หมวด พระเกจิภาคเหนือ
"เหรียญเจ้าพ่อกู่ช้างฯ รุ่นสมโภชวัดพระธาตุหริภุญไชย ๑,๑๑๙ ปี " ตะกั่ว หมายเลข 94
ชื่อร้านค้า | ณัฐพล พุทธคุณ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | "เหรียญเจ้าพ่อกู่ช้างฯ รุ่นสมโภชวัดพระธาตุหริภุญไชย ๑,๑๑๙ ปี " ตะกั่ว หมายเลข 94 |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเกจิภาคเหนือ |
ราคาเช่า | 1,000 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 0954829986 |
อีเมล์ติดต่อ | nattaponmesit@hotmail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พฤ. - 01 ก.ย. 2559 - 09:18.34 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พฤ. - 01 ก.ย. 2559 - 09:18.34 |
รายละเอียด | |
---|---|
จัดสร้างเหรียญนี้ขึ้นมาในนามของกลุ่มสยามบวร และได้กราบขอเมตตาท่านเจ้าคุณ พระราชปัญญาโมลี เพื่อนำเข้าในพิธีสมโภชพระธาตุเจ้าหริภุญชัย ครบ 1,119 ปี หรืองานปอยหลวง ครั้งนี้ด้วย โดยมีจุดประสงค์ดังนี้คือ... 1) เพื่อนำปัจจัยไปสร้าง "ผลสมอทองคำ และกลักเกลือเงิน พร้อมพานสังข์เงิน" อันจะนำถวายไว้ใน "พระวิหารหลวง วัดพระธาตุหริภุญไชย" 2) เพื่อนำปัจจัยไปสร้าง "พระชัยพุทธมหานาถ" ปางนาคปรก เนื้อสำริด หน้าตัก 14 นิ้ว จำนวน 2 องค์ ...โดยจะเททองหล่อที่หน้าพระบรมธาตุหริภุญชัย ในวันสมโภชพระธาตุฯ ที่ 6 กรกฎาคม 2559 3) เพื่อนำปัจจัยส่วนที่เหลือ ( หรือเหรียญส่วนที่เหลือ ) เข้าร่วมกับ "กองทุนบูรณะพระธาตุหริภุญชัย" ที่ อจ.ลักษณ์ เรขาณิเทศ ได้ริเริ่มก่อตั้งไปเมื่อกฐินหลวงปีที่แล้ว >> รายละเอียดเหรียญเจ้าพ่อกู่ช้าง รุ่นสมโภชพระธาตุฯ << """""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""" 1) รูปลักษณะเหรียญ : เป็นเหรียญกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร แกะพิมพ์ระบบ 3 มิติ (เป็นระบบที่ดีที่สุดในการสร้างเหรียญยุคปัจจุบัน) ด้านหน้า >>> แกะเป็นรูปพญาช้างผู้ก่ำงาเขียว หันหน้าไปทางซ้ายมือของเรา หรือขวามือของเหรียญ ด้านบนมีพระมหากษัตริย์ประทับเหนือเศียร ทรงง้าวพร้อมรบ มีแหย่งบนหลังช้าง ที่ขาช้างทั้ง 4 และ ข้างใบหู (รวม 7 ตำแหน่ง) ประทับยันต์ "นะมหาอุด" เป็นยันต์ประจำตัวที่หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มักจะใช้อยู่เสมอๆ ที่พื้นเหรียญ หลังตัวพญาช้างฯ มีรูปกู่ช้าง ปรากฏอยู่เป็นภาพด้านหลัง บริเวณห่วงเหรียญด้านบน เขียนอักษรว่า "เจ้าพ่อกู่ช้าง ผู้ก่ำงาเขียว" ด้านหลัง >>> ตรงกลางแกะเป็นรูป พระบรมธาตุเจ้าหริภุญไชย ลอยอยู่บนก้อนเมฆ ใต้พระธาตุเขียนว่า ๑,๑๑๙ ปี และมีรูปผลสมอ และกลักเกลือวางอยู่... พื้นหลังด้านซ้ายและขวาของเหรียญ จารึกเป็นยันต์ "พระเจ้านั่งจักร" และบริเวณห่วงด้านบน จารึกว่า " สมโภชพระธาตุ ๖ ก.ค. ๕๙ " โดยรอบเหรียญได้จารึกไว้ว่า....บารมีพระแม่เจ้าจามเทวี บารมีพระเจ้ามหันตยศ บารมีพระเจ้าอนันตยศ บารมีพระเจ้าอาทิตยราช และด้านล่างจารึกไว้ว่า "พระบรมธาตุเจ้าหริภุญไชย" รอบนอกสุดของเหรียญแกะเป็นรูปกลีบดอกไม้ อันนำรูปแบบมาจาก "ดอกพระธาตุ" ที่พบประดับบนพระธาตุเจดีย์มาแต่ครั้งโบราณกาล มีอยู่ทั่วไปในนครหริภุญไชย ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ 2) เนื้อโลหะ และจำนวนการสร้าง สร้างด้วยโลหะทั้งหมด 7 ชนิดคือ 2.1) เงิน ........................... ตามจอง ไม่เกิน 59 เหรียญ 2.2) ตะกั่ว ............................100 เหรียญ 2.3) ทองแดงกะไหล่เงิน ........................300 เหรียญ 2.4) ทองแดงผิวรุ้ง ..........................300 เหรียญ 2.5) ทองแดงขัดเงา...................600 เหรียญ 2.6) ทองแดงรมดำ ....................600 เหรียญ 2.7) ทองฝาบาตร.......................600 เหรียญ ทุกเหรียญ running number และโค๊ดรูป" วัชระ " ด้วยเลเซอร์ ไว้ทุกเหรียญ ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ เราลองมาทำความรู้จักกับความเป็นมาของเจ้าพ่อกู่ช้าง...อันเป็นที่มาของเหรียญกู่ช้างที่จะสร้างนี้...อีกทั้งเป็นเคยได้สร้างเป็นเหรียญดังของจังหวัดลำพูนมาก่อนแล้วถึง 3 รุ่น....ลองมาอ่านดูรายละเอียดนะครับ >> ประวัติเจ้าพ่อกู่ช้าง << """"""""""""""""""""""""""""" ในสมัยพระนางเจ้าจามเทวียังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น ...พระองค์ทรงมีพญาช้างคู่บุญบารมีอยู่เชือกหนึ่ง เป็นช้างเพศผู้ มีโครงร่างใหญ่โตน่าเกรงขาม ผิวสีเข้มดำทะมึน ที่สำคัญมีงานสีเข้มกว่างาช้างทั่วไปจนออกเขียวหรือดำคล้ำ...จึงได้นามว่า "ช้างผู้ก่ำงาเขียว" หรือ " จ๊างปู้ก่ำงาเขียว " พระแม่เจ้าจามเทวี..ได้ทรงใช้พญาช้างเชือกนี้ ในการนำออกศึกสงครามจนมีชัยต่ออริราชศัตรูมาโดยตลอด ที่สำคัญๆก็คือใช้ในการออกศึกรบพุ่งกับ "ขุนหลวงวิลังคะ" เจ้าผู้ครองเมืองลั๊วะ ผู้ปราถนาจะมาชิงพระนางฯไปเป็นคู่ครอง ช้างผู้ก่ำงาเขียว...เป็นพญาช้างที่มีฤทธิ์เดชมาก เมื่อออกศึกสงคราม...จะมีเสียงแผดร้องก้องกังวานน่าเกรงขาม บางตำนานก็ว่ามีไฟพวยพุ่งออกมาจากปลายงา แต่ที่ตรงกันคือเมื่อออกสงครามครั้งใด หากพญาช้างเชือกนี้หันหน้าไปทางข้าศึกศัตรู พร้อมหันปลายงาตรงไปยังข้าศึก...