7.กุมารทองโชคทวี เนื้อผงดินเจ็ดป่าช้าอุดด้วยผงพรายกุมาร หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู จ.อุบลฯ พร้อมกล่อง - webpra

ประมูล หมวด:เครื่องรางของขลัง

7.กุมารทองโชคทวี เนื้อผงดินเจ็ดป่าช้าอุดด้วยผงพรายกุมาร หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู จ.อุบลฯ พร้อมกล่อง

7.กุมารทองโชคทวี เนื้อผงดินเจ็ดป่าช้าอุดด้วยผงพรายกุมาร หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู จ.อุบลฯ พร้อมกล่อง 7.กุมารทองโชคทวี เนื้อผงดินเจ็ดป่าช้าอุดด้วยผงพรายกุมาร หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู จ.อุบลฯ พร้อมกล่อง 7.กุมารทองโชคทวี เนื้อผงดินเจ็ดป่าช้าอุดด้วยผงพรายกุมาร หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู จ.อุบลฯ พร้อมกล่อง 7.กุมารทองโชคทวี เนื้อผงดินเจ็ดป่าช้าอุดด้วยผงพรายกุมาร หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู จ.อุบลฯ พร้อมกล่อง
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง 7.กุมารทองโชคทวี เนื้อผงดินเจ็ดป่าช้าอุดด้วยผงพรายกุมาร หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู จ.อุบลฯ พร้อมกล่อง
รายละเอียดกุมารทองโชคทวี เนื้อผงดินเจ็ดป่าช้าอุดด้วยผงพรายกุมาร หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู จ.อุบลฯ พร้อมกล่อง

ผงมวลสาร กุมารทอง โชคทวี หลวงปู่คำบุ
เนื้อผงดินเจ็ดป่าช้า
ตะปูฝ่าโรงศพ ๗ วัด
ดิน ๗ ป่าช้า
ดิน ๗ โป่ง
ดิน ๗ ท่า
ดิน ๗ ถ้ำ
ดิน ๗ นคร
ดินจอมปลวก ๗ ( ราชบุรี )
ผงพรายกุมารปี ๒๙ ( เถ้าอัฐฐิ ) เด็กตายวันเสาร์เผาวันอังคาร
ตะปูตอกฝาโลง ๗ วัด
ผงว่านต่าง ๗ ชนิด
รูปหลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู

ประวัติหลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู จ.อุบลราชธานี " หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต" เป็นพระสงฆ์ที่เล่าขานกันว่าทรงคุณพุทธาคมเข้มขลัง แห่งวัดกุดชมภู ต.กุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ท่านเป็นศิษย์สายตรงของพระครูวิโรจน์รัตโนมล (หลวงปู่รอด นันตโร) แห่งวัดทุ่งศรีเมือง และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี พระเกจิอาจารย์ผู้มีความเข้มขลังมีพลังจิตสูง

ประวัติหลวงปู่คำบุ ชาติภูมิ หลวงปู่คำบุถือกำเนิดเกิด ณ บ้านกุดชมภู เมื่อวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2465 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ เกิดในตระกูล คำงาม โยมบิดา-มารดา ชื่อนายสาและนางหอม คำงาม ครอบครัวทำนาทำสวน หลวงปู่คำบุ ปัจจุบันท่านอายุ 86 ปี มีชื่อ-นามสกุลเดิมว่า คำบุ คำงาม ท่านเป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน กาลต่อมาท่านเจริญวัยขึ้น มีอายุอันสมควร บิดามารดาได้ให้บรรพชาในปี พ.ศ.2482 ณ วัดกุดชมภู โดยมี พระครูญาณวิสุทธิคุณ (กอง) วัดตากโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังบวชท่านได้มีโอกาสเดินทางไปกราบไหว้ พระครูวิโรจน์รัตโนมล (หลวงปู่รอด นันตโร) วัดทุ่งศรีเมือง เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีและได้รับความเมตตาโอบอ้อมอารีจากหลวงปู่รอดเป็นอย่างยิ่ง

อุปนิสัยของสามเณรคำบุ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้จึงมีโอกาสได้พบกับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง ผู้เป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่รอด นันตโร แห่งวัดทุ่งศรีเมือง ด้วยเหตุนี้พระอาจารย์รอดจึงได้อยู่รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่รอดจวบจนท่านได้ มรณภาพลง พระอาจารย์รอดก็กลับมาพำนักพักที่วัดบ้านม่วงตามเดิม กล่าวสำหรับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง ท่านเป็นพระที่มีวิทยาคมแก่กล้า พระอาจารย์รอดเป็นคนบ้านเดียวกันกับสามเณรคำบุ (สมัยบวชเณร) จึงมีความคุ้นเคยกันมาก่อน ด้วยความที่สามเณรคำบุเป็นผู้มีนิสัยสงบเรียบร้อย ใจเย็นมีเหตุมีผล เหตุนี้เองพระอาจารย์รอด จึงได้ถ่ายทอดวิทยาคมคาถาต่างๆ ที่ได้ร่ำเรียนมาแก่สามเณรคำบุตั้งแต่นั้นเรื่อยมา จวบจนถึงวัยอุปสมบทเป็นพระภิกษุ จึงอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2486 ได้รับฉายาว่า "คุตตจิตโต" มีพระครูสาธุธรรมจารี (สา) วัดดอนจิก เป็นพระอุปัชฌาย์

ครั้นบวชเป็นพระแล้ว หลวงปู่คำบุท่านยังคงแวะเวียนไปร่ำเรียนสรรพวิชาเวทมนตร์คาถาอาคมต่างๆ กับพระอาจารย์รอด ที่วัดบ้านม่วงอยู่เป็นประจำ ได้ศึกษาศาสตร์วิชาต่างๆ จากตำรา จนมีความชำนาญแตกฉานจึงออกเดินธุดงค์เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ หลวงปู่คำบุได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมจากพระอาจารย์ที่มีความ ชำนาญด้านพระคาถาต่างๆหลายรูปจนวิชาแกร่งกล้า จึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดกุดชมภูจนถึงปัจจุบัน มีเรื่องน่าสนใจอยู่ตอนหนึ่ง เนื่องจากพระอาจารย์รอดท่านเป็นพระที่ร้อนวิชาชอบลองวิชาอยู่เสมอ เมื่อร่ำเรียนวิชาอาคมแขนงใดได้ก็จะนำมาทดสอบหรือทดลองวิชานั้นอยู่เป็นประจำ มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้สำเร็จวิชาหุงสีผึ้งมหาเสน่ห์ แล้วทำการทดลองปรากฏว่าบรรดาญาติโยมทั้งหญิงและชายแห่เข้ามาที่วัดเพื่อมาขอ สีผึ้งมหาเสน่ห์จากท่านอย่างมากมาย จนไม่มีเวลาประกอบกิจสงฆ์อันใดได้ ท่านจึงย้ายมาอยู่กับพระภิกษุคำบุ ที่วัดกุดชมภูและได้เขียนตำราเพื่อมอบให้กับพระภิกษุคำบุไว้ศึกษาเล่าเรียน สืบต่อไป

พระภิกษุคำบุได้ศึกษาศาสตร์วิชาต่างๆ จากตำราจนมีความชำนาญแตกฉาน จึงออกเดินจารึกธุดงค์เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ ได้มีโอกาสร่ำเรียนสายวิชาวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมต่างๆ ในสายของท่านสำเร็จลุน แห่งวัดเวิ่นไชย เมืองปาเซ นครจำปาสัก พระผู้ทรงอภิญญา นอกจากการศึกษาวิชาทางด้านวิปัสสนากรรมฐานแล้ว สรรพวิชาอาคมทุกแขนง หลวงปู่คำบุท่านก็มีความชำนาญและได้หมั่นศึกษาฝึกฝนอยู่เป็นประจำ ตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ปัจจุบัน หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู มีอายุถึง 86 ปี แต่ยังคงให้ความเมตตาศิษยานุศิษย์อย่างสม่ำเสมอ ในทุกวันอังคาร เสาร์ และอาทิตย์ ท่านจะประกอบพิธีลงเหล็กจารอักขระธรรมอักษรลาว ลงบนแผ่นหลังของบรรดาลูกศิษย์ที่เดินทางมาจากสถานที่ต่างๆ ด้วยความเมตตา

วัตถุมงคลหลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู

การจารอักขระธรรมลงแผ่นหลังของหลวงปู่คำบุ ถือเป็นกุศโลบายทางธรรมเพื่อบ่งบอกถึง "ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความตายหรือความหายนะ" ดังนั้นควรตั้งมั่นไม่ให้อยู่ในความประมาท ที่สำคัญถ้าท่านได้จารอักขระธรรมได้ครบถึง 7 ครั้ง ว่ากันว่าอักขระธรรมจะฝังลึกถึงกระดูกและถ้าประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งของครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัดแล้ว จะอยู่ยงคงทน ต่อศาสตราวุธทั้งปวง สำหรับพระเครื่อง-วัตถุมงคลของหลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู ที่สร้างขึ้นมานั้นมีมากมายหลายรุ่น ส่วนใหญ่มักได้รับความนิยมจากนักสะสม โดยรุ่นล่าสุด "เมตตา โภคทรัพย์ กลับดวง" ปัจจัยสมทบทุนหล่อเนื้อนาบุญหลวงปู่คำบุ ร่วมสร้างวิหารธรรมเจดีย์ศรีชมภู ฤกษ์มงคลผสมสูตรหล่อเม็ดนวโลหะ เมื่อวันอังคารขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 วันที่ 30 กันยายน 2551 เททองเบ้าทุบ ตั้งแต่วันอาทิตย์ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ที่ 9 พ.ย.2551 เวลา 11.59 น. อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวครั้งที่ 1 เมื่อวันพุธขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 วันที่ 12 พ.ย.2551 เวลา 19.19 น. " หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต"อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ครั้งที่ 2 วันอาทิตย์แรม 11 ค่ำ เดือน 12 วันที่ 23 พ.ย.2551 เวลา 19.19 น. ข่าวพระเครื่อง

พระครูพิบูลนวกิจ หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต วัดกุดชมภู มรภาพด้วยอาการสงบ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา14:51 นาที ณ.โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุได้91ปี คณะศิษยานุศิษย์จะเคลื่อนสรีระสังขารหลวงปู่ออกจากโรงพยาบาลศิริราชในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09.00 น. ไปยังวัดวิหารเจดีย์ศรีชมพู (วัดกุดชมภู) อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6
อนุชา ทรงศิริหน้า 31 ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด

รับประกันพระแท้ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 083-2699000 081-622-1037 ID Line : Ting_sathu Email : Ting_ptk@yahoo.com หรือ Tingsathu@gmail.com

ภาณุภัณฑ์ พระเครื่อง เชิญที่นี่ >>> http://www.web-pra.com/Shop/TingSathu
ราคาเปิดประมูล340 บาท
ราคาปัจจุบัน350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 31 พ.ค. 2560 - 10:21.43
วันปิดประมูล อ. - 20 มิ.ย. 2560 - 23:39.48 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) จ. - 19 มิ.ย. 2560 - 23:39.48
กำลังโหลด...
Top