ประมูล หมวด:วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร
พระพุทธนราวันตบพิธ ภปร. ปี 2542
ชื่อพระเครื่อง | พระพุทธนราวันตบพิธ ภปร. ปี 2542 |
---|---|
รายละเอียด | เป็นพระเครื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้ประชาชนซึ่งเป็นพสกนิกรของพระองค์ได้มีไว้เป็น สายใยกับพระองค์ท่าน เพราะมี มวลสารสำคัญ คือเส้นพระเจ้า (พระเกศา) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในมวลสารองค์พระด้วย ในวาระอันเป็นมิ่งมงคลสมัยอย่างยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระ ชนมพรรษา 72 พรรษา ปี 2542 ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระพุทธนราวันตบพิธขึ้น เนื่องจากพระองค์ทรงทราบว่า พระสมเด็จจิตรดาที่ทรงสร้างด้วยพระองค์เอง มีผู้ต้องการและเสาะแสวงหากันมาก เมื่อมีโอกาสที่เหมาะสมจึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างพระสำหรับพสกนิกรผู้จงรักภักดีของพระองค์ท่าน โดยให้เป็นพระที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ใครๆ ก็สามารถบูชาได้ เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงผนวช เมื่อปี พ.ศ.2499 ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และเสด็จมาประทับ ณ พระปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงสถาปนาพระพุทธปฏิมาประจำพระองค์ไว้ในพระบวรพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ถวายพระนามพระพุทธปฏิมานี้ว่า "พระพุทธนราวันตบพิธ" ได้เชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ พระปั้นหยาเป็นพระราชกุศลสืบไป พุทธลักษณะ องค์พระพุทธนราวันตบพิธเป็นพระยืนยกพระหัตถ์ทั้งสอง ปางห้ามสมุทร อันเป็นพระประจำพระชนมวาร คือ วันจันทร์ ประทับยืนบนฐานกลมบัวคว่ำบัวหงายบนตั่งแข้งสิงห์เหนือหน้ากระดาน และมีฐานภัทรบิฐ สัญลักษณ์ประจำพระองค์รองอีกชั้นหนึ่ง ความสูงถึงสุดพระรัศมี 36.5 เซนติเมตร ลงรักปิดทองตลอดทั้งองค์พระและฐาน คณะกรรมการจัดสร้าง ขณะนั้น คือ พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ องค์มนตรี เป็นประธานกรรมการอำนวยการ และนายวัลลภ เจียรวนนท์ กรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นกรรมการดำเนินงาน เพื่อเป็นอนุสรณ์ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระ ชนมพรรษา 72 พรรษา และเพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา เมื่อนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระพิมพ์เป็นพระเนื้อผง จากต้นแบบพระพุทธนราวันตบพิธพระพุทธรูปฉลองพระองค์ ประการสำคัญที่สุดได้พระราชทานมวลสารส่วนพระองค์ โดยเฉพาะเส้นพระเจ้า (เส้นพระเกศาของพระองค์) ให้นำมาผสมในเนื้อพระ เพื่อให้พสกนิกรได้อยู่ใกล้ชิดพระองค์ตลอดไป เป็นพระประทับยืนยกพระหัตถ์สองข้างบนพื้นที่ทำเป็นรูป ซุ้มโค้งแหลม สูง 3.2 เซนติเมตร ประดิษฐานตราสัญลักษณ์เฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา เนื้อหามวลสาร นอกจากเส้นพระเจ้า ผงจิตรลดา และ มวลสารส่วนพระองค์ แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังพระราชทานมวลสารมหามงคลอีกประการหนึ่งคือ พระจีวรที่พระองค์ครองคราวเสด็จออกผนวช เมื่อปี พ.ศ.2499 นอกจากนั้น คณะกรรมการยังได้รวบรวมมวลสารจากพระธาตุสำคัญทุกปีเกิด จากวัดสำคัญ 143 วัดทั่วประเทศ สถานที่สำคัญอันได้แก่ ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ในอินเดียและศรีลังกา นอกจากนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ก็ได้ทรงพระราชทานมวลสารพุทธมงคลสำคัญมาร่วมสร้างพระพิมพ์พระพุทธนราวันตบพิธ อีกจำนวนมาก สำหรับการผสมมวลสารมหามงคลพระราชทานนั้น อาจารย์อนันต์ สวัสดิ์สวนีย์ ซึ่งเป็นนายช่างแห่งกองช่างสิบหมู่ กรมศิลปกร ได้นำมวลสารมหามงคลทั้ง 3 ประการ มาซอยและย่อยให้เป็นผงละเอียดยิบ เพื่อจะได้ผสมมวลสารอย่างอื่นอย่างทั่วถึง เพราะฉะนั้นประชาชนทุกท่านมีสิทธิ์ได้รับมวลสารมหามงคลอย่างถ้วนทั่วกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกรู สมัยดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2542 โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงมอบให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์และจุดเทียนชัย มีพระเถระและพระคณาจารย์ รวม 72 รูปทั่วประเทศ อาทิ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต หนองคาย หลวงปู่ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน เลย หลวงพ่อพวง สุวีโร วัดป่าปูลู สกลนคร หลวงพ่อบุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม ขอนแก่น หลวงปู่หงส์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี สุรินทร์ หลวงพ่อม่วง วัดยางงาม ราชบุรี หลวงปู่ทิม วัดพระขาว พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ ด้วยเหตุทั้งหมดนี้ พระอีกรุ่นที่ พิธีดี มวลสารดี อนาคตดีแน่นอน และที่สำคัญ ได้สิ่งอันเป็นมงคลอย่างสูง (เส้นพระเกศา) มาเป็นสิริมงคลให้กับตัวเอง และทุกคนในบ้าน จนบางท่านพูดไว้ว่า ใช้พระรุ่นนี้เปรียบเสมือนได้ใกล้ชิดองค์ในหลวง จุดสังเกตุพระแท้ พิมพ์ต้องคมชัด ไม่เบลอ ทั้งด้านหน้าและหลังองค์พระ เนื้อสีน้ำตาล ถึงน้ำตาลเข้ม มีมวลสารปรากฎชัดเจนทุกองค์ และหลังกล่องต้องมียี่ห้อของกล่องเดิม "PRECIOUS BOX 5322215 (7สาย) |
ราคาเปิดประมูล | 400 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 450 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | อ. - 09 ม.ค. 2561 - 20:58.49 |
วันปิดประมูล | พ. - 17 ม.ค. 2561 - 14:51.17 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...