หมวด พระกรุ เนื้อชิน
พระกรุ วัดราชบูรณะ พิมพ์ซุ้มร่มโพธิ์ ทองเดิม
ชื่อร้านค้า | ตามรอยศรัทธาบารมี พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระกรุ วัดราชบูรณะ พิมพ์ซุ้มร่มโพธิ์ ทองเดิม |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระกรุ เนื้อชิน |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | saksitt5678@gmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พ. - 09 พ.ค. 2561 - 12:50.13 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พฤ. - 24 พ.ค. 2561 - 18:18.26 |
รายละเอียด | |
---|---|
กรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา นับเป็นกรุเก่าแก่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกรุหนึ่งของไทย มีการขุดค้นพบสมบัติล้ำค่าต่างๆ มากมาย ซึ่งล้วนทรงคุณค่าทั้งด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปกรรมการช่างในสมัยโบราณ รวมถึงด้านพุทธศิลปะ จัดเป็นกรุเก่าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชัดเจน ซึ่งผูกพันกับเหตุการณ์ เมื่อครั้งสมเด็จพระนครินทราชา หรือเจ้านครอินทร์ฯ ซึ่งครองราชย์ในช่วงปี พ.ศ.1952-1967 โปรดให้พระโอรส เจ้าอ้ายพระยา ครองเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยา ครองเมืองแพรกศรีราชา (เมืองสรรค์) และเจ้าสามพระยา ครองเมืองชัยนาท ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ ความว่า “…ศักราช 786 (พ.ศ.1967) มะโรงศก สมเด็จพระนครินทราชาเจ้าทรงพระประชวรนฤพาน ครั้งนั้นเจ้าอ้ายพระญาแลเจ้าญี่พระญาพระราชกุมารท่านชนช้างด้วยกัน ณ สพานป่าถ่าน เถิงพิราไลยทั้ง 2 พระองค์ที่นั้น เจ้าสามพระญาได้เสวยราชสมบัติพระนครศรี อยุธยา ทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า แลท่านจึงก่อพระเจดีย์สองพระองค์สวมที่เจ้าพระญาอ้ายแลเจ้าพระญาญี่ชนช้างด้วยกันถึงอนิจภาพ ตำบลป่าถ่านนั้น ใน ศักราชนั้นสถาปนาวัดราชบุณ…’ จับความตามพระราชพงศาวดารแล้วสรุปได้ว่า เมื่อสมเด็จเจ้าสามพระยาถวายพระเพลิงเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยาแล้ว ได้สถาปนาวัดราชบูรณะและสร้างถาวรวัตถุขึ้นครอบสถานที่ถวายพระเพลิง พร้อมกับนำเครื่องราชูปโภคและโบราณวัตถุต่างๆ บรรจุเข้าไว้เป็นเครื่องสักการะพระเชษฐาธิราชเป็นจำนวนมาก ราวปี พ.ศ.2499 ขณะที่กรมศิลปากรกำลังบูรณะวัดราชบูรณะ มีคนร้ายลักลอบเข้าไปขุดกรุ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตามคืนได้จำนวนมากมีการรวบรวมของมีค่าในกรุ ทำบัญชีไว้ รวมแล้วเฉพาะทองคำน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 100 ก.ก. พลอยหัวแหวน ทับทิม หนัก 1,800 กรัม แก้วผลึกชนิดต่างๆ 1,050 กรัม ลูกปัดเงินกับทับทิมปนกัน หนัก 250 กรัม ส่วนพระ พุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ มีอยู่หลายสิบองค์ มีพระดุนทอง ดุนเงินถึงสองกระสอบข้าวสาร ส่วนพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ พระพิมพ์เนื้อชิน เครื่องสังคโลก เครื่องเคลือบดินเผา มีมากจำนวนนับไม่ถ้วน บางส่วนจึงนำออกจำหน่ายหาทุนสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ต่อมามีข่าวพบพระมาลาทองคำโบราณของพระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ถูกนำไปแสดงในพิพิธภัณฑ์อาเซียนอาร์ตมิวเซียม ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากกรุวัดราชบูรณะนี่เอง การลักลอบขุดกรุแม้จะได้ข้าวของไปมาก แต่ก็ยังเหลืออยู่อีกจำนวนมาก เนื่องจากใต้องค์พระปรางค์ประธานทำเป็นห้องอุโมงค์ใต้ดินแบ่งเป็นหลายห้อง นับได้ทั้งหมด 7 ห้องหรือ 7 กรุ ทางกรมศิลปากรจึง “เปิดกรุ” อย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน พ.ศ.2500 มีการจัดทำรายงานระบุไว้ความว่า …เมื่อเดือนกันยา ยน พ.ศ.2500 ได้มีเหตุบังเอิญให้ได้ค้นสมบัติโบราณครั้งใหญ่ขึ้นที่จังหวัดพระนครศรี อยุธยา กล่าวคือได้ค้นพบเครื่องทองคำราชู ปโภค พระพุทธรูป พระสถูปทองคำ และพระพิมพ์ ที่บรรจุไว้ในคูหาภายในองค์พระปรางค์องค์ใหญ่ในวัดราชบูรณะเป็นอันมาก นอกจากได้พบสมบัติโบราณอันล้ำค่าเหล่านั้นแล้ว ยังมีสิ่งที่มีค่าทางศิลปะเป็นอย่างยิ่งอีกส่วนหนึ่ง คือที่ผนังคูหาบรรจุเครื่องทองคำราชูปโภคนั้น มีภาพเขียนสีอย่างงดงามไว้เต็มทุกด้าน กรมศิลปากรจึงได้เสนอเรื่องต่อรัฐบาลชุดพลเอกถนอม กิตติขจร ของบประมาณสร้างอุโมงค์ และทำบันไดลงไปสู่ห้องภาพเขียน เพื่อเปิดให้นักศึกษาและประชาชนเข้าชมและศึกษาหาความรู้ต่อไป ซึ่งก็ได้รับความกรุณาจากรัฐบาล โดยอนุมัติงบประมาณให้ตามที่เสนอ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงสรุปเกี่ยวกับพระพุทธรูปและพระพิมพ์ต่างๆ ไว้ว่า มีทั้ง พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์แบบปาละ อินเดียภาคใต้รุ่นหลัง ลังการุ่นหลัง ชวา พม่า พระพุทธรูปทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย อู่ทอง จนถึงอยุธยา ที่สำคัญก็มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางลีลาและพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ทำด้วยศิลาจำนวนหนึ่ง ส่วนพระพิมพ์เป็นแบบปาละของอินเดีย และแบบทวารวดี ลพบุรี อยุธยา ซึ่งมีทั้งอยุธยาแท้และเลียนแบบสุโขทัย รูปพระสาวกเดี่ยว ได้แก่ พระสังกัจจายน์ ท้าวเวสสุวัณ รวมทั้งวัตถุล้ำค่าอื่นๆ เช่น จารึกอักษรขอมบนลานดีบุกเรื่องคำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุและพระธรรม, เครื่องเชี่ยนหมากทำด้วยโลหะ, คันฉ่องโลหะฝีมือช่างจีน ฯลฯ ซึ่งทำให้เราได้ทราบถึงศิลปะอยุธยาในต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ได้เป็นอย่างดี บรรดาพระพุทธรูปและพระพิมพ์ที่ค้นพบทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่เป็นเนื้อชินเงิน มีมากกว่า 400 พิมพ์ นอกเหนือจากเป็นการสืบสานอายุของพระพุทธศาสนาแล้ว ต้องนับว่า “กรุวัดราชบูรณะ” นี้ เป็นกรุโบราณที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งทั้งทางโบราณคดี ทางประวัติ ศาสตร์ ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments