หัวข้อ: พระพุทธชินสีห์ ทนฺโต เสฏฺโฐ ปี 2533 พระรุ่นเดียวที่มีผงพระทน ต์ของในหลวง และ ผงจิตรลดา (รัชกาลที่ ๙)
กระทู้ และ ความคิดเห็นต่างๆ
พระพุทธชินสีห์ ทนฺโต เสฏฺโฐ ปี 2533 พระรุ่นเดียวที่มีผงพระทนต์ของในหลวง และ ผงจิตรลดา (รัชกาลที่ ๙)
เนื่องในศุภวาระครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาคณะทัตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะเวียนมาถึงในวันที่ 16 พฤษภาคม 2533 คณะ ฯ ได้ดำเนินการจัดสร้างพระบูชา พระกริ่ง และพระผงพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร.ขึ้น เพื่อเป็นการรวมศรัทธาของทันตแพทย์และประชาชนชาวไทยผู้ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา และจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๙)
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๙)ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผงจิตรลดา และในการนี้คณะฯ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระทนต์ของพระองค์ ตลอดจนวัสดุต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องในการรักษาพระทนต์ มาเป็นองค์ประกอบหลักขององค์พระ อีกทั้งยังได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไชยย่อ ภ.ป.ร. มาประดิษฐานในองค์พระที่จัดสร้างอีกด้วย
* วัตถุประสงค์
การจัดสร้างพระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.เป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณาจารย์ศิษย์เก่า นิสิตปัจจุบัน ทันตแพทย์ทั่วไป ตลอดจนประชาชนชาวไทยจะได้มีโอกาสมีไว้สักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลอันสูงสุด
2.หารายได้สมทบทุนสร้างตึกอนุสรณ์ 50 ปี คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และจัดตั้งกองทุนสำหรับใช้จ่ายในการพัฒนาการศึกษาด้านทันตแพทยศาสตร์ ในโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบริการประชาชนด้านทันตสาธารณสุข
3.สร้างความสามัคคีระหว่างทันตแพทย์ ทั้งคณาจารย์ศิษย์เก่าและนิสิตปัจจุบัน ในการร่วมแรงร่วมใจกันทำโครงการนี้ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณของคณะฯ
* พระผงพิมพ์ใหญ่และพระผงพิมพ์เล็ก พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร.
รูปแบบเหมือนกันกล่าวคือ จำลองเป็นรูปพระพุทธชินสีห์อยู่ภายในครอบแก้วมัดหวายผ่าซีก ที่บริเวณฐานด้านหน้ามีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ส่วนด้านหลังเป็นลายพระหัตถ์พระนามย่อ ญ.ส.ส. และ ทนฺโต เสฎฺโฐ ตัวจม มีพลอยสีแดงฝังอยู่เห็นได้ชัดเจน
- ขนาดพิมพ์ใหญ่ กว้าง 23.5 ม.ม. สูง 33.5 ม.ม. หนา 4.9 ม.ม.
- ขนาดพิมพ์เล็ก กว้าง 17.2 ม.ม. สูง 24.9 ม.ม. หนา 3.9 ม.ม.
จำนวนการจัดสร้าง พิมพ์ใหญ่ 63,000 องค์
จำนวนการจัดสร้าง พิมพ์เล็ก 21,000 องค์
* พิธีทำสารละลายพระบรมทนต์
พิธีนี้เป็นพิธีที่จัดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่จะพยายามกระจายทุกอณูของชิ้นส่วนพระทนต์ของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๙)ให้ถ่ายทอดไปยังพระทุกองค์ที่จัดสร้าง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ (เจริญ พระสังฆราชองค์ที่ 19) ทรงเป็นประธานในพิธี ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษจิกายน 2532 ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สารละลายพระบรมทนต์ ดังกล่าวได้ถูกนำมาผสมกับผงพุทธคุณทั้งมวลทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วนำมาผสมกับมวลสารอื่น ๆ ดังนั้นย่อมเป็นที่แน่ใจได้ว่า พระที่จัดสร้างทุกองค์ จะมีอณูของชิ้นส่วนพระทนต์อยู่ เพื่อคงไว้ซึ่งความศรัทธาและความศักดิ์สิทธิ์
* พิธีเททอง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานหล่อพระบูชาและพระกริ่ง เมื่อวันพุธที่ 31 มกราคม 2533
* พิธีมหาพุทธาภิเษก
พิธีมหาพุทธาภิเษกถือเป็นพิธีสำคัญมากในการจัดสร้างพระ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงพระเมตตารับเป็นประธานในพิธี และทรงประทานฤกษ์ในวันเสาร์ที่ 14 เมษายน 2533 เวลา 14 นาฬิกา 19 นาที เป็นฤกษ์จุดเทียนชัย การจัดพิธีได้รับความร่วมมือจากกองพิธีการสำนักพระราชวังและที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์
พิธีการจัดทำในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธชินสีห์เสมือนหนึ่งเป็นองค์ประธานในการนั่งปรก โดยมีพระคณาจารย์ทั่วทุกภาครวมถึง 54 รูป ร่วมนั่งปรกในครั้งนี้
รายนามพระเถระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก
1.สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
2.พระอุดมสังวรเถร(อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
3.พระญาณสิทธาจารย์ (สิงห์, หลวงพ่อเมตตาหลวง) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
4.พระภาวนาวิสุทธิคุณ (จรัล) วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
5.พระภาวนาโกศลเถร วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
6.พระราชพุธิรังษี (วิเชียร) วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี
7.พระราชสุพรรณาภรณ์ วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
8.พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (ดี) วัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี
9.พระครูปลัดพรหม วัดขนอนเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา
10.พระครูศรีฉพังคสังวร (เริ่ม) วัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี
11.พระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ (หนู) วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
12.พระครูสมุห์อวยพร (มาแทนหลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
13.พระสำอางค์ อนาลโย (มาแทนหลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ จ.นครปฐม
14.พระครูเกษมนวกิจ (เต้า) วัดเกาะวังไทร จ.นครปฐม
15.พระครูศีลคุณากร (ดวงจันทร์) วัดเม็งรายมหาราช จ.เชียงราย
16.พระครูสมุทรวิจารณ์ (คลี่) วัดประชาโฆสิตาราม จ.สมุทรสงคราม
17.พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม
18.พระครูอุดมโชติวัฒน์ (อรรถ) วัดองครักษ์ จ.สุพรรณบุรี
19.พระครูญาณปรีชา (เหรียญ) วัดอรัญญบรรพต จ.หนองคาย
20.พระครูนิยุธรรมวิถี (แบน) วัดส้มเลี่ยว จ.นครสวรรค์
21.พระมหาพิบูลย์ พุทธญาโณ วัดโพธิคุณ จ.ตาก
22.พระมหาถาวร จิตตถาวโร วัดปทุมวนาราม กทม.
23.พระอาจารย์แว่น ธมมปาโล วัดถ้ำพระสบาย จ.ลำปาง
24.พระวิสุทธาจารคุณ (หลวงพ่อเกตุ) วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์
25.พระครูพิศาลปัญโญภาส (คำดี) วัดป่าอรัญญิกาวาส จ.นครพนม
26.พระอาจารย์วิโรจน์ ฐานวโร วัดห้วยเกษียรใหญ่ (ถ้ำพุทธาจาโร) จ.ปราจีนบุรี
27.พระอธิการยิด จนทสุวณโณ วัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์
28.พระครูรักขิตสีคุณ (ณรงค์ชัย) วัดป่าทรงคุณ จ.ปราจีนบุรี
29.พระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง) วัดป่ามะไฟ จ.ปราจีนบุรี
30.พระอาจารย์สงัด กมโล สำนักสงฆ์เกษตร จ.นครราชสีมา
31.พระราชญาณดิลก วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กทม.
32.พระครูกาญจโนปมคุณ (ลำไย) วัดทุ่งลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี
33.พระครูนนทสิทธิการ วัดไทรน้อย จ.นนทบุรี
34.พระครูฐิติธรรมญาณ (ลี) วัดเหวลึก จ.สกลนคร
35.พระครูวิบูลศีลวัตร (ช้วน) วัดหนังราชวรวิหาร กทม.
36.หลวงปู่วัย จตตาลโย วัดเขาพนมยงค์ จ.สระบุรี
37.พระอาจารย์สุภาพ ธรรมปญโญ วัดทุ่งสว่าง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
38.พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
39.พระอาจารย์บุญรัตน์ กนตจาโร วัดโขงขาว จ.เชียงใหม่
40.พระครูสิริธรรมรัต (หร่ำ) วัดสามัคคีธรรม เขตบางกะปิ กทม.
41.พระครูสิริปุญญาทร วัดตูม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
42.พระอาจารย์หลวง กตปุญโญ วัดสำราญนิวาส อ.เกาะคา จ.ลำปาง
43.หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร
44.พระครูสุวรรณธรรมโชติ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
45.หลวงปู่สุพรรณ อินทวังโส วัดป่าประชานิมิตร จ.อุดรธานี
46.พระสุทธิธรรมาจารย์ (คอน) วัดชัยพฤกษมาลา กทม.
47.พระอาจารย์กิมเส้ง ฐิตธัมโม สำนักโอภาสี กทม.
48.พระครูสุวรรณสิทธิ์ (ฤาษีลิงขาว) วักฤกษ์บุญมี จ.สุพรรณบุรี
50.พระครูวรเวทย์โกวิท วัดเลียบ จ.สุพรรณบุรี
51.พระอาจารย์เผย วิริโย วัดถ้ำผาปู จ.เลย
52.พระอาจารย์ณรงค์ วฑฒโน วัดถ้ำผาปู จ.เลย
53.พระครูวิจิตรนวการ วัดโคนอน กทม.
* รายนามพระเถระคณาจารย์ที่ร่วมเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีมหาพุทธาภิเษก
1.สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม.
2.สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.
3.พระพรหมคุณาภรณ์ วัดสระเกศ กทม.
4.พระธรรมวโรดม วัดชนะสงคราม กทม.
5.พระอุดมญาณโมลี วัดสัมพันธวงศ์ กทม.
6.พระสุธรรมาธิบดี วัดราชาธิวาสวิหาร กทม.
7.พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
8.พระเทพวราจารย์ วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
9.พระมงคลรัตนมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
พระมหานายก วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
* รายนามพระสงฆ์ผู้สวดภาณวารในพิธีมหาพุทธาภิเษก
เวลา 14.30 น.
1.พระครูประสิทธิพุทธมนต์
2.พระมหาถาวร
3.พระมหาจิรพล
4.พระมหาวงศ์ไทย
เวลา 16.00 น.
1.พระเสน่ห์
2.พระมหานิรันดร
3.พระมหาฉลอง
4.พระมหาเพชร
คัดลอกข้อความจากหนังสือโบชัวร์ พระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร.คณะทัตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอบคุณข้อมูลดีๆเป็นความรู้ใหม่ครับ +๑