เหรียญหลวงพ่อโบสถ์น้อย เนื้อนวโลหะ ปี2537 วัดอมรินทราราม-บางกอกแอนติค - webpra
บางกอกแอนติค ยินดีต้อนรับครับ เราให้บริการพระแท้ วัตุโบราณสภาพสวย รับประกันตามหลักมาตรฐานสากล

หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540

เหรียญหลวงพ่อโบสถ์น้อย เนื้อนวโลหะ ปี2537 วัดอมรินทราราม

เหรียญหลวงพ่อโบสถ์น้อย เนื้อนวโลหะ ปี2537 วัดอมรินทราราม - 1เหรียญหลวงพ่อโบสถ์น้อย เนื้อนวโลหะ ปี2537 วัดอมรินทราราม - 2เหรียญหลวงพ่อโบสถ์น้อย เนื้อนวโลหะ ปี2537 วัดอมรินทราราม - 3
ชื่อร้านค้า บางกอกแอนติค - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อโบสถ์น้อย เนื้อนวโลหะ ปี2537 วัดอมรินทราราม
อายุพระเครื่อง 30 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540
ราคาเช่า 1,500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0818489493
อีเมล์ติดต่อ AnanAntique@hotmail.com
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 24 มิ.ย. 2562 - 18:22.56
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 24 มิ.ย. 2562 - 18:22.56
รายละเอียด
เหรียญหลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม ปี2537 เนื้อนวโลหะ สภาพเดิมๆ สวยสมบูรณ์ ไม่ผ่านการใช้งาน พร้อมกล่องเดิมจากวัด
ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อโบสถ์น้อย มีอักขระขอม ภาษาบาลี โดยรอบ ด้านบนอ่านว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ซึ่งเป็น "พระคาถาหัวใจพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์" ด้านล่างอ่านว่า อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ซึ่งเป็น "พระคาถานวหรคุณ"

คั่นกลางด้วยเครื่องหมาย ๏ ด้านหลังตรงกลางเป็น "ยันต์เฑาะว์สมาธิ" ด้านบนเป็นชื่อ "หลวงพ่อโบสถ์น้อย" ด้านล่างเป็นชื่อวัด "วัดมรินทราราม (บางว้า)"

จัดพิธีพุทธาภิเษกในพระอุโบสถ โดยนิมนต์พระคณาจารย์นั่งปรก ดังนี้

พระสุเมธาธิบดี เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กรรมการมหาเถรสมาคม (เป็นประธานจุดเทียนชัย)
หลวงพ่อแพ (พระธรรมมุนี) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
หลวงพ่อวีระ (พระวิสุทธาธิบดี) วัดสุทัศเทพวราราม กรุงเทพฯ
หลวงพ่อเที่ยง (พระเทพวิสุธิคุณ) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
หลวงพ่อเณร (พระราชพิพัฒน์โกศล) วัดศรีสุดาราม กรุงเทพฯ
หลวงพ่อเกตุ( พระราชวิสุทธิคุณ) วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
หลวงพ่อเปิ่น (พระอุดมประชานาถ) วัดบางพระ นครปฐม
หลวงพ่อเฟื่อง (พระโสภณสมาธิคุณ) วัดเจ้ามูล กรุงเทพฯ
หลวงพ่อหยอด (พระครูสุนทรธรรมกิจ) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
หลวงพ่อเก๋ (พระครูสุนันท์วิริยาภรณ์) วัดแม่น้ำ สมุทรสงคราม
หลวงพ่อสนิท (พระครูวรเวทย์นิวิฐ) วัดลำบัวลอย นครนายก
หลวงพ่อฉอ้อน (พระครูอาทรธรรมโสภิต) วัดแหลมหิน ปราจีนบุรี
หลวงปู่ผัน (พระเทพประสิทธิคุณ) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
หลวงพ่อระเบียบ (พระชินวงศ์พิพัฒน์) วัดชิโนรสาราม กรุงเทพฯ
หลวงพ่อทอง (พระครูนนทสิทธิการ) วัดไทรน้อย นนทบุรี
หลวงพ่อประสิทธิ์ (พระครูยุตธรรมสุนทร) วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์
หลวงพ่อยิด (พระครูนิยุตธรรมสุนทร) วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์
หลวงพ่อสุรินทร์ (พระครูปลัดสุรินทร์) วัดนครหลวง อยุธยา



(เกร็ดความรู้...เล่าสู่กันฟังครับ)

หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทรารามวรวิหาร สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ชาวธนบุรี

วัดอมรินทรารามวรวิหาร หรือเดิมชื่อ วัดบางว้าน้อย ติดกับสถานีรถไฟบางกอกน้อย และโรงพยาบาลศิริราช ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ แล้วสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 กรมพระราชวังหลัง

ได้ทรงสถาปนาวัดนี้ขึ้นใหม่ โดยการสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง วิหาร กำแพงแก้ว หอระฆัง หอไตร ศาลาการเปรียญ กุฏิ และถนนในพระอาราม พร้อมทั้งได้พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอมรินทราราม" คู่กับ วัดบางว้าใหญ่ ที่เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดระฆังโฆสิตาราม"

หลวงพ่อโบสถ์น้อย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย ลงรักปิดทองศิลปะแบบสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ภายในโบสถ์น้อยที่วัดอมรินทราราม ตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมา องค์หลวงพ่อโบสถ์น้อยที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ มิใช่องค์ของหลวงพ่อที่แท้จริง เป็นองค์พระพุทธรูปที่

ปั้นปูนพอกทับอำพรางเอาไว้ ส่วนองค์จริงของหลวงพ่อโบสถ์น้อยนั้น เป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดไม่ใหญ่นัก เป็นพระประธานในพระอุโบสถหลังเดิมขอวัดบางว้าน้อย พระอุโบสถหลังเดิมมีขนาดใหญ่กว่าในปัจจุบัน แต่เมื่อมีการตัดทางรถไฟสายใต้จึงได้มี

การรื้อถอนออกไปบางส่วน ทำให้พระอุโบสถที่เห็นเป็นอยู่มีลักษณะเล็กและแคบมาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "โบสถ์น้อย" ละคงจะเรียกชื่อพระประธานในพระอุโบสถโดยอนุโลมว่า "หลวงพ่อโบสถ์น้อย" ด้วยเช่นกัน

ข้อสันนิษฐานขององค์หลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ได้ทำการปั้นปูนพอกทับไว้นั้น ด้วยเหตุที่องค์พระพุทธรูปมีขนาดเล็ก เพื่อมิให้บุคคลอื่นทำการเคลื่อนย้ายไปได้โดยง่ายและให้มีขนาดที่เหมาะสมกับพระอุโบสถ จึงได้คิดหาอุบายทำการปั้นปูนทับไว้ให้มีขนาดและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ต้องนับว่าเป็นความฉลาดของคนในสมัยนั้น

มีเรื่องเล่าถึงความมหัศจรรย์ของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ได้แสดงพุทธาภินิหารให้แก่สายตาของคนทั่วไป เมื่อครั้งทำการตัดทางรถไฟสายใต้ จากสถานีรถไฟธนบุรีถึงสี่แยกถนนจรัญสนิทวงศ์ นายช่างชาวฝรั่งผู้หนึ่งเป็นผู้ที่ทำการส่องกล้องตัดทางวางรางเพื่อให้เป็นเส้นทางตรง

แต่เมื่อส่องกล้องแล้ว เส้นทางตัดถูกตัวอุโบสถเข้าพอดี ทำให้เกิดอาเพศเหตุต่างๆ ขึ้นกับนายช่างผู้นั้นจนไม่อาจสามารถที่จะทำการตัดเส้นทางให้เป็นแนวตรงได้ จึงเปลี่ยนเส้นทางใหม่กลายเป็นแนวโค้ง ดัง เป็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ เรียกกันว่า "โค้งต้นสำโรง"

ต่อมาเมื่อระหว่างเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินข้าศึกได้มาทิ้งระเบิดเเพื่อทำลายย่านสถานีรถไฟธนบุรี และเนื่องจากสถานีรถไฟกับวัดมีเขตติดต่อกัน จึงทำให้ปูชนียวัตถุสถานต่างๆ ภายในวัดอมรินทรารามได้รับความเสียหายอย่างย่อยยับ ทั้ง พระอุโบสถหลังใหญ่

ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์หลายหมู่ ถูกไฟเผาผลาญทำลายสิ้น มีหลุมระเบิดตกอยู่รอบๆ โบสถ์น้อยของท่าน ซึ่งอยู่ริมทางรถไฟ ที่เชิงเขาของโบสถ์น้อย ก็ถูกไฟไหม้เหมือนกัน แต่ก็ดับได้เองเหมือนปาฏิหาริย์ และเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักที่โบสถ์น้อยขององค์หลวงพ่อได้

รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เนื่องจากความแรงของลูกระเบิดเป็นเหตุทำให้องค์หลวงพ่อโบสถ์น้อย ได้รับความกระทบกระเทือนพระเศียรขององค์หลวงพ่อร้าว เนื่องจากความเก่าของปูน ทางวัดจึงนำพระเศียรของหลวงพ่อไปฝากไว้ที่วัดอรุณราชวราราม เมื่อ

สงครามยุติลงแล้ว ทางวัดจึงได้ไปขอรับคืนมา และได้จัดพิธีการต่อพระเศียรถวายให้หลวงพ่อขึ้นใหม่

หลวงพ่อโบสถ์น้อย เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญ เป็นมิ่งขวัญและเป็นที่พึ่งทางใจของชาวเมืองธนบุรีมาตราบเท่าจนถึงปัจจุบันนี้

ท่านใดอยากไปกราบไหว้บูชาหลวงพ่อโบสถ์น้อย
เชิญได้ทุกวัน เปิด 6.30 น. ปิด 16.30 น.

ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือประวัติ หลวงพ่อโบสถ์น้อย โดย วัดอมรินทรารามวรวิหาร



เราส่งไปรษณีย์แบบ EMS ฟรี ทุกรายการ หรือเข้ามาแวะชมที่ร้านได้ครับ (เปิดบริการทุกวัน)
ร้านบางกอกแอนติค 461/86 ซอยอรุณอัมรินทร์26 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 (เข้าซอย30เมตร ซ้ายมือ)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ คุณอนันต์ 0818489493
LINE : 0818489493
Email : AnanAntique@hotmail.com
https://www.web-pra.com/shop/bangkokantique

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top