หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
พระร่วง รางปืน หลังฉัตร จ.อุ พิธี 100 ปี วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ปี 2511 ทองคำ
ชื่อร้านค้า | กบ พระทองคำ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระร่วง รางปืน หลังฉัตร จ.อุ พิธี 100 ปี วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ปี 2511 ทองคำ |
อายุพระเครื่อง | 56 ปี |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | cointhai.aw@gmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 05 ก.พ. 2567 - 19:11.32 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | จ. - 05 ก.พ. 2567 - 19:11.32 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระร่วงรางปืนหลังฉัตร จ.อุ พิธี 100 ปี วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ปี 2511 พระร่วงรางปืนหลังฉัตร จ อุ นี้ เป็นพระร่วงรางปืนรุ่นแรก ๆ ของการสร้างจำลองจากพระร่วงรางปืนซึ่งเป็นพระเครื่องชั้นสูง ที่เรียกว่าพระเครื่องสกุลกษัตริย์สร้าง ดังเป็นที่ทราบกันดีว่า พระร่วงรางปืนกรุสวรรคโลก สุโขทัย คืออันดับหนึ่งของพระเครื่องชุดเบญจภาคีฝ่ายอิทธิฤทธิ์ เทียบเท่าพระสมเด็จวัดระฆัง ซึ่งเป็นพระเครื่องอันดับหนึ่งของชุดเบญจภาคีฝ่ายบึญญฤทธิ์ อันเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว อนึ่งสำหรับพระร่วงรางปืนกรุสวรรคโลก เป็นพระเครื่องที่กษัตริย์ขอมโบราณทรงสร้างบรรจุกรุไว้ พระพุทธคุณครอบจักรวาลเป็นที่เสาะแสวงหากันมาช้านาน สนนราคาเช่าหาองค์สวย ๆ ไม่ต้องพูดถึงครับ พระร่วงรางปืนหลังตราพระนามย่อ จ.อุ.(จวน อุฏฐายีมหาเถร) ภายใต้เศวตฉัตร 3 ชั้น(พระฐานันดรศักดิ์พระอิสสริยศักดิ์สมเด็จพระสังฆราช) งานฉลองพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก(จวน อุฏฐายีมหาเถร(ศิริสม) ปธ.9) วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระร่วงรางปืนหลังฉัตร จ.อุ. นี้เป็นพระร่วงรางปืนรุ่นเดียวที่ในหลวงท่านเททอง และเป็นพระร่วงรางปืนที่สร้างใหม่ในรุ่นแรก ๆ ของการสร้างจำลองจากพระร่วงรางปืนพระเครื่องสำคัญในอดีตเป็นพระร่วงรางปืนรุ่นเดียวที่สอดคล้องกับพระร่วงรางปืนกรุสวรรคโลกที่กษัตริย์ทรงสร้าง อนึ่ง ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช(จวน อุฏฐายีมหาเถร) วัดมกุฏกษัตริยาราม ทรงเป็นคุรุฐานียบุคคล อันเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพสักการะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์ ในการพระราชพิธีทรงพระผนวช พ.ศ.2499 ทรงปฏิบัติหน้าที่พระราชกรรมวาจาจารย์(พระคู่สวด) ทั้งในพระราชพิธีทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และในพระราชพิธีทัฬหิกรรม(อุปสมบทซ้ำเป็นพระในคณะธรรมยุต) ณ พุทธรัตนสถานมณฑิราราม ในพระบรมมหาราชวัง ดังปรากฏในสร้อยพระนามในคราวทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช "ฯลฯ...ภูมิพลมหาราชหิโตปสัมปทาจารย์" ที่กล่าวมาทั้งหมดคือความสำคัญของพระร่วงรางปืนหลังฉัตรจ.อุ และความเป็นมาของพระร่วงรุ่นแรกนี้ที่มีการสร้างจำลองจากพระร่วงรางปืนของเก่า ต่อไปจะได้กล่าวถึงรายละเอียดในพิธีการจัดสร้างพระร่วงรางปืนหลังฉัตรจ.อุ. ดังนี้ครับ พระร่วงรางปืนหลังฉัตร จ.อ. วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี 2511 พิธี 100 ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระเครื่องที่หายาก สร้างพร้อมกับ พระกริ่งวชิรมงกุฏ ซึ่งในพิธีนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระอันเป็นพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ "พระพุทธวชิรมงกุฏ (พระพุทธรูปบูชา)" และ "พระกริ่งวชิรมงกุฏ" ในวันอังคารที่ 3 ตุลาคม ปี 2510 เวลา 13 นาฬิกา 15 นาที โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตเช่น 1.) หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ 2.) หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี 3.) หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม 4.) หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม 5.) หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร ธนบุรี พระนคร 6.) หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ จ.