เหรียญสมโภช 100 ปี วัดมกุฎกษัตริย์ยาราม ปี 11 - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญสมโภช 100 ปี วัดมกุฎกษัตริย์ยาราม ปี 11

เหรียญสมโภช 100 ปี วัดมกุฎกษัตริย์ยาราม ปี 11 เหรียญสมโภช 100 ปี วัดมกุฎกษัตริย์ยาราม ปี 11
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญสมโภช 100 ปี วัดมกุฎกษัตริย์ยาราม ปี 11
รายละเอียดเหรียญสมโภช 100 ปี วัดมกุฎกษัตริย์ยาราม ปี 11
วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกมีอายุครบ 100 ปี แห่งการสถาปนา ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2511 
.....ประกอบกับ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2511 
.....ทางคณะกรรมการจัดงานฉลองจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดงานฉลองศุภวาระมหามงคลวโรกาสทั้ง 2 วาระเป็นงานเดียวกันระหว่าง วันที่ 15-18 มกราคม พ.ศ. 2511 
.....โดยคณะกรรมการมีมติว่าใน “ศุภวาระมงคลวโรกาส” ดังกล่าวจึงควรจัดสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบ พระพุทธรูป - พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ - เหรียญ สำหรับเป็นที่ระลึกและเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ศิษยานุศิษย์ ตลอดจนผู้เคารพนับถือทั่วไปมีไว้สักการบูชา .....โดยคณะกรรมการมีมติว่าใน “ศุภวาระมงคลวโรกาส” ดังกล่าวจึงควรจัดสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบ พระพุทธรูป - พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ - เหรียญ สำหรับเป็นที่ระลึกและเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ศิษยานุศิษย์ ตลอดจนผู้เคารพนับถือทั่วไปมีไว้สักการบูชา

***โลหะที่จะนำมาจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้นั้น คณะกรรมการมีแนวคิดว่าด้วยเหตุที่ วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นวัดที่ พระมหากษัตริย์ ทรงสร้างเป็น พระอารามหลวง และมีอายุการสร้างมายาวนานถึง 100 ปี ***โลหะที่จะนำมาจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้นั้น คณะกรรมการมีแนวคิดว่าด้วยเหตุที่ วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นวัดที่ พระมหากษัตริย์ ทรงสร้างเป็น พระอารามหลวง และมีอายุการสร้างมายาวนานถึง 100 ปี
.....ประกอบกับ “สมเด็จพระสังฆราช (จวน)” เจ้าอาวาสในขณะนั้นทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา อีกทั้งวัดมกุฏกษัตริยารามยังมิเคยจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อเป็นที่ระลึกทั้งในส่วนของพระอารามหรือส่วนพระองค์เลย ดังนั้นการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้จึงนับเป็นการสร้าง “ครั้งหนึ่งครั้งเดียว” จึงควรแสวงหา “โลหะวัตถุที่ดี ที่สุด” ในขณะนั้นมาเป็นเนื้อหาการจัดสร้าง
.....และโดยที่ทรงเป็น “สกลมหาสังฆปริณายก” พระราชา คณะหรือเจ้าคณะและเจ้าอาวาสรวมทั้งพระคณา จารย์ทั่วราช อาณาจักรกว่า 500 รูป ก็ยินดีถวายโลหะวัตถุที่ได้ปลุกเสกไว้แล้ว
.....รวมทั้งถวายแผ่นโลหะชนิดต่าง ๆ ที่มีการลงอักขระยันต์มาเป็นส่วนผสมอีกด้วย เพื่อให้วัตถุมงคลที่จัดสร้างครั้งนี้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกประการ
.....ซึ่งหลังจากรวบรวมโลหะวัตถุและแผ่นโลหะที่ลงอักขระยันต์ได้ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว คณะกรรมการจัดสร้างได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ก่อน
.....จากนั้นจึงนำไปประกอบพิธีเททองเฉพาะ “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” และนำเหรียญมาปลุกเสก ณ มณฑลพิธี หน้าพระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม

***พิธีเททองครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เวลา 13 นาฬิกา 15 นาที 
.....โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตเช่น
- หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ
- หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ
- หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี
- หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
- หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม
- หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร
- หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ จ.ราชบุรี
- หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา
- หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
- พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ฯลฯ เป็นต้น
.....โดยพิธีการจัดสร้างเป็นปฐมฤกษ์นั้นจะ มีเพียง “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่ง”
.....ส่วน “พระชัยวัฒน์” เป็นพิธีกรรมการจัดสร้างที่เรียกว่า “พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่สอง” โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเป็นองค์ประธานในการเททองหล่อด้วยพระองค์เอง 
.....ซึ่งเป็นการหล่อสืบเนื่องจากที่เสด็จพระราชดำเนินหล่อ “พระพุทธวชิรมงกุฏ” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” โดย “พระพุทธวชิรมงกุฏ” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” ที่หล่อเสร็จแล้วล่วงหน้าทางคณะกรรมการได้นำมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งที่สองนี้ อีกด้วย

***พิธีเททองครั้งที่ 2 นี้ ได้จัดประกอบพิธีในพระวิหาร วัดมกุฏกษัตริยาราม ถึง 3 วัน 3 คืนคือระหว่าง วันอังคารที่ 9 ถึงวันพฤหัส บดีที่ 11 มกราคม 2511
- โดยสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงจุดเทียนชัยเวลา 15.21 น. ในวันที่ 9 มกราคม 2511 
- แล้วเสด็จออกเททองหล่อ “พระชัยวัฒน์วชิรมงกุฏ” ในเวลา 15.29 น.
.....มีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญ พุทธาภิเษก อาทิ
- หลวงปู่นาควัดระฆังฯ กท.
- หลวง พ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
- หลวงพ่อเส่งวัดกัลยา กท.
- หลวงพ่อเส่งวัดกัลยา กท.
- หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอยสุพรรณบุรี
- พระอาจารย์ฟั่นอาจาโรวัดป่าอุดมสมพร
- หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูมชลบุรี
- หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่องเชียงใหม่
- หลวงพ่อพุธฐานิโย วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
- หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาดอุดรธานี
- หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าฯ ชลบุรี
- หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร
- หลวงปู่เทียม วัดกษัตราพระนครศรีอยุธยา
- พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ปัตตานี ฯลฯ เป็นต้น
ราคาเปิดประมูล119 บาท
ราคาปัจจุบัน129 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 03 ก.พ. 2560 - 10:27.17
วันปิดประมูล อ. - 07 ก.พ. 2560 - 02:54.59 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 129 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
129 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) จ. - 06 ก.พ. 2560 - 02:54.59
กำลังโหลด...
Top