เหรียญหล่อมังกรคู่แปะโรงสี เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง อาแปะโง้วกิมโคย พ.ศ.2523 - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคกลางตอนล่าง

เหรียญหล่อมังกรคู่แปะโรงสี เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง อาแปะโง้วกิมโคย พ.ศ.2523

เหรียญหล่อมังกรคู่แปะโรงสี เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง อาแปะโง้วกิมโคย พ.ศ.2523 เหรียญหล่อมังกรคู่แปะโรงสี เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง อาแปะโง้วกิมโคย พ.ศ.2523 เหรียญหล่อมังกรคู่แปะโรงสี เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง อาแปะโง้วกิมโคย พ.ศ.2523
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหล่อมังกรคู่แปะโรงสี เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง อาแปะโง้วกิมโคย พ.ศ.2523
รายละเอียดเหรียญหล่อ มังกรคู่เนื้อทองแดง อาจารย์แปะโรงสี ( อาจารย์โง้วกิมโคย) วัดศาลเจ้า ปทุมธานี สภาพสวย คม ลึก และชัดเจน
ว่ากันว่าเป็นวัตถุมงคลที่ช่วยเสริมดวงชะตามีเมตตาช่วยเกื้อหนุนการค้าการขาย น่ามีไว้ใช้พึ่งพาพุทธคุณที่สุดในยุคยามนี้ จัดสร้างเมื่อ วันที่ 9 ส.ค.23 ฉลองตอนที่ท่านมีอายุได้ 83 ปี ปัจจุบันเริ่มจะหาได้ยากขึ้นเพราะเป็นวัตถุมงคลที่ผู้คนนิยมแสวงหากันมากและหายากอันดับต้นๆของท่านมีประสบการณ์ดีน่าใช้บูชามากครับ อาจารย์แปะโรงสี หรือ นายกิมโคย แซ่โง้ว เกิดที่ประเทศจีน ตำบลเท้งไฮ้ ได้เข้ามาประเทศไทย ตั้งแต่เด็ก อายุประมาณ ๑๐ ปี เมื่อเติบโตพอที่จะประกอบอาชีพ ก็ได้รับจ้างทั่วไป รวมทั้งค้าข้าวเปลือก กิจการค้าข้าวเปลือกดีขึ้น จึงได้ร่วมหุ้นทำกิจการโรงสีข้าว ที่ปากคลองบางโพธิ์ล่าง ปัจจุบัน คือ ต.บางเดื่อ จ.ปทุมธานี เมื่ออายุประมาณ ๒๒ ปี ได้สมรสกับ นางนวลศรี เอี่ยมเข่ง มีบุตรด้วยกัน ๑๐ คน พร้อมทั้งได้ย้ายมาประกอบกิจการโรงสีไฟของตนเอง ที่ปากคลองเชียงราก เยื้องวัดศาลเจ้า โรงสีตั้งอยู่บน ต.บางกะดี ชื่อ “โรงสีไฟทองศิริ” และได้โอนสัญชาติไทย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น นายนที ทองศิริ กิจการโรงสีดีขึ้น และมั่นคงขึ้นมาก จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เรียกขานนามท่านว่า “เถ้าแก่กิมโคย” หรือ “แปะกิมโคย” แม้ว่าท่านจะเป็นคนจีนดั้งเดิมแต่ท่านก็ชอบกินหมากพลู เช่นชาวไทยทั่วไป ในยุคนั้น หน้าวัดศาลเจ้า ริมแม่น้ำเจ้าพระยา กระแสน้ำเชี่ยว และเป็นวังวน มีศาลเจ้าไม้เล็กๆ อยู่ (ตามประวัติศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ศาลเจ้าพ่อปู่” ชาวจีนเรียกว่า “ปึงเถ่ากงม่า” เมื่อท่านมีเวลาจะมาบูรณะ และคลุกคลีอยู่ที่ศาลเจ้าเป็นประจำ เนื่องจากท่านเป็นคนชอบช่วยเหลือคน ชอบทักทาย และชี้แนะให้ทุกคนประกอบแต่ความดี เป็นที่เคารพและศรัทธาของผู้คนทั่วไป ในช่วงนั้นการคมนาคมยังไม่สะดวก ส่วนใหญ่การเดินทางจะเป็นทางน้ำ การบูรณะศาลเจ้าพ่อศาลเจ้าจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ท่านก็ได้ดำเนินการอย่างไม่หยุดหย่อน และได้ใช้การพายเรือไปช่วยเหลือผู้คนตามสถานที่ต่างๆ จึงมีผู้มีจิตศรัทธาช่วยท่านให้สามารถบูรณะศาลเจ้าพ่อศาลเจ้าไม้เล็กๆ ริมน้ำมาเป็นศาลเจ้าที่เป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่ได้ นอกจากการบูรณะศาลเจ้าแล้ว ท่านยังเป็นผู้กำหนดวันในการจัดงานประจำปีของศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า เป็นวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑ ถึงวันขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๑ รวม ๔ วัน ๔ คืน ซึ่งทางชาวจีนเรียกช่วงนี้ว่า “เจียง่วย ชิวโหงว” ถึง “เจียง่วย ชิวโป้ย” โดยถือเป็นประเพณีตลอดมา ในการจัดงานประจำปี บางปีจะมีลมฝนมืดครึ้ม คาดคะเนกันว่า จะมีพายุใหญ่ ท่านจะจุดธูปเพื่อปัดเป่าลมฝนไป ซึ่งฝนก็จะไม่ตก ท้องฟ้าแจ่มใส ผู้คนที่พบเห็นแจ้งว่าท่านอยู่ระหว่าง “เข้าทรง” โดยเชื่อว่า ท่านมีองค์ประทับอยู่ และยังเชื่อกันอีกว่าองค์ที่ประทับอยู่นั้นเป็น “เจ้าพ่อปู่ของศาลเจ้าพ่อ” วัดศาลเจ้า นั่นเอง เมื่อผู้คนที่มีความเชื่อมั่นและศรัทธา ขยายวงกว้างออกไปในหมู่พ่อค้าทุกๆ วงการค้า ทำให้ท่านมีศิษย์มากขึ้นและต่างเรียกท่านว่า “หวยลั้งเซียน” เมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้น ผู้ที่ศรัทธาท่านจากแหล่งต่างๆ มาพบท่าน และให้ท่านช่วยเหลือ ชี้แนะเกี่ยวกับ “ฮวงจุ้ย” ที่ตั้งบริษัท บ้าน ห้างร้าน และดูทำเลที่ตั้งฮวงซุ้ยของบรรพบุรุษ ท่านก็ให้คำแนะนำทุกรายไป แม้กระทั่งในต่างประเทศ ท่านก็ยังขึ้นเครื่องบินไปตามคำร้องขอ ซึ่งต้องจัดเตรียมหมากพลูไปด้วย ท่านช่วยเหลือบรรดาศิษย์ทุกๆ คน โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย และไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ผู้ที่ท่านชี้แนะมักประสบความสำเร็จในธุรกิจการค้า เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้น จนเป็นที่รู้จักในวงการค้าทั่วไป ผู้ที่เคารพศรัทธาเรียกท่านว่า “อาแปะ” พร้อมทั้งขนานนามท่านว่า “เซียนแปะ” จนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อประมาณปี ๒๕๑๘ ท่านได้ก่อสร้างตึกศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้าใหม่ โดยปรับปรุงจากเรือนไม้เป็นอาคาร ๘ เหลี่ยม ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่ศรัทธาท่าน และศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ทุกๆ วงการ รวมทั้งบุตรหลานในครอบครัวของท่าน โดยใช้เงินในการก่อสร้างกว่า ๗ แสนบาท ก่อสร้างเสร็จพร้อมทั้งทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ “เซียนแปะ” เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็ผ่ายผอมลง หลังโค้งงอ แต่ก็ยังคงช่วยเหลือชี้แนะบรรดาศิษย์และผู้คนทั่วไป โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เช่นที่เคยปฏิบัติมาตลอด อย่างเสมอต้นเสมอปลาย จนเป็นที่เคารพรักของบรรดาศิษย์ทุกคน จนกระทั่งอายุ ๘๕ ปี เมื่อปลายปี ๒๕๒๕ ท่านเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย จนต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลพญาไท จนถึงเวลา ๐๕.๓๐ น.ของเช้าวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๒๖ ท่านก็ได้ถึงแก่กรรม ด้วยความสงบ หลังจากเสร็จพิธีงานศพ บรรดาศิษย์ และครอบครัว ได้ก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ไว้ที่หลังศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า โดยใช้ชื่อว่า “ศาลานที ทองศิริ” พร้อมทั้งตั้งรูปปั้นจำลองขนาดเท่าตัวจริง เพื่อไว้ให้เป็นที่สักการะ และเป็นที่พึ่งทางจิตใจแก่บรรดาศิษย์และผู้คนทั่วไป ทุกวันนี้ “เจียง่วย ชิวโหงว” ถึง “เจียง่วย ชิวโป๊ย” เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปของศิษย์และชาวบ้านชาววัดศาลเจ้า และใกล้เคียง ที่ยังคงระลึกถึงท่าน จะพร้อมใจกันมาสักการะท่าน พร้อมทั้งร่วมงานประจำปี ซึ่งมีการแสดงงิ้ว ของศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า ตามที่ “เซียนแปะ” เป็นผู้กำหนดวันไว้ ตราบจนทุกวันนี้
ราคาเปิดประมูล80 บาท
ราคาปัจจุบัน2,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 26 ก.ย. 2560 - 20:36.36
วันปิดประมูล ศ. - 29 ก.ย. 2560 - 06:35.50 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
เบอร์ติดต่อ 0980958907
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 2,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน)
ราคาประมูลด่วน2,000 บาท
เพิ่มครั้งละ20 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
100 บาท พ. - 27 ก.ย. 2560 - 09:32.16
200 บาท พ. - 27 ก.ย. 2560 - 09:32.24
400 บาท พ. - 27 ก.ย. 2560 - 09:32.40
700 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ศ. - 29 ก.ย. 2560 - 06:35.46
2,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) ศ. - 29 ก.ย. 2560 - 06:35.50
กำลังโหลด...
Top