ราชบุรี 7.) หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม 8.) หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา 9.) หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี 10.)พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี จัดให้มีพิธีพุทธาภิเษกถึง 3 วันด้วยกันคือ วันที่ 9-11 ม.ค. ปี 2511 มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกทั้งสายพระเกจิอาจารย์และสายวิปัสสนา(พระป่า) ใน ปี 2511 วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกมีอายุครบ 100 ปี แห่งการสถาปนา ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2511 ประกอบกับ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 16 มกราคม ปี 2511 ทางคณะกรรมการจัดงานฉลองจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดงานฉลองศุภวาระมหามงคลวโรกาสทั้ง ๒ วาระเป็นงานเดียวกันระหว่าง วันที่ 15-18 มกราคม ปี 2511 และได้จัดสร้างมงคลวัตถุเป็นที่ระลึกได้แก่ พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ และได้ถวายพระนามว่า พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์วชิรมงกุฏ เป็นงานใหญ่มากๆ ในสมัยนั้น และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเททอง และมีพิธีพุทธาภิเษก ครั้งที่ 2 อีก 3 วัน 3 คืน เมื่อการเททองหล่อพระพุทธรูปพระกริ่งวชิรมงกฎ ซึ่งช่างขัดตกแต่งตามกรรมวิธี ต่อไปเสร็จแล้วพร้อมทั้งเหรียญพระรูปฯ จึงนิมนต์พระอาจารย์ต่าง ๆ มาทำพิธีพุทธาภิเษกในพระวิหารวัดมกฎกษัตริยารามอีก 3 ครั้งคือ เมื่อวันอังคาร ที่ 9 วันพุธ ที่ 10 และวันพฤหัสบดี ที่ 11 มกราคม ปี 2511 พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์และคาถาจุดเทียนชัยในพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งวชิรมกฎและพระชัยวัฒน์วชิรมกุฏ พร้อมทั้ง พระพุทธรูปบูชาวชิรมกุฏ หน้าตัก 5 นิ้ว 9 นิ้ว เหรียญพระรูปเหมือนสมเด็จพระสังฆราช(จวน)ดังนี้ วันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2511 พระสงฆ์ที่สวดพุทธาภิเษกและนั่งปรก 1.) พระธรรมไตรโลกาจารย์(นิรันดร์ นิรันตโร) วัดเทพศิรินทราวาส จังหวัดพระนคร 2.) พระธรรมกิตติโสภณ(สุวรรณ สุวัณณโชโต) วัดเบญจมบพิตร จังหวัดพระนคร 3.)พระธรรมวราภรณ์(สนั่น จันทปัชโชโต) วัดนรนาถสุนทริการาม จังหวัดพระนคร 4.)พระธรรมจินดาภรณ์(ทองเจือ จินตกาโร) วัดราชบพิธฯ จังหวัดพระนคร 5.)พระธรรมปาโมกข์(ทิม อุฑาฒิโม) วัดราชประดิษฐ์ฯ จังหวัดพระนคร 6.)พระธรรมโสภณ(สนธิ์ กิจจกาโร ปธ.7)วัดบวรนิเวศวิหาร จังหวัดพระนคร 7.)พระราชเมธี วัดเศวตฉัตร จังหวัดธนบุรี 8.)พระราชสุเมธาจารย์ วัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี 9.) พระครูพัฒนกิจโกศล วัดชัยสิทธาวาส จังหวัดปทุมธานี วันอังคารที่ 9 มกราคม ปี 2511 พระสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ 4 รูป และวัดอรัญญิกาวาส(วัดป่า) จ.ชลบุรี 4 รูป พระอาจารย์นั่งปรก 1.) พระราชมุนี(บุญโฮม) วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนคร 2.) พระวรพรตปัญญาจารย์(หลวงปู่เฮี้ย 💥รับประกันพระแท้ทองแท้ 💥โอนชื่อ บช. อุไรวรรณ สุจริยา เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่ 💥เฟส: อุไรวรรณ สุจริยา 💥เว็ปท่าพระจันทร์:กบ พระทองคำ https://www.thaprachan.com/%E0%B8%81%E0%B8%9A-%E0%B8%9E... 💥Line ID =0996399936 รหัสสินค้า P-1802 🔴🔴สนใจต่อรอง ทักมาพูดคุยได้เลยนะคะ🔴🔴 |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments