เหรียญรัชกาลที่ ๕ วัดราชบพิธ ครบรอบ 100 ปี พ.ศ.2513-อัปสรา อมิวเลท - webpra
VIP
  • พระฯแท้ในราคาไม่แรง
    ขายตามราคาที่ลงไว้ ถ้าเห็นว่าไม่ใช่ราคาที่รับได้
    ผ่านเลยครับท่าน จะได้ไม่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย
  • ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ
    *** พระฯมาใหม่จะลงไว้ช่วงหน้าต้นๆ
    *** ค้นหาพระฯเฉพาะ เข้าดูตามหมวดหรือพิมพ์ชื่อที่ช่องค้นหา
  • Page 1
  • Page 2
ซื่อตรง คุณภาพ รับประกัน

หมวด วัตถุมงคล ร.5-ร.9

เหรียญรัชกาลที่ ๕ วัดราชบพิธ ครบรอบ 100 ปี พ.ศ.2513

เหรียญรัชกาลที่ ๕ วัดราชบพิธ ครบรอบ 100 ปี พ.ศ.2513 - 1เหรียญรัชกาลที่ ๕ วัดราชบพิธ ครบรอบ 100 ปี พ.ศ.2513 - 2เหรียญรัชกาลที่ ๕ วัดราชบพิธ ครบรอบ 100 ปี พ.ศ.2513 - 3
ชื่อร้านค้า อัปสรา อมิวเลท - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญรัชกาลที่ ๕ วัดราชบพิธ ครบรอบ 100 ปี พ.ศ.2513
อายุพระเครื่อง 51 ปี
หมวดพระ วัตถุมงคล ร.5-ร.9
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ tociii2003@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 09 ต.ค. 2557 - 18:48.18
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 11 มี.ค. 2559 - 17:45.11
รายละเอียด
"รุ่นปืนแตก"
+++ การติดต่อ +++
โทร. : 089-7673123
line id : apsara888
facebook : พระเครื่อง ร้านอัปสรา อมิวเลท
e-mail : tociii2003@yahoo.com
(8.7.7.2)
- รายละเอียดคัดลอกจาก http://www1.g-pra.com/auctionc/view.php?aid=8512068
ขออนุญาตเผยแพร่และขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
*พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯเททอง ผสมกับ ชนวนโลหะวัตถุมงคลรุ่นเก่า ๆ ของวัดราชบพิธฯ รวมกับ แผ่นยันต์ลงอักขระของพระเกจิ ผู้ทรงพุทธาคม จากทั่วประเทศ ๑๐๘รูป ในวัตถุมงคล ทั้งเนื้อนวโลหะ และเนื้อทองแดงโดยทั่วถึงกันอย่างพิถีพิถัน
พิธีพุทธาภิเษก ๓ วัน ๓ คืน ณ.พระอุโบสถวัดราชบพิธ ระหว่างวันที่ ๒๙-๓๐-๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔
๑. วันศุกร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๒๐.๐๐ น. คือ
๑.) พระเทพสังวรวิมล (เจียง) วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม
๒.) พระราชธปรมากรณ์ (เงิน) วัดดอนยายหอม จ.นคร ปฐม
๓.) พระศูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
๔.) หลวงพ่อกี วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
๕.) พระครูโสภณพัฒนกิจ วัดอัมพวา บางกอกน้อย ธนบุรี กรุงเทพฯ
๖.) พระครูสุทธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร
๗.) พระครูโพธิสารประสาธน์ (บุญมี) วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
๘.) พระครูอุภัยภาดาทร (หลวงพ่อขอม) วัดโพธาราม (วัดไผ่โรงวัว) จ.สุพรรณบุรี
๙.) พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี
๑๐.) พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ
๑๑.) พระอาจารย์อรุณ วัดตะล่อม ธนบุรี กรุงเทพฯ
๑๒.) พระครูสมุห์สำรวย วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.
๑.) พระราชสุทธาจารย์ (โชติ ระลึกชาติ) วัดวชิราลงกรณ์จ.นครราชสีมา
๒.) พระนิโรธรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสโก) วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
๓.) พระอินทสมาจารย์ (เงิน อินทสโร) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
๔.) พระครูสภาพรพุทธมนต์ (สำเนียง อยู่สถาพร) วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม
๕.) พระครูกัลป์ยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี กรุงเทพฯ
๖.) พระครูภาวนาภิรม วัดปากน้ำภาษีเจริญ ธนบุรี กรุงเทพ
๗.) พระครูประภัสสรศีลคุณ (เอก) วัดไผ่ดำ จ.สิงห์บุรี
๘.) พระครูสมุห์หิน วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
๙.) หลวง พ่อใหญ่อภินันโท (จุล) วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี
๑๐.) พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโศธาราม จ.อุดรธานี
๑๑.) พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
๑๒.) พระครูใบฎีกาสมาน (หลวงพ่อเณร) วัดพรพระร่วง กรุงเทพฯ,
เวลา ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น.
๑.) พระราชวตาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ
๒.) พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
๓.) พระวิเชียรมุนี วัดอินทราม กรุงเทพฯ
๔.) พระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
๕.) พระโสภณมหาจารย์ วัดดาวดึงนาราม กรุงเทพฯ
๖.) พระครูพิบูลมงคล วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
๗.) พระมงคลสุรี วัดนาคกลาง กรุงเทพฯ
๘.) พระครูปลัดสงัด วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพฯ
๙.) พระครูวินัยธร (เดช) วัดสระเกศฯ กรุงเทพฯ
๑๐.) พระปลัดมานพ วัดชิโนรสราม กรุงเทพฯ
๑๑.) พระมหาวาส วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
๑๒.) พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิ (สามปลื้ม) กรุง เทพฯ
พระสวดพุทธาภิเษก ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๒๑.๐๐น. จำนวน ๔ รูป จากวัดสุทัศนเทพวราราม, ระหว่าง เวลา ๒๑.๐๐-๒๔.๐๐ น. จำนวน ๔ รูป จากวัดบวรนิเวศวิหาร