จะทำให้ข้าศึกศัตรูนั้นอ่อนแรง และเกิดความหวาดกลัวไปตามๆกัน ไม่เคยแพ้ศึกสงครามใดๆเลย ในภายหลังพระนางจามเทวี ได้ทรงมอบให้เป็นช้างทรงออกศึกของทั้งพระเจ้ามหันตยศ และพระเจ้าอนันตยศ พระราชโอรสฝาแฝดอีกด้วย ครั้นมาถึงเมื่อวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 (เหนือ) (ไม่ปรากฏปี พ.ศ.) พญาช้างผู้ก่ำงาเขียว ได้ล้มลง....พระเจ้ามหันตยศ ได้นำร่างของพญาช้างนี้มาทำการฝังไว้ พร้อมสร้างสถูปครอบ โดยฝังร่างพญาช้างให้หัวและงา ชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า เพราะหากฝังให้หน้าและงาของพญาช้างนี้หันไปทางทิศใด...จะทำให้ดินแดนแห่งนั้นแห้งแล้ง ประสพแต่ภัยพิบัติ จึงต้องหันขึ้นด้านบนท้องฟ้า ... ปัจจุบัน...สถูปบรรจุร่างพญาช้างผู้ก่ำงาเขียว เป็น 1 ใน 3 ของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญของชาวเมืองลำพูน โดยอีก 2 แห่งคือ พระธาตุหริภุญชัย และ อนุสาวรีย์พระแม่เจ้าจามเทวี โดยมักจะเรียกกันติดปากว่า " กู่ช้าง " หรือ "เจ้าพ่อกู่ช้าง" นั่นเอง ส่วนความศักดิ์สิทธิของเจ้าพ่อกู่ช้างแห่งนี้ มีประสพการณ์มาแต่โบราณ นับตั้งแต่ยังมิได้มีการสร้างเหรียญของท่านด้วยซ้ำ หากชาวบ้านจะต้องเดินทางไปต่างบ้านต่างเมือง หรือไปทำศึกสงครามสมัยโบราณก็มักจะเก็บเอา "เป๊ก" หรือก็คือก้อนหินแร่ที่มีรูปทรงเป็นเหลี่ยม ที่ตกอยู่ตามบริเวณกู่ช้าง มาอธิษฐานกับกู่ช้าง และนำติดตัวไปด้วย....ก็มักที่จะปลอดภัยกันกลับมาแทบทุกคน โดยมีข้อแม้อยู่ว่าต้องนำเป็กก้อนนั้นกลับมาคืนไว้ที่กู่ช้างดังเดิม จนกระทั่งได้มีการสร้างเหรียญกู่ช้างขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2521 โดยได้กระทำพิธีเบื้องหน้าสถูป โดยครูบาอินตา วัดวังทอง เมตตามาพุทธาภิเษก โดยในวันนั้นได้ปรากฏเหตุอัศจรรย์ขึ้นคือรอบบรเวณกู่ช้าง ฝนตกหนัก แต่ในบริเวณพิธีฝนไม่ตกเลย และในช่วงเช้าหลังจากเสร็จพิธีนั้น พบรอยเท้าช้างรอบกู่ช้างเต็มไปหมด ส่วนรุ่นสองผมเองไม่มีข้อมูลการสร้างมากนัก และรุ่นสามนั้นจะเรียกกันว่ารุ่นฉลองหอชัย ครบ 1,400 ปี หรือรุ่นน้ำมนต์เดือด คือพบว่าขณะพุทธาภิเษกนั้น น้ำมนต์ในพิธีเดือดขึ้นเอง และมีเสียงช้างร้องดังขึ้นมาจากรถดับเพลิงที่มาจอดไว้บริเวณงานนั้น เรื่องประสพการณ์ในด้านแคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรีนั้น ค่อนข้างมีมากสำหรับผู้บูชาเหรียญท่านไว้ ไม่แพ้ในด้านของโภคทรัพย์โชคลาภ..ที่ผู้คนทั้งหลายต่างสมปราถนาเมื่อเข้ามาอธิษฐานขอพรจากท่าน เห็นได้จากสิ่งของที่นำมาถวายไม่ว่าจะเป็นหัวหมู เครื่องสักการะต่างๆ และชาวบ้านละแวกนั้นก็มีหลายๆบ้านที่รับทำเครื่องเซ่นสักการะและทำหัวหมูแก้บน... |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments