พระชุดเบญจภาคี ภ.ป.ร. เฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี - webpra

ประมูล หมวด:วัตถุมงคล ร.5-ร.9

พระชุดเบญจภาคี ภ.ป.ร. เฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

พระชุดเบญจภาคี ภ.ป.ร. เฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระชุดเบญจภาคี ภ.ป.ร. เฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระชุดเบญจภาคี ภ.ป.ร. เฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระชุดเบญจภาคี ภ.ป.ร. เฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระชุดเบญจภาคี ภ.ป.ร. เฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
รายละเอียด วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างพระชุดนี้
1. เพื่อนำรายได้ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
2. เพื่อจัดสร้างอาคารเรียน จัดหาอุปกรณ์การศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ วังไกลกังวล เฉลิมพระเกียรติวิทยาเขตชะอำ
3. เพื่อจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพด้านสารสนเทศ และเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับประชาชนทั่วไปรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
4. เพื่อเป็นศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์ และสื่อการศึกษาสำหรับบริการหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สนับสนุนการศึกษา ุชุมชน แก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน และยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน

ปฐมเหตุการจัดสร้าง
ในปี พ.ศ.2530 ได้รับพระราชดำริจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ให้จัดตั้งโรงเรียนสารพัดช่างวังไกลกังวลขึ้น ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล
ปี พ.ศ.2542 นางปรียา ฉิมโฉม คหบดี อ.ชะอำ จ.ประจวบฯ ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินบ้านหนองจันทร์ ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดประจวบฯ ขนาดพื้นที่ 27 ไร่ 1 งาน 68 ตารางวา แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ท่านได้พระราชทานที่ดินผืนนี้ แก่มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อให้ประโยชน์ด้านการศึกษา นายขวัญแก้ว วัชโรทัย ประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมและคณะผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล มีดำริร่วมกันที่จะใช้สถานที่แห่งนี้จัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวลแห่งที่ 2 ขึ้น เพื่อให้เป็นอุทยานการศึกษาเป็นแหล่งประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ด้านการอาชีพแก่กุลบุตรกุลธิดา จะได้มีความรู้ไว้ประกอบสัมมาชีพ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมต่อไปในภายภาคหน้า
ทั้งเป็นการแบ่งเบาภาระของวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวลแห่งแรก ซึ่งขณะนี้ ทั้งขนาดพื้นที่ อาคารเรียน อุปกรณ์การศึกษา ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ไม่สามารถขยาย เพื่อรองรับความต้องการเข้าศึกษาของเยาวชนซึ่งมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ได้

ปี พ.ศ. 2549 เป็นปีมหามงคลของปวงชนชาวไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลก และในปี พ.ศ.2550 เป็นปีที่พระองค์ท่านจะมีพระชนมายุ 80 พรรษา จึงเป็น โอกาสสมควรยิ่งที่พสกนิการชาวไทยทั่วประเทศจะได้ถวายความจงรักภักดีร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์ เพื่อจัดสร้างอาคารเรียนของวิทยาลัยแห่งนี้ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล ได้จัดสร้างพระเครื่องยอดนิยม ชุด "พระเบญจภาคี ภ.ป.ร." ขึ้นเพื่อมอบให้กับผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์สร้างอาคารเรียนแห่งนี้ ทั้งนี้ ทางวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณสูงยิ่งโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ประดิษฐานที่ด้านหลัง พระเครื่องบูชาชุดนี้ทุกองค์จึงขอเชิญชวนพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าได้รวมพลังถวายความจงรักภักดี แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยการสั่งจองพระเครื่องบูชาชุด " พระเบญจภาคี ภ.ป.ร." นำรายได้จากการบริจาคไปจัดสร้างอาคารวