หัวข้อ: วิธีดูเขี้ยวเสือแบบเบื้องต้น
กระทู้ และ ความคิดเห็นต่างๆ
เราสมาชิกเว็ปเดียวกัน ก็เหมือนพี่น้องผองเพื่อน รู้อะไรก็ต้องรู้ด้วยกัน ด้วยความเคารพ หวังว่าคงเป็นประโยชน์
ตอนที่1 http://www.thaipra.com/article_detail.php?a_id=31&a_cate=0
ตอนที่ 2 http://www.thaipra.com/article_detail.php?a_id=32&a_cate=0
ขอบคุณสำหรับกระทู้ดีๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิก
แต่หากเป็นไปได้อยากจะขอความร่วมมือเพิ่มเติม โดยการโพสภาพดังกล่าวทั้งหมด และลงลิ้งค์ให้เครดิตที่มา
แต่หากไม่สะดวก ก็อยากให้โพส สักภาพสองภาพ เพื่อเป็นการบ่งบอกข้อมูลลิ้งค์ดังกล่าวครับ
( ที่อยากให้ลงภาพ เพราะว่า กรณี ลิ้งค์ดังกล่าวเสียหรือภาพหายไป อย่างน้อยข้อมูลดีๆก็ยังอยู่ในเว็บ ให้เพื่อนสมาชิกได้ศึกษา )
รับทราบครับ
เสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (ตอนที่ 1)
เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน... ดูไม่ดี เจอเก๊เป็นฝูง
ไม่ใช่เขี้ยว แต่เป็นกระดูกอะไรไม่รู้... เครื่องรางของขลัง ชิ้นเอก ที่จะกล่าวถึง อยู่ในอันดับต้นของวงการ นั่นคือ “เสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย”
เครื่องรางของขลัง ได้รับความนิยมสูงมากในช่วงปัจจุบัน มีหนังสือเครื่องรางดีๆ ออกมาหลายเล่ม มีคนสนใจซื้อหาสะสมเครื่องรางจำนวนมาก ส่งผลให้ของแท้ของเก๊ปะปนกันคึกคัก โดยเฉพาะเครื่องรางของขลังชั้นสูง ยุคเก่า อาจารย์ดังสร้าง ราคาว่ากันเป็นแสนๆ ถึงหลักล้าน ของปลอมหลอกต้มด้วยการผลิตเลียนแบบเนี้ยบสุดโหด
เสือปลอมทำออกมานานแล้ว มีทั้งประเภทใช้เรซิ่นหล่อ แกะใหม่จากกระดูก และแกะเขี้ยวขึ้นมาใหม่ทั้งตัว นำไปคั่วไฟให้เข้ม ขัดแล้วย้อมด้วยเคมีให้ดูฉ่ำ สำหรับรอยจารขยุกขยิก ไม่ชำนาญก็อาจดูไม่ออก...
ไม่กี่ปีก่อน เคยมีนักสะสมชะล่าใจ เหมาเสือทั้งฝูง ปรากฏว่าเจอเก๊ยกฝูงก็เคยมีมาแล้ว ของแท้มีน้อยครับ เอาชัวร์ๆ ก็ต้องผ่านกันหลายตา แต่ถ้าชื่นชอบส่วนตัว ไม่สนตาชาวบ้าน ก็ตัวใครตัวมัน...
ลองมาเรียนรู้ วิธีดู “เสือ หลวงพ่อปาน” ขั้นเบสิค กันสักนิดครับ...
ยุคสมัยของหลวงพ่อปาน อยู่ในช่วงระหว่างปี 2411-2453 เป็นช่วงที่ท่านเป็นอาจารย์สอนวิปัสสนา ออกธุดงค์ เป็นพระอธิการวัดบางเหี้ย เป็นพระครูพิพัฒนนิสิรธกิจ จนกระทั่งถึงกาลมรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อปี 2453 (ประมาณอายุ 75-80 ปี)
เครื่องรางของขลัง ที่หลวงพ่อปานสร้างไว้ ล้วนเป็นที่ต้องการของนักเล่นเครื่องราง ไม่ว่าจะเป็นตะกรุด ผ้ายันต์ ฯลฯ และเหนืออื่นใด อันถือเป็นราชันย์แห่งเครื่องรางของขลัง มีราคาสูงที่สุด ก็คือ เครื่องรางฯ ที่แกะจากเขี้ยวเสือ เป็นรูปเสือขนาดต่างๆ
“เสือ หลวงพ่อปาน” เป็นเสือแกะขึ้นจากเขี้ยวเสือด้วยฝีมือเรียบง่าย แต่มีเอกลักษณ์เชิงช่างอยู่ในตัวเอง มีคุณค่าทางศิลปะ ผ่านการปลุกเสกด้วยวิชาเฉพาะของหลวงพ่อปานจนเสือสามารถเคลื่อนไหวลุกนั่งได้ทุกตัว ทำให้เสือเจ้าป่ามีตบะเดชะมหาอำนาจสูงมาก
เสือ หลวงพ่อปาน แบบมาตรฐาน จะต้องอยู่ในรูปฟอร์ม เสือหน้าแมว นั่งชันขาหน้า หางม้วนรอบฐาน หรือม้วนพาดขึ้นหลัง มีทั้งเสือหุบปากและเสืออ้าปาก นิ้วเท้าแต่ละเท้ามี 4 นิ้ว (3 นิ้วก็มีแต่น้อย) ใต้ฐานจารยันต์กอหญ้า(เส้นวนๆ) รอตัวจารอักขระยันต์คล้ายเลขไทย ๓ และเลข ๗ รอยจารเฉียงๆ แหลมๆ ดูคล้ายลายเสือ
เอกลักษณ์เสือหลวงพ่อปาน โดยรวมสามารถร้อยเป็นวลีได้ว่า
“เสือหน้าแมว หูหนู ตาลูกเต๋า ยันต์กอหญ้า”
(ติดตามตอนต่อไป... จุดสำคัญในการ “ดู” เสือ ลพ.ปาน)
เสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (ตอนที่ 2)
ราชันย์แห่งเขี้ยว... เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย จุดสังเกตวิธี ดู เขี้ยวเสือของแท้ ดังได้กล่าวมาจากตอนที่แล้วว่า เสือหลวงพ่อปาน แกะจากเขี้ยวเสือของแท้ ได้รับความนิยมสูงมากในระดับราชันย์แห่งเขี้ยว เป็นหนึ่งไม่มีสองตลอดกาล เสือฟอร์มปึ้ก เก่าแท้ดูง่าย มีราคาสูงถึงหลักล้าน... ด้วยเหตุนี้เขี้ยวปลอมๆ จึงระบาดหนักเป็นเวลานานมากแล้ว ลองมาศึกษาการ “ดู” เสือหลวงพ่อปาน เป็นเบสิคพื้นฐานกันดีกว่า (ข้อมูลพื้นฐานใช้ดูเบื้องต้น แต่หากต้องซื้อหาในราคาสูง ควรพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญที่มีชั่วโมงบินสูง ผู้ที่เคยเห็นของแท้มาแล้วจำนวนมากพอ)
- 2. เขี้ยวเสือที่นำมาแกะจะมีทั้งเขี้ยวเต็มอัน และเขี้ยวครึ่งซีก(เรียกว่า เขี้ยวซีก) เขี้ยวเต็มอันจะมีรูกลมตรงกลางผ่านตลอดจากบนลงล่าง “มีรอยแตกอ้า” ส่วนเขี้ยวครึ่งซีกไม่มีรอยแตกอ้า ด้านหนึ่งต้องมีสีอ่อน อีกด้านมีสีแก่ ด้านที่มีสีอ่อนคือด้านแกนในของเขี้ยว ด้านที่มีสีแก่คือด้านนอกของเขี้ยว เขี้ยวซีกต้องมีมีอ่อนแก่จะมีสีเดียวกันทั้งอันไม่ได้
- 3. ความเก่าพิจารณาจากความฉ่ำและคราบผิวของเนื้อเขี้ยว ถ้าผ่านการใช้ไม่มากผิวจะแห้งเก่าไม่ตึงเรียบ แต่ส่วนใหญ่มักผ่านการใช้จนผิวฉ่ำเพราะสัมผัสเหงื่อ ความชื้นและความมันของร่างกายคนเรา เนื้อเขี้ยวจึงดู “ฉ่ำ” คล้ายเนื้อสับปะรดหรือเทียนไข เนื้อมีสีอ่อน/แก่ เป็นธรรมชาติ มีลายในเนื้อ และมีรอยแตกรานเล็กๆ เป็นกลุ่มเพราะการแห้งหดตัว
- 4. รอยจาร เป็นจุดสำคัญที่ใช้พิจารณา ลักษณะเป็นการจารหวัดๆ ไม่พิถีพิถัน เส้นคมเล็กบางไม่เท่ากัน จารเป็นขีดๆ แบบลายเสือ และจารอักขระยันต์คล้ายเลขเจ็ดไทย(๗) หรือเลขเก้าไทย(๙) ลายมือจารเอียงๆ แหลมๆ ส่วนใหญ่จะเห็นชัดบริเวณลำตัว สะโพก ขาหน้า
- 5. รอยจารใต้ฐาน เรียกว่า “ยันต์กอหญ้า” ลักษณะเป็นยันต์กลมรี วนไปมาเป็นก้อนกลมซ้อนกันหลายวง และยังมีตัว ฤ ฦ ตัวอุ รอยเส้นจารต้องเป็นรอยเก่า เส้นมนๆ ขอบร่องเส้นไม่คมชัดอย่างรอยจารใหม่
อ้างอิงจาก :http://www.thaipra.com/article_detail.php?a_id=32&a_cate=0