พระเหรียญ หลวงปู่หุ่น วัดนวลจันทร์ กทม. - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

พระเหรียญ หลวงปู่หุ่น วัดนวลจันทร์ กทม.

พระเหรียญ หลวงปู่หุ่น วัดนวลจันทร์ กทม. พระเหรียญ หลวงปู่หุ่น วัดนวลจันทร์ กทม.
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระเหรียญ หลวงปู่หุ่น วัดนวลจันทร์ กทม.
รายละเอียดหลวงพ่อหุ่น มีชื่อเสียงมาก ในเรื่องการให้ตัวเลข ก.ข. หรือ หวย แม่นยำมาก ๆ คนเก่าแก่ มักจะพายเรือ
มาที่วัดเสมอ วันใกล้หวยออก ลืมบอกไปว่า วัดนวลจันทร์ หรือ วัดบางขวด ปัจจุบันอยู่แถว กม. 6 ถนนรามอินทรา ตัดกับ ถนนสุขาภิบาล 1
ตอนนี้เจริญมากแล้ว สมัยก่อนๆ ไม่มีรถ ไม่มีรา ต้องอาศัย พายเรือแจว ลัดเลาะไปตามคูน้ำ ท้องนา

พระคุณเจ้า หลวงปู่ พระปลัดหุ่น ฉายา สุวณฺณสโร นามสกุล อาจเจริญ สถานะเดิม ท่านเป็น บุตรชายคนหัวปี (บุตรชายคนแรก)
ของ นายเอม ? นางเต่า อาจเจริญ เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ปีมะเส็ง เดือน ๓ วันศุกร์ ณ ตำบลบ้านบางเตยคลองกุ่ม อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร
มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๕ คน ท่านเป็นคนหัวปี โดยลำดับดังนี้

๑. *หลวงปู่หุ่น อาจเจริญ เป็นคนหัวปี
๒. *นางทองดี (ยังมีชีวิตอยู่)
๓. *พระภิกษุ ทองคำ (มรณะภาพ)
๔. *นางแจ๋ว (ยังมีชีวิตอยู่)
๕. *นางเล็ก (ยังมีชีวิตอยู่)

เมื่อเยาว์วัย ได้ศึกษาอักขระไทยและขอม (ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในสมัยนั้น) ในสำนักพระอาจารย์องค์หนึ่ง ณ วัดบางเตย ใกล้บ้านที่อาศัย
มีความรู้อ่านออกเขียนได้ พอเติบใหญ่ก็มาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพการทำนา พออายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ก็ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหาร
อันเป็นหน้าที่ของพลเมืองไทยทุกคน ท่านถูกคัดเลือกเป็นตำรวจ และประจำรับราชการอยู่ ณ สถานีตำรวจสามเสน (บ้านณวนสามเสน)
พอครบกำหนดก็ปลดเป็นกองหนุน ก็กลับมาช่วยผู้มีพระคุณประกอบอาชีพทำนาตามเดิม ขณะนั้นท่านมีวัยหนุ่มฉกรรจ์ อายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์
อันเป็นวัยทีผู้ชายไทยทุกคน จะต้องเข้าบวชเรียนอบรมในทางศาสนา คตินี้ ตามชนบทต่างๆ ของเมืองไทย ถือปฎิบัติกันเคร่งครัดมาก
ถ้าบุตรหลานผู้เป็นชายของสกุลใดมิได้เข้าบวชเรียนในพระศาสนาแล้วก็มักถือกันเป็นเป็นปมด้อยอย่างยิ่งของสกุลนั้นย่อมทำให้หัวหน้าครอบครัว
คือบิดามารดาปู่ย่าตายายเสียใจถึงขนาดน้ำตาตกทีเดียว

ฉะนั้นพอท่านอายุครบอุปสมบทและพ้นจากพันธะกรณีย์ของบ้านเมือง บิดามารดาจึงใคร่จะจัดการให้บวช ซึ่งคงมีเหตุการบางอย่างของครอบครัว
ของท่านขัดข้องฝ่ายน้าชาย (นาย กิ่ม) ซึ่งมีฐานะดีขณะนั้นยื่นมือเข้าขออุปถัมภ์ในการนี้ ท่านก็ช่วยน้าชายประกอบอาชีพอีก ๑ ปี
ซึ่งเป็นปีที่อายุท่านย่าง ๒๒ ปี การอุปสมบทจึงมีขึ้น ณ พัทธสีมาวัดบางเตยโดยหลวงพ่อทอง (ฉายา ไม่ปรากฎ) วัดเสมียนนารี ตำบลบางเขน
เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ท้วม เจ้าอาวาส วัดบางเตยเป็น พระกรรมวาจาจารย์ ส่วนอนุสาวนาจารย์นั้น (ผู้เขียน) ระลึกนามไม่ได้ เพราะท่านเล่านาน
มาแล้ว

เมื่ออุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ ณ วัดบางเตย ต่อมาก็ย้ายสำนักไปจำพรรษา ณ วัดศรีบุญเรือง (วัดหัวไผ่) เยื้องหน้าที่ว่าการอำเภอบางกะปิ
ณ บัดนี้จะเป็นจำนวนพรรษาเท่าใดท่านมิได้เล่าบอกไว้แต่สันนิษฐานจากเหตุการต่างๆ คงประมาณได้ว่า ประมาณท่านได้ ๕ พรรษา เพราะท่านเล่าว่า
ได้เคยไปสวดนาค ตามอารามต่างๆแถบนั้น มีลูกศิษย์ลูกหาบ้างแล้ว และท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ทอง วัดราชโยธาในสมัยนั้น
ผู้เขียนจำไม่ได้ว่าปี พ.ศ อะไร

ส่วนการศึกษาในทางพระศาสนาขณะนั้นการเรียนพระปริยัติธรรมยังไม่ทั่วถึงไปต่างชนบทห่างไกลพระนครนัก (กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน)
การศึกษาของพระภิกษุ สามเณรตามชนบทจึงเป็นไปตามกาละเทศะ นอกจากผู้ใดสนใจก็เข้าไปหาสำนักเรียนในพระนคร ตามกำลังศรัทธาเท่านั้น
ท่านจึงมิได้ศึกษาอย่างเต็มที่คงศึกษาตามพระอาจารย์แถวนั้น ตามมีตามได ้แต่ข้าพเจ้าได้เคยสนทนาวิสาสะเมื่อมีโอกาส
ก็รู้สึกว่าท่านมีความรู้ทางพระธรรมวินัยพอตัว เพราะการมีความรู้นั้นย่อมมีได้โดยอาศัยความมีประสบการณ์มากๆ ก็ได้
ถ้าจะเรียกตามศัพท์สมัยนี้น่าจะเรียกว่าดุษฎีบัณฑิต หรืออะไรสักอย่าง ขอฝากไว้แก่ท่านผู้อ่านประวัติของท่าน พระปลัดหุ่น
เป็นผู้พิจารณาให้เกียรติ์ตามสมควร

ต่อมาท่านกำนัน จันทร์ (ขุนจงใจระงับพาล) กำนันตำบลคลองกุ่มเป็นผู้อุปถัมภ์สำคัญของวัดบางขวด (ภายหลังวัดขนานนามใหม่ ่
โดยอาศัยนามของท่านกำนัน และนวลภรรยาซึ่งให้ที่ดินสร้างวัดพร้อมด้วยญาติของท่านจึงเปลี่ยนเป็นวัดนวลจันทร์มาจนบัดนี้)
มีความเลื่อมใสในตัวท่านจึงพร้อมกันกับ ทายกทายิกา ตำบลบางขวด อาราธนาท่านพระปลัดหุ่นให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้สืบต่อมา
ขณะนั้นวัดนวลจันทร์มีเพียงโรงอุโบสถ มุงสังกะสีและมีกุฏิเก่าๆ ๒ หลังและหอฉันท์ หรือหอสวดมนต์ ๑ หลังเท่านั้น

หลวงปู่พระปลัดหุ่นเป็นผู้บุกเบิกนำความเจริญเป็นปึกแผ่นมาจนบัดนี้จึงน่าจะนับว่าท่านมีอุตสาหะวิริยะแรงกล้าอย่างยิ่ง
ในอันจะพัฒนาสิ่งต่างๆซึ่งเป็นที่ประทับใจของชาวบ้านย่านนี้อย่างจะลืมเสียมิได้เลยตลอดกาล

เพื่อจะนำท่านผู้อ่านเข้าใจแจ่มแจ้ง จึงจำเป็นจะต้องบรรยายประวัติของวัดนี้ตลอดจนภูมิศาสตร์ที่ตั้งของวัดนี้เข้าประกอบด้วย
จึงจะเห็นว่าท่านพระปลัดหุ่น สุวณฺณสโร ได้กระทำอะไรบ้างแล้วกาลนั้นสมัยนั้นมันอยากลำบากเพียงใดและความเข้มแข็งใช้วิริยะอุตสาหะเพียงใด
จึงจะบรรลุผลดังเช่นปรากฎอยู่ ณ บัดนี้

ก่อนที่จะมีถนนรามอินทราซึ่งตัดจากหลักสี่แยกจากถนนพหลโยธินนั้น ไม่ค่อยมีใครรู้จักวัดนวลจันทร์หรือวัดบางขวดเพราะตั้งอยู่ปลายเขตอำเภอบางกะปิ
จัดว่าเป็นวัดที่อยู่ปลายแดน จะไปมาแต่ละครั้งก็ลำบากมากชาวบ้านแถวนี้มีกิจการทำบุญสุนทานอะไร ต้องใช้เดินทางบกเป็นระยะไม่น้อย ถ้าทางเรือในฤดูน้ำ
ก็ต้องแจวพายกันเป็นครึ่งวันค่อนวัน?.

วัดนวลจันทร์(บางขวด) ตั้งอยู่เกือบปลายเขตอำเภอบางกะปิ สมัยเมื่อก่อนมีถนนรามอินทรา(ถนนสายจากอนุสาวรีย์บางเขนไปมีนบุรี)
นับว่าเป็นวัดที่ค่อนข้างไกลการคมนาคมจะไปมาในฤดูแล้งต้องเดินเป็นระยะทางไกลหลายกิโลเมตรจึงจะถึงตลาดอันเป็นศูนย์การค้า
ในฤดูน้ำต้องมทางเรือแจวพายจากคลองแสนแสบเข้าคลองบางเตยกว่าจะมาถึงวัดก็กินเวลาครึ่งค่อนวัน เพราะฉะนั้นการก่อสร้างอะไรในวัดซึ่ง
ต้องการวัสดุก่อสร้างต่างๆเช่น อิฐ หิน ปูน ทราย นั้นจะเป็นความยากลำบากสักเพียงใด ต้องอาศัยทั้งชาววัดและชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันจึงจะสำเร็จ
ผู้ที่จะเป็นผู้นำในกาลเช่นนี้ต้องเข้มแข็งแต่ท่านอาจารย์หุ่นก็สามารถแสดงให้เห็นผลงานของท่านอย่างชัดแจ้งมาแล้วทุกประการ

แต่เดิมพระอุโบสถยังมีแต่ฝากรุด้วยสังกะสี แต่แล้วก็สำเร็จเรียบร้อยขึ้น ท่านเล่าว่าเมื่อแรกท่านมาอยู่วัดนี้วัดมีกุฏิเก่าๆเพียง ๒ หลังเท่านั้น
อาศัยความเป็นนักทำ ที่เข้มแข็งของท่าน พร้อมด้วยประชาชนในระแวกนี้ช่วยกันอีกประการนึง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็นับว่าท่านเป็นบุลคลสำคัญที่เป็นผู้บุกเบิก
แผ้วถางมาแล้วแต่ต้นจนบัดนี้ ข้าพเจ้ายังจำได้ว่าท่านเคยพูดด้วยอารมณ์ขำว่า ?ท่านเป็นนักทำ มิใช่ นักธรรม? คำกล่าวเช่นนี้ ข้าพเจ้าขอฝากใว้เป็น
ข้อคิดของท่านผู้อ่านชีวประวัติของท่านสักอย่างหนึ่ง

การบริหารหมู่คณะ ท่านอาจารย์หุ่น ท่านมีนโยบายปกครองหมู่โดยวิธีละมุนละม่อม ผ่อนหนักผ่อนเบา เท่าที่ข้าพเจ้าได้เคยพบเห็นมา
ท่านเป็นผู้มีขันติธรรมเป็นอย่างเยี่ยม ท่านใช้เมตตาคุณเป็นเครื่องผูกจิตใจบรรดาประชาชนสำหรับศิษย์ท่านก็ใช่วิธีที่เรียกว่าไม้นวม ซึ่งเห็นผลช้า
บางท่านซึ่งเป็นนักปกครองอาจเห็นว่าหย่อนยานมากเกินไปแต่สำหรับข้าพเจ้าเห็นว่าเหมาะสมกับถิ่นเช่นนี้ ดังกล่าวแล้วว่าวัดนี้ตั้งอยู่ในถิ่นห่างไกลสมัยนั้น
ประเภทของบุลคลก็ย่อมไกลจากความเจริญตามไปด้วย เพราะฉะนั้นการตั้งตนเป็นผู้มีขันติอดทน จึงเหมาะสมกับสถานการณ์ ด้วยประการทั้งปวง ความข้อนี้
บรรดาศิษย์เก่าๆของท่านย่อมประจักษ์แก่ใจอยู่โดยทั่วกัน ท่านจึงเป็นจุดสนใจของบรรดาศิษยานุศิษย์ที่มอบความเคารพนับถือไว้แก่ท่าน จนกระทั่งกาลบัดนี้

ในบั่นปลายของชีวิต ท่านเสดงความสามารถในทางช่วยเหลือบุคคลไม่เลือกชั้นวรรณะ ทางรดน้ำมนต์ ซึ่งย่อมปรากฎแก่ผู้ที่มาขอให้รดน้ำมนต์ทั้งหลาย
ท่านยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่ง ?ที่ชาวบ้านเรียกกันว่าใบ้หวย? ชาวบ้านต่างมาขอให้ท่านช่วยเหลือ ด้วยว่าท่านมีจิตใจเมตตาบอกหวยให้ชาวบ้าน
ด้วยวิธีการหมุนเข็มนาฬิกาไปตามตัวเลขนั้นๆ เป็นต้นแล้วชาวบ้านก็นำไปแทงถูกทุกงวดจนทำไห้ เจ้ามือหวยเกิดความไม่พอใจ ถึงขั้นต้องเอายาเบื่อมาใส่อาหารให้ฉันท์
แต่ด้วยบารมีของท่านจึงทำอะไรท่านไม่ได้ จึงทำไห้ท่านมีศิษยานุศิษย์มากมาย ที่จะนำชื่อเสียงของท่านเหล่านั้น มาอ้างอิงเป็นหลักฐานได้
ความขลังในเชิงนี้ของท่านอาจารย์ย่อมประจักษ์แก่ผู้ได้พบเห็นผู้เคารพนับถือเลื่อมใสท่าน ซึ่งทำให้วัดมีผลพลอยได้ขึ้นอีกหลายอย่าง นับว่าท่านได้นำความเจริญแก่
วัดนวลจันทร์เป็นเอนกประการ ประกอบกับการคมนาคมเดี๋ยวนี้สะดวกสบาย ผู้มาหาสู่ย่อมไปมาได้รวดเร็ววัดจึงเจริญขึ้นเป็นอันมากในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่

ก็เมื่อท่านมาด่วนมรณะภาพขณะที่วัดกำลังจะพัฒนาเช่นนี้ ย่อมเป็นที่น่าเสียดาย ยังให้เกิดความสลดใจแก่ผู้ที่เคารพนับถือในตัวท่าน อย่างสุดจะพรรณาเป็นถ้อยคำ
ให้ถูกถ้วนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาสานุศิษย์ในความปกครองของท่านต้องมีความอาลัยอาวรณ์มากตามวิสัยปุถุชนทั้งปวงเป็นธรรดา

ข้าพเจ้า(ผู้เขียน) เคยได้รับความอุปถัมภ์และความเมตตาจากท่าน ขอตั้งจิตให้ท่านอาจารย์พระปลัดหุ่น จงได้รับผลวิบากจากกรรมอันดีที่
ท่านได้กระทำมาตลอดอายุของท่านจงบันดาลดลให้ท่านได้รับสุขอันสงบในปรโลกตามควรแก่คติวิสัยนั้นๆ เทอญ

ข้อความทั้งสิ้นที่บรรยายมานี้ ข้าพเจ้าเขียนขึ้นด้วยความเคารพและนับถือท่านผู้มีพระคุณยิ่งของข้าพเจ้าและด้วยความอาลัยรักใคร่ สำนวน
โวหารและเนื้อหาของท่านจงอ่านและท่านผู้ทรงคุณวุฒิทางอักษรศาสตร์ ได้โปรดให้อภัยในความรู้อันน้อยของข้าพเจ้าด้วย


จากศิษย์ท่าน อาจารย์หุ่น ผู้หนึ่ง

พระขนฺติโก ภิกขุ

(สำอางค์ พรหมจินดา)
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน1,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 22 ส.ค. 2560 - 09:43.51
วันปิดประมูล พ. - 23 ส.ค. 2560 - 10:43.36 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
600 บาท อ. - 22 ส.ค. 2560 - 10:43.19
700 บาท อ. - 22 ส.ค. 2560 - 10:43.26
800 บาท อ. - 22 ส.ค. 2560 - 10:43.28
900 บาท อ. - 22 ส.ค. 2560 - 10:43.33
1,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อ. - 22 ส.ค. 2560 - 10:43.36
กำลังโหลด...
Top