-
พระฯแท้ในราคาไม่แรงขายตามราคาที่ลงไว้ ถ้าเห็นว่าไม่ใช่ราคาที่รับได้
ผ่านเลยครับท่าน จะได้ไม่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย -
ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ*** พระฯมาใหม่จะลงไว้ช่วงหน้าต้นๆ
*** ค้นหาพระฯเฉพาะ เข้าดูตามหมวดหรือพิมพ์ชื่อที่ช่องค้นหา
หมวด หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา - หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ - เหรียญนเรศวร ยุทธหัตถี - หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว - หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก
พระกลีบบัว เนื้อดินจุ่มรัก หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก จ.สุพรรณบุรี
ชื่อร้านค้า | อัปสรา อมิวเลท - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระกลีบบัว เนื้อดินจุ่มรัก หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก จ.สุพรรณบุรี |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา - หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ - เหรียญนเรศวร ยุทธหัตถี - หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว - หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก |
ราคาเช่า | 480 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0897673123 |
อีเมล์ติดต่อ | tociii2003@yahoo.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ศ. - 03 พ.ค. 2562 - 18:23.12 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 04 พ.ค. 2562 - 00:00.35 |
รายละเอียด | |
---|---|
+ กว้าง 1.3 ซ.ม. สูง 2.3 ซ.ม. +++ การติดต่อ +++ โทร. : 089-7673123 facebook : พระเครื่องร้านอัปสรา อมิวเลท e-mail : tociii2003@yahoo.com line id : @bgy1415d (21.4.62) ++ คัดลอกประวัติของท่านมาจาก คุณสุขใจ๊ สุขใจ, http://www.sookjai.com ขออนุญาตเผยแพร่และขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย “ หลวงพ่อแดง สังฆรักขิโต อดีตเจ้าอาวาสวัดทุ่งคอก อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เมืองสุพรรณ ในอ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ครั้งอดีตมีปูชนียบุคคลที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก คือ พระครูสุวรรณสาธุกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดทุ่งคอก และอดีตเจ้าคณะตำบลทุ่งคอก นิยมเรียกขานกันด้วยความเคารพว่า "หลวงพ่อแดง สังฆรักขิโต" ท่านเป็นหนึ่งในศิษย์สำคัญของหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน พระเกจิดังเมืองสุพรรณ ที่มีความแก่กล้าในด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน หลวงพ่อแดงเป็นชาวบ้านทุ่งคอกมาแต่กำเนิด เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 11 มิ.ย. 2440 ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา อายุ 14 ปี บิดานำไปฝากเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อโหน่ง เจ้าอาวาสวัดคลองมะดัน (วัดอัมพวันในปัจจุบัน) อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เรียนภาษาไทยจากครูโพย หนังสือที่เรียนคือมูลบทบรรพกิจ อายุ 19 ปี บิดาก็มาเอาตัวกลับไปช่วยทำนา อายุครบบวช อุปสมบทที่วัดทุ่งคอก โดยมีหลวงพ่อเหนี่ยง (พระครูวินยานุโยค) เจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง วัดสองพี่น้อง เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และเจ้าอธิการเลื่อน วัดอัมพวัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ภายหลังอุปสมบท ติดตามหลวงพ่อโหน่งไปจำพรรษายังวัดอัมพวัน ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาด้านคันถธุระพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง โดยไปเรียนกับพระอาจารย์ต่วน วัดสองพี่น้องอยู่ 2 ปี จนเกิดความเชี่ยวชาญ การเรียนของท่านเพียงเพื่อให้รู้เข้าใจและปฏิบัติ จึงไม่เข้าสอบสนามหลวง ส่วนทางด้านวิปัสสนา ศึกษาจากหลวงพ่อโหน่งโดยตรง เป็นเวลาถึง 4 ปีเต็ม แล้วจึงเดินทางกลับมาจำพรรษายังวัดทุ่งคอก เมื่อปี พ.ศ.2465 พ.ศ.2466 เจ้าอาวาสวัดทุ่งคอกลาสิกขา คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้ท่านรักษาการแทน รักษาการอยู่นาน 11 ปี จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2476 ขณะอายุ 37 ปี ต่อมาอีก 2 ปี วันที่ 31 ม.ค. 2478 เป็น เจ้าคณะตำบลทุ่งคอก เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2496 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ 5 ธ.ค. 2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูสุวรรณสาธุกิจ" วัดทุ่งคอกในสมัยหลวงพ่อแดง เป็นวัดป่าหมกตัวอยู่ห่างไกลจากชุมชน ไม่ค่อยมีใครรู้จัก ทั้งเป็นวัดเล็กๆ ที่อัตคัดน้ำกินน้ำใช้ เมื่อท่านเป็นเจ้าอาวาสเต็มตัวแล้ว จึงลงมือขุด สระน้ำเป็นสาธารณประโยชน์อย่างแรก ยามว่างจากกิจสงฆ์ อบรมสั่งสอนชาวบ้านและพระภิกษุสามเณรในวัด ให้ได้รับรู้พระธรรมวินัย สมัยมีการตัดถนนจากตลาดทุ่งคอก ไปติดกับพระแท่นดงรัง จ.กาญจนบุรี ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจทำถนนด้วยจอบและเสียม ไม่มีเครื่องจักรเป็นเครื่องทุ่นแรง ภาพอันน่าประทับใจ คือ หลวงพ่อแดงเดินลงจากกุฏิมาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการบัญชางานก่อสร้างถนนด้วยตนเอง การสร้างถาวรวัตถุในวัดทุ่งคอกได้สำเร็จ ก็เพราะท่านแผ่เมตตาจิตไปสู่ประชาชนให้เกิดความรักใคร่ จนกลายเป็นพลังอันยิ่งใหญ่โดยอัตโนมัติ ด้านพระเครื่องวัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อลือชาในความขลัง คือ รูปหล่อและเหรียญ ที่มีค่านิยมเล่นหาสูง เหรียญสร้างทั้งหมด 6 รุ่น และหายากทุกรุ่น ยังมีพระเครื่องเนื้อดินเผาและเนื้อชิน อาทิ พิมพ์โคนสมอ, พิมพ์บ้านกร่าง, พิมพ์หลวงพ่อโต, พิมพ์นางพญา, พระยอดธง ฯลฯ ด้านวัตรปฏิบัติและปฏิปทานั้น เป็นผู้ยึดมั่นในพระธรรมอย่างยิ่ง ทั้งมีความพากเพียรอย่างดียิ่ง หนักแน่นมั่นคง สำรวม เคร่งครัด พูดน้อย และมีเมตตา ด้วยความสมถะและมากด้วยเมตตาธรรม ลูกศิษย์ลูกหาจึงกระจายอยู่มากมายหลายจังหวัด ล่วงเข้าปัจฉิมวัย ด้วยความไม่เที่ยงของสังขาร ท่านอาพาธบ่อยครั้ง สุดท้ายหลวงพ่อแดงมรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2510 สิริรวมอายุ 70 พรรษาที่ 50 “ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments