หัวข้อ: พระสมเด็จบางขุนพรหมปี 2539 มาศึกษาตัวอย่างของตรายางกัน
กระทู้ และ ความคิดเห็นต่างๆ
พระสมเด็จเด็จบางขุนพรหมปี 2539 ผมก็เพิ่งจะสังเกตุเรื่องของราคาพิมพ์ใหญ่ก็ดี พิมพ์เส้นด้ายก็ดีว่า....ทำไมมีคนตั้งราคาขายกันถูกมาก
เช่น.เริ่มต้นที่ราคา 20 บาท 30 บาท แม้จะปิดที่ราคา 80-100-120-150 สุดแท้แต่ซึ่งคนขายก็ดู happy และมีการนำลงมาขายได้เรื่อยๆ
ไม่มีหมดสต๊อก ทั้งๆที่วัดตั้งราคา 300 บาทต่อองค์
-พฤติกรรมชวนให้สงสัย และก็อดไม่ได้ที่จะต้องซอกแซกค้นหาความจริง เพื่อให้คลายสงสัยเสียที ในที่สุดก็พบเห็นสิ่งผิดปกติก็คือ
ตรายางที่ปั๊มเป็นรูปเจดีย์ไม่เหมือนกับของเราที่บังเอิญมีอยู่ประมาณเกือบ 100 องค์ ที่ว่าบังเอิญนั้นคือไม่ได้ตั้งใจเช่ามาหรอก แต่ถูก
ขอร้องให้ช่วยซื้อขึ้นมานะ ราคาองค์ละ 100 บาท เท่ากับราคาออกวัด เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา มาเข้าเรื่องหัวข้อกระทู้ดีกว่าครับ
สรุปแล้วตรายางรูปเจดีย์ที่พบเห็นของนายคนนั้นๆ..คนขายแบบไม่มีทุนอ่ะ ไม่เหมือนกันจริงๆ
ลองดูรูปภาพพร้อมคำอธิบายน่าจะเข้าใจง่าย
1.ภาพปั๊มตรายางรูปเจดีย์แต่ดั้วเดิม
2.ภาพตัวอย่าง..ตัวบนที่พิมพ์ว่า นิยม และภาพตัวล่าง มีคำอธิบายไว้ใต้ภาพเรียบร้อยแล้วครับ
ภาพขยายใหญ่อีกนิดครับ
-ที่ว่าคนขายถูกนั้นขายอยู่ที่เว็บเพื่อนบ้านครับ
วิธีทำตรายาง http://www.108cards.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=344990&Ntype=3
วิธีทำอาจไม่เหมือนกับการทำตรายางปี 39 แต่หลักการก็เหมือนๆกัน
พูดง่ายๆ คือ
ถ้าตอนที่จ้างเขาทำออกมา 10 อัน ตรายาง 10 อันนั้นก็จะเหมือนกันหมด เข้าใจรึเปล่าครับ
ถ้าไม่เข้าใจเอาแบบไปจ้างร้านแถวบ้านทำตรายางสัก 10 อัน แล้วเอามาปั๊มเทียบดูก็ได้ครับ
*เดี๋ยวนี้ดูเนื้อและพิมพ์ไม่ได้แล้วหรอ อันนี้เก็บไปคิดเอาเอง
ผมขอยกกรณีตัวอย่าง การใช้ชื่อครูบาอาจารย์ เพื่อให้ตัวเองดังแล้วทำวัตถุมงคลขายหาเงินเข้ากลุ่ม
การแอบอ้างพระกรุที่ทางวัดมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย กรณีแบบนี้มีอยู่เยอะแยะ
สุดท้าย ไปเจอมาเลยอยากฝากบทความนี้ไว้เป็นข้อคิด
หน้าที่ของพระสงฆ์ก็คือเป็นผู้นำทางสติปัญญา และจิตวิญญาณ สอนให้ประชาชนยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น แต่ปัจจุบันเมื่อเวลาเปลี่ยนไป พระสงฆ์บางกลุ่มก็เริ่มเข้าใจหน้าที่ของตนผิด คิดว่าหน้าที่ที่สำคัญของตน คือ การหาปัจจัยมาอุดหนุนวัด จึงหันมาทำธุรกิจกันมากขึ้น สะสมเงินทอง เป็นเหตุให้วิถีแห่งพุทธ ที่มุ่งนำสรรพชีวิตให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ถูกแทนที่ด้วย วิถีแห่ง"พุทธพาณิชย์"
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ และประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลัง และนรกสวรรค์อยู่ ประชาชนจำนวนมากยังนิยมไปวัดเพื่อทำบุญ ฟังเทศน์จากพระสงฆ์อยู่ เรียกได้ว่า พระสงฆ์ยังเป็นสถาบันที่ยังได้รับความเคารพจากคนไทยอยู่ แต่พระสงฆ์บางกลุ่มกลับหาประโยชน์จากความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน
พุทธพาณิชย์ที่เห็นจนชินตา คือ ป้ายประกาศแก่พุทธศาสนิกชนว่าจะมีการสร้างวิหาร สร้างโบสถ์ ต้องการปัจจัยสนับสนุน โดยมีสิ่งล่อใจ คือ บอกว่าผู้ทำบุญจะได้ขึ้นสวรรค์ชั้นฟ้า สมปรารถนาในทุกสิ่งอย่าง เทศกาลที่สื่อวิถีพุทธพาณิชย์อย่างเด่นชัด คือ การทอดผ้าป่าที่พบเห็นแทบทุกวัด หาเงินแข่งกันในแต่ละปีแต่ละวัด บางวัดได้เงินทอดผ้าป่าสูงถึงหลักล้าน !
วิถีพุทธพาณิชย์ นอกจากไม่ใช่วิถีทางแห่งปัญญาตามวิถีแห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังเป็นวิถีแห่งกิเลสตัณหา สร้างความโลภทั้งแก่ผู้บอกบุญ และผู้ทำบุญ ที่หว่านพืชเพื่อหวังผลโดยไม่รู้จักจบสิ้น สมมติสงฆ์ ที่พึงเป็นผู้นำทางสติปัญญา ควรยกระดับจิตใจเหล่าพุทธศาสนิกชนให้สูงขึ้น พ้นจากการครอบงำของอำนาจกิเลส กลับพาไปในทางที่ต่ำ มุ่งสร้างความเจริญแต่ด้านถาวรวัตถุ และคิดถึงแต่วิธีหาเงิน พุทธพาณิชย์จึงอุบัติขึ้น เกิดการนำพิธีกรรมทางศาสนามาเป็นเครื่องมือหาเงิน เกิดกิจการขายบุญด้วยวิธีแปลกๆ ใหม่ๆ
นอกจากนี้ วิถีแห่งพุทธพาณิชย์ที่พบเห็นได้ คือ การขายของในวัดด้วยราคาที่สูงลิบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องรางของขลังต่างๆที่พยายามปลุกเสกให้มีหลายรุ่น หลายแบบออกมา ยิ่งตั้งราคาแพงก็ยิ่งมีคุณสมบัติมาก ใครอยากได้คุณสมบัติพร้อมมากน้อยแค่ไหน ก็ต้องเตรียมเงินเข้าไปในวัดมากขึ้นเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น จตุคามรามเทพที่ช่วงหนึ่งปลุกเสกกันออกมาไม่หยุดหย่อน จนสุดท้ายต้องจบลงตรงที่ขายองค์ละไม่กี่สิบที่บาทวิถีแถบท่าช้าง
นอกจากเครื่องรางของขลังแล้ว ก็ยังมีธูปเทียน น้ำมัน พวงมาลัย รวมไปถึงกล่องบริจาคต่างๆที่อยู่ในวัดที่ตั้งราคาสูง ค้ากำไรเกินควรจากพุทธศาสนิกชน ขายเป็นชุดๆ ราคาต่อชุดก็หลายสิบมากกว่าข้าวจานหนึ่งเสียอีก ส่วนกล่องบริจาคตามวัดก็มีการสนับสนุนคนรวย สอนอย่างผิดหลักพระพุทธศาสนาว่าเมื่อทำบุญมากก็จะได้รวยมากขึ้น นำศาสนาไปติดยึดกับระบบทุนนิยม บริโภคนิยม นั่นคือพุทธศาสนาในปัจจุบันที่เห็นความสำคัญของวัตถุมากกว่าจิตใจ
การทำบุญเป็นตัวเงินหมายความว่า เงินนั้นคือทรัพย์สมบัติของเรา ซึ่งเก็บไว้แลกเปลี่ยนสินค้าและเปลี่ยนเครื่องช่วยชีวิต คนที่จะทำบุญอันใดอันหนึ่งจึงขึ้นอยู่กับความสามารถที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นในคำสอนของพระพุทธองค์ที่เรายอมรับกันในศาสนาก็คือ เราถือเอาจิตใจที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นในการให้ทาน ไม่ใช่ว่าทำไปเพื่อจะได้ผลย้อนกลับมา
พุทธพาณิชย์เป็นการสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้กับวัดหรือพระสงฆ์บางรูปที่หวังผลกำไรจากความเชื่อซึ่งนับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะหันหน้าไปทางวัดไหนก็มีแต่วัดที่เริ่มยึดหลักพุทธพาณิชย์มากกว่าหลักศาสนา
กุศโลบายที่จะให้คนเข้าถึงศาสนานั้น แม้จะมีหลากวิธี แต่ทุกวิธีต้องไม่ทำให้คนลุ่มหลงงมงาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์เครื่องรางของขลัง หรือยึดถือวัตถุสิ่งก่อสร้างเป็นสรณะซึ่งไม่ใช่หนทางแห่งความหลุดพ้น สังสารวัฏ เมื่อคิดได้อย่างนี้แล้ว ก็ย่อมเห็นว่าพุทธพาณิชย์ไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา
คงต้องรอให้วันที่แสงแห่งดวงปัญญาสว่างไสว เมื่อถึงวันนั้นผู้ลุ่มหลงในพุทธพาณิชย์...ก็คงจะได้เห็นว่าเดินผิดทางแห่ง พุทธศาสนาไปไกลแค่ไหน !...
ส่วนตัวคิดว่าการทำบุญ ขอแค่เราอยากจะทำ
ไม่ว่าจะโดนเขาหลอกก็ได้บุญ
เมื่อเดือนที่แล้วผมเพิ่มไปทำบุญที่วัดบางขุนพรหมมาครับ เลยอยากจะนำข้อเท็จจริงมาเล่าสู่กันฟัง กับเพื่อนสมาชิก
ให้ทราบถึงความจริงเกี่ยวกับตรายางปี 39 ครับ ลองเข้าไปดูตามลิงค์ด้านล่างนะครับ
http://www2.g-pra.com/webboard/show.php?Category=real_amulets&No=307682
กรณีนี้ผมว่า เมือเวลาผ่านไป ตรายางเลือนรางไป คุณก็แยกไม่ออกอยู่ดี เพราะฉะนั้นอย่าไปสนใจเลยครับ
พิมพ์ทรง เนื้อหาแท้ ก็คือ แท้
เนื่องจากตรายางขำรุด โดนหนูแทะทางวัดจึงทำตรายางใหม่ขึ้นแทนของเดิมครับ
ขอบคุณเจ้าของภาพครับ
ตรายางเก่าซึ่งถูกหนูกัดขำรุดและถูกเลิกใช้ประทับตรา ทางวัดทำของใหม่ขึ้นมาแทน
คุณคุณเจ้าของภาพ
นักสะสมรุ่นใหม่ๆจะได้ไม่รับข้อมูลที่ผิดๆ จากการจินตราการของผู้สะสมที่คิดไปต่านๆนาๆ ซึ่งทำให้ทางวัดเสื่อมเสีย ชื่อเสียง เรื่องจริงจะปรากฎตามหลักฐานต่างๆ
ตรายางเก่าที่ชำรุดและเลิกใช้
สงสัย สอบถามทางวัดครับ หลักฐานต่างๆ วัดมีไว้ชี้แจงให้หายสงสัย