พระบูชาหลวงปู่กัน วัดเกาะหงษ์ จ.นครสวรรค์ หนึ่งเดียว ทรงคุณค่าในการสะสมค้นหาและเผยแพร่ประวัติ-ชัมภลพระเครื่อง - webpra
ขอพรเทพเจ้าแห่งโชคลาภ มหาเศรษฐีชัมภล "โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน สวาหะ" ร่ำรวยรับทรัพย์ทุกวัน

หมวด พระเกจิภาคกลางตอนบน

พระบูชาหลวงปู่กัน วัดเกาะหงษ์ จ.นครสวรรค์ หนึ่งเดียว ทรงคุณค่าในการสะสมค้นหาและเผยแพร่ประวัติ

พระบูชาหลวงปู่กัน วัดเกาะหงษ์ จ.นครสวรรค์ หนึ่งเดียว ทรงคุณค่าในการสะสมค้นหาและเผยแพร่ประวัติ - 1พระบูชาหลวงปู่กัน วัดเกาะหงษ์ จ.นครสวรรค์ หนึ่งเดียว ทรงคุณค่าในการสะสมค้นหาและเผยแพร่ประวัติ - 2พระบูชาหลวงปู่กัน วัดเกาะหงษ์ จ.นครสวรรค์ หนึ่งเดียว ทรงคุณค่าในการสะสมค้นหาและเผยแพร่ประวัติ - 3พระบูชาหลวงปู่กัน วัดเกาะหงษ์ จ.นครสวรรค์ หนึ่งเดียว ทรงคุณค่าในการสะสมค้นหาและเผยแพร่ประวัติ - 4พระบูชาหลวงปู่กัน วัดเกาะหงษ์ จ.นครสวรรค์ หนึ่งเดียว ทรงคุณค่าในการสะสมค้นหาและเผยแพร่ประวัติ - 5
ชื่อร้านค้า ชัมภลพระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระบูชาหลวงปู่กัน วัดเกาะหงษ์ จ.นครสวรรค์ หนึ่งเดียว ทรงคุณค่าในการสะสมค้นหาและเผยแพร่ประวัติ
อายุพระเครื่อง 106 ปี
หมวดพระ พระเกจิภาคกลางตอนบน
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ apol2025@yahoo.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 07 ก.พ. 2559 - 11:16.10
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 07 ก.พ. 2559 - 21:25.39
รายละเอียด
หลวงปู่กัน วัดเกาะหงษ์ อดีตผู้ก่อตั้งวัดเกาะหงษ์ และเป็นพระอุปัชฌาย์ ให้กับหลวงพ่ออินทร์

พระบูชาองค์เดียวที่ได้พบเจอ ขนาดหน้าตักประมาณสี่นิ้วกว่า ฐานมั่นคง เป็นงานพระบูชาที่หล่อออกมาได้สวยงามมากๆ จมูก หน้าตา นิ้วมือต่างๆของหลวงพ่อ ติดคมชัด สุดคลาสสิคด้วยริ้วจีวรแบบโบราณ แตกต่างจากยุคสมัยนี้โดยสิ้นเชิง เนื้อสัมฤทธิ์เก่าสุดบรรยาย ตามซอกต่างๆเห็นเกล็ดทองกระจายเต็มไปหมด คาดการณ์น่าจะหล่อในช่วงปี 2450-2460 ในช่วงเวลาเดียวกันกับการหล่อพระสังกัจจัยจายน์ยืน เพื่อทดแทนองค์เดิม

*****ประวัติของหลวงปู่กัน วัดเกาะหงษ์*****
ค่อนข้างโชคดี ที่มีภาพถ่ายของหลวงปู่ยังอยู่ให้เห็น สามารถเข้าไปกราบไหว้ขอพรได้ที่วัดเกาะหงษ์ โดยตั้งไว้คู่กับภาพถ่ายของหลวงพ่ออินทร์ ได้วางไว้ด้านหน้าที่บรรจุสรีระของหลวงพ่ออินทร์
และที่ชัดเจนอีกอย่าง ก็คือข้อมูลการเสด็จประพาสต้นทางเรือ ของรัชกาลที่5 ที่แวะเข้าไปเยี่ยมชมที่วัดเกาะหงษ์ เมื่อ 12 สิงหาคม พศ.2449 และในบันทึกได้บอกไว้ว่า พบเจอหลวงปู่กัน ขณะอายุ 87 พรรษา จาก ณ จุดนี้ ก็คาดการณ์ได้ว่า หลวงปู่กัน เกิดประมาณปี พศ.2362 นับได้ว่าเป็นเกจิยุคต้นของนครสวรรค์เลยก็ได้ที่มีประวัติชัดเจนให้สามารถสืบค้นกลับได้ จากข้อมูลในการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่5 ในช่วงเวลาใกล้ๆกัน ที่ได้แวะเข้าเยี่ยมชมวัดพระปรางค์เหลือง พบเจอหลวงพ่อเงิน ขณะอายุหลวงพ่อ65 พรรษา และแวะเข้าเยี่ยมชม วัดเขาดินใต้ พบเจอหลวงพ่อเฮง ขณะอายุหลวงพ่อ47 พรรษา
และมีหลักฐานจากใบสุทธิพระ ของหลวงพ่ออินทร์ ที่มีหลวงปู่กันเป็นพระอุปัชฌาย์ บวชให้เมื่อ อายุครบ 21 ปี พร้อมหลักฐานการเกิดของหลวงพ่ออินทร์ เกิดเมื่อ พศ.2425 หรือหลวงพ่ออินทร์ บวชในปีพศ.2446 โดยบันทึกไว้ในสมณศักดิ์ อธิการกัน คาดการณ์ขณะอายุหลวงพ่อ 84พรรษา
ในส่วนหลักฐานช่วงเวลาของการมรณภาพของหลวงปู่กัน ยังไม่สามารถสืบค้นได้ ทราบแต่เพียง หลวงพ่ออินทร์ ได้เป็นเจ้าอาวาส วัดเกาะหงษ์ ลำดับถัดมาเมื่อ พศ. 2472

ข้อมูลจากโปสเตอร์ของวัด
หลวงปู่กัน เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดเกาะหงษ์ ในคราวที่รัชกาลที่๕ เสด็จประพาสต้น วัดเกาะหงษ์ ชอบฉันหมาก ตาบอดข้างหนึ่ง เป็นเกจิอาจารย์ที่มีวิชาอาคมขลัง มีคนนับถือมาก เก่งทางด้านวิปัสนากรรมฐาน เมตตามหานิยมสูง และยังเก่งทางด้านยาสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ เป็นที่ยอบรับในสมัยนั้น ได้รับพระราชทานผ้าสังฆาฏิเครื่องหมายพระราชลัญจกรประจำพระองค์จากรัชกาลที่๕ เมื่อมรณภาพ อัฐิของท่านจัดสร้างเจดีย์ไว้ที่หน้าพระอุโบสถหลังเก่า


****ประวัติวัดเกาะหงษ์****
วัดเกาะหงษ์ สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ราวปีพ.ศ. 2336 แต่เดิมนามว่า วัดเกาะ ในอดีตพื้นที่บริเวณวัดยื่นออกไปในลำน้ำเจ้าพระยาชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้เป็น วัดเกาะ ต่อมาปีพ.ศ. 2485 มีการเติมหงษ์ เข้าไปเพื่อมิให้ซ้ำกับวัดอื่นๆ วัดเกาะหงษ์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 ตั้งอยู่ริมน้ำเจ้าพระยา บ้านเกาะหงษ์ ต.ตะเคียนเลื่อน ในเขต อ.เมืองนครสวรรค์
วัดเกาะหงษ์ มีงานจิตรกรรมฝาผนังและลายปูนปั้นหน้าบัน ลวดลายรูปพระนารายณ์ทรงครุฑงดงามมาก บริเวณวัดจะเต็มไปด้วยพระปรางค์โบราณ และรอยพระพุทธบาทจำลองปรากฏอยู่เต็มฝาผนัง นอกจากนี้โบราณวัตถุอีกหลายสิ่งเป็นของล้ำค่าเช่น จิตรกรรมไทยบนสมุดใบข่อยภาษามอญมีภาพประกอบ ลงรักปิดทองสวยงามมาก พระสังกัจจายน์ก็แปลกตา เพราะเป็นปางยืนมือกุมท้อง ซึ่งองค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่สร้างมาแทนองค์เดิม ที่ตามหลักฐานปรากฏเมื่อปี 2449 พระพุทธเจ้าหลวง คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสต้นทางเหนือ โดยแวะนมัสการพระประธานในโบสถ์ ตามในหนังสือพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งว่า “วันที่ 12 เวาเที่ยง (12 สิงหาคม 2449) ถึงวัดบ้านเกาะหยุดสำหรับกินข้าว ได้ทำมาตามทางแล้วขึ้นบกมาพบสมภารอายุ 87 ปี เคี้ยวจัดเสมือนสมเด็จพุฒาจารย์ตาบอดข้างหนึ่ง แต่รูปร่างเปล่งปลั่งดีวัดใหญ่รักษาสะอาดมีตึกเก่า 2 หลังในโบสถ์จารึกว่าสร้างเมื่อศักราช 115 มีของประหลาด แต่พระกระจายยืนรูปร่างดีได้ขอพระแล้วให้เงินไว้ให้สร้างเปลี่ยนใหม่ ต่อมาอีกชั่วโมงเศษถึงนครสวรรค์” สิ่งที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงพอพระทัยมากนั้นเป็นสังกัจจายน์ปางยืนกุมท้อง ซึ่งพระองค์ทรงอัญเชิญพระสังกัจจายน์นั้นไปแล้วพระราชทานทรัพย์จำนวน 1 ชั่ง (80 บาท) เพื่อจัดสร้างใหม่ไว้แทนองค์เดิมก็คือองค์ปัจจุบันนั่นเอง

วัดเกาะหงษ์ ในอดีตมีชื่อเสียงทางรักษากระดูก,ปวด เมื่อย,อัมพฤกษ์ – อัมพาต ด้วยสมุนไพร และเหยียบฉ่าโดยหมอพระจะนำเท้าจุ่มสมุนไพร แล้วเหยียบบนแผ่นเหล็กหรือลนไฟให้ร้อนจัด ซึ่งหากเหยียบเหล็กร้อนไฟจะลุกท่วมเท้า แล้วเหยียบบริเวณที่เมื่อยขบมีเสียงดัง ฉ่า ฉ่า ตามชื่อ นับเป็นการรักษาโรคแบบโบราณโดยแท้เป็นภูมิปัญญาและความอัศจรรย์ ที่สืบทอดกันมานับร้อยปีทีเดียวในปัจจุบันที่วัดเกาะหงษ์นี้ก็ยังมีการ เหยียบฉ่าอยู่

ประเพณีสงกรานต์วัดเกาะหงษ์ จัดขึ้นทุกปีที่บริเวณวัดเกาะหงษ์ ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ในงานนี้จะมีการตกแต่งรถขบวนแห่อย่างสวยงามแล้วแห่เข้ามาในวัด ในการจัดงานสงกรานต์ของแต่ละปีมีประชาชนเป็นจำนวนมากมาร่วมงาน

ประเพณีแข่งเรือยาววัดเกาะหงส์ ในเดือนตุลาคม มีการแข่งเรือยาวริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้าวัดเกาะหงษ์ โดยมีทีมจากทั่วประเทศเข้าร่วมแข่งขัน

เส้นทางการเดินทาง วัดเกาะหงษ์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านหน้าติดเส้นทางหลวงหมายเลข 3327 กิโลเมตรที่ 10 สายนครสวรรค์-โกรกพระ ในเขตตำบลตะเคียนเลื่อน

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top