่ง หลวงพ่ออินทร์ อินทโชโต ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พศ.๒๔๒๕ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมานานแล้ว เป็นพระยุคเดียวกับหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค เป็นพระรุ่นพี่หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว เมื่ออายุครบ ๒๑ ปี ได้ทำการอุปสมบท โดยมีพระอธิการกัน เจ้าอาวาสวัดเกาะหงษ์ เป็นอุปัชฌายะ พระอาจารย์ติส กรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์รุ่ง อนุสาวจารย์
วัดท่านมีชื่อเสียงหลายด้าน วัดเสด็จประพาสต้น การรักษาด้วยน้ำมัน ประเพณีแข่งเรือ ,ประเพณีสงกรานต์วัดเกาะหงษ์

****ประวัติหลวงพ่ออินทร์ อินทโชโต วัดเกาะหงษ์****
หลวงพ่ออินทร์มีนามเดิมว่า ทองอินท์ นามสกุล ทองหล่อ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๒๕ (ตรงกับวันที่ ๒๕ มิถุนายน พศ.๒๔๒๕)ที่บ้านท่าประชุม อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี บิดาชื่อแช่ม มารดาชื่อจันทร์ มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา ๑๑ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๙ สกุลเดิมของบิดาท่านเป็นจีน อยู่เมืองสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย มีอาชีพทำไร่ ต่อเรือ และค้าไม้ซุง ต่อมาได้อพยพมาทำมาค้าขายที่ตำบลเกรียงไกร อ.เมือง จ.นครสวรรค์ จากนั้นย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่จังหวัดอุทัยธานี มีอาชีพเป็นช่างทอง และค้าขายจนได้เป็นนายอากร ต่อมาเลิกกิจการค้าขายอพยพไปประกอบอาชีพที่จังหวัดปราจีนบุรี หลวงพ่ออินทร์ถือกำเนิดที่นั่นจนท่านอายุได้ ๙ ปี โยมบิดาถึงแก่กรรม มารดาจึงพากันอพยพมาอยู่ที่บ้านเกาะ ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมืองนครสวรรค์ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของมารดาท่าน

ชีวิตในวัยเยาว์ มารดาได้นำไปฝากไว้กับพระอาจารย์รุ่งวัดบ้านเกาะ(ชื่อปัจจุบันเป็นวัดเกาะหงษ์) เพื่อเรียนหนังสือไทยและ อักษรขอมตามความนิยมในสมัยนั้น จนเข้าสู่วัยรุ่นจึงออกมาช่วยโยมมารดาประกอบอาชีพ ครั้นอายุครบอุปสมบท จึงได้ทำการอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดบ้านเกาะโดยมีพระอาจารย์กัน เจ้าอาวาสวัดเกาะ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา อินทโชโต หลังจากอุปสมบทหลวงพ่อก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยจนซาบซึ้งเข้าถึงสัจธรรม พรรษาที่ ๕ ท่านได้รับนิมนต์ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองกรด ๑ พรรษา แล้วกลับมาอยู่วัดบ้านเกาะตามเดิม ท่านได้เข้าสอบธรรมสนามหลวงซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกของจังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้รับสมณศักดิ์เป็นที่พระสมุห์ฐานานุกรมในพระครูสวรรค์นัคราจารย์ ผู้รับตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด
พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้เลื่อนเป็นพระปลัดฐานานุกรม ของท่านพระครูองค์เดิม
พ.ศ. ๒๔๗๒ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะหงษ์
พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูนิโรธธรรมประยุตร์

กิตติคุณวิเศษของหลวงพ่ออินทร์ คือ ด้านการแพทย์แผนโบราณ ท่านได้ศึกษาและรวบรวมตำรายาสมุนไพรไว้มากมาย และมีความเชี่ยวชาญในด้านการรักษากระดูก เช่น กระดูกหัก กระดูกแตก นอกจานี้ยังสามารถรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และยังมีพลังจิตรักษาพิษสุนัขบ้าได้อย่างชะงักอีกด้วย

นอกจากหลวงพ่ออินทร์เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและเป็น ที่พึ่งของผู้เจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว ท่านยังมีความชำนาญในงานนวกรรม
พ.ศ. ๒๔๗๒ ท่านได้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโรงเรียนปริยัติธรรม
พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้ก่อสร้างพระอุโบสถ และสร้างโรงเรียนประชาบาลวัดเกาะหงษ์
พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ซึ่งหลังจากท่านมรณภาพแล้วได้เป็นที่ตั้งอสุภานุสรณ์ของท่านให้ศิษยานุศิษย์ และประชาชนได้มาเคารพกราบไหว้ตลอดเวลา

ตลอดอายุของหลวงพ่ออินทร์ ท่านได้บำเพ็ญคุณงามความดีทั้งด้านอบรมสั่งสอนให้ชาวบ้านประพฤติดีปฏิบัติชอบ ให้ความเมตตาสงเคราะห์ผู้ประสบทุกข์เวทนาจากความเจ็บป่วย และเป็นพระนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่รูปหนึ่ง นอกจากท่านได้ก่อสร้างศาสนสถานในวัดเกาะหงษ์แล้ว ท่านยังเป็นผู้นำในการก่อสร้างโบสถ์ศาลาอีกหลายแห่ง เช่นอุโบสถวัดกลางแดด วัดหนองกรด วังดงชะพลู วัดนากลาง วัดโกรกพระเหนือ

หลวงพ่ออินทร์ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๑๓ อายุได้ ๘๘ ปี แม้ท่านจะดับขันธ์ไปนานแล้ว ท่านยังเป็นที่เคารพกราบไหว้ของประชาชนตราบเท่าทุกวันนี้

****ประวัติวัดเกาะหงษ์****
วัดเกาะหงษ์ สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ราวปีพ.ศ. 2336 แต่เดิมนามว่า วัดเกาะ ในอดีตพื้นที่บริเวณวัดยื่นออกไปในลำน้ำเจ้าพระยาชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้เป็น วัดเกาะ ต่อมาปีพ.ศ. 2485 มีการเติมหงษ์ เข้าไปเพื่อมิให้ซ้ำกับวัดอื่นๆ วัดเกาะหงษ์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 ตั้งอยู่ริมน้ำเจ้าพระยา บ้านเกาะหงษ์ ต.ตะเคียนเลื่อน ในเขต อ.เมืองนครสวรรค์
วัดเกาะหงษ์ มีงานจิตรกรรมฝาผนังและลายปูนปั้นหน้าบัน ลวดลายรูปพระนารายณ์ทรงครุฑงดงามมาก บริเวณวัดจะเต็มไปด้วยพระปรางค์โบราณ และรอยพระพุทธบาทจำลองปรากฏอยู่เต็มฝาผนัง นอกจากนี้โบราณวัตถุอีกหลายสิ่งเป็นของล้ำค่าเช่น จิตรกรรมไทยบนสมุดใบข่อยภาษามอญมีภาพประกอบ ลงรักปิดทองสวยงามมาก พระสังกัจจายน์ก็แปลกตา เพราะเป็นปางยืนมือกุมท้อง ซึ่งองค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่สร้างมาแทนองค์เดิม ที่ตามหลักฐานปรากฏเมื่อปี 2449 พระพุทธเจ้าหลวง คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสต้นทางเหนือ โดยแวะนมัสการพระประธานในโบสถ์ ตามในหนังสือพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งว่า “วันที่ 12 เวาเที่ยง (12 สิงหาคม 2449) ถึงวัดบ้านเกาะหยุดสำหรับกินข้าว ได้ทำมาตามทางแล้วขึ้นบกมาพบสมภารอายุ 87 ปี เคี้ยวจัดเสมือนสมเด็จพุฒาจารย์ตาบอดข้างหนึ่ง แต่รูปร่างเปล่งปลั่งดีวัดใหญ่รักษาสะอาดมีตึกเก่า 2 หลังในโบสถ์จารึกว่าสร้างเมื่อศักราช 1155 มีของประหลาด แต่พระกระจายยืนรูปร่างดีได้ขอพระแล้วให้เงินไว้ให้สร้างเปลี่ยนใหม่ ต่อมาอีกชั่วโมงเศษถึงนครสวรรค์” สิ่งที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงพอพระทัยมากนั้นเป็นสังกัจจายน์ปางยืนกุมท้อง ซึ่งพระองค์ทรงอัญเชิญพระสังกัจจายน์นั้นไปแล้วพระราชทานทรัพย์จำนวน 1 ชั่ง (80 บาท) เพื่อจัดสร้างใหม่ไว้แทนองค์เดิมก็คือองค์ปัจจุบันนั่นเอง
วัดเกาะหงษ์ ในอดีตมีชื่อเสียงทางรักษากระดูก,ปวด เมื่อย,อัมพฤกษ์ – อัมพาต ด้วยสมุนไพร และเหยียบฉ่าโดยหมอพระจะนำเท้าจุ่มสมุนไพร แล้วเหยียบบนแผ่นเหล็กหรือลนไฟให้ร้อนจัด ซึ่งหากเหยียบเหล็กร้อนไฟจะลุกท่วมเท้า แล้วเหยียบบริเวณที่เมื่อยขบมีเสียงดัง ฉ่า ฉ่า ตามชื่อ นับเป็นการรักษาโรคแบบโบราณโดยแท้เป็นภูมิปัญญาและความอัศจรรย์ ที่สืบทอดกันมานับร้อยปีทีเดียวในปัจจุบันที่วัดเกาะหงษ์นี้ก็ยังมีการ เหยียบฉ่าอยู่
ประเพณีสงกรานต์วัดเกาะหงษ์ จัดขึ้นทุกปีที่บริเวณวัดเกาะหงษ์ ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ในงานนี้จะมีการตกแต่งรถขบวนแห่อย่างสวยงามแล้วแห่เข้ามาในวัด ในการจัดงานสงกรานต์ของแต่ละปีมีประชาชนเป็นจำนวนมากมาร่วมงาน
ประเพณีแข่งเรือยาววัดเกาะหงส์ ในเดือนตุลาคม มีการแข่งเรือยาวริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้าวัดเกาะหงษ์ โดยมีทีมจากทั่วประเทศเข้าร่วมแข่งขัน
เส้นทางการเดินทาง วัดเกาะหงษ์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านหน้าติดเส้นทางหลวงหมายเลข 3327 กิโลเมตรที่ 10 สายนครสวรรค์-โกรกพระ ในเขตตำบลตะเคียนเลื่อน

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top