พระหลวงพ่อโต๊ะ วัดกำแพง สิงห์บุรี พิมพ์พระสามพี่น้อง-ตามรอยศรัทธาบารมี พระเครื่อง - webpra
รับประกันพระแท้ตลอดชีพ เก้คืนเต็ม

หมวด พระเกจิภาคกลางตอนล่าง

พระหลวงพ่อโต๊ะ วัดกำแพง สิงห์บุรี พิมพ์พระสามพี่น้อง

พระหลวงพ่อโต๊ะ วัดกำแพง สิงห์บุรี  พิมพ์พระสามพี่น้อง - 1พระหลวงพ่อโต๊ะ วัดกำแพง สิงห์บุรี  พิมพ์พระสามพี่น้อง - 2
ชื่อร้านค้า ตามรอยศรัทธาบารมี พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระหลวงพ่อโต๊ะ วัดกำแพง สิงห์บุรี พิมพ์พระสามพี่น้อง
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเกจิภาคกลางตอนล่าง
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ saksitt5678@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 06 พ.ค. 2561 - 22:19.08
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 09 มิ.ย. 2564 - 23:02.15
รายละเอียด
'หลวงพ่อโต๊ะ'วัดกำแพง จ.สิงห์บุรี พระอริยสงฆ์ผู้มีวิชาอาคมขลัง : ไพศาล ถิระศุภะ
วัดกำแพง เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ ๓ ต.ท่างาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา สันนิษฐานว่า เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพิจารณาจากโบราณวัตถุและโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในวัด เช่น พระพุทธรูป เจดีย์ เสนาสนะต่างๆ ฯลฯ ประวัติโดยสังเขปของ หลวงพ่อโต๊ะ ท่านเป็น ชาวต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี มีชื่อเดิมว่า "โต๊ะ กุหลาบวงศ์" ชาตะปีวอก วันจันทร์ เดือนพฤศจิกายน ๒๓๔๙ โยมบิดาชื่อ "โพธิ์" โยมมารดาชื่อ "ปรางค์" มีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน ๔ คน ท่านเป็นบุตรคนโต บิดาของท่านเป็นกำนัน ต.ท่างาม ต่อมารู้สึกเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส นายโต๊ะจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดกำแพง จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส

หลวงพ่อโต๊ะ เป็นพระคณาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคม เก่งกล้าด้านไสยเวท และเป็นสหธรรมิกกับ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ถึงกับมีการแลกเปลี่ยนวิชาไสยเวท โดยไปมาหาสู่กันเป็นประจำ

ในช่วงปฐมวัย บิดามารดาได้นำหลวงพ่อโต๊ะไปฝากไว้กับ หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี ต.อินทร์บุรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เพื่อเรียนหนังสือ และอยู่ปฏิบัติรับใช้หลวงพ่อลา จนสอบไล่ได้ชั้น ๒ (ระดับสูงสุดในสมัยนั้น) เมื่ออายุได้ ๑๙ ปี

หลวงพ่อโต๊ะได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดดงยาง ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ต่อมาเมื่ออายุครบบวช ท่านได้อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๕๙ ณ วัดดงยาง โดยมี พระวินัยธรกิ่ง วัดธรรมสังเวช ต.งิ้วราย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับสมญานามว่า “ฉันโท” ซึ่งเป็นชื่อของวาทสูตรหนึ่งในพระพุทธศาสนา

ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดดงยาง โดยได้ไปศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอุปัชฌาย์อยู่เสมอ จนสามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้ ในพรรษาที่ ๒ ท่านได้ย้ายมาอยู่ที่วัดโพธิ์ลังการ์ ๑ พรรษา และวัดท่าอิฐ ๒ พรรษา เพื่อเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ซึ่งทั้ง ๒ วัดนี้ต่างก็อยู่ในเขต ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

พ.ศ.๒๔๙๒ หลวงพ่อโต๊ะได้รับนิมนต์จากญาติโยมให้มาจำพรรษา ณ วัดกำแพง จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๖๖ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดกำแพง พ.ศ.๒๔๖๗ ได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลท่างาม-ชีน้ำร้าย เขต ๑ พ.ศ. ๒๔๗๘ รับตำแหน่งเป็นพระธรรมธร (โต๊ะ) และเป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง พ.ศ.๒๔๘๕ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และพ.ศ.๒๕๐๑ ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็น “พระครูปราการกิตติคุณ”

ในด้านวิชาไสยเวทแขนงต่างๆ หลวงพ่อโต๊ะมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก โดยท่านได้ศึกษามาจากหลายพระคณาจารย์ ได้แก่ ๑.หลวงพ่อลา วัดโพธ์ศรี จ.สิงห์บุรี ๒.หลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก จ.ลพบุรี ๓.หลวงพ่อโพธิ์ วัดกำแพง จ.สิงห์บุรี (โยมบิดาของท่าน) ๔.หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา

หลวงพ่อโต๊ะ เป็นพระอริยสงฆ์ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก จนเชื่อกันว่าท่านได้สำเร็จอภิญญาสมาบัติ มีตาทิพย์ หูทิพย์ สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ แม้กระทั่งวันมรณภาพของท่านเอง

ในด้านปฏิปทาของหลวงพ่อโต๊ะ ท่านได้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา โดยท่านเป็นพระนักพัฒนาและก่อสร้าง ทำให้วัดกำแพงมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมาจนถึงยุคปัจจุบัน

นอกจากนี้ หลวงพ่อโต๊ะ ยังได้ช่วยพัฒนาวัดอื่นๆ อีกหลายวัด ในเขต อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เช่น สร้างเจดีย์วัดเชียงราก สร้างอุโบสถและวิหารวัดเกาะแก้ว สร้างหลวงพ่อธรรมจักร วัดโพธิ์ลังการ์ ฯลฯ

สำหรับวัตถุมงคลในยุคแรกๆ ท่านได้สร้างตะกรุด ผ้ายันต์ ผ้าประเจียด ภาพถ่ายบูชา ยุคต่อมาท่านได้สร้างพระเครื่องเนื้อดินเผา ซึ่งมีหลายพิมพ์ โดยยึดศิลปะสมัยต่างๆ เช่น พระสามพี่น้อง (สมัยลพบุรี) พระกำแพงเขย่ง (สมัยสุโขทัย) พระหลวงพ่อโต หรือพระสุคโต (สมัยอยุธยา) พระสมเด็จม่านทอง (สมัยรัตนโกสินทร์) ฯลฯ

ในยุคหลังๆ ท่านได้สร้างวัตถุมงคลประเภทโลหะ เช่นเหรียญรุ่นต่างๆ โดยเฉพาะ เหรียญรุ่นแรก ได้จัดสร้างขึ้นเมื่อ ปี ๒๕๑๔ เป็นเหรียญปั๊ม รูปอาร์ม ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อโต๊ะครึ่งองค์ หน้าตรง บนศีรษะของท่านมีรูปพระพุทธเจ้าสถิต อันเป็นเอกลักษณ์ของท่าน ซึ่งท่านถือว่า ตัวท่านเองไม่ได้พิเศษไปกว่าพระพุทธเจ้า รอบๆ องค์ท่านมีอักษรจารึกว่า “รุ่นแรก หลวงพ่อโต๊ะ วัดกำแพง”

ส่วนด้านหลังเป็นยันต์ และอักษรจารึกไว้ว่า “ในงานสร้างศาลา อ.อินท จ.สิงห์บุรี ๒๕๑๔” (สังเกตคำว่า "อ.อินทร์บุรี" ในเหรียญจะเขียนย่อเป็น "อ.อินท")

เหรียญรุ่นแรกนี้สร้างขึ้น ๒ เนื้อ คือ เนื้อทองแดง จำนวน ๒,๕๑๔ เหรียญ และเนื้อเงิน จำนวน ๑๐๐ เหรียญ

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อโต๊ะ มีพุทธคุณยอดเยี่ยมทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เป็นอย่างยิ่ง เคยมีผู้นำไปนำไปทดลองยิงด้วยอาวุธปืนถึง ๒๐ นัด ปรากฏว่าแคล้วคลาด ไม่ถูกเลยสักนัดเดียว นอกจากนี้มีบางรายขับรถยนต์ไปประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน รถยนต์พังยับเยินเป็นเศษเหล็ก แต่ผู้ขับขี่ที่พกพาเหรียญหลวงพ่อโต๊ะ รุ่นแรก ติดตัวไปกลับไม่ได้รับอันตรายใดๆ เลยอย่างเหลือเชื่อ

สนนราคาการเช่าหา เหรียญเนื้อทองแดงเช่าหากันที่หลักหมื่นต้นขึ้นไป เหรียญเนื้อเงินเช่าหากันที่หลักหมื่นกลางขึ้นไป

สมัยที่ หลวงพ่อโต๊ะ ยังมีชีวิตอยู่ มีการสร้างเหรียญรูปเหมือนของท่านแบบปั๊มทั้งหมด ๖ รุ่น เป็นพิมพ์รูปอาร์ม ๒ รุ่น (พ.ศ.๒๕๑๔ และพ.ศ.๒๕๑๙) พิมพ์รูปไข่ ๒ รุ่น (พ.ศ. ๒๕๑๕ และพ.ศ.๒๕๒๑) พิมพ์รูปหยดน้ำ ๑ รุ่น (พ.ศ. ๒๕๑๔) และ พิมพ์กลม ๑ รุ่น (พ.ศ.๒๕๑๙) ทุกรุ่นได้รับความนิยมโดยทั่วไป

สำหรับวัตถุมงคลประเภทโลหะ ที่ไม่ใช่เหรียญ ซึ่งท่านได้สร้างไว้ก็มี เช่น รูปเหมือนขนาดบูชา หน้าตักกว้าง ๕ นิ้ว รูปเหมือนปั๊มลอยองค์ ขนาดห้อยคอ รูปเหมือนฉีดพิมพ์กลีบบัว ฯลฯ

หลวงพ่อโต๊ะ ได้อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของชาวบ้านและศิษยานุศิษย์มาโดยตลอด จนมาถึงบั้นปลายของชีวิต ท่านได้มรณภาพด้วยโรคชรา ที่โรงพยาบาลเปาโล กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๒๕ สิริอายุได้ ๘๖ ปี พรรษา ๖๗

ทางวัดกำแพงได้นำสรีระของหลวงพ่อโต๊ะบรรจุไว้ในหีบแก้ว บนตึกอนุสรณ์ปราการกิตติคุณ โดยสรีระของท่านเป็นอมตะ ไม่เน่าเปื่อยไปตามกาลเวลา ทั้งนี้ เพื่อให้ญาติโยม และผู้ที่เคารพศรัทธาท่านได้มาสักการบูชาขอพร ซึ่งก็มีมาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ตราบจนถึงทุกวันนี้

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top