พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้อผงจุ่มรัก พิมพ์ตะพาบนิยม -ChinBanChorn Amulet Shop - webpra
เป้าหมายคือศึกษาและสะสมเชิงอนุรักษ์ ยินดีต้อนรับทุกท่านที่ต้องการศึกษาเรียนรู้

หมวด พระปิดตาทั่วไป

พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้อผงจุ่มรัก พิมพ์ตะพาบนิยม

พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้อผงจุ่มรัก พิมพ์ตะพาบนิยม  - 1พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้อผงจุ่มรัก พิมพ์ตะพาบนิยม  - 2
ชื่อร้านค้า ChinBanChorn Amulet Shop - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้อผงจุ่มรัก พิมพ์ตะพาบนิยม
อายุพระเครื่อง 86 ปี
หมวดพระ พระปิดตาทั่วไป
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 086-9138211
อีเมล์ติดต่อ settachon@thainjr.co.th
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 06 ม.ค. 2561 - 22:12.21
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 06 ม.ค. 2561 - 22:12.21
รายละเอียด
วัดสะพานสูงหรือวัดสว่างอารมณ์ ตั้งอยู่ใกล้ริมน้ำคลองพระอุดม การสัญจรไปมาสมัยก่อนใช้เรือเป็นส่วนใหญ่รวมไปถึงการออกบิณฑบาตรของพระภิกษุ ในทุก ๆ ปีก่อนออกพรรษา หลวงปู่เอี่ยมจะให้พระลูกวัดนำเรือเก่ามาขึ้นคานเพื่อทำการขูดชันยาเรือเก่าออกหมด จากนั้นจึงจัดแจงยาชันใหม่เพื่อกันเรือรั่ว เนื้อชันเก่าที่ขูดออกนั้น ถูกเก็บ และนำมาบดผสมสร้างเป็น พระภควัมบดีหรือพระปิดตา เมื่อท่านนำมาเข้าแว่นขยาย จะแลเห็นลักษณะของชันชัดเจน

แบบพิมพ์พระปิดตา
ลักษณะพิมพ์พระปิดตา แบ่งได้ ๓ ชนิดใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้
แบบพิมพ์พระปิดตาทั่ว ๆ ไป เช่น พระปิดตาพิมพ์ชะลูด, พระปิดตาพิมพ์ตะพาบ, พระปิดตาพิมพ์หน้าใหญ่
พระปิดตาพิมพ์พนมมือ คือใช้มือสองข้างยกปิดหน้า ลักษณะคล้ายพนมมือไหว้ที่พบมีทั้งแบบพิมพ์สองหน้าและพิมพ์หน้าเดียว
พระปิดตาพิมพ์ ๒ หน้า ซึ่งมีทั้งพิมพ์พนมมือและพิมพ์ธรรมดา
พุทธคุณ
พระภควัมบดีหรือพระปิดตาและตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม นอกจากจะพบว่ามีพุทธคุณทางแคล้วคลาดคงกระพันชาตรีแล้ว ยังให้ผลทางด้านเสน่ห์เมตตามหานิยมด้วย
ชาวบ้านหรือใครที่ได้รับพระปิดตาและตะกรุดของหลวงปู่ไปแล้ว มีความเชื่อมั่นและยึดมั่นเป็นอย่างยิ่ง ระยะนั้นเสือปล้นและนักเลงชุกชุมมาก แต่ชาวบ้านหาได้เกรงกลัวไม่
ถ้าถูกปล้นจี้ก็จะจับอาวุธเข้าสู้ เมื่อโดนยิงแล้วไม่เข้ายิ่งใจใหญ่ท้ายที่สุดขุนโจรมีอันต้องล่าถอยไปเองด้วยบารมีของหลวงปู่เอี่ยม

การแบ่งยุคสร้างพระปิดตา

เรื่องราวของหลวงปู่เอี่ยม ผมได้เขียนไว้ในหนังสือพระเครื่องหลายฉบับ เริ่มแต่ประวัติความเป็นมา มูลเหตุของพระเครื่อง รวมไปถึงอภินิหารที่มีผู้ประสบหลายท่านอาจจะเคยได้อ่านมาแล้ว ในหนังสือเล่มนี้จึงได้รวบรวมเอาเรื่องเหล่านั้นมารวมไว้ทั้งหมด ซึ่งเรียกว่าสมบูรณ์ทั้งรูปและเนื้อหา ในส่วนนี้ก็เช่นกัน ผมขอนำเสนอเรื่องที่เกี่ยวกับหลวงปู่เอี่ยมอีกครั้ง แต่จะเป็นคนละเรื่องที่เคยเขียนมาแล้ว การเขียนจึงเป็นแบบสไตล์ของตัวเองคือใช้ภาษาง่าย ๆ อ่านและเข้าใจง่าย มีหลายท่านถามผมว่า ประวัติการสร้างพระของหลวงปู่เป็นอย่างไร? ทำไมพระปิดตาหลวงปู่บางองค์จึงมีรักแดง? ทำไมบางองค์รักจึงดำ? คำถามเหล่านี้เมื่อท่านอ่านจบ ท่านจะทราบคำตอบได้ทันที ผมว่ามาเข้าเรื่องกันดีกว่า


หลวงปู่เอี่ยมนอกจากท่านจะเก่งกล้าทางวิชาอาคมแล้ว ท่านยังมีความสามารถในเชิงศิลปะอีกด้วย ท่านเป็นช่างเขียนช่างแกะสลัก ฝีมือทางแกะสลักดีเยี่ยม ไม้พายที่หลวงปู่ใช้พายเรื่องบิณฑบาตทุกวันนั้น วันดีคืนดีก็นำไม้พายมานั่งแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ที่วิจิตรยิ่งนัก คันกระสุนที่ใช้ยิงใส่อะไรต่อมิอะไรของท่าน ก็แกะคันเสียสวยงาม หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยว่าคันกระสุนคืออะไร? คันกระสุนมีรูปร่างเหมือนคันธนู มีสายเหมือนคันธนูทุกอย่างแต่ที่สายจะทำเป็นที่สำหรับใส่กระสุนที่ปั้นด้วยดิน เวลายิงจะน้าวสายเหมือนยิงธนู และยิงเอาลูกกระสุนนั้นไป ซึ่งคนสมัยโบราณไม่มีหนังสติ๊ก จึงนิยมใช้คันกระสุนแทนเมื่อตอนเด็ก ๆ เคยหัดยิง ถ้ายิงผิดท่าลูกกระสุนจะยิงเอามือตัวเองเหมือนกัน ตอนเป็นเด็กผมเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดกับ หลวงปู่สุข วัดสะพานสูง เคยเห็นพายที่หลวงปู่เอี่ยมแกะเห็นคันกระสุนที่หลวงปู่ใช้ ปัจจุบันไม่ทราบว่าใครเอาไปแล้ว
พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมก็เช่นกัน หลวงปู่เป็นผู้ออกแบบและทำแบบพิมพ์เองทุกอย่าง เมื่อมองเผิน ๆ ดูเหมือนเป็นแบบที่ง่าย แต่ถ้าดูให้ดีแบบพิมพ์และลีลาลึกซึ้งสวยงามคลาสสิกมาก ทุกส่วนกลมกลืนได้สัดส่วนเหมาะสมสวยงามไปหมด

พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมแบ่งได้ ๓ ยุค

พระปิดตา (พระภควัมบดี) หลวงปู่เอี่ยมยุคแรก ๆ นั้นเรียกว่า “ยุคต้น” พระถูกเคลือบด้วย “รักแดง” รักแดงที่ว่าท่านได้รักมาจากประเทศจีนเป็นรักที่ทำจากเปลือกไม้ธรรมชาติ พระปิดตาของท่านไม่ว่าจะเป็นพระที่จุ่มรัก ทารัก หรือ คลุกรัก ลักษณะพระจะออกไปทางสีน้ำตาลไหม้เข้ม ๆ อมแดง คนโบราณเขาเรียกว่า “รักแดง” พระปิดตาชุดนี้ขึ้นชื่อมาก ขอให้ท่านสังเกตจากพระที่นำมาลงในเล่มนี้ พระยุคแรก ๆ เมื่อพระถูกใช้ไปนาน ๆ รักจะลอกร่อนออกโดยง่าย สีของรักจะซีด ผิวจะมีลักษณะเปลือกไม้สวยงามแบบธรรมชาติ เมื่อรักลอกหมด เนื้อพระจะแลดูสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง
พระปิดตายุคกลาง หลวงปู่เอี่ยมใช้รักแดงที่มีอยู่ผสมกับรักดำซึ่งเป็นรักวิทยาศาสตร์นำไปทาหรือจุ่มกับพระปิดตา ดังนั้นพระปิดตา “ยุคกลาง” จึงมีสีดำปนแดง ถ้าส่องดูด้วยแว่นขยายจะเห็นเป็นจุดแดงหรือเหลือบแดงปนอยู่ในเนื้อรักดำ มูลเหตุที่หลวงปู่นำรักดำผสมกับรักแดงนั้นเนื่องจากรักแดงที่ได้มาจากประเทศจึงเริ่มน้อยลง พระปิดตายุคกลางเนื้อรักจะเกาะติดกับองค์พระแน่น ไม่ชำรุดเสียหายง่ายเหมือนพระปิดตาในยุคต้น ๆ
พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมยุคปลาย พระที่ผ่านการจุ่มรักจะเป็นสีดำ ถือว่าเป็นพระช่วงท้ายชีวิตท่าน เพราะรักแดงที่ใช้นั้นหมดไม่มีเหลือ คงมีแต่รักทางวิทยาศาสตร์ที่มีสีออกดำสนิทเวลาจุ่มหรือทา ลงไปจะติดกับเนื้อพระแน่น ไม่ชำรุดเสียหายง่าย สีผิวพระที่จุ่มรักดำสนิทพระยุคหลังนี้คงทนต่อเวลาซื้อหากันจะดูยากสักหน่อย จึงต้องอาศัยการสังเกตพิมพ์พระและความเก่าเนื้อรัก พระปิดตาหลวงปู่ที่ทำปลอมจะดูเหมือนและใกล้เคียงโดยใช้ความร้อนและวิธีการทางวิทยาศาสตร์

นอกเหนือไปจากพระปิดตาที่หลวงปู่เอี่ยมสร้างทั้ง ๓ ลักษณะดังกล่าวไปแล้วยังมีพระปิดตาชนิดที่ท่านสร้างโดยไม่จุ่มหรือทารักใด ๆ ที่เรียกว่า “เนื้อพระล้วน ๆ หรือเนื้อเปลือย ๆ”

พระปิดตาวัดสะพานสูงมีอาจารย์ถึง ๓ องค์เป็นผู้สร้างพระปิดตาในลักษณะเดียวกัน คือ

หลวงปู่เอี่ยม เป็นพระบรมครูพระพิมพ์ปิดตาทรงนี้
หลวงปู่กลิ่น (พระครูโสภณศาสนกิจ) ลูกศิษย์หลวงปู่เอี่ยม
หลวงปู่สุข (พระครูนนทกิจโสภณ) ลูกศิษย์หลวงปู่กลิ่น เป็นผู้สืบทอดแบบพิมพ์พระปิดตาไว้

นอกจากยอดพระอาจารย์ที่กล่าวถึงแล้ว ยังมีหลวงปู่จอน วัดกระโจมทอง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี และอาจารย์ผัน วัดอินทราราม ปากเกร็ด นนทบุรี ก็สร้างพระปิดตาเลียนแบบหลวงปู่เอี่ยมเหมือนกัน

นักสะสมพระเครื่องจำนวนมากจึงแยกแยะพิมพ์ทรงในพระปิดตา หลวงปู่เอี่ยมไม่ออกทั้ง ๕ พิมพ์ เห็นพระเนื้อเก่าหน่อยก็เหมาเป็นพระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมเสียหมด ด้วยซื้อขายได้ราคาดี เคยได้ไปดูงานประกวดพระเครื่องแห่งหนึ่ง มีการนำเอาพระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมองค์ที่ชนะเลิศวางโชว์ในตู้ ผมเห็นแล้วตกใจ เพราะพระองค์ที่โชว์นั้นเป็นพระปิดตาของท่าน อาจารย์ผัน วัดอินทราราม ต.บางกะไนย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จึงไม่ทราบว่าเขาตัดสินกันอย่างไร?

วิธีสังเกตแบบง่าย ๆ ถ้านำพระปิดตาหลายๆ องค์มาวางเรียงกัน พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมจะแลดูสวยงามได้สัดส่วนกว่า องค์พระมีลักษณะล่ำสัน สมส่วนหัวเข่ากว้าง หน้าผากมีรอยบุบลงไปทุกองค์ ยกเว้นพระปิดตาพิมพ์พนมมือ ส่วนพระพิมพ์ที่หน้าผากไม่บุบลงไปนั้นก็มีอยูบ้างน้อยมาก พร้อม ๆ กับการดูเนื้อพระประกอบ

การดูเนื้อพระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมนั้น ถือว่าเป็น “จุดตาย” ที่สำคัญยิ่ง เนื้อพระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เนื้อในจะเป็นเนื้อสีน้ำตาลที่มีเนื้อสีน้ำตาลอ่อนแก่เท่านั้น ไม่มีเนื้อสีขาวโดยเด็ดขาด เนื้อพระแลดูหยาบเห็นมวลสารชัดเจน จึงขอบอกกับท่านเลยว่าตรงนี้คือจุดตาย ถ้าใครเอาพระปิดตาเนื้อสีขาวมาขายท่านโดยอ้างว่าเป็นพระของหลวงปู่เอี่ยมขอท่านอย่าได้สนใจผ่านได้ก็ผ่านเลยไป บางคนอาจไปเจอพระพิมพ์ปิดตาที่เสมือนของหลวงปู่เอียมทุกอย่าง แต่เนื้อสีขาว พาลเหมาเอาเป็นพระหลวงปู่เอี่ยมประเภทเนื้อสีขาว

ข้อเท็จจริงเรื่องนี้มีอยู่ว่า ในการสร้างพระยุคต้น ๆ ของหลวงปู่กลิ่น ท่านได้นำพิมพ์พระหลวงปู่เอี่ยมมาสร้างไว้เช่นกันเป็นพระปิดตาเนื้อสีขาว นี่แหละคือความต่างในเนื้อพระ ถ้าท่านอ่านมาถึงตรงนี้ ความกระจ่างจะเกิดขึ้นทันที ผมจึงสรุปได้ว่า พระปิดตาเนื้อสีขาวเป็นพระของหลวงปู่กลิ่น หลวงพ่อทองสุข (หลวงปู่สุข) ส่วนพระหลวงปู่จอนและอาจารย์ผันไม่ต้องพูดถึง พิมพ์พระดูเพี้ยนขนาดองค์พระเล็กกว่ามาก

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top