เหรียญพัดยศ วัดราชประดิษฐ์ ปี 2515 -บิ๊ก บางนา - webpra
ร้านค้า บิ๊กบางนาพระเครื่อง ออนไลน์ครับ .. สอบถามได้นะครับ ผ่านลายได้นะครับ .... bigbangna123

หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญพัดยศ วัดราชประดิษฐ์ ปี 2515

เหรียญพัดยศ วัดราชประดิษฐ์ ปี  2515  - 1เหรียญพัดยศ วัดราชประดิษฐ์ ปี  2515  - 2เหรียญพัดยศ วัดราชประดิษฐ์ ปี  2515  - 3
ชื่อร้านค้า บิ๊ก บางนา - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญพัดยศ วัดราชประดิษฐ์ ปี 2515
อายุพระเครื่อง 52 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ ShadoMS7@Gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 03 ต.ค. 2561 - 08:19.40
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 03 ต.ค. 2561 - 08:21.09
รายละเอียด
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราช วรวิหาร เป็นอีกหนึ่ง “พระอารามหลวงชั้นเอก” ที่มีความสำคัญและโดดเด่นถึง ๒ ประการคือ
ประการแรก เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นเป็นพระอารามหลวงของพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณีว่า บนผืนแผ่นดินไทยเมืองใดเป็นเมืองหลวงจะต้องมีวัดสำคัญประจำ ๓ วัดคือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และ วัดราชประดิษฐ์ โดยจะเห็นได้ว่าที่ กรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) และ สุโขทัย, สวรรคโลก, พิษณุโลก ก็มีวัดทั้ง ๓ ชื่อนี้
ประการที่สอง เพื่ออุทิศถวายแด่คณะธรรมยุตนิกายโดยเฉพาะคือเมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช พระองค์ทรงเป็นหัวหน้านำพระสงฆ์ชำระข้อปฏิบัติก่อตั้ง คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตนิกาย วัดราชประดิษฐ์ฯ จึงนับเป็นพระอารามแห่งแรกของคณะธรรมยุต ซึ่งจากความสำคัญของวัดราชประดิษฐ์ฯ
ทั้งสองประการนี้ พระมหากษัตริย์ ในรัชกาลต่อ ๆ มาก็ทรงรับวัดราชประดิษฐ์ฯ เข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ทุกพระองค์สืบมากระทั่งทุกวันนี้ วัดราชประดิษฐ์ฯ จึงเป็นวัดที่มีความสำคัญใน พระมหาจักรีบรมราชวงศ์ อีกวัดหนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาวัดราชประดิษฐ์ฯ ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๗ และในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ นับเป็นศุภวาระมงคลวโรกาสที่วัดราชประดิษฐ์ฯ ได้สถิตสถาพรมีอายุ ครบ ๑๐๘ ปี หากเป็นคนก็จะเรียกว่ามีอายุครบ ๙ รอบนักษัตร พอดี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิมมหาเถร) อ่านว่า “อุดาทิมะมะหาเถระ” เจ้าอาวาสในขณะนั้นเมื่อครั้งยังดำรง สมณศักดิ์ที่ “พระธรรมปาโมกข์” ได้ประชุมปรึกษาหารือพระภิกษุและสามเณรทั้งวัดโดยต่างมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจัดงานสมโภชตามโบราณราชประเพณีประกอบกับวัดราชประดิษฐ์ฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก จึงได้ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้งานสมโภชครบ ๑๐๘ ปี ครั้งนี้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์พร้อมเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีอีกด้วย โดยทางวัดได้กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ ๑๖-๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ และมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ

(๑) สมโภชพระอารามหลวงที่มีอายุครบ ๑๐๘ ปี

(๒) สมโภช “พระนิรันตราย” องค์ประจำวัดซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานประจำวัดธรรมยุตตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ซึ่งองค์ของวัดราชประดิษฐ์ฯ นี้มีหมายเลขลำดับที่ ๑๔ และต่อมาได้ถูกโจรใจบาปทำการโจรกรรมไป แต่ไม่นานนักก็ติดตามกลับคืนมาได้โดยฝีมือของตำรวจภายใต้การควบคุมของ พล.ต.ต.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น ผู้บังคับการตำรวจนครบาลเหนือ (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น)

(๓) จัดสร้าง “พระนิรันตราย” (ขนาดบูชา) พร้อม “พระกริ่งนิรันตราย” และ “พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (สา)” หรือ “พระกริ่งโสฬส รุ่น ๒” (รุ่น แรกสร้างเมื่อครั้งจัดงานสมโภชครบ ๑๐๐ ปีวัด พ.ศ. ๒๕๐๗) นอกจากนั้นยังมี “เหรียญนิรันตราย” อีก ๒ แบบคือ “พัดยศ” หรือ “เจริญยศ” และแบบ “เสมา” หรือ “เจริญลาภ” รวมทั้ง “พระกริ่งนิรันตรายขนาดเล็ก” และ “พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔” พร้อม “ล็อกเกตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” ขณะทรงถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแก่ “สมเด็จพระมหาวีรวงศ์” เพื่อให้พุทธศาสนิกชนนำไปสักการบูชาโดยรายได้นำบูรณ ปฏิสังขรณ์วัดราชประดิษฐ์ฯ ที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

สำหรับการจัดสร้างวัตถุมงคลนั้นทางคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย “สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม)” เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมปาโมกข์” เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และ พลเอกประภาส จารุเสถียร รองหัวหน้าคณะปฏิวัติในขณะนั้นเป็นประธานฝ่ายฆราวาสโดยกราบบังคมทูลอัญเชิญเชิญเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเสด็จฯ เททองหล่อ “พระนิรันตราย” (ขนาดบูชา) เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ จำนวน ๙๐๘ องค์ ตามจำนวนสั่งจองจากนั้นจึงนำทองชนวนที่เหลือจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเททองไปจัดสร้าง

“พระกริ่งนิรันตราย ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก, พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชสา (กริ่งโสฬส)” และ “เหรียญพระนิรันตราย” ทั้งสองแบบ ดังกล่าวข้างต้นอย่างละ ๕๐,๐๐๐ องค์ เท่ากันยกเว้น “พระบรมรูปรัชกาลที่ ๔” ประทับยืนแบบเดียวกับองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ใน ปราสาทพระจอมเกล้า (ปราสาททรงพระปรางค์) สร้างจำนวน ๑๐๘ องค์ และ “ล็อกเกต” จำนวนหลักร้อยเช่นกันซึ่งหลังการสร้างวัตถุมงคลเสร็จแล้วได้จัดทำ พิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษก ภายใน พระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ รวม ๙ วัน ๙ คืน ซึ่งตรงกับช่วงวันสถาปนาวัดพอดีโดยนิมนต์พระคณา จารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในขณะนั้น ทั่วพระราชอาณาจักร เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก คืนละ ๑๒ รูป รวมทั้งหมด ๑๐๘ รูป เท่ากับอายุของวัดราชประดิษฐ์ฯ ทุกประการ
โดยสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 เพื่อสมโภชครบ 108 ปี วัดราชประดิษฐ์ฯ ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก โดยขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์พร้อมเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีนี้ด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จฯ ทรงเททองหล่อ “พระนิรันตรายจำลอง” (ขนาดบูชา) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2515 จำนวน 908 องค์ ตามจำนวนการสั่งจองของประชาชนโดยทั่วไป จากนั้นนำทองชนวนที่เหลือจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเททองหล่อพระนิรันตรายจำลองดังกล่าวไปจัดสร้าง “พระกริ่งนิรันตราย” ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก, พระกริ่งโสฬส ม.ป.ร. ตลอดจนเหรียญพระนิรันตรายทั้ง 2 แบบ คือ เหรียญพิมพ์พัดยศที่เรียกกันว่า “เหรียญเจริญยศ” และ เหรียญพิมพ์เสมา ที่เรียกกันว่า “เหรียญเจริญลาภ” มีจำนวนการจัดสร้างดังนี้
1. พระบูชานิรันตราย จำนวน 908 องค์
2. พระกริ่งนิรันตรายเนื้อโลหะผสม พิมพ์ใหญ่ จำนวน 999 องค์
3. พระกริ่งนิรันตรายเนื้อโลหะผสม พิมพ์เล็ก จำนวน 999 องค์
4. กริ่งโสฬส ม.ป.ร. จำนวน 50,000 องค์
5. เหรียญเจริญยศ จำนวน 50,000 เหรียญ
6. เหรียญเจริญลาภ จำนวน 50,000 เหรียญ
7. พระชัยวัฒน์แบบปั๊ม ไม่ทราบจำนวนฯลฯ


หลังจากทางเสด็จพระราชดำเนินเททอง เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2515 ผ่านไป ทางคณะกรรมการได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก และ มังคลาภิเษก ภายในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ ระหว่างวันที่ 16-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 รวม 9 วัน 9 คืน อันเป็นระยะเวลาที่ตรงกับช่วงครบรอบสถาปนาพระอารามแห่งนี้ คณะกรรมการจึงได้นิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระราชอาณาจักรมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษก คืนละ 12 รูป รวม 108 รูป เท่ากับอายุของวัดราชประดิษฐ์ในปี พ.ศ. 2515 ซึ่งพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณที่มาร่วมประกอบพิธี ประกอบด้วย
1. หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
2. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
3. หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง
4. หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา
5. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
6. หลวงพ่อโชติ วัดตะโน
7. หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี
8. หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
9. หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดเลยหลง จ.เลย
10. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
11. หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
12. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
13. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จนนทบุรี
14. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
15. หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง จ.นครปฐม
16. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสาคร
17. หลวงพ่อรวย วัดตะโก จ.อยุธยา
18. หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย จ.นนทบุรี
19. พระอาจารย์วัน อุตฺตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร
20. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง
21. หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี เป็นต้น
วัตถุมงคลที่จัดสร้างในคราว “ฉลอง 108 ปี” วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เป็นอีกวัตถุมงคลที่ถึงพร้อมด้วย พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และพระมหากษัตริยาธิคุณ เพราะมีประสบการณ์เรื่อง “แคล้วคลาด” เป็นเยี่ยม เนื่องจากประกอบไปด้วยพระคุณของ “พระรัตนตรัย” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณ” ของพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงคุณประเสริฐที่ยิ่งใหญ่แห่งแผ่นดินไทยถึง 2 พระองค์ ทั้งล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 และล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 เป็นวัตถุมงคลที่ควรอาราธนาติดตัว

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top