หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
พระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา เนื้อดินผสมใบลานเผา
ชื่อร้านค้า | พรรัตนตรัย - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา เนื้อดินผสมใบลานเผา |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 0895286160 |
อีเมล์ติดต่อ | panprasong@hotmail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พฤ. - 24 พ.ค. 2555 - 21:45.20 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 07 ก.ค. 2555 - 22:07.58 |
รายละเอียด | |
---|---|
เกาะอยุธยาขึ้นไปทางทิศตะวันออก เมื่อประมาณ ปี 2460 ได้มีการขุดพบพระพิมพ์ต่าง ๆ บริเวณสองฝั่งคลองตะเคียน อาทิ วัดโคก วัดคลองตะเคียน วัดช้าง วัดพิชัย และวัดประดู่ทรงธรรม โดยเฉพาะวัดนี้มีการขุดพบพระพิมพ์ต่างมากที่สุด เนื้อดินเผาสีดำหรือเนื้อดินผสมผงใบลาน บางก็ว่าใช้ถ่านไม้ที่ใช้เผาผีตายในวันเสาร์หรือวันอังคาร ซึ่งก็ว่ากันไป ข้อมูลไหนใกล้เคียงความจริงก็ต้องพิจารณาเอาเอง ที่ลือลั่นที่สุดคือ พระปิดตาพิชัย นั่นเอง วัดประดู่ทรงธรรม เป็นวัดเก่าสมัยอยุธยาเป็นราชธานี เป็นที่นับถือของกษัตริย์ ในสมัยอยุธยาตอนปลายเกือบทุกพระองค์ แม้แต่สมัยพระเจ้าตากสิน ก็เคยนิมนต์สมภารจากวัดนี้ เป็นสมเด็จพระสังฆราชมาแล้ว ศิลปะการสร้างจะเป็นพุทธศิลป์ทางเหนือ เช่น พระรอด พระคง พระลือ พระเลี่ยงเป็นต้น โดยพิจารณาจากพิมพ์พระต่าง ๆ เช่น กริ่งคลองตะเคียนจะเหมือนกับพระคงลำพูนมาก ทั้งที่พระคงสร้างมาไม่ต่ำ 700 ปี อีกเหตุผลที่สนับสนุนคือ พระลักษณะผงใบลานเผานั้น ประวัติการสร้างที่เก่าแก่ที่สุดจะเป็นทางเหนือ ซึ่งรวมถึงประเทศพม่าด้วย ส่วนผู้สร้างนั้น มีความเห็นต่างกันออกไป ส่วนหนึ่งเห็นว่าน่าจะเป็นพระสงฆ์จากทางภาคเหนือ ได้เดินธุดงค์มาจำวัดอยู่ที่อยุธยา แล้วสร้างพระพิมพ์ขึ้น แต่สร้างในแบบอนุรักษ์ศิลปะหริภุญไชยเอาไว้ พระจึงออกมาคล้ายกับพระทางภาคเหนือ อีกเหตุผลหนึ่งเชื่อว่า ขรัวรอด หรือ หลวงปู่รอด สมภารวัดประดู่ทรงธรรม (เล่ากันว่าสำเร็จวิชาเสือสมิง) เป็นผู้สร้างขึ้น หลวงปู่รอดองค์นี้ศักด์สิทธิ์ยิ่งนัก ชาวบ้านนับถือกันมาก ท่านสร้างเพื่อแจกชาวบ้าน ทหาร เพื่อสู้รบกับทัพพม่าก่อนเสียกรุง ภายหลังเสียกรุงท่านได้หายตัวไป เมื่อเหตุการณ์สงบท่านก็กลับมาครองวัดประดู่ทรงธรรมจนมรณภาพ ส่วนเหตุผลที่สร้างมาคล้ายกับพระทางเหนือเชื่อกันว่า สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้ยกทัพไปตีเมืองทางเหนือจนได้รับชัยชนะ ได้มีการกวาดต้อนผู้คนเรือนแสนกลับมายังกรุงศรีอยุธยาด้วย จึงมีพระเครื่องทางเหนือติดมา ชาวบ้านและทหารจึงได้นำไปไว้ที่วัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งเป็นวัดทหาร อันเป็นที่มาของต้นแบบในการสร้างพระของหลวงปู่รอด (แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีหลักฐานที่จะยืนยันได้อย่างชัดเจน มีเพียงคำบอกเล่าจากคนรุ่นก่อน ๆ เท่านั้น ผู้สร้างจึงยังคงเป็นปริศนาต่อไป) การเรียกชื่อพระนั้น เนื่องจากขุดพบที่วัดคลองตะเคียนก่อน ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “พระกริ่งคลองตะเคียน” และก็เรียกติดปากกันเรื่อยมา แม้ภายหลังจะขุดพบที่วัดประดู่ทรงธรรมอีก ก็ยังเรียกพระกริ่งคลองตะเคียนอยู่ เนื่องจากพุทธลักษณะเหมือนกัน แต่เป็นพระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดประดู่ทรงธรรม ผู้รู้ที่ชำนาญก็สามารถแยกแยะออกว่ามาจากกรุไหน น่าเสียดายที่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากผู้เล่นส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จัก หากศึกษาประวัติโดยละเอียดแล้ว แทบจะไม่ต่างจาก พระกริ่งที่ออกมาจากวัดคลองตะเคียนเลย ซึ่งพระกริ่งคลองตะเคียนนั้นก็มีแค่ 4 พิมพ์ เท่านั้นที่วงการนิยมเล่นหา ทั้งที่คณาจารย์สร้างก็ชุดเดียวกัน ต่างกันแค่ลงกรุเท่านั้น พุทธคุณ แน่นอนว่าพระที่สร้างในช่วงที่มีสงครามนั้นต้องคงกระพันนำหน้าครับ มีอานุภาพสยบศาสตราวุธทั้งปวง ท่านมีถือว่าเป็นวาสนา จงเก็บไว้เถิด พุทธคุณไม่ได้ด้อยไปกว่าพระกริ่งจากวัดคลองตะเคียนเลย |
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments