พระฉลอง25พุทธศตวรรษ เนื้อดิน#3#-อู๋พระเครื่อง - webpra
อู๋พระเครื่อง ซื้อสัตย์ จริงใจ รับประกันความแท้ตลอดชีพ รับประกันความพอใจตามกฎครับเก๊คืนเงินเต็มจำนวน

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระฉลอง25พุทธศตวรรษ เนื้อดิน#3#

พระฉลอง25พุทธศตวรรษ เนื้อดิน#3# - 1พระฉลอง25พุทธศตวรรษ เนื้อดิน#3# - 2
ชื่อร้านค้า อู๋พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
auecp (3)
ชื่อพระเครื่อง พระฉลอง25พุทธศตวรรษ เนื้อดิน#3#
อายุพระเครื่อง 61 ปี
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ aue_wingate@hotmail.com
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 09 ส.ค. 2554 - 15:05.29
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พฤ. - 15 พ.ย. 2555 - 10:27.04
รายละเอียด
“๒๕ พุทธศตวรรษ” ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งครั้งนั้นรัฐบาลได้จัดตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างพระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ สำหรับเป็นที่ระลึกและแจกจ่ายสมนาคุณให้แก่ประชาชน ผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินสมทบทุนในการสร้าง “พุทธมณฑล” โดย “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนั้นมีรายการและรายละเอียดดังนี้

๑. เนื้อชิน พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระปฏิมากรแบบนูน เป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยเครื่องปั๊มขนาดความกว้าง ๑.๘ ซม. สูง ๔.๗ ซม. หนา ๒ มม. วัสดุที่สร้างมีส่วนผสมต่าง ๆ ดังนี้ “พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำ, เนื้อนวโลหะ” และ “แผ่นทองแดง, แผ่นตะกั่ว, แผ่นเงิน” ที่พระอาจารย์ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรทำการลงอักขระเลขยันต์ และคาถาต่าง ๆ แล้วนำมาผสมหล่อหลอมเข้าด้วยกันโดยมีจำนวนสร้าง ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์

๒. เนื้อดิน พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระปฏิมากรแบบนูน สร้างขึ้นด้วยเครื่องปั๊มมีด้วยกัน ๒ พิมพ์คือ “พิมพ์เขื่อง” มีขนาดกว้าง ๑.๖ ซม. สูง ๔.๒ ซม. หนา ๖ มม. “พิมพ์ย่อม” มีขนาดกว้าง ๑.๔ ซม. สูง ๓.๙ ซม. หนา ๔ มม. วัสดุที่ใช้สร้างเป็น “เนื้อดิน” ทั้ง ๒ พิมพ์โดยนำดินที่ขุดจาก ทะเลสาบจังหวัดสงขลา ผสมกับ เกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด ตลอดทั้งว่านและใบไม้ต่าง ๆ พร้อม ดินจากหน้าพระอุโบสถ ที่มีความสำคัญจากจังหวัดต่าง ๆ อีกทั้งดินที่นำมาจากสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ใน ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังใช้ผงวิเศษจากพระอาจารย์ต่าง ๆ และพระเครื่องโบราณที่ชำรุดเช่น “พระสมเด็จฯ, พระขุนแผน, พระนางพญา, พระรอด” มาผสมเข้าด้วยกัน จำนวนที่สร้าง ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์ เช่นกันกับเนื้อชินโดยพระเครื่องเนื้อดินเผามีด้วยกันหลายสี อาทิ สีดำ, สีเทา, สีขาวนวล, สีพิกุลแห้ง, สีหม้อใหม่, สีครีม, สีชมพู, สีน้ำตาลไหม้ ฯลฯ เป็นต้น

๓. เนื้อทองคำ พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระพุทธปฏิมากรแบบนูน สร้างด้วยเครื่องปั๊มมีขนาดกว้าง ๑.๘ ซม. สูง ๔.๗ ซม. หนา ๒ มม. ด้านหน้าและด้านหลังพุทธลักษณะโดยทั่วไปเป็นแบบเดียวกันกับพระ “เนื้อชิน” และจำนวนสร้างเท่ากับ พ.ศ. ที่สร้างคือ ๒,๕๐๐ องค์ โดยน้ำหนักทองคำองค์ละ ๖ สลึง ทางด้านพิธีกรรมการ ปลุกเสกครั้งแรกทำการปลุกเสกสรรพวัตถุและมวลสารต่าง ๆ ก่อนที่จะได้นำมาสร้างเป็นพระโดยประกอบพิธีปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืนด้วยกัน โดยในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานพิธี สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) สังฆนายก วัดเบญจมบพิตรฯ จุดเทียนชัยและมีพระเกจิอาจารย์ ๑๐๘ รูป นั่งปรกปลุกเสก บรรจุพุทธาคมลงในสรรพวัตถุและมวลสารต่าง ๆ จนตลอดคืน จากนั้นวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ประธานคณะกรรมการฯเป็นประธานพิธี และพระราชาคณะ ๒๕ รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระเกจิอาจารย์ ๑๐๘ รูปนั่งปรกปลุกเสกบรรจุ พุทธาคมลงในสรรพวัตถุ และมวลสารต่าง ๆ ตลอดคืน

วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมายังพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหา วิหาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชา พระศรีศากยมุนีเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ ทรงเททองหล่อ “พระพุทธรูปทองคำ” จำนวน ๔ องค์ และทรงกดพิมพ์พระเครื่องฯ “๒๕ พุทธศตวรรษ” เนื้อดินจำนวน ๓๐ องค์ เป็นปฐมฤกษ์แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าสู่พระอุโบสถ สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ ถวายอดิเรกจบแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ ส่วนพระเกจิอาจารย์ในจำนวน ๑๐๘ รูป เข้าสู่มณฑลพิธีนั่งปรกปลุกบรรจุพุทธาคมลงในสรรพวัตถุและมวลสารต่อไปจนตลอด คืน

พิธีปลุกเสกครั้งที่สองได้ทำพิธี ณ วัดสุทัศนเทพวรารามฯ หลังจากพระเครื่องทั้งหมดได้สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เมื่อวันที่ ๒, ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๐ เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ประกอบด้วยเกจิอาจารย์ชั้นนำในยุคนั้นอีก ๑๐๘ องค์ เช่น “หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์ หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ หลวงพ่อนาค วัดระฆัง หลวงพ่อดี วัดเหนือ หลวงพ่อใจ วัดเสด็จ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม” เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” จึงจัดเป็นพระเครื่องที่ดีเยี่ยมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันยังพอแสวงหาได้ในราคาไม่สูงมากนัก เป็นสิริมงคลล้ำค่าที่จะอาราธนาขึ้นแขวนคอได้อย่างสบายใจ (ขอบคุณข้อมูลรายนามเกจิอาจารย์จากนิตยสารลานโพธิ์).
สนใจติดต่อร้านอู๋พระเครื่อง 087-0757140 รับประกันแท้ตลอดชีพ
รับประกันความพอใจตามกฏ(พระต้องอยู่ในสภาพเดิมไม่หักบิ่นหรือล้างผิว)
หากผิดข้อตกลงข้อสงวนสิทธิยกเลิกการรับประกัน

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top