-
พระฯแท้ในราคาไม่แรงขายตามราคาที่ลงไว้ ถ้าเห็นว่าไม่ใช่ราคาที่รับได้
ผ่านเลยครับท่าน จะได้ไม่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย -
ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ*** พระฯมาใหม่จะลงไว้ช่วงหน้าต้นๆ
*** ค้นหาพระฯเฉพาะ เข้าดูตามหมวดหรือพิมพ์ชื่อที่ช่องค้นหา
หมวด พระเกจิภาคตะวันตก
พระรูปเหมือนเนื้อว่านชานหมาก หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม จ.กาญจนบุรี
ชื่อร้านค้า | อัปสรา อมิวเลท - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระรูปเหมือนเนื้อว่านชานหมาก หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม จ.กาญจนบุรี |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเกจิภาคตะวันตก |
ราคาเช่า | 1,600 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0897673123 |
อีเมล์ติดต่อ | tociii2003@yahoo.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พ. - 01 มี.ค. 2566 - 21:54.33 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พฤ. - 02 มี.ค. 2566 - 13:17.22 |
รายละเอียด | |
---|---|
+ เนื้อว่านผสมชานหมาก ประมาณ ปี 2516 ขนาดโดยประมาณ กว้าง 1.7 ซ.ม. สูง 2.3 ซ.ม. + ขายตามราคาที่ลงไว้พร้อมส่ง ปณ.ด่วน EMS ***กรุณาไม่ต้องลองต่อรองราคามา*** + สภาพตามรูปที่ลงไว้ ไม่ถ่ายรูปสดเพิ่มเติม, ไม่ถ่ายพระฯกับบัตร ปชช./บช.ธนาคาร (มีพระฯจำนวนมากจะนำพระฯออกมาเพื่อแพคส่งเท่านั้น) + ไม่มีแบบเก็บเงินปลายทาง,ไม่มีการนัดรับพระฯ (ยกเว้นพระฯราคาสูง) ***** หากเห็นว่ารับวิธีที่แจ้งไว้ข้างต้นไม่ได้ กรุณาผ่านได้เลย จะได้ไม่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย +++ การติดต่อ +++ LINE id : apsara888 (ไม่รับเชคพระ-ขออภัยด้วย) facebook : พระเครื่องร้านอัปสรา อมิวเลท (8.3.8.2) ++ คัดลอกประวัติและภาพของท่านมาจาก คอลัมน์ อริยะโลกที่6, www.khaosod.co.th/newspaper-column/amulets/news_597437 ขออนุญาตเผยแพร่และขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย “ “พระครูจันทสโรภาส” หรือ “หลวงพ่อเที่ยง จันทสโร” อดีตเจ้าคณะตำบล ม่วงชุม และอดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เจ้าตำรับตะกรุดโทนหนังเสืออันลือลั่น ท่านยังเป็นศิษย์และเป็นหลานหลวงปู่เปลี่ยน (พระวิสุทธิรังษี) วัดใต้ (วัดไชยชุมพลชนะสงคราม) พระเกจิชื่อดัง รวมทั้งเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง อีกทั้งมีความสนิทสนมอย่างมากกับ “หลวงพ่อเต๋” วัดสามง่าม จังหวัดนครปฐม ว่ากันว่าเรียนวิชาทำตะกรุดหนังเสือมาจากสำนักเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีสหธรรมิกอีกหลายท่านที่พบปะในงานพุทธาภิเษก อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก, หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว เป็นต้น เกิดในตระกูล “ท่านกเอี้ยง” ตรงกับวันพฤหัสบดี ปีชวด ที่บ้านม่วงชุม ต.ม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เมื่อปี 2431 เป็นบุตรของนายเขียวและนางทองแคล้ว มีพี่น้องรวม 8 คน หญิง 5 คน ชาย 3 คน ในวัยเด็กมีอุปนิสัยชอบทางด้านชกมวย และรักความยุติธรรม เป็นคนพูดแบบตรงไปตรงมาไม่เกรงกลัวใคร จึงเป็นที่รักของเด็กวัยเดียวกันยกให้เป็นพี่ใหญ่ อายุ 21 ปีบริบูรณ์ ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารรับใช้ชาติอยู่ 2 ปี หลังปลดประจำการกลับมาอยู่บ้านประกอบอาชีพทำนา กระทั่งอายุ 24 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดบ้านถ้ำ หลังจากบวชแล้วอยู่ศึกษาเล่าเรียนกับอุปัชฌาย์ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดม่วงชุม ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้าน โดยได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสืออย่างจริงจังและเต็มที่ เนื่องจากในวัยเด็กมีโอกาสเล่าเรียนไม่มาก เพราะขาดแคลนครูและห้องเรียน ยิ่งเรียนท่านก็มีความสุขกับการเรียน ทำให้มีความแตกฉานเรื่องหนังสืออย่างมาก หลังจากศึกษาพระธรรมวินัย และพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาจนเชี่ยวชาญ ท่านจึงเริ่มหันมาศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคมกับหลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ (วัดไชยชุมพลชนะสงคราม) ในฐานะที่หลวงพ่อเที่ยงมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงปู่เปลี่ยน จึงได้รับความเมตตาจากหลวงปู่เปลี่ยนเป็นพิเศษในการถ่ายทอดสรรพวิชาด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านพุทธาคม จนมีความเชี่ยวชาญอย่างมาก ชาวบ้านทั่วไปมักกล่าวขวัญว่า “ใครแขวนวัตถุมงคลของท่าน แมลงวันไม่ได้กินเลือด” หมายความว่า คนคนนั้นหนังเหนียว แทงไม่เข้า ยิงไม่ออก แม้กระทั่งหลวงปู่แย้ม พระเกจิอาจารย์ดังแห่งวัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ยังกล่าวยกย่องหลวงปู่เที่ยงว่าท่านเก่งมาก โดยท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเต๋ คงทอง (อาจารย์หลวงปู่แย้ม) ซึ่งทั้ง 2 ท่าน ต่างมีชื่อเสียงอย่างมากในการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือ เป็นพระของชาวบ้านชนบทโดยแท้ พูดตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม ภาษาที่ใช้สื่อสารก็เหมือนหลวงพ่อคูณเป็นภาษาไทยแท้ๆ ฟังไม่เพราะหู แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตา ญาติโยมที่ไปขอความช่วยเหลือจากท่านจะได้รับความเมตตาช่วยเหลือในทุกๆ เรื่องด้วยดี โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง จากการบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวว่า ท่านชอบกีฬาชกมวยอย่างมาก การละเล่นนิยมลิเกและหนังตะลุง ท่านเป็นพระโบราณลูกทุ่งชนบท ชอบฉันหมากไม่เคยขาดปากเลย จึงเป็นที่มาของการสร้างพระเครื่องเนื้อชานหมากที่โด่งดัง หลวงพ่อเที่ยงลงมือสร้างอุโบสถเมื่อปี 2484 ท่านค่อยสร้างโดยไม่มีการเรี่ยไร เพราะไม่ต้องการเป็นภาระของชาวบ้าน ในช่วงนั้นประเทศไทยยังตกอยู่ในระหว่างปลายสงครามโลกครั้งที่ สอง เมืองกาญจนบุรีได้รับผลกระทบจากภัยสงครามอย่างมาก ด้วยทหารญี่ปุ่นมาตั้งฐานทัพหลายแห่ง ทำให้ทหารพันธมิตรนำเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเพื่อทำลายฐานทัพของญี่ปุ่น เป็นเหตุให้สภาพเศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง แต่ชาวบ้านก็ช่วยบริจาคทุนทรัพย์สร้างอุโบสถจนสำเร็จ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2494 มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2523 เวลา 09.00 น. ที่วัดม่วงชุม ทางวัดได้เก็บสรีระของท่านไว้ถึง 10 ปี ปรากฏว่าสังขารของท่านไม่เน่าไม่เปื่อย จึงพร้อมใจกันสร้างมณฑป พร้อมทั้งโลงแก้วบรรจุร่างไว้ให้ผู้คนกราบไหว้ เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2534 “ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments