ประมูล หมวด:พระสมเด็จทั่วไป
พระสมเด็จอุณาโลมพิมพ์ใหญ่ ไหมฟ้าเต็มองค์
ชื่อพระเครื่อง | พระสมเด็จอุณาโลมพิมพ์ใหญ่ ไหมฟ้าเต็มองค์ |
---|---|
รายละเอียด | พระสมเด็จอุณาโลม ไหมฟ้าเต็มองค์ มหาพิธีพุทธาภิเษก 7 วัน ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 5 – 11 ก.ค. 2519 ในวันที่ 12 กค. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ร.9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิม ทรงพระสุหร่าย สมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา 16.00 น. ณ พระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรฯและพระชุดนี้ยังได้เข้าพิธีปี 2522อีกครั้ง เมื่อครั้งทางวัดบวรนิเวศวิหารได้รื้อกระเบื้องมุงพระอุโบสถที่ชำรุดจนใช้การไม่ได้เพื่อเปลี่ยนใหม่นั้น ทางสภามหามกุฏฯได้ขอส่วนหนึ่งเก็บเอาไว้เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นมงคล ทั้งนี้เพราะพระอุโบสถเป็นที่กระทำสังฆกรรมและมีพิธีการต่างๆเป็นประจำ รังสีแห่งพลังจิตย่อมพวยพุ่งขึ้นจับอยู่ในทุกอณูของกระเบื้องเป็นแน่แท้.เมื่อได้รวบรวมอิทธิวัสดุไว้ได้พอสมควรแล้วทางสภามหามกุฏจึงกราบทูลขออัญเชิญพระบรมนามาภิไธยแห่งสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถมาประทับไว้ด้านหลังของพระนางพญาซึ่งทางสภามหามกุฏได้สร้างขึ้นพร้อมกับพระสมเด็จอุณาโลม.พระนางพญานี้ทางมหามกุฏได้ถวายพระนามว่า”พระนางพญา ส.ก.” และพระสามเหลี่ยมที่มีพระพุทธประทับนั่งบนอาสานะบัวสองชั้นว่า พระสมเด็จอุณาโลม โดยพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า”กระเบื้องมุงหลังคาพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้นน่าจะทำประโยชน์ได้บ้าง เนื่องจากเป็นของเก่า และสมเด็จพระสังฆราชเคยประทับอยู่วัดนี้ถึง ๓ พระองค์ หากนำไปทำพระผงคงจะดีไม่น้อย”. สำหรับวัตถุประสงค์ในการสร้างนั้นเพื่อนำรายได้จากการบูชาพระสมเด็จและนางพญา ส.ก.ไปใช้ในการศึกษาของพระและเณรที่วิทยาลัยสงฆ์ ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดอยุธยา ซึ่งมีความอัตคัต เนื่องจากวิทยาลัยสงฆ์นั้นอยู่ในที่ราบต่ำ น้ำท่วมทุกปี จึงต้องมีการขุดคันดินกั้นน้ำและยังต้องขุดสระเพื่อนำดินไปถมที่ ในหน้าแล้งน้ำในสระก็ใช้ไม่ได้เนื่องจากน้ำเปรี้ยว และการออกบิณฑบาตรก็ลำบาก เพราะอยู่ไกลจากชาวบ้าน.มูลนิธิส่งเสริมพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้เห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้สร้างสมเด็จนางพญา ส.ก.เพื่อนำรายได้ไปใช้ในกิจการนี้ โดยนำมาตั้งเป็นทุนมูลนิธีเพื่อนำดอกผลมาบำรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ และยังได้ขอพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไชยย่อ”ส.ก.”มาประดิษฐานไว้ด้านหลังของพระสมเด็จนางพญา ส.ก. พระนางพญา ส.ก.นั้นได้จำลองมาจากแบบมาจากพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ของกรุตาเถรขึงหนังสุโขทัย ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งมารวิชัย ด้านล่างมีอักขระขอมอยู่ว่า” เอ ตัง สะ ติง”อันเป็นหัวใจของกรณียเมตตาสูตร ด้านหลังเป็นพระบรมนามาภิไธยว่า ส.ก.อยู่ใต้พระมหามงกุฎ พระสมเด็จอุณาโลมนั้นด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิอยู่บนอาสนะบัวสองชั้นในทรงกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่วคล้ายพระสมเด็จจิตรลดา ด้านหลังมีอักขระจารึกว่า เอตังสะติง พะมะนะอะกะสะนะทะอะ สะ อะ ขนาดพระมีสองพิมพ์คือพิมพ์ใหญ่ สูง ๓ ซม. กว้าง ๒ ซม. หนา ๐.๕ ซม. ส่วนพิมพ์เล็กสูง ๒.๕ ซม. พระเครื่องพิมพ์นี้เป็นพระเครื่องเนื้อผงพุทธคุณ สีแบบอิฐเผา พิมพ์ได้จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ องค์ เมื่อสร้างเสร็จเป็นองค์พระแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีก ๗ วัน ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหารฯเมื่อวันที่ ๕–๑๑ กค.๒๕๑๙ รายนามพระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก ๑.วันจันทร์ ๕ กค. ๒๕๑๙ เวลา ๑๗.๐๐ น. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่ หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ฯ นครราชสีมา พระเทพวราลังการ(หลวงปู่ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย พระสุทธิสารโสภณ วัดศรีโพแท่น จ.เลย หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี โดยมีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพุทธมนต์ ๑๐รูป ๑.สมเด็จพระวันรัต วัดสังเวชวิศยาราม ๒.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา ๓.สมเด็จพระพุทธิวงศมุนี วัดเบญจมบพิธ ๔.พระพรหมคุณากรณ์ วัดสระเกศ ๕. พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม ๖.พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติการาม ๗.พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดปากน้ำ ๘.พระราชสารมุนี วัดเขมาภิรตาราม ๙.พระปริยัติเมธี วัดมกุฎกษัตริย์ ๑๐.พระอุดมศีลคุณ วัดบุรณศิริมาตยาราม ๒.วันอังคาร ๖ กค. ๒๕๑๙ พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย หลวงพ่อมา วัดวิเวกอาศรม ร้อยเอ็ด พระโพธิสังวรเถร(หลวงพ่อฑูรย์) วัดโพธินิมิต ธนบุรี พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง(ท่านผู้นี้ไม่ได้ เอนกายลงจำวัดเป็นเวลานานปี) ๓.วันพุธ ๗ กค. ๒๕๑๙ พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม กาฬสินธุ์ หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด หลวงพ่อชา วัดศรีแก่งคร้อ ชัยภูมิ หลวงพ่อชม วัดป่าบ้านบัวค่อม อุดรธานี หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต หลวงพ่อมา วัดวิเวกฯ ร้อยเอ็ด ๔.วันพฤหัสบดี ๘ กค.๒๕๑๙ พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์ หลวงพ่อจ้อย วัดสุวรรณประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี หลวงพ่อบุญรักษ์ วัดคงคาวดี สิชล นครศรีธรรมราช หลวงพ่อเหรียญ วัดป่าอรัญญบรรพต หนองคาย พระอาจารย์บัวพา วัดป่าพระสถิต หนองคาย ๕.วันศุกร์ ๙ กค.๒๕๑๙ พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา หลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว อุบลฯ หลวงพ่อพั่ว วัดบ้านนาเจริญ อุบลฯ พระอาจารย์สมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี หลวงพ่อจันทร์(อายุ ๑๐๒ปี) วัดนามะตูม ชลบุรี ๖.วันเสาร์ ๑๐ กค. ๒๕๑๙ สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธาราม อ่างทอง หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ๗.วันอาทิตย์ ๑๑ กค.๒๕๑๙ ตอนกลางวัน(เวลา ๑๓–๑๖ น.) หลวงปู่ธูป วัดสุทรธรรมทาน(วัดแค) กทม.นั่งปรกบริกรรมภาวนาเดี่ยว ๔ ชั่วโมงเต็ม ในตอนค่ำ สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา พระอาจารย์ผ่อง วัดสามปลื้ม กทม. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ ธนบุรี หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา กทม. พระครูสงัด วัดพระเชตุพนฯ กทม. ในวันที่ ๑๒ กค.๒๕๑๙ รายนามพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา ๑๐ รูป ในการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมสมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา ๑๖.๐๐ น. ณ พระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรฯ ๑.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชผติการาม ๒. พระสาสนโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส ๓. พระพุทธพจน์วราภรณ์ วัดราชบพิธ ๔. พระญาณวโรดม วัดบวรราชนิเวศ ๕.พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์ ๖.พระธรรมเสนานี วัดพระเชตุพนฯ ๗. พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาทสุนทริการาม ๘.พระเทพวราภรณ์ วัดบุรณศิริมาตยาราม ๙.พระเทพปัญญากวี วัดราชาธิวาส ๑๐. พระเทพกวี วัดบวรฯ ในพิธีพุทธาภิเษกทั้ง ๗ วันนั้นหลวงปู่โต๊ะปลุกเสกพิธีทั้ง ๗ วัน |
ราคาเปิดประมูล | 1,000 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 5,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 500 บาท |
วันเปิดประมูล | พ. - 19 เม.ย. 2560 - 10:23.56 |
วันปิดประมูล | อา. - 23 เม.ย. 2560 - 10:01.56 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 5,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
ราคาประมูลด่วน | 6,000 บาท |
เพิ่มครั้งละ | 500 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
3,000 บาท | พฤ. - 20 เม.ย. 2560 - 19:07.50 | |
3,500 บาท | ส. - 22 เม.ย. 2560 - 10:00.58 | |
4,000 บาท | ส. - 22 เม.ย. 2560 - 10:01.25 | |
4,500 บาท | ส. - 22 เม.ย. 2560 - 10:01.46 | |
5,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | ส. - 22 เม.ย. 2560 - 10:01.56 |
กำลังโหลด...