พระสมเด็จปิลันทร์ วัดระฆัง-โช ฉัตรแก้ว - webpra
ขอน้อมความซื่อสัตย์ และ ความจริงใจแด่ทุกๆ ท่านค่ะ
พระสมเด็จปิลันทร์ วัดระฆัง - 1พระสมเด็จปิลันทร์ วัดระฆัง - 2พระสมเด็จปิลันทร์ วัดระฆัง - 3พระสมเด็จปิลันทร์ วัดระฆัง - 4พระสมเด็จปิลันทร์ วัดระฆัง - 5
ชื่อร้านค้า โช ฉัตรแก้ว - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จปิลันทร์ วัดระฆัง
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระสมเด็จวัดระฆัง - วัดบางขุนพรหม - วัดเกษไชโย
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ cho.chatkaew@gmail.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 05 ต.ค. 2553 - 15:33.16
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 28 พ.ย. 2553 - 15:38.46
รายละเอียด
พระสมเด็จปิลันทร์ วัดระฆัง (ไม่ลงกรุ)

เป็นพระเนื้อผงที่พบเห็นจะออกสีเขียวอมดำ หรือ สีผงใบลาน เพราะประกอบด้วยผงวิเศษผสมใบลานเผา และมีเศษหรือวัตถุธาตุชิ้นเล็กๆสีขาวผสมอยู่ สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) มีพระนามเดิมว่า พระพุทธบาทปิลันท์ เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง ประมาณว่า สร้างตั้งแต่ปี 2418 และในช่วงนั้นเอง สมเด็จพุฒาจารย์โต ยังมีชีวิตอยู่จึงสัณนิษฐานว่าท่านน่าจะแผ่เมตตาประกอบพิธีปลุกเสกด้วย

พระสมเด็จปิลันทร์มีทั้งประเภทลงกรุ และไม่ลงกรุ ที่ลงกรุมักจะมีไขขาวเกาะหุ้มจนหนา บางพิมพ์ไขจะร่อนออกเป็นชั้นๆ ส่วนที่ไม่ลงกรุนั้นไขจะไม่จับ หรือ มีบ้างก็เกาะอยู่บางแห่งเท่านั้นส่วนองค์นี้เป็นพระืั้ืัที่ไม่ได้ลงกรุ
และมีพิมพ์ทรงต่างๆ แตกต่างกันออกไปจุดสังเกตุและตัดสินได้นั้นก็คือ เนื้อหา มวลสาร โดยรวมลักษณ์ของเนื้อพระนั่นเอง

ประวัติโดยย่อของเจ้าพระคุณหม่อมเจ้าพระสมเด็จฯ องค์นี้สักเล็กน้อย เพื่อรู้เรื่องคำว่า “ปิลันท์”
เมื่อผู้เขียนเป็นเด็กยังไม่ได้บวชเณร เคยได้ฟังมาจากโอษฐของหม่อมเจ้าหญิงสืบ พระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์(พระองค์เจ้าเกต) รับสั่งเล่าถึงเรื่องสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แล้วเลยรับสั่งถึงหม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) ต่อไปให้พวกผู้ใหญ่ฟัง ซึ่งผู้เขียนก็ฟังอยู่ในที่นั้นด้วยเพราะมีหน้าที่คอยตำหมากถวาย รับสั่งเล่าว่า “เจ้าพระทัดนี้เป็นเจ้าวังหลัง รูปร่างขี้ริ้ว มีพี่ชายชื่อเจ้าพยอม บวชอยู่วัดบางหว้า เป็นท่านเจ้าฯ พี่พระสังวรประสาท” จะลำดับถ้อยคำของเสด็จฯ จำไม่ได้จะเขียนเอาแต่ความที่ท่านรับสั่ง พอได้เค้าต่อเนื่องกันเท่าที่จำได้ ความว่า หม่อมเจ้าพระสมเด็จฯ องค์นี้ เมื่อเป็นฆราวาสได้ไปสู่ขอกุลสตรีผู้หนึ่ง บิดามารดาทางฝ่ายหญิงเขาติว่าขี้ริ้วและเป็นเจ้าจนๆ อายุมากแล้วเสียพระทัยจึงออกผนวชเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ใครจะเป็นพระอุปัชฌาย์สืบไม่ได้ ทราบแต่ว่าเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมื่อครั้งยังเรียกกันว่าพระมหาโต เปรียญหก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วมาประทับอยู่วัดระฆังฯ ทรงเล่าเรียนภาษาบาลีกับพระอาจารย์มหาโตแต่ผู้เดียว จนถึงสอบไล่ได้เป็นเปรียญ ๗ ประโยค เมื่อเจริญด้วยพระชนมายุพรรษา จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่พระพุทธบาทปิลันท์
อัน นามสัญญาบัตรที่พระพุทธบาทบิลันท์นี้ เป็นสมณศักดิ์ที่สงวนเฉพาะแต่พระราชวงศ์ ตั้งแต่หม่อมราชวงศ์ขึ้นไป ถ้าเป็นพระภิกษุสามัญชนย่อมไม่พระราชทานสมณศักดิ์ที่เหล่านี้
สมณศักดิ์ที่สงวนไว้สำหรับราชวงศ์นั้นมีดังนี้คือ
๑. ราชานุพัทธมุนี (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) สมเด็จพระอุปัฌาย์ของผู้เขียน เมื่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญ ก็ได้รับพระราชทานที่พระราชานุพัทธมุนี
๒. ศรีวราลังการ
๓. สังวรประสาท
๔. พุทธบาทปิลันท์
เมื่อปีที่หม่อมเจ้าพระทัด เสนียวงศ์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระพุทธบาทปิลันท์นั้น ท่านจึงได้คิดสร้างพระผงใบลานเผา โดยขอให้สมเด็จพระอาจารย์ของท่านร่วมมือช่วยสร้างด้วย จึงเรียกพระนี้ว่าพระสองสมเด็จมาแต่โบราณกาลที่เรียกว่าพระปิลันท์นั้นก็เกิดจาก ผู้เขียนเอง เรื่องมีอยู่ว่าในเวลานั้นโยมป่วยอยู่ที่ศาลาการเปรียญ ผู้เขียนต้องไปอยู่ที่ศาลาการเปรียญ เพื่อพยาบาลไข้ วันหนึ่งเข้าไปตัดใบตองที่บริเวณพระอุโบสถ เพื่อทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง กำลังนั่งเลื่อยใบตองอยู่ สามเณรรูปหนึ่งวิ่งเข้ามาหาใกล้ๆ ในมือทั้งสองข้างมีพระอยู่เต็มทั้งสองฟายมือสามเณรพูดว่ามหาเอาพระบ้างไหม ด้วยความไม่สนใจ จึงร้องบอกไปว่า “ข้าไม่เอา” สามเณรก็ยังคงพูดว่า “เอาน่า” เมื่อสามเณรเห็นว่าไม่เอาจึงเดินกลับเอาพระสองฟายมือนั้น ไปกองไว้บนแท่นหิน ซึ่งมีอยู่ตรงที่ที่สร้างหอไตร ฯ เดี๋ยวนี้ เมื่อเลื่อยใบตองม้วนมัดเสร็จแล้ว จึงเดินไปดูเห็นพระเจดีย์ที่มุมกำแพงโบสถ์ ตรงกับกุฏิพระครูสังฆ์รักษ์ประทีป เดี๋ยวนี้ถูกเจาะเอาออกเป็นช่องกว้าง พระถูกโกยออกมาข้างนอกมากมายังอยู่ในพระเจดีย์อีกก็มาก มีพระภิกษุและสามเณร ๓-๔ รูปนั่งเลือกเก็บเอาแต่พระที่เรียบร้อยไม่หักไม่บิ่น และนึกรู้ทันที่ว่าผู้ที่เจาะเป็นคนแรกเขาไม่ได้ต้องการพระ เขาต้องการของมีค่าที่ผู้สร้างพระเจดีย์มักเอาบรรจุไว้ เมื่อรู้เห็นดังนั้นแล้วก็เดินกลับโดยไม่ได้แต่ต้องพระเลย กลับมาพบพระที่สามเณรเอากองไว้ที่แท่นหิน นึกว่าจะเรี่ยราดทุเรศ จึงทำชายพกให้โตแล้วกอบพระใส่ไว้ในพกกลับศาลาการเปรียญ เก็บใบตองเรียบร้อยแล้วเกิดอยากรู้ขึ้นมาว่าเป็นพระอะไร จึงเอาพระไปหาท่านเจ้าคุณเฒ่าคือ ท่านเจ้าคุณพระธรรมถาวรนั่นเอง และเรียนถามท่านว่าหลวงปู่นี่พระอะไร พอท่านรับไปดูท่านออกอุทานว่าอ๋อ พระพุทธบาทปิลันท์นั่นเอง เมื่อรู้แล้วกลับมาใครถามว่าพระอะไร ก็บอกเขาไปว่าพระพุทธบาทปิลันท์ ตามคำบอกเล่าเจ้าคุณเฒ่า ต่อมาคำว่า “พุทธบา

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top