พระสมเด็จพระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล พระกริ่ง 72 พรรษา ปี2542 - webpra

ประมูล หมวด:วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร

พระสมเด็จพระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล พระกริ่ง 72 พรรษา ปี2542

พระสมเด็จพระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล พระกริ่ง 72 พรรษา ปี2542 พระสมเด็จพระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล พระกริ่ง 72 พรรษา ปี2542 พระสมเด็จพระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล พระกริ่ง 72 พรรษา ปี2542 พระสมเด็จพระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล พระกริ่ง 72 พรรษา ปี2542 พระสมเด็จพระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล พระกริ่ง 72 พรรษา ปี2542
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จพระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล พระกริ่ง 72 พรรษา ปี2542
รายละเอียดพระสมเด็จพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล ฉลอง 72 พรรษา ปี2542
เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช 2542 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดสร้างวัตถุมงคลพระพุทธรูป และพระบรมรูปจำลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

การจัดสร้างครั้งนี้จึงประกอบด้วยหลักการดังนี้

1. ความถูกต้องในพิธีแต่โบราณ
2. ความสมบูรณ์พร้อมของมวลสาร ทองชนวนโลหะที่นำมาจัดสร้างพระในโครงการฯ
3. รูปแบบที่งดงาม

หลักการดังกล่าว คณะกรรมการจัดสร้าง จึงได้กำหนดพิธีการให้มี 3 พิธี ด้วยกัน เพื่อจะได้ถูกต้องสมบูรณ์และศักดิ์สิทธิ์ตามตำราแต่โบราณซึ่งสืบทอดมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาในสมัยของสมเด็จพระพนรัต พระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯแทนพระองค์ในพระราชพิธีเททองหล่อพระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล ชนิดพระบูชา และพระกริ่ง ณ บริเวณพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ.2541 เวลาฤกษ์ 18.19 โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และทรงจุดเทียนชัย พร้อมสมเด็จพระราชาคณะและเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ

รายละเอียดของพิธี

พิธีที่ 1 จัดขึ้น ณ พระอุโสสถวัดระฆังโฆสิตาราม ในวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2540 โดยได้รับความเมตตาอย่างยิ่งจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศจังหวัดละ 9 รูป รวม 684 รูป

พิธีที่ 2 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทรงเททอง และทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันศุกร์ที่ 2 มกราคม 2541 ในการนี้ได้นำแผ่นทองคำ นาก และเงิน ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอธิษฐานจิต ทรงเจิม และทรงพระสุหร่าย เพื่อนำมาหล่อหลอมจัดสร้างพระโครงการนี้

พิธีที่ 3 พิธีมหาพุทธาภิเษกและพิธีชัยมังคลาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในราวเดือนพฤศจิกายน 2541

เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการถวายพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสดังกล่าว รายได้ทั้งหมดนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโครงการฯ นี้ว่า พระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล หมายถึง พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในโอกาสอันเป็นมงคลฉลองพระชนมายุครบ 6 รอบ แห่งพระมหาราชที่ 9 ซึ่งเป็นรุ่นเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 5 ธันวาคม 2542

และนอกจากนี้ยังได้พระราชทานมวลสารจิตรลดามาทำพระผงชุด 5 องค์อีกด้วย โดยเป็นพระสมเด็จสององค์พระนางพญา 2 องค์และพระประจำพระชนมวาร 1 องค์

ในส่วนพระกริ่งจะตอกโค๊ดเลข ๙ ที่ด้านหลังองค์พระกริ่ง และอุดฐานด้วยพระปรมาภิไธย ภปร ๗๒ พรรษา ในการสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ภปร 6 รอบ 72 พรรษา ในหลวง มีการสร้างเป็นเนื้อทองคำ และเนื้อโลหะผสม (ทองแดงรมดำ) ลักษณะองค์พระกริ่ง พระพักตร์แบบไทย ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำ บัวหงาย

พระเนื้อทองคำ สร้าง 3 ขนาด มีน้ำหนักหนึ่งบาท สองสลึง และหนึ่งสลึง ขนาดหนึ่งบาทจะบรรจุเม็ดกริ่ง อันเป็นลักษณะของพระกริ่ง ส่วนขนาดสองสลึงและหนึ่งสลึง ไม่มีการบรรจุเม็ดกริ่ง จะเป็นลักษณะพระชัยวัฒน์

ส่วนพระกริ่งเนื้อโลหะผสม (ทองแดงรมดำโดยกรรมวิธีทางช่างเรียกว่าแช่น้ำกดดำกดแดงเนื้อถึงดำ) สร้างขนาดเดียว โดยมีขนาดใกล้เคียงกับพระเนื้อทองคำขนาดหนึ่งบาท บรรจุเม็ดกริ่ง และพิมพ์แจกกรรมการ

หมายเหตุ : พระกริ่งรุ่นนี้ไม่ได้มีการจัดสร้างเนื้อนวโลหะนะครับ

ขนาด ฐานกว้าง 2.0 ซม. ความสูง 3.5 ซม.

สำหรับท่านที่สนใจพระกริ่งที่จัดสร้างในวโรกาสเฉลิมฉลองพระชนมายุของในหลวงอยู่ และกำลังหาพระกริ่งที่พิธีดีๆไว้บูชา ขอแนะนำพระกริ่งพระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล องค์นี้เลยครับ พระกริ่งสวยมาก พิธีดี น่าบูชาเก็บไว้มากครับ

พระกริ่งพระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคลไม่ผ่านการใช้ บูชาพร้อมกล่องเดิมจากวัด

พระกริ่งแท้กับพระกริ่งเก๊มาเปรียบเทียบกันแล้วก็แทบจะไม่เห็นความแตกต่างกันเลย แต่ก็ยังมีความแตกต่างให้เห็นกันชัดๆอยู่ 3 จุดคือ

1. โค้ดเลขเก้าไทย (๙) ที่ตอกบริเวณสะโพกองค์พระด้านหลัง พระกริ่งแท้จะเป็นเส้นตอกลึกลงไป ส่วนพระกริ่งเก๊จะมีลักษณะเป็นแอ่งกว้างบ้าง หรือเส้นเลข๙มีแต่ไม่ชัดบ้าง

2. ตัวหนังสือใต้ฐาน อันนี้สำคัญมากเป็นหลักการพิจารณาพระแท้หรือเก๊ได้เลย พระกริ่งแท้จะมีลักษณะเป็นแท่งคมชัดกว่าพระกริ่งเก๊มาก โดยเฉพาะตัวอักษร ภปร พระกริ่งแท้นั้นตัวอักษรมีความหนาและคมชัดกว่าพระกริ่งเก๊อย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้การอุดกริ่งนั้นพระกริ่งแท้ทำได้เรียบร้อยกว่าพระกริ่งเก๊มาก
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน550 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 10 พ.ย. 2554 - 21:59.40
วันปิดประมูล ส. - 12 พ.ย. 2554 - 17:06.59 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 550 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
550 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ศ. - 11 พ.ย. 2554 - 17:06.59
กำลังโหลด...
Top