หัวข้อ: ตำนานแห่งพระท่ากระดานกรุวัดสิงห์ ปทุมธานี
กระทู้ และ ความคิดเห็นต่างๆ
ท่ากระดานกรุวัดสิงห์ เข้าใจว่าสร้างในสมัยอยุธยาปลายลงมาแล้วครับ พิมพ์ทรงและพุทธศิลป์ แตกต่างจาก พระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี ซึ่งสร้างมาแต่ครั้งอู่ทองเป็นอย่างมากครับ ท่ากระดาน กาญจน์ นั้น เป็นศิลปะแบบนูนสูงโดยชัดเจน พระจะตั้งได้เกือบทุกองค์ เนื้อนิ่ม ตะกั่วดำ ลึกชัด ไม่มีสนิมขุมครับ
วัดสิงห์เป็นวัดเก่าแก่ของชาวมอญตั้งแต่สมัยอยุธยาถูกเปิดกรุอย่างไม่เป็นทางการโดยอดีตเจ้าอาวาสและคณะกรรมการเนื่องจากเจดีย์ได้ชำรุดและทรุดตัวลงเมื่อ10กว่าปีที่แล้วพระที่ขุดขึ้นมาได้มีมากมายมหาศาลทำความร่ำรวยให้กับคณะผู้ขุดเจาะเป็นอย่างมากรวมไปถึงขบวนการสวมรอยทำพระเก๊ด้วยถือเป็นตำนานที่คลาสิคที่มีทุกรสชาติทั้งเลห์เลี่ยมกลโกงปลอมแปลงทรยศหักหลังและอาถรรพ์คำสาบที่ทำให้ผู้ร่วมขบวนการมีวิบากกรรมที่แตกต่างกันไป พระที่ขุดเจาะในครั้งนั้นได้พบพระพิมพ์ท่ากระดานขึ้นมาด้วยโดยมีพิมพ์ที่เหมือนกับของทางเมืองกาญกับพิมพ์ที่มีเอกลักษณ์เป็นของทางวัดสิงห์เองโดยที่พระทั้ง2แบบนี้จะมีการแต้มชาดสีแดงที่ตาทั้ง2ข้างทุกองค์พระที่มีพิมพ์เหมือนของเมืองกาญได้ถูกเซียนใหญ่เหมาไปเกือบหมดและไปขายเป็นของเมืองกาญไปส่วนพิมพ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของวัดสิงห์นั้นจะมีเอกลักษณ์ตรงด้านหลังเป็นรอยกาบหมากนอกจากวัดสิงห์แล้วยังมี การค้นพบพระท่ากระดานในวัดบางเตยกลางและอีกหลายที่ที่มีพุทธลักษณะเหมือนกับของทางเมืองกาญทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาในใจว่าแท้ที่จริงแล้วนั้นพระท่ากระดานที่เคยพูดกันว่าคนโน้นสร้างคนนี้สร้างเห็นที่จะไม่ใช่เสียแล้วน่าจะสร้างจากคนมอญซะมากกว่าเพราะในอดีตเมืองกาญก็คือเมืองหน้าด่านที่มีชาวมอญอาศัยอยู่เพื่อคอยเป็นทัพหน้าจนเรียกกันติดปากว่าหัวเมืองรามัญท้ัง7ขณะที่สามโคกที่มีชาวมอญอาศัยอยู่เยอะก็ถือว่าเป็นเมืองหน้าด่านก่อนที่จะเข้ากรุงอโยธยา
**** องค์นี้ถือได้ว่าสวยสมบูรณ์แบบ เพราะส่วนมากองค์พระจะแตกบิ่น ส่วนองค์สวยๆ ก็จะอยู่ในรังเซียนหมด จึงถือได้ว่า นี่คือตำนานแห่งพระท่ากระดาน กรุวัดสิงห์กันเลยทีเดียว หากมีรูปจะนำมาลงให้ดูเพื่อเป็นวิทยาทานครับ
ด้านหลังองค์พระ