-
พระฯแท้ในราคาไม่แรงขายตามราคาที่ลงไว้ ถ้าเห็นว่าไม่ใช่ราคาที่รับได้
ผ่านเลยครับท่าน จะได้ไม่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย -
ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ*** พระฯมาใหม่จะลงไว้ช่วงหน้าต้นๆ
*** ค้นหาพระฯเฉพาะ เข้าดูตามหมวดหรือพิมพ์ชื่อที่ช่องค้นหา
หมวด หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม - หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก - หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี - หลวงปู่เจียม วัดอินทราสุการาม
รูปหล่อโบราณรุ่นรวมพุทธคุณ หลวงปู่เจียม วัดอินทราสุการาม (วัดหนองยาว) จ.สุรินทร์ พ.ศ.2539
ชื่อร้านค้า | อัปสรา อมิวเลท - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | รูปหล่อโบราณรุ่นรวมพุทธคุณ หลวงปู่เจียม วัดอินทราสุการาม (วัดหนองยาว) จ.สุรินทร์ พ.ศ.2539 |
อายุพระเครื่อง | 27 ปี |
หมวดพระ | หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม - หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก - หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี - หลวงปู่เจียม วัดอินทราสุการาม |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | tociii2003@yahoo.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อา. - 07 พ.ค. 2560 - 20:00.33 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อา. - 22 ก.ค. 2561 - 15:48.24 |
รายละเอียด | |
---|---|
+ เนื้อนวโลหะ ตอกโค๊ด "จ" ที่ชายสังฆาฏิด้านหลัง ใต้ฐานตอกหมายเลข องค์นี้เก็บไว้ดี ทั้งพระและกล่องสภาพสวยมาก, รุ่นนี้ว่าสร้างจำนวน 5,000 องค์ +++ การติดต่อ +++ โทร. : 089-7673123 line id : apsara888 facebook : เพจพระเครื่องร้านอัปสรา อมิวเลท e-mail : tociii2003@yahoo.com (5.5.60)1 ++ คัดลอกประวัติของท่านมาจาก คุณอมรเวช คงทรัพย์, www.gotoknow.org/posts/302851 ขออนุญาตเผยแพร่และขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย ๏ อัตโนประวัติ “พระครูอุดมวรเวท” หรือ “หลวงปู่เจียม อติสโย” พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองสุรินทร์ เป็นพระที่มีศีลาจารวัตรดีงาม ไม่บกพร่องเสื่อมเสีย ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด กอปรด้วยวิทยาคม มีลูกศิษย์ลูกหามากมายให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก หลวงปู่เจียม มีนามเดิมว่า เจียม นวนสวัสดิ์ (เดือมดำ) เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2454 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 2 ปีกุน สายเลือดกัมพูชา ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านดองรุน ต.ประเตียเนียง อ.มงคลบุรี จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 4 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน ท่านเป็นบุตรคนโต ๏ การศึกษาเบื้องต้น ในเยาว์วัย เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล อ.มงคลบุรี จ.พระตะบอง ศึกษาภาษาเขมรและภาษาฝรั่งเศส ตามหลักสูตรที่รัฐบาลกัมพูชากำหนดไว้ เมื่อเรียนจบในระดับชั้นประถมศึกษา ได้สอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนในจังหวัดพระตะบอง แต่เรียนได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น มีเหตุให้ต้องลาออกจากโรงเรียนกลางคัน เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน อีกทั้งได้รับผลกระทบจากสภาวะสงครามภายในประเทศ เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ได้ประกอบอาชีพทำนาและค้าขาย เช่น ค้าข้าว ค้าวัว รวมทั้งเป็นช่างไม้ เป็นต้น ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น ครั้นเมื่ออายุ 26 ปี ท่านได้สมรสกับหญิงสาวในหมู่บ้านเดียวกัน มีบุตรธิดารวมทั้งหมด 4 คน เนื่องจากขณะนั้นประเทศกัมพูชาตกอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศฝรั่งเศส ท่านเป็นคนหนึ่งที่มีความรักชาติรักแผ่นดิน ต้องการให้ประเทศชาติบ้านเมืองเป็นเอกราช จึงได้ร่วมมือกับกลุ่มชาวเขมรที่รักชาติ จัดตั้งกองกำลังเขมรเสรีเพื่อกอบกู้ประเทศชาติ โดยสู้รบกับทหารฝรั่งเศสอยู่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และต่อมากองกำลังเขมรเสรีถูกปราบปรามอย่างหนัก จนต้องหลบหนีเข้ามายังเขตประเทศไทย โดยหวังว่าจะรวมตัวกันกลับเข้าไปต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชอีกครั้งหนึ่ง พ.ศ.2485 จึงตัดสินใจอพยพครอบครัว มุ่งหน้าเข้าสู่แนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ โดยเดินทางมากับพระสงฆ์ชาวเขมรชื่อ พระครูดี ใช้วิธีเดินทางรอนแรมมาเรื่อยๆ ค่ำไหนก็พักนอนที่นั่น แล้วออกตระเวนรับจ้างชาวบ้านในพื้นที่อำเภอสังขะ เพื่อหาเลี้ยงชีพไปตามอัตภาพ ในที่สุดได้แวะพักที่วัดทักษิณวารี (วัดทักษิณวารีสิริสุข) บ้านลำดวน ต.ลำดวน อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ พร้อมทั้งได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อวาง ธัมมโชโต ที่วัดแห่งนี้ ซึ่งท่านได้ประพฤติปฏิบัติตนรับใช้หลวงพ่อวางอย่างดียิ่ง จนทำให้บรรดาโยมอุปัฏฐากของหลวงพ่อวาง เกิดความรักความศรัทธา จึงขอเป็นเจ้าภาพอุปสมบทให้ ในขณะที่ท่านมีอายุได้ 47 ปี ๏ การมรณภาพ ย่างเข้าสู่วัยชรา หลวงปู่เจียมเริ่มมีอาการเหน็ดเหนื่อย สายตาพร่ามัว ประสาทหูฟังไม่ค่อยชัด คณะศิษยานุศิษย์ได้นำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ ครั้นเมื่อออกจากโรงพยาบาล หลวงปู่เจียมก็ยังต้องรับกิจนิมนต์จากชาวบ้านญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา เพื่อคอยปัดเป่าทุกข์บำรุงสุขไม่เว้นแต่ละวัน บ้างต้องไปนั่งประพรมน้ำมนต์ เป่ากระหม่อมให้ลูกศิษย์ลูกหาสม่ำเสมอ กระทั่งเมื่อเวลา 16.59 นาฬิกา ของวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2549 คณะศิษยานุศิษย์วัดอินทราสุการาม ได้ตีระฆังรัวกลองเป็นชุด เพื่อแจ้งเหตุว่า บัดนี้ชาวเมืองสุรินทร์ได้สูญเสียปูชนียสงฆ์รูปสำคัญ คือ หลวงปู่เจียมได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคไตวาย ภายในกุฏิวัดอินทราสุการาม หลังเข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการอาพาธจากโรคไตมาเป็นเวลานาน ประกอบกับวัยที่ชราภาพมาก สิริอายุรวม 96 พรรษา 47 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ชาวบ้าน และพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่เคารพนับถือเป็นยิ่งนัก คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์รวมไปถึงชาวบ้านได้นำร่างหลวงปู่บรรจุไว้ในโลงแก้ว ตั้งไว้ ณ ศาลาการเปรียญวัดอินทราสุการาม เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้รำลึกถึงคุณงามความดี สำหรับกำหนดการเบื้องต้น จะมีการบรรจุศพหลวงปู่เจียมที่วัดอินทราสุการาม เป็นเวลา 15 วัน เพื่อให้บรรดาพุทธศาสนิกชนได้ร่วมบำเพ็ญกุศลโดยทั่วกัน “ + สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมหลวงปู่เจียม อติสโย เป็นการส่วนพระองค์ เนื่องด้วยบุญบารมีคุณงามความดี และผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของสาธารณะชนทั่วไป เหมาะสมแล้วสำหรับคำกล่าวขาน "พระนักบุญแห่งแดนอีสานใต้" |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments