หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
พระกรุถ้ำเสือ พิมพ์หน้าฤาษีไม่ตัดปีก
ชื่อร้านค้า | อโนทัย - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระกรุถ้ำเสือ พิมพ์หน้าฤาษีไม่ตัดปีก |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง |
ราคาเช่า | 25,500 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0818186610 |
อีเมล์ติดต่อ | numevo@gmail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พฤ. - 17 ก.ค. 2557 - 15:15.11 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พ. - 21 ม.ค. 2558 - 15:49.46 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระกรุถ้ำเสือ พิมพ์หน้าฤาษีไม่ตัดปีก พระถ้ำเสือ เดิมเชื่อกันว่าเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา เพราะพบที่อำเภออู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นเมืองเอกในสมัยอยุธยา และอำเภออู่ทอง ตามประวัติศาสตร์ที่ร่ำเรียนกันมาก็เขียนว่า เป็นเมืองที่พระเจ้าอู่ทองเคยมาครองเมืองอยู่ก่อนที่จะย้ายไปสร้างกรุงศรีอยุธยาโดยสันนิษฐานกันว่า เนื่องจากแม่น้ำเปลี่ยนทางเดินหรือเกิดโรคระบาด จึงต้องย้ายเมืองไปโดยเหตุผลรวมๆ กันดังกล่าวข้างต้น และมิได้มีการศึกาพระถ้ำเสือกันอย่างจริงจัง ก็ด่วนสรุปว่า พระถ้ำเสือเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยาแต่บางท่านก็เห็นว่าศิปะของพระถ้ำเสือใกล้เคียงกับศิลปะทวาราวดีจึงสรุปเอาว่าพระถ้ำเสือเป็นพระสมัยอยุธยาล้อสมัยทวาราวดี หรือเป็นพระสร้างสมัยอยุธยาแต่ไปลอกเลียนแบบพระสมัยทวาราวดีนั้นเอง ต่อมาอาจารย์มนัส โอภากุล ได้เริ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระถ้ำเสืออย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และพุทธศิลป์ ผนวกกับสิ่งแวดล้อมต่างๆจนได้ข้อสรุปว่าพระถ้ำเสือเป็นพระที่สร้างสมัยทวาราวดีตอนปลาย โดยมีเหตุผลที่สำคัญ คือ พระถ้ำเสือมีศิลปะสมัยทวาราวดี และสถานที่พบก็พบในถ้ำบนภูเขาอันเป็นดินแดนแห่งทวาราวดี คืออำเภออู่ทองเพียงอำเภอเดียวเท่านั้น ส่วนอำเภอต่างๆในจังหวัดสุพรรณบุรีไม่เคยพบเลย และอาจารย์มนัส โอภากุล ได้พิจารณาถึงพุทธลักษณะของพระถ้ำเสือแล้ว พิจารณาว่า เป็นศิลปะสมัยทวาราวดีอย่างชัดแจ้ง คือพระถ้ำเสือ มีพระพักตร์ใหญ่ พระหนุหนา พระเนตรโปน พระขนง(คิ้ว)เป็นสันนูน พระนลาฎแคบ พระเภสโมลีสั้น พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์กว้าง ซึ่งพุทธลักษณะดังกล่าวนี้ป็นพุทธลักษณะของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี ตามที่กล่าวมาถึงขั้นนี้เป็นผลของการศึกษาค้นคว้าของอาจารย์มนัส โอภากุล สำหรับในทัศนะของผู้เขียนแล้ว มีความเห็นว่า ในการวิเคราะห์พระถ้ำเสือว่าสร้างในสมัยใด มีเรื่องใหญ่ๆ 2เรื่อง ที่โดยทั่วไปแล้ว นักโบราณคดีจะต้องนำมาพิจารณา คือศิลปะของวัตถุนั้นและประวัติศาสตร์โบราณคดีของสถานที่พบในเรื่องศิลปะของพระถ้ำเสือ ผู้เขียนได้พยายามค้นคว้าศึกษา และพิจารณาจากภาพถ่ายและองค์จริงของพระถ้ำเสือกรุต่างๆทั้งกรุเก่าถ้ำเสือ(เขาคอก)กรุเขาพระ(ศรีสรรเพช)กรุวัดหลวง กรุเขาดีสลัก กรุเขาพระ(จร้า)และกรุวัดเขาวงษ์ ของพระพิมพ์องค์เล็กกว่า 400พิมพ์ และพระขนาดบูชาอีกกว่า 20พิมพ์แล้ว มีความเห็นว่า พระถ้ำเสือนี้มีศิลปะใกล้เคียงกับศิลปะทวาราวดี ซึ่งอาจจะสร้างในสมัยทวาราวดีตอนต้น หรือก่อนสมัยทวาราวดีก็เป็นไปได้ค่อนข้างมาก โดยมีข้อสรุปในประเด็นต่างๆดังนี้ 1)หากจะพิจารณาพุทธศิลป์ในสมัยต่างๆ ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย เชียงแสน สุโขทัย ลพบุรี อยุธยาถึงรัตนโกสินทร์แล้ว จะเห็นว่าพระถ้ำเสือมีศิลปะที่ใกล้เคียงกับสมัยทวาราวดีแต่ไม่มีลักษณะมาทางสมัยเชียงแสน สุโขทัย ลพบุรีหรือสมัยที่หลังกว่าสมัยทวาราวดีเลยจึงอาจเป็นไปได้ว่า พระถ้ำเสือสร้างในยุคก่อนสมัยทวาราวดี เพราะศิลปะองค์พระเหมือนกับพระพุทธรูปยุคแรกที่มีการสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้าขึ้นมา คือเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.600 เป็นต้นมา 2)พิมพ์พระถ้ำเสือที่เห็นมีทั้งหน้าพุทธ หน้าเทวดา หน้าฤาษี(มีเยอะมาก)บางพิมพ์เป็นองค์พระฤาษีเลย กรุเขาคอก(วัดถ้ำเสือ)มีการพบพระถ้ำเสือพิมพ์พิฆเนศด้วย กรุเขาพระ(ศรีสรรเพช)พบพระพิมพ์พระฤาษีจำนวนมาก กรุเขาพระ(จร้า)มีพระถ้ำเสือหน้าคล้ายพระผงสุพรรณมีจมูกยาวคล้ายวงช้างและหูใหญ่เหมือนหุช้าง มีพระบางพิมพ์มีท้องใหญ่คล้ายท้องพระสังกัจจายน์หรือเหมือนท้องช้างนั่นเอง กรุวัดเขาดีสลัก กรุวัดเขาวงษ์ มีพระถ้ำเสือพิมพ์เปาบุ้นจิ้นตาเฉียงขึ้นแบบศิลปะจีน หรือตาเฉียงแบบตาช้าง เช่นเดียวกับตาของพระพิฆเนศ ที่สำคัญคือพระพิมพ์ถ้ำเสือที่ได้พบทั้งหมดมีน้อยมากที่จะมีพระศกเป็นเม็ดเป็นตุ่มของพระพุทธเจ้า ส่วนใหญ่ถ้าเป็นหน้าพระพุทธหรือหน้าเทวดาจะเป็นคล้ายหมวกหรือชฎาครอบอยู่บนศรีษะและมีส่วนที่ห้อยมาปิดหูเหมือนพระอินเดียหรือพระธิเบตก่อนสมัยทวาราวดีทั้งสิ้น |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments