ประมูล หมวด:พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
หลวงปู่ญัติ อุตฺตโม วัดสายไหม รูปหล่อโบราณ รุ่นแรก
ชื่อพระเครื่อง | หลวงปู่ญัติ อุตฺตโม วัดสายไหม รูปหล่อโบราณ รุ่นแรก |
---|---|
รายละเอียด | หลวงปู่ญัติ อุตฺตโม วัดสายไหม รูปหล่อโบราณ รุ่นแรก หลวงปู่ญัติ อุตฺตโม วัดสายไหม หลวงปู่ญัติ อุตฺตโม วัดสายไหม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี “ของหาย” บนบาน รูปหล่อ..ศักดิ์สิทธิ์นัก หลวงปู่ญัติท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเคร่งครัดในธรรมวินัย อีกทั้งยังเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิชาอาคมแก่กล้ารูปหนึ่งในย่านลำลูกกา หลวงปู่ญัติมีความสามารถพิเศษ อีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือ ทำนายโชคชะตาราศีได้แม่นยำนัก ท่านได้เป็นเจ้าคณะหมวดกลางสายไหม ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา เมืองธัญบุรีอีกด้วย วัดสายไหม เป็นวัดสำคัญอีกวัดหนึ่ง ก่อตั้งขึ้นมาราวกลางยุครัตนโกสินทร์ คำว่า “สายไหม” นั้นมีตำนานเล่า สืบต่อกันมาว่า ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2435 ที่บริเวณโดยรอบวัดนั้นจะเป็นท้องทุ่งกว้างใหญ่ มีชื่อว่า “ทุ่งหลวง” พื้นที่เป็นทุ่งนาสลับป่ากก มีหนองน้ำกว้างใหญ่ ฤดูฝนน้ำท่วมเต็มทุ่งมีลำธารน้ำไหลผ่านทุ่งนี้ไปบรรจบกับคลองบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีได้ ช่วงฤดูน้ำหลากชาวบ้านย่านคลองบางตลาดมักจะใช้ลำธารสายนี้สัญจรทางเรือ นำสินค้าไปขายยังจังหวัดนครนายก แต่พอถึงฤดูแล้งน้ำจะแห้งพื้นที่ส่วนใดเป็นที่ดอนสูงก็จะเป็นที่อยู่ของสัตว์นานาชนิด มีป่ากกและป่าละเมาะ บางส่วนเป็นที่ลุ่มก็จะเป็นหนองน้ำเป็นบึงกว้างใหญ่ มีปลาต่างๆ มากมายรวมถึงจระเข้ด้วย เขตบริเวณหมู่บ้านสายไหมสมัยนั้นยังไม่มีผู้คนเข้าไปอยู่อาศัยพื้นที่เป็นบึงกว้างใหญ่ เล่ากันว่ามีปลาชุกชุมมากชาวบ้านคลองบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จะพากันออกเดินทางจากคลองบางตลาดเช้าตรู่ พร้อมด้วยเครื่องมือจับปลามุ่งหน้ามายังทุ่งแห่งนี้ เพื่อจะจับปลาเอาไปขาย ตกเย็นพากันกลับบ้านพร้อมกับปลาที่จับได้เป็นจำนวนมาก ข่าวคราวการทำมาหากินอาชีพประมงน้ำจืดที่บริเวณทุ่งหลวง มีรายได้ดีมากมีปลาชุกชุมกระจายออกไป ทำให้เหล่าบรรดาประมงน้ำจืดต่างก็พากันมาหาปลามากขึ้นๆ บางคน ทราบข่าวก็จะมาหาปลาบ้างแต่ไม่ทราบระยะทาง ก็จะถามผู้ที่เคยมาที่ทุ่งหลวงว่า “ระยะทางไปทุ่งหาปลาไกลไหม ไปถึงแหล่งจับปลานั่นน่ะ สายไหม” บางคนก็ถามว่า “ไปถึงสายไหม” ก็จะได้รับคำตอบว่า “สาย” ถามกันบ่อยๆ กับคำว่า “สายไหม” นานเข้าก็เลยกลายเป็นชื่อท้องทุ่ง มักเรียกขานกันว่า “สายไหม” หรือ “ทุ่งสายไหม” ต่อมาผู้ที่เทียวไปเทียวมาระหว่างคลองบางตลาดกับทุ่งสายไหม เกิดเบื่อการเดินทางจึงมาลงหลักปักฐานปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ตามริมธาร จับจองเป็นที่ทำมาหากินกันเลยยึดอาชีพจับปลาและก็ทำนา จนเกิดเป็นหมู่บ้านเป็นชุมชนขึ้นมาเรียกกันว่า “บ้านสายไหม” ครั้นมาถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมอบให้บริษัทขุดคลองและคูนาสยามเป็นผู้ขุดคลองระบายน้ำเพื่อการชลประทาน ทรงแต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ เป็นแม่กองขุดคลองสกัดน้ำ 3 คลองคือ คลองที่ประตูน้ำพระอินทราชา, คลองที่ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์(คลองรังสิตประยูรศักดิ์) เขตอำเภอธัญบุรี และคลองหกวา อำเภอลำลูกกา พร้อมกับขุดคลองซอย 16 คลอง จัดให้มีการออกโฉนดที่ดินให้กับผู้ที่ถือครองอยู่ริมธาร ชาวบ้านจึงย้ายมาอยู่ตามริมคลองขุดใหม่นี้ เมื่อมีการออกโฉนดที่ดินบริเวณปากคลอง 3 และคลองหกวา มีที่ดินเหลือเศษอยู่จำนวนหนึ่งด้านทิศตะวันออก ด้านเหนือติดลำธาร ด้านใต้ติดคลองขุดใหม่ คือ คลองหกวา มีเนื้อที่ 7 ไร่ 35 วา หม่อมราชวงศ์หญิงน้อย และหม่อมหลวงนุ่ม ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนี้ มีจิตศรัทธาให้สร้างวัด และให้ใช้ชื่อวัดตามหมู่บ้านว่า “วัดสายไหม” ได้รับพระบรมราชานุญาตเมื่อปีจอ พ.ศ. 2441 สัมฤทธิ์ศก ค.ศ.1894,จ.ศ.1260,ร.ศ.117 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2449,ร.ศ.125 มีเจ้าอธิการญัติ อุตฺตโม เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก และเป็นเจ้าคณะ หมวดกลางสายไหม สำหรับหลวงปู่ญัตินั้น ทราบว่า หลวงปู่เริ่มเจ้าอาวาสวัดหน้าโบสถ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี(วัดหน้าโบสถ์, วัดท่าโมกข์, และวัดเชิงท่า ทั้ง 3 วัดนี้ถูกเวนคืนที่ดินไปเพื่อสร้างกรมชลประทาน ทางราชการได้สร้างวัดชลประทาน รังสฤษดิ์ขึ้นมาแทน) ท่านเป็นผู้ส่งหลวงปู่ญัติ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดสายไหม หลวงปู่ญัติ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 4 ปีมะเมีย พ.ศ.2413 ร.ศ.89 เป็นบุตรนายม่อย นางปุย บ้านเดิมอยู่ที่ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ชีวิตในวัยเด็กของหลวงปู่ไม่มีใครทราบแน่ชัด ทราบแต่เพียงว่าเมื่ออายุครบบวช ท่านได้อุปสมบทที่วัดหน้าโบสถ์ เมื่อ พ.ศ.2434 ร.ศ.111 มีพระอาจารย์แบน วัดปรก ปากเกร็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์โด๊ด วัดตำหนัก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระอาจารย์เริ่ม วัดหน้าโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อุตฺตโม” หลังจากที่บวชแล้วหลวงปู่ญัติก็ศึกษาเล่าเรียนอยู่กับพระอาจารย์เริ่ม ที่วัดหน้าโบสถ์ได้รับการถ่ายทอดวิชาโหราศาสตร์ และไสยเวทย์ต่างๆ จากพระอาจารย์เริ่ม ซึ่งเล่ากันว่าในยุคนั้นพระอาจารย์เริ่ม มีชื่อเสียงในเรื่องโหราศาสตร์ ดูโชคชะตาราศีเป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่ญัติอยู่กับพระอาจารย์เริ่ม 3 ปี ท่านก็ถูกส่งให้มาอยู่ที่วัดสายไหมในปี พ.ศ.2437 ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดสายไหม เมื่อมาครั้งแรกท่านก็ต้องมาเริ่มงานก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ สภาพวัดยังเป็นวัดเล็กๆ อยู่กลางทุ่ง ชาวบ้านก็ยังมีไม่มาก ครั้นอยู่ไปความเจริญเข้าถึงชุมชนวัดก็พลอยเจริญรุ่งเรืองตามมาด้วย หลวงปู่ญัติท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในธรรมวินัย ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือท่านมาก กล่าวกันว่าหลวงปู่ญัติ ดูโชคชะตาราศีแม่นยำนัก เจริญรอยตามพระอาจารย์ของท่านในเรื่องของวิปัสสนากรรมฐาน ท่านก็ศึกษาเล่าเรียนมาจากพระอาจารย์เริ่มยึดถือปฏิบัติการบำเพ็ญภาวนามาตลอด นอกจากวิชาโหราศาสตร์แล้วหลวงปู่ยังได้รับการถ่ายทอดวิชาหมอยาจากพระอาจารย์เริ่มอีกด้วย เรียกกันว่ายาหม้อใหญ่ของหลวงปู่ญัติรักษาได้หลายโรค ทางด้านวัตถุมงคลนั้น หลวงปู่ญัติท่านจัดสร้างเพียงรุ่นเดียวในปี พ.ศ.2478 เป็น รุ่นทำบุญอายุครบ 65 ปีของท่าน เป็นเหรียญ เนื้อเงินผสมมีห่วงด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ ครึ่งองค์ มีอักษรเขียนขอบเหรียญว่า “เจ้าอธิการญัติ อุตฺตโม วัดสายไหม” ขอบเหรียญนูนด้านหลัง เป็นยันต์มีอักษรด้านใต้ว่า “ที่ระลึกในการ ทำบุญ อายุ 66 พรรษา 44 พ.ศ.2478” เหรียญ ทำแจกไม่มากนักหมดในเวลาต่อมา ประสบการณ์เหรียญรุ่นแรกโด่งดังในเรื่องอยู่ยงคงกระพันยิ่งนัก เคยมีผู้นำเหรียญไปลองปืนหลายครั้งปรากฏว่ายิงไม่ออก เรื่องแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุก็เป็นเยี่ยม สร้างชื่อเสียงให้กับหลวงปู่ญัติเป็นอันมาก นอกจากเหรียญกลมแล้ว หลวงปู่ได้ทำเชือกถักออกแจกแก่ลูกศิษย์ของท่าน และผู้ที่ไปขอให้ท่านลงกระหม่อมให้ทุกวันพุธอีกด้วย หลวงปู่ญัติมรณภาพในปี พ.ศ.2490 ตรงกับวันที่ 13 กันยายน แรม 13 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน ร.ศ.1661 ด้วยโรคชรา รวมอายุได้ 78 ปี ยังความโศกเศร้าเสียใจแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ที่เคารพศรัทธาท่านเป็นอันมาก หลวงปู่ญัติได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวดกลางสายไหม ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา เมืองธัญบุรี ในจังหวัดมณฑลกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2456 โดยพระครูธัญญาเขตร์เขมากร (หลวงปู่ช้าง วัดเขียนเขต) เจ้าคณะจังหวัดธัญบุรี เมื่อสิ้นบุญหลวงปู่ญัติลงไป พระอาจารย์เจริญ หลานของท่านก็ขึ้นมารักษาการณ์เจ้าอาวาสแทน จนกระทั่งทำการฌาปนกิจศพ หลวงปู่ญัติในเดือนเมษายน ปีพ.ศ.2491 เสร็จ พอเดือน 6 พระอาจารย์เจริญก็ลาสิกขาไป ทางคณะสงฆ์ได้ให้ พระอธิการด๊วด ญาณวโร (พระครูวิเศษ ธัญโศกิต) ขึ้นรักษาการณ์ แทนอยู่ได้ 2 ปี ท่านพระอธิการด๊วดก็ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกที่วัดกลางคลอง 4 หลังจากที่หลวงปู่ญัติมรณภาพ ทางวัดได้จัดสร้างรูปหล่อเท่าองค์จริงขึ้นมา ให้สาธุชนกราบไหว้กันชาวบ้านให้ความเคารพกันมาก เล่ากันว่าใครมีเรื่องเดือดร้อนหรือบุตรหลานเจ็บไข้ได้ป่วย หรือข้าวของเงินทองหายมักจะมาบนบานขอให้หลวงปู่ช่วย จะประสพผลสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ที่เจ็บป่วยก็หายข้าวของที่หายก็หาเจอ ของแก้บนมีหัวหมู กล้วยน้ำว้า หรือไม่ก็บนลิเก ละคร ปัจจุบันวัดสายไหมเจริญรุ่งเรืองมาก ด้วยฝีมือการพัฒนาวัดของหลวงพ่อทองใบ จนวัดได้รับการยกย่องเป็นวัดพัฒนาดีเด่นถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ.2512 และพ.ศ.2536 |
ราคาเปิดประมูล | 100 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 300 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | พ. - 11 ส.ค. 2553 - 14:09.54 |
วันปิดประมูล | พ. - 18 ส.ค. 2553 - 14:09.54 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 300 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 100 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...