๒. วันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เวลา ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น.
๑.) พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม ธนบุรี กรุงเทพฯ
๒.) พระโพธิวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิต กรุงเทพฯ,
๓.) พระครูสีลวิสุทธาจารย์ วัดสง่างาม จ.ปราจีนบุรี
๔.) พระครูประภัศระธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อแต้ม) วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
๕.) พระครูประสิทธิสารคุณ (พ้น) วัดอุบลวรรณาราม จ.ราชบุรี
๖.) พระครูสังฆวฒาจารย์ (หลวงปู่เย่อ) วัดอาฬาสงคราม จ.สมุทรปราการ
๗.) พระอาจารย์หนู วัดบางกะดี่ กรุงเทพฯ
๘.) พระอาจารย์มงคล (กิมไซ) วัดป่าเกตุ จ.สมุทรปราการ
๙.) พระครูสมุห์ทองคำ วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี
๑๐.) พระอาจารย์สมภพ เตชบุญโญ วัดสาลีโขภิรตาราม จ.นนทบุรี
๑๑.) พระอาจารย์ยาน วัดถ้ำเขาหลักไก่ จ.ราชบุรี
๑๒.) พระอาจารย์บุญกู้ วัดอโศกตาราม จ.สมุทรปราการ
เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.
๑.) พระสุนทรธรรมภาณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
๒.) พระครูโสภณกัลป์นาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
๓.) พระครูวรพรตศีลขันธ์ (แฟ้ม) วัดป่าอรัญศิกาวาส จ.ชลบุรี
๔.) พระครูปสาธน์วิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
๕.) พระอาจารย์บุญเพ็ง วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
๖.) พระอาจารย์สุวัจน์ วัดป่าภูธรพิทักษ์ จ.สกลนคร
๗.) พระอาจารย์วัน วัดป่าอภัยวัน (ภูเหล็ก) จ.สกลนคร
๘.) พระอาจารย์สุพัฒน์ วัดบ้านใต้ จ.สกลนคร
๙.) พระอาจารย์ทองสุข วัดถ้ำเจ้าภูเขา จ.สกลนคร
๑๐.) พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม วัดเขาน้อยสามผา จ.จันทบุรี
๑๑.) พระอาจารย์ดวน วัดมเหยงค์ จ.นครศรีธรรมราช
๑๒.) พระอาจารย์สอาด วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
เวลา ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น.
๑.)พระเทพเมธากร วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ
๒.) พระราชวรญาณมุนี นุภพศิริมาตราม กรุงเทพฯ
๓.) พระปัญญาพิศาลเถระ วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
๔.) พระครูโสภณสมาธิวัตร วัดเจ้ามูล ธนบุรี กรุงเทพฯ
๕.) พระครูวิริยะกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี) ธนบุรี กรุงเทพฯ
๖.) พระครูพิชัย ณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตาราม กรุงเทพฯ
๗.) พระครูปลัดถวิล วัดยางระหงษ์ จ.จันทบุรี
๘.) พระอธิการพัตน์ วัดเเสนเกษม กรุงเทพฯ
๙.) พระอาจารย์เชื้อ หนูเพชร วัดสะพานสูง กรุงเทพฯ
๑๐.) พระอาจารย์รัตน์ วัดปทุมคงคา กรุเทพฯ
๑๑.) พระครูสังฆรักษ์ (กาวงค์) วัดป่าดาราภิรมย์ จ.เชียงใหม่
๑๒.) พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
โดยมีพระสวดพุทธาภิเษก เวลา ๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น. พระภิกษุ ๔ รูป จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเเละจากวัดราชประดิษฐ์ เวลา ๒๑.๐๐-๒๔.๐๐น.

๓. วันอาทิตย์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ก็ล้วนเเต่เป็น “พระคณาจารย์” ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาคมแห่งยุคซึ่งส่วนใหญ่ได้ “มรณภาพ” แล้วรวม ๓ วัน “ครบถ้วน ๑๐๘ รูป”

หลังพิธีพุทธาภิเษก ได้มีบรรดานายทหารจาก กรมรักษาดินแดน และ กระทรวงกลาโหม ซึ่งอยู่ใกล้กับ วัดราชบพิธฯ ได้ มาบูชาไปเป็นจำนวนมาก โดยนายทหารที่บูชาไปในสมัยนั้น ได้มีการนำพระรุ่นนี้ไป เลี่ยมพลาสติกแล้วไปแขวนกับ ธงชาติ จากนั้นจึงได้ชักธงชาติระดับเหนือศีรษะ แล้วทำการ “ทดลองยิง” ปรากฏว่า ปืนยิงไม่ออกในนัดแรก บรรดาผู้ทดลอง จึงทำการตรวจสอบปืนใหม่แล้วยิงอีกนัด คราวนี้ปรากฏว่าเกิดเสียงระเบิด ดังขึ้น และพอสิ้นเสียงระเบิด ปรากฏ ปากกระบอกปืนที่ใช้ทดลองยิงแตกเป็นรอยร้าว จึงเรียก พระรุ่นนี้ว่ารุ่น “ปืนแตก”

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top