-
พระฯแท้ในราคาไม่แรงขายตามราคาที่ลงไว้ ถ้าเห็นว่าไม่ใช่ราคาที่รับได้
ผ่านเลยครับท่าน จะได้ไม่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย -
ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ*** พระฯมาใหม่จะลงไว้ช่วงหน้าต้นๆ
*** ค้นหาพระฯเฉพาะ เข้าดูตามหมวดหรือพิมพ์ชื่อที่ช่องค้นหา
หมวด พระเกจิภาคใต้
เหรียญพระครูอรุณกิจโกศล วัดแจ้ง เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี พ.ศ.2506
ชื่อร้านค้า | อัปสรา อมิวเลท - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญพระครูอรุณกิจโกศล วัดแจ้ง เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี พ.ศ.2506 |
อายุพระเครื่อง | 61 ปี |
หมวดพระ | พระเกจิภาคใต้ |
ราคาเช่า | 480 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0897673123 |
อีเมล์ติดต่อ | tociii2003@yahoo.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ศ. - 08 มี.ค. 2556 - 11:19.49 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ศ. - 19 เม.ย. 2562 - 16:40.23 |
รายละเอียด | |
---|---|
+++ การติดต่อ +++ โทร. : 089-7673123 facebook : พระเครื่องร้านอัปสรา อมิวเลท e-mail : tociii2003@yahoo.com line id : @bgy1415d (29.3.5.1) ++ คัดลอกประวัติของวัดแจ้ง, หลวงพ่อพริ้งและการจัดสร้างพระเครื่องฯของท่านบางส่วนมาจาก www.kohphanganhotelsassociation.com ขออนุญาตเผยแพร่และขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย "ระยะทางสมเด็จพระมหาสมณะ เสด็จตรวจ การณ์คณะสงฆ์ในมณฑลปักษ์ใต้ พ.ศ.2455" สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราช ทรงเสด็จขึ้นเกาะสมุยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2455 ดังมีรายละเอียดว่า " ... วัดแจ้งที่กล่าวถึงข้างต้นตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นอีกวัดหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเนิ่นนานแล้ว จากประวัติวัดกล่าวว่า นายจุ้ย กับนางเคย ซึ่งเป็นนายบ้านได้ชักชวนนายทับ และนางหมาหีด ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ดินให้สร้างวัดกันบนพื้นดินดังกล่าวเป็นวัดแจ้งขึ้นมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2418 โดยมีพระอาจารย์คล้ำ เป็นเจ้าอาวาสวัดรูปแรก จากนั้นจึงมีเจ้าอาวาสวัดเป็นลำดับมาจนปัจจุบันนี้ คือ พระอาจารย์มี พระอาจารย์ทับ พระอาจารย์เกื้อ พระครูอรุณกิจโกศล (พริ้ง โกสโล) พระครูอรุณกิจโกศล (จำรัส เขมธมฺโม) ในสมัยที่พระอาจารย์มีเป็นเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 2 นั้น ได้ก่อสร้างรากฐานวัดให้เจริญรุ่งเรืองมา และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2448 ทั้งยังได้จัดงานผูกพัทธสีมาอุโบสถ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2450 โดยในการจัดงานครั้งนั้นพระอาจารย์มีได้ร่วมกันกับหลวงเจริญราชภักดี (สิงห์ สุวรรณรักษ์) นายอำเภอเกาะสมุยในขณะนั้น และพระอุปัชฌาย์เพชร ติสฺโส เจ้าคณะอำเภอเกาะสมุย (ต่อมามีสมณศักดิ์ที่พระครูวิบูลย์ธรรมสาร) และมีพระครูรัตนมุนีศรีสังฆราชา (หนู) เจ้าคณะเมืองไชยา เป็นประธานในงานพิธีดังกล่าว กล่าวสำหรับวัดแจ้งในสมัยที่ พระครูอรุณกิจโกศล (พริ้ง โกสโล) เป็นเจ้าอาวาสวัด ได้เป็นที่รู้จักของผู้คนโดยทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อท่านได้สร้างเหรียญปั๊มรูปเหมือนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493 เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ "พระครูอรุณกิจโกศล" เหรียญดังกล่าวที่ยังปรากฏในวงการพระเครื่อง ได้เป็นที่ระลึกเตือนถึงพระครูอรุณกิจโกศล (พริ้ง โกสโล) อยู่เสมอ แม้เมื่อท่านจะมรณภาพลงเป็นเวลาอันเนิ่นนานแล้วก็ตามแต่ ปูมหลังแห่งอัตโนประวัติของพระครูอรุณกิจโกศล (พริ้ง โกสโล) กล่าวว่า ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง อันตรงกับวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2434 ที่ตำบลละเม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรคนโต ในจำนวน 11 คน ของนายวอน เมืองนิเวศ และนางใย เมืองนิเวศ ได้ศึกษาร่ำเรียนในชั้นต้นจากพระสมุห์จอน วัดป่าลิไลก์ อำเภอไชยา จนเมื่ออายุได้ 17 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดป่าลิไลก์ โดยมีพระอธิการปาน เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2452 ครั้นมีอายุครบอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ก็ได้ทำการอุปสมบท ณ วัดสโมสร อำเภอไชยา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2456 เวลา 14.00 น. โดยมีพระครูโสภณเจตสิการาม (คง) วัดโพธาราม ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการคล้ำ วัดป่าลิไลก์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์จอน ธมฺมจารี วัดสโมสร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "โกสโล" จากนั้นได้จำพรรษาที่วัดสโมสร เพื่อร่ำเรียนวิชาอยู่ระยะหนึ่งก่อนไปจำพรรษาที่วัดเขาแก้ว อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเวลาหลายปี ก่อนจะมาพำนักที่วัดคงคาราม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งพระน้องชายได้เป็นเจ้าอาวาสวัด คือ พระสมุห์พร้อม ซึ่งเป็นน้องชายต่อจากท่าน ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ "พระครูวิบูลทีปรัต" ที่วัดคงคาราม พระครูอรุณกิจโกศล (พริ้ง โกสโล) ได้จำพรรษาอยู่จนกระทั่งได้รับอาราธนาจากพระยาเจริญราชภักดี (สิงห์ สุวรรณรักษ์) นายอำเภอเกาะสมุย พร้อมด้วยชาวบ้าน นิมนต์ท่านมาจำพรรษาที่วัดแจ้งในปี พ.ศ. 2471 และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแจ้ง อำเภอเกาะสมุย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2471 ในด้านการศึกษาของพระครูอรุณกิจโกศล (พริ้ง โกสโล) ท่านสามารถสอบได้นักธรรมตรีเมื่อปี พ.ศ. 2469 ในสำนักเรียนวัดไตรธรรมาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และสอบนักธรรมโทได้เมื่อปี พ.ศ. 2475 ในสำนักเรียนวัดแจ้ง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายหลังจากเป็นเจ้าอาวาสวัดแจ้งแล้ว ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย ในปี พ.ศ. 2480 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2487 เป็นสาธารณูปการอำเภอ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ถึงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2491 เป็นพระครูชั้นประทวน วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2492 เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ "พระครูอรุณกิจโกศล" วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นโทในราชทินนามเดิม และได้มรณภาพลงเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 กล่าวได้ว่าในยุคสมัยของพระครูอรุณกิจโกศล (พริ้ง โกสโล) วัดแจ้งมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง ไม่แต่เฉพาะในด้านวัตถุเท่านั้น ในด้านการศึกษาท่านก็ได้ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กนักเรียนที่ต้องมาเรียนในโรงเรียนมัธยมซึ่งมีเพียงที่เดียวในตำบลอ่างทอง ท่านจึงรับเด็กนักเรียนที่มีปัญหาในการเดินทางมาศึกษา ให้พำนักอยู่เสียที่วัดแจ้ง ซึ่งนอกจากได้เล่าเรียนหนังสือ หากยังได้ศึกษาธรรมะตามกฎเกณฑ์ที่ท่านตั้งไว้ด้วย ในด้านวัตถุมงคล พระครูอรุณกิจโกศล (พริ้ง โกสโล) ได้สร้างไว้หลายแบบ แต่ที่โดดเด่นเห็นจะเป็นเหรียญที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูอรุณกิจโกศล" ซึ่งเป็นเหรียญรุ่นแรก โดยได้ดำเนินการสร้างในปี พ.ศ. 2493 ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์แล้ว ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ แบบมีหูในตัว มีทั้งเนื้อทองแดง และเนื้ออัลปาก้า ด้านหน้า ยกขอบนูนเป็นเส้นลวด 2 ชั้น ตรงกลางเป็นรูปเหมือนพระครูอรุณกิจโกศล (พริ้ง โกสโล) นั่งสมาธิห่มจีวร รัดประคด พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้ฐานนั่งมีอักษรว่า "พระครูอรุณ" ข้างศีรษะเป็นอักษรทั้งสองด้านว่า "กิจโกศล" และข้างแขนมีอักขระขอมว่า "ทุ สะ นิ มะ" ขอบเหรียญประกอบด้วยอักขระขอมล้อมรอบ ด้านล่างเหรียญเป็นปี "พ.ศ. ๒๔๙๓" อันเป็นปีที่สร้าง ด้านหลัง เป็นยันต์อักขระ จากลักษณะเหรียญ พบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับเหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อกล่อม วัดโพธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้เนื่องเพราะพระรูอรุณกิจโกศล (พริ้ง โกสโล) เป็นหนึ่งในศิษย์ของหลวงพ่อกล่อม ที่ควรบันทึกไว้ด้วยคืออัตโนประวัติของ "ขรัวพุทธสรณ์" เถราจารย์ในอดีตของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ชื่อเสียงยังขจรไกลเป็นที่รับรู้ของชาวเกาะสมุยอยู่ทุกวันนี้ ที่ชาวเกาะสมุยนิยมเรียกขานกันว่า "พ่อเฒ่าขรัวพุทธสรณ์" ซึ่งพระครูอรุณกิจโกศล (พริ้ง) ได้สร้างวัตถุมงคลเกี่ยวเนื่องด้วยขรัวพุทธสรณ์ออกมา 2 แบบ ด้วยกัน คือ - เหรียญปั๊มรูปกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.6 เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนพระครูอรุณกิจโกศลครึ่งรูป ด้านบนรูปเหมือนเป็นอักขระขอม ด้านล่างรูปเหมือนเป็นอักษรไทยว่า "พระครูอรุณกิจโกศล" ส่วนด้านหลังเหรียญเป็นรูปเหมือนขรัวพุทธสรณ์นั่งสมาธิเต็มรูป ด้านบนรูปเหมือนเป็นอักขระขอม ส่วนด้านล่างเป็นอักษรไทยว่า "พ่อเฒ่าขรัวพุทธสรณ์" เหรียญที่ปั๊มขึ้นนี้ มีทั้งเนื้อทองคำ เนื้อทองแดงรมดำ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และเนื้อทองแดงกะไหล่เงิน - พระว่านเนื้อผง เป็นพิมพ์สี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.8 เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนขรัวพุทธสรณ์นั่งสมาธิเต็มรูป อยู่ภายในกรอบซุ้มครอบแก้ว ด้านหลังเป็นรูปเจดีย์ ด้านข้างเจดีย์เป็นอักขระขอม 4 ตัว คือ ทุ สะ นิ มะ และด้านล่างของเจดีย์เป็นอักษรไทยว่า "พ่อเฒ่าขรัวพุทธสรณ์" ... ... สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข (สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช) ทรงนิพนธ์ถึงขรัวพุทธสรณ์ไว้ในหนังสือ "ชีวิวัฒน์" ตอนหนึ่งว่า "ท่านขรัวพุดษรเป็นพระมาแต่ครั้งแผ่นดินขุนหลวงตาก" นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า ขรัวพุทธสรณ์มีชีวิตอยู่ในสมัยกรุงธนบุรี และสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดแต่ครั้งปลายกรุงศรีอยุธยา มีคำบอกเล่าสืบกันมาถึงปูมหลังของขรัวพุทธสรณ์ว่า แต่ครั้งยังเด็กเป็นลูกทาสในเรือนเบี้ย บ้านของนายทาสอยู่ละแวกบ้านหน้าเมืองเกาะสมุย มีหน้าที่เลี้ยงควายให้นายทาส แต่ด้วยความที่เป็นผู้ใฝ่รู้ ระหว่างที่เลี้ยงควายอยู่นั้น มักให้ควายลงไปคลุกโคลนในปลักตามแอ่ง ตามหนอง แล้วใช้โคลนที่ติดตามตัวควายเมื่อกำลังแห้งหมาดเป็นที่ขีดเขียนอักขระหนังสืออยู่เสมอๆ กระทั่งวันหนึ่ง ระหว่างการเก็บเกี่ยวข้าว แรงงานทาสได้หยุดล้อมวงกันกินข้าวปลาอาหาร และได้ไปตามขรัวพุทธสรณ์เมื่อครั้งยังเป็นเด็กมากินข้าวด้วยกัน ครั้นมาถึงที่ล้อมวงกินข้าวกันนั้นก็พบว่าพื้นที่แห้งไม่เฉอะแฉะน้ำล้วนถูกจับจองจนหมดสิ้นแล้ว ขรัวพุทธสรณ์จึงจัดการรวบต้นข้าวที่เก็บเกี่ยวรวงข้าวไปแล้ว ผูกเข้าด้วยกันสี่ห้าต้น แล้วขึ้นไปนั่งบนต้นข้าว ผู้คนในที่ล้อมวงกินข้าวต่างมองด้วยความตะลึง เมื่อขรัวพุทธสรณ์แต่ครั้งเป็นเด็กขึ้นไปนั่งบนนั้นโดยต้นข้าวสี่ห้าต้นไม่ทรุดเอนหรือล้มลง ความในเรื่องนี้ทราบไปถึงนายทาส ซึ่งมีความเชื่อว่า ขรัวพุทธสรณ์คงเป็นผู้มีบุญมาเกิดจึงอนุญาตให้ขรัวพุทธสรณ์ไปอยู่วัด และได้บรรพชาเป็นสามเณร ครั้นถึงวัยอุปสมบทก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุต่อ หนังสือ "ชีวิวัฒน์" ยังได้กล่าวถึงขรัวพุทธสรณ์ต่ออีกว่า "คนชาวเกาะสมุยนิยมนับถือว่า มีวิทยาอาคมศักดิ์สิทธิ์ ตลอดการเจ็บไข้จนถึงคนเดินเรือผ่านมาหน้าเกาะสมุยถูกคลื่นลม และบนบานคลื่นลมก็สงบเรียบร้อยไป เมื่อขรัวพุดษรตายแล้ว ราษฎรปลงศพเก็บอัฐิใส่โถแก้วตั้งไว้พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชา ยังมีอยู่จนบัดนี้ ชาวเกาะถือว่าถ้าจะไปที่กันดารไปทัพเป็นต้น เชิญเอากระดูกขรัวพุดษรผูกคอไปด้วยอัน 1 เป็นที่นิยมนับถือเป็นอันมาก" "จดหมายเหตุรายวัน" ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ มีข้อความกล่าวถึงขรัวพุทธสรณ์ไว้ว่า "วันเสาร์ ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2431 ชาวบ้านเรียกวัดมเรศ แต่มีชื่อตั้งอีกชื่อหนึ่งว่า วัดคงคาคีรี เป็นวัดของขรัวพุดสอนอยู่ ราษฎรในแขวงนั้นนับถือเป็นอย่างยิ่ง จะตายแต่เมื่อไรไม่รู้ เล่าเรื่องกันเป็นนิทานว่า ที่สมุยนี้ผีดุ ขรัวพุดสอนมาปราบคนจึงอยู่ได้ รอยตีนก็มี ไหน้ำมันนั่นเล่าว่า ขรัวพุดสอนสั่งไว้เมื่อจะตายว่า ถ้าตัวจุติแล้ว ไหนี้จะผุดขึ้น เดี๋ยวนี้ไหผุดแล้ว มีน้ำมันในนั้น ถามว่าคลื่นลมจัด ให้เอาน้ำมันทาเรือ คลื่นจะสงบ" น้ำมันในไหนี้ ชาวเกาะสมุยนิยมกันว่า เป็นน้ำมันเสกของขรัวพุทธสรณ์ทำไว้ ถ้าผู้ใดเมื่อยขบและมีบาดแผลเป็นต้น โรคต่างๆ เอาน้ำมันในโอ่งนั้นทาเป็นหาย วัดมเรศที่กล่าวถึง ปัจจุบันคือ วัดสำเร็จ “ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments