เหรียญเสือคู่ หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี ราม ๒ กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๕๓๔-อัปสรา อมิวเลท - webpra
VIP
  • พระฯแท้ในราคาไม่แรง
    ขายตามราคาที่ลงไว้ ถ้าเห็นว่าไม่ใช่ราคาที่รับได้
    ผ่านเลยครับท่าน จะได้ไม่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย
  • ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ
    *** พระฯมาใหม่จะลงไว้ช่วงหน้าต้นๆ
    *** ค้นหาพระฯเฉพาะ เข้าดูตามหมวดหรือพิมพ์ชื่อที่ช่องค้นหา
  • Page 1
  • Page 2
ซื่อตรง คุณภาพ รับประกัน

หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540

เหรียญเสือคู่ หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี ราม ๒ กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๕๓๔

เหรียญเสือคู่ หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี ราม ๒ กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๕๓๔ - 1เหรียญเสือคู่ หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี ราม ๒ กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๕๓๔ - 2เหรียญเสือคู่ หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี ราม ๒ กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๕๓๔ - 3
ชื่อร้านค้า อัปสรา อมิวเลท - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญเสือคู่ หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี ราม ๒ กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๕๓๔
อายุพระเครื่อง 33 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540
ราคาเช่า 230 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0897673123
อีเมล์ติดต่อ tociii2003@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 10 ก.พ. 2564 - 20:42.20
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 10 ก.พ. 2564 - 20:42.20
รายละเอียด
+ สูงประมาณ 2.5 ซ.ม.
+ ขายตามราคาที่ลงไว้
+ สภาพตามรูปที่ลงไว้ไม่ถ่ายรูปสด ไม่ถ่ายพระกับบัตร/บช.ธ. (มีพระฯจำนวนมากรื้อค้นลำบาก)
+ พร้อมส่ง ปณ.ลงทะเบียน, รายการที่ราคาถึง 500 บาท ส่งด่วน EMS
+++ การติดต่อ +++
LINE id : apsara888
facebook : พระเครื่องร้านอัปสรา อมิวเลท
โทร. : 089-7673123
(2.2.64)

++ คัดลอกประวัติบางส่วนของท่านมาจาก facebook/วัตถุมงคลหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค
ขออนุญาตเผยแพร่และขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
“ ... หลวงพ่อเณร ญาณวินโย วัดทุ่งเศรษฐี (ราม 2) เขตประเวศ กรุงเทพฯ
เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและรูปปัจจุบัน
- สมณศักดิ์
ปี 2532 เป็นพระครูปลัดสัมพิพัฒนธีราจารย์(พระครูปลัดฐานานุกรม ในสมเด็จพระธีรญาณมุนี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๑ เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ
ปี 2548 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่
"พระพิศาลพัฒนาทร"
ปี 2553 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ "พระราชพัฒนโสภณ วิมลวิหารกิจ มหาคณิสสร บวรสังคาราม คามวาสี"
- วิทยฐานะ
สอบได้นักธรรมเอก สำนักเรียนวัดสลุด
ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ได้รับปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สถานะเดิมชื่อ วินัย โพธิ์สุข นามบิดา นายบุญมา โพธิ์สุข นามมารดา นางสมนึก โพธิ์สุข เกิดที่ ต.บางพลี อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
บรรพชา ปี 2521 โดยมีพระครูสมุทรสิริวัฒน์ (หลวงพ่อทับ) วัดสลุด อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เป็นพระอุปัชฌา
อุปสมบท ปี 2525 ณ พัทธสีมา วัดสลุด อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
พระอุปัชฌาย์ พระธรรมวโรดม ต่อมาได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จ พระราชาคณะ ในพระราชทินนามที่ สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิธ เขมจารี) เจ้าคณะภาค ๑ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา แขวงสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
พระกรรมวาจาจารย์ พระครูสมุทรสิริวัฒน์ (หลวงพ่อทับ) วัดสลุด อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
พระอนุสาวนาจารย์ พระรัตนเมธี (ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระเทพวิริยาภรณ์) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
เด็กชายวินัย โพธิ์สุข ได้อยู่ที่วัดสลุดกับหลวงพ่อทับ ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ เป็นที่รู้กันว่าหลวงพ่อทับ วัดสลุด เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว (อุปัชฌาย์หลวงปู่เผือกคือ หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา) ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อทับ จนกระทั่งได้บรรพชาเป็นสามเณร พอบวชได้เพียงปีเดียวก็มีลูกศิษย์สร้างเหรียญถวายกันเลย
ตำราเก่าของหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้วก็ตกทอดมาถึงหลวงพ่อเณรแบบเต็มสูตร รวมถึงตำราของหลวงปู่ทองวัดราชโยธา
อีกทั้งท่านยังเดินธุดงค์แสวงหาความรู้และเดินทางหาครูบาอาจารย์ ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร ท่านได้ธุดงค์ไปที่ต่างๆทั้งในประเทศไทย พม่า ลาว เขมร เพื่อศึกษาวิชาความรู้ด้านต่างๆ เมื่อกลับจากธุดงค์แล้วท่านได้ใช้วิชาเพื่อสงเคราะห์สานุศิษย์และญาติโยมผู้ ทุกข์ร้อนด้วยสาเหตุนานาประการ กิตติศัพท์ของท่านก็เริ่มร่ำลือแผ่ขยายออกสู่ภายนอกกว้างออกไปทุกที จนกลายเป็นครูบาอาจารย์ของบุคคลทั้งหลาย ทั้งๆที่ย้งเป็นเพียงสามเณร คนทั้งหลายที่ศรัทธาจึงพากันยกย่องและเรียกท่านว่า
"หลวงพ่อเณร"
ผู้ที่เป็นทั้งอาจารย์และดูฤกษ์บวชให้หลวงพ่อเณร ญาณวินโย คือหลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ และพระที่นั่งอันดับในงานบวชล้วนเป็นเกจิในยุคนั้นทั้งสิ้น ซึ่งหลวงพ่อเณรก็ได้ศึกษาศาสตร์ต่างๆจากท่านเหล่านั้นด้วย
หลวงพ่อเณร ท่านสืบสานวิชาตำหรับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จาก หลวงปู่ฤาษีลิงขาว (หลวงพ่อช่อ อภินันโท) วัดฤกษ์บุญมี ศิษย์เอกหลวงปู่ปานอีกรูปหนึ่ง
เหรียญหลวงพ่อเณรนั่งเสือ รุ่นแรก ออกวัดสลุด 2526
ในอดีตเมื่อครั้งเป็นเณรหลังจากลับจากธุดงค์ครั้งนั้น ชีวิตท่านก็เปลี่ยนไป สรรพวิชาที่ได้ร่ำเรียนมาท่านก็ได้ใช้เพื่อสงเคราะห์ญาติโยมมาตลอดจนชื่อ เสียง จนเรียกขานว่า "หลวงพ่อเณร" ในบรรดาลูกศิษย์ที่เข้ามาอุปถัมภ์ท่านนั้น รวมไปถึง 5 เสือในเวลานั้นคือ
จอมพล ถนอม กิตติขจร
จอมพลประภาส จารุเสถียร
พ.ต.ต. โกมล ประเสริฐวงศ์
พันเอกพิเศษวิเชียร กระบวนยุทธ
พันเอกณรงค์ กิตติขจร
โดยครอบครัวของท่านจอมพลถนอมจะสนิทกับหลวงพ่อเณรมากมีความศรัทธาเป็นอย่าง ยิ่งให้ความอุปถัมภ์มาตลอด เนื่องจากมีความเชื่อในตัวหลวงพ่อเณรและพุทธคุณของวัตถุมงคลของหลวงพ่อเณร เป็นอย่างยิ่ง ในงานวันอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ก็มาร่วมงานด้วย
แต่เนื่องจากหลวงพ่อเณรไม่ได้ทำออกมาเป็นรูปของท่าน โดยมากจะเป็นพระพุทธรูป องค์บูรพาจารย์ เช่น หลวงปู่เผือก หรือเป็นเครื่องราง เป็นต้น ดังนั้น ครอบครัวกิตติขจรซึ่งนับถือหลวงพ่อเณรมากต้องการเหรียญรูปหลวงพ่อเณรไว้บูชา ติดตัว จึงจัดสร้างเหรียญรูปหลวงพ่อเณรขึ้น โดยเป็นพิมพ์ขี่เสือ โดยจัดสร้างเนื้อพิเศษสำหรับใช้เฉพาะครอบครัวท่าน เป็นเนื้อเงินพดด้วงโบราณ โดยจอมพลถนอมท่านให้พันเอกณรงค์เป็นผู้นำมาหล่อที่กุฏิหลวงพ่อเณร จัดสร้าง เพียง 9 เหรียญ เพื่อใช้สำหรับคนในตระกูลกิตติขจรเท่านั้น และนำบล็อคกลับไปทำเพิ่มเติมอีก คือเนื้อเงิน จำนวน 100 เหรียญ เนื้อบาตรน้ำมนต์ จำนวน 2526 เหรียญ จากนั้นจึงนำกลับมาให้หลวงพ่อเณรปลุกเสก
การปลุกเสกเหรียญนั่งเสือนั้นปลุกเสก 2 ครั้ง ที่อุโบสถวัดสลุด เมื่อปลุกเสกเสร็จ ลูกศิษย์ที่เป็นตำรวจ ได้เอาเหรียญออกมา 1 เหรียญแขวนคอไก่และยิงปืนใส่ ปรากฏว่าปืนแตก พี่อีกคนหนึ่งเป็นเพื่อนกัน ได้คว้าไปทั้งๆไก่และพระ ของที่เหลือนำกลับไปบ้านท่านวิเชียร
จากนั้นท่านวิเชียร กระบวนยุทธ นิมนต์หลวงพ่อเณรไปปลุกเสกอีกครั้งที่บ้าน โดยหลวงพ่อเณร ไปปลุกเสกกับหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านด้วย เมื่อไปถึงท่านวิเชียรได้เตรียมของทั้งหมดไว้บนรถจีเอ็มซีเป็นที่เรียบร้อย เมื่อหลวงพ่อแพกับหลวงพ่อเณรปลุกเสกเสร็จ ท่านวิเชียรก็สั่งให้ทหารระดมยิงเข้าไปที่รถจีเอ็มซี ด้วยอาวุธสงคราม โดยไม่บอกล่วงหน้า
ผลปรากฏว่า ........
ถ้าวันนั้นยิงออกและโดน ก็คงไม่มีหลวงพ่อแพกับหลวงพ่อเณรอีกแล้ว
เมื่อปลุกเสกเสร็จเหรียญขี่เสือรุ่นนี้ก็ได้แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งถวายหลวงพ่อเณรไว้ อีกส่วนหนึ่งท่านก็นำไปแจกจ่ายให้ทหาร

หลังจาก สามเณรวินัย โพธิ์สุขได้ออกจากวัดสลุดไปธุดงค์จนกลับมาอีกครั้งหนึ่งท่านก็ได้ใช้วิชาที่ ร่ำเรียนมาเพื่อสงเคราะห์ประชาชนที่เดือดร้อนจนประสพผลสำเร็จ ชื่อเสียงเริ่มกระจายกันปากต่อปาก จนผู้คนขนานนามท่านว่า "หลวงพ่อเณร"
จนเมื่อครูแสวง พัตบุญมา ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้มีจิตศรัทธาเป็นมหากุศล ได้บริจาคที่นาของตนให้เป็นที่ตั้งวัด ช่วงแรกยกให้จำนวน 10 ไร่ก่อนจนปี 2528 ได้ทั้งหมด 18 ไร่กว่า เนื่องจากบริเวณสถานที่ตั้งวัดนั้น เป็นที่นาที่อุดมสมบูรณ์มาก จึงเป็นที่มาของชื่อ"ทุ่งเศรษฐี"
เมื่อได้ถวายที่ให้ตั้งวัดแล้ว สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิท เขมจารีมหาเถร) ท่านให้หลวงพ่อเณร ซึ่งพึ่งอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้เพียง 1 พรรษา ให้เตรียมตัวเพื่อตั้งวัดทุ่งเศรษฐี แต่เนื่องจากเป็นที่นาเก่าจึงต้องถมดิน โดยครูแสวงได้ยกดินในที่ของท่านให้หลวงพ่อเณรดำเนินการเอาดินไปถมวัดอีกด้วย มีคนช่วยเรื่องเครื่องจักรแต่ขาดค่าน้ำมัน 300,000 บาท จึงต้องหาเงินทุนมาใช้
หลวงพ่ออุตตมะท่านได้ถ่ายทอดวิชาทั้งหมดให้หลวงพ่อเณร โดยท่านได้ไปเรียนวิชากับหลวงพ่ออุตตมะ ตั้งแต่ช่วงที่เป็นเณรที่ท่านออกจากวัดสลุดไปธุดงค์และได้สอนมาเรื่อยจนถึง ปี 2526 หลวงพ่ออุตตมะทราบว่าหลวงพ่อเณรจะตั้งวัดท่านจึงมาช่วยที่งานประจำปีตลอดงาน ทุกวัน หลวงพ่ออุตตมะได้ถ่ายทอดวิชาการทำลูกประคำแบบเต็มสูตรของท่านให้กับหลวงพ่อ เณร ในงานนี้ท่านมาสอนวิชา และมาช่วยตลอดงานประจำปี 2526 ...
- นอกจากนี้ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ท่านต่างๆเช่น
หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี
หลวงปู่ผูก วัดเกาะ จ.เพชรบุรี (ศิษย์หลวงพ่อมี วัดพระทรง)
หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี
หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล จ.เชียงใหม่
หลวงปู่อิน วัดลาดท่าใหม่ จ.จันทบุรี หรือหลวงพ่ออินเทวดา (ศิษย์หลวงปู่จัน วัดนางหนู)
หลวงปู่พรหมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย จ.อุบลราชธานี
หลวงปู่ชื่น วัดตาอี จ.บุรีรัมย์
หลวงปู่ฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริ
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อใบ วัดกลางบางแก้ว (ศิษย์เอกหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว)
หลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง
หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง
หลวงปู่ชื่น วัดมาบข่า จ.ระยอง
หลวงปู่นิด วัดทับมา จ.ระยอง
หลวงพ่อช่วย วัดไตรมุก จ.ชลบุรี(ศิษย์หลวงปู่ปาน วัดบางเหี้ย)
ครูบาหมวก วัดดอนมูล (ศิษย์ครูบาศรีวิชัย) ฯลฯ
- หลวงพ่อเณร กับการเป่ายันต์เกราะเพชรตำหรับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
หลวงพ่อเณร ญาณวินโย ได้เรียนวิชาการเป่ายันต์เกราะเพชร จาก หลวงปู่ฤาษีลิงขาว (ช่อ อภินันโท) วัดฤกษ์บุญมี
จ.สุพรรณบุรี ผู้สืบสานวิชาเกราะเพชรจากหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค ... “

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top