ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
พระขุนแผนกรุกลางทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา
ชื่อพระเครื่อง | พระขุนแผนกรุกลางทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา |
---|---|
รายละเอียด | พระอดีตกาลที่ปัจจุบันยังหามาเพื่อครอบครองได้ ก่อนที่อนาคตจะแพงเกินเอื้อม ลองอ่านรายระเอียดดูครับ เปิดตำนาน พระขุนแผนเคลือบ กรุกลางทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา พื้นที่ประวัติศาสตร์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ความเป็นมาของทุ่งมะขามหย่องในเชิงประวัติศาสตร์มีความเชื่อกันว่าด้านทิศตะวันตกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในสมัยก่อนมีข้าศึกยกทัพมาเข้าตีกรุงศรีอยุธยา และมีการตั้งค่ายบริเวณทุ่งมะขามหย่อง ตามประวัติศาสตร์เล่าว่าเมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิครองราชย์ได้ 7 เดือน พระเจ้าหงสาวดีตะเบงชะเวตี้ ประเทศพม่า ได้ยกทัพมาทาง ด่านเจดีย์สามองค์ เมืองกาญจนบุรี และเข้ามาถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันเสาร์ เดือน 4 พ.ศ.2091 และตั้งทัพอยู่ที่ทุ่งมะขามหย่อง วันอาทิตย์ เดือน 4 พ.ศ.2091 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพร้อมด้วยสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่งแต่งพระองค์อย่างมหาอุปราชทรงช้างพระที่นั่งยกกองทัพออกไปยังทุ่งภูเขาทอง ซึ่งติดกับทุ่งมะขามหย่อง และประลองกำลังระหว่างพระเจ้าแปร และพระมหาจักรพรรดิ ต่อมาช้างต้นพลายแก้วซึ่งเป็นช้างของพระมหาจักรพรรดิพุ่งถลันไป และรั้งเอาไว้ไม่อยู่ พระเจ้าแปรเห็นได้ทีก็เบนช้างขับไล่ติดตามมา สมเด็จพระศรีสุริโยทัย จึงขับ พระคธาธารพลายทรงสุริยกษัตริย์ (ช้างของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย) เข้าปะทะไว้ช้างของพระเจ้าแปร อยู่ล่างใช้งาเสยช้างของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยแหงนหงายและเสียที พระเจ้าแปร จ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว ต้องพระอังสาขาดกระทั้งราวพระถัน สิ้นพระชนม์บนคอช้างซึ่งเป็นประวัติศาสตร์กษัตริย์วีรสตรีไทย...และเมื่อปี พ.ศ.2538 สมเด็จพระบรมราชินีนาถสิริกิติ์ ได้ทรงสร้างอนุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย เป็นที่ระลึกแก่ประชาชนชาวไทยได้ถวายพระเกียรติ ณ ทุ่งภูเขาทอง ตำนานและที่มา ของพระขุนแผนเคลือบ พระขุนแผนเคลือบเป็นพระเนื้อดิน มีส่วนผสมของปูนและดินขาว และผ่านกรรมวิธีใช้น้ำยาเคลือบด้านหน้าขององค์พระคล้ายกับการเคลือบของไหโบราณ หรือกระเบื้องหลังคาโบสถ์ในสมัยโบราณ ประวัติการสร้างพระขุนแผน สร้างประมาณ พ.ศ. 2134 ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชแม่ทัพใหญ่ของพม่า ทรงได้รับชัยชนะพระองค์เสด็จกลับมากรุงศรีอยุธยา และได้สร้าง พระขุนแผนเคลือบ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะที่ วัดป่าแก้ว (ปัจจุบันชื่อวัดใหญ่ชัยมงคล) ประธานในพิธีสงฆ์คือ สมเด็จพระวันรัตน์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระขุนแผนเคลือบ เป็นพระปางมารวิชัยประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว องค์พระจะมีการเคลือบด้านหน้าทุกองค์ด้านหลังไม่เคลือบ แต่จะมีลายมือปรากฏอยู่ทุกองค์ พระขุนแผนเคลือบ กำเนิดแห่งแรกที่กรุ วัดใหญ่ชัยมงคล ต่อมาค้นพบที่กรุวัดบ้านกร่าง จังหวัดสุพรรณบุรี และมาค้นพบตามลำดับดังนี้ ครั้งที่สอง พบเมื่อปี 2506 มีผู้ค้นพบที่กรุวัดเชิงท่า อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ครั้งที่สาม พบเมื่อปี 2528 พบที่ตำบลบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ครั้งที่สี่ พบที่วัดบ้านกลิ้ง อำเภอบางปะอิน อยุธยา ครั้งล่าสุด ได้ค้นพบประมาณ 10 ปี ที่กรุ กลางทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา ใกล้กับทุ่งภูเขาทอง ตำนานกษัตริย์วีรสตรี คือ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ที่มาแห่งพระขุนแผน ชื่อ พระขุนแผน ทั้งของเมืองสุพรรณบุรีหรือเมืองไหนๆก็ตามเป็นการเรียกชื่อพระของคนในสมัยหลัง เพราะคนโบราณสร้างพระพิมพ์ไม่เคยมีการตั้งชื่อพระเอาไว้ มีแต่คนรุ่นหลังเท่านั้นเป็นผู้ตั้งชื่อให้ทั้งสิ้น พระกรุวัดบ้านกร่าง ก็เช่นเดียวกัน เมื่อแตกกรุออกมาใหม่ๆก็ไม่มี ชื่อคนยุคนั้นเรียกว่า พระกรุบ้านกร่าง ถ้าเป็นพระองค์เดียว เรียกว่า พระบ้านกร่างเดี่ยว ถ้าเป็นพระสององค์ติดคู่กัน เรียกว่า พระบ้านกร่างคู่ ต่อมามีการตั้งชื่อให้ว่า พระพลายเดี่ยวบ้าง พระพลายคู่บ้าง สันนิษฐานว่าคนตั้งชื่อเพื่อให้สอดคล้องกับตัวละครในวรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน พระบ้านกร่างจึงเลือนหายไป หรืออีกนัยหนึ่งชื่อของพระขุนแผน อาจได้มาจากการที่คนบูชากราบไหว้อาราธนาพระติดตัวไปไว้ป้องกันอุบัติภัยต่างๆแล้วประจักษ์ในความศักดิ์สิทธ์ในอำนาจพุทธคุณ ที่มีคุณวิเศษเหมือนขุนแผนในวรรณคดีไทย โดยเฉพาะด้านเมตตา มหานิยม ด้วยเหตุอย่างนี้จึงเรียกว่า พระพิมพ์ขุนแผน สืบกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระขุนแผนเคลือบ กรุกลางทุ่งมะขามหย่อง อยุธยา พระขุนแผนเคลือบ กรุกลางทุ่งมะขามหย่อง อยุธยาได้ค้นพบเมื่อประมาณ 10 ปี และผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าเป็นพิมพ์ที่อยู่ในยุคเดียวกับ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล กรุวัดเชิงท่า นนทบุรี กรุบางใหญ่ นนทบุรี หรือแม้แต่ วัดบ้านกลิ้ง อำเภอบางปะอิน อยุธยา และผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบทางด้านพุทธศิลปะและเนื้อผงต่างๆ มีลักษณะเดียวกับพระขุนแผนเคลือบในกรุดังที่กล่าวมา แต่ลักษณะของพระขุนแผนเคลือบ ของกรุกลางทุ่งมะขามหย่อง เนื้อจะมีสีค่อนข้างดำ แต่ดำไม่มากนัก สาเหตุเนื่องมาจากบริเวณทุ่งภูเขาทองและทุ่งมะขามหย่องในฤดูน้ำหลากจะมีน้ำท่วมทุกปี จึงเป็นสาเหตุให้ พระขุนแผนของกรุกลางทุ่งมะขามหย่อง จะมีผิวคล้ำไปบ้างเล็กน้อย เนื่องจากกรุถูกน้ำท่วม ส่วนด้านพุทธคุณ ซึ่งมีพระพุทธคุณสูงส่งเหมือนพระกรุ เช่น วัดใหญ่ชัยมงคล หรือกรุบ้านกร่าง ผู้ที่บูชาพระขุนแผน กรุทุ่งมะขามหย่อง จะมีเสน่ห์ เมตตามหานิยมแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายใดๆทั้งปวง เป็นพระกรุขุนแผนเคลือบอีกองค์หนึ่งที่ผู้นิยมพระเครื่อง ต้องนำติดตัวเพื่อความเป็นสิริมงคลทั้งปวง... |
ราคาเปิดประมูล | 10,000 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 20,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 1,000 บาท |
วันเปิดประมูล | อ. - 25 ต.ค. 2554 - 21:47.44 |
วันปิดประมูล | พ. - 26 ต.ค. 2554 - 22:19.18 |
ผู้ตั้งประมูล |
siamspirit
(8)
|
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 20,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) |
---|---|
ราคาประมูลด่วน | 20,000 บาท |
เพิ่มครั้งละ | 1,000 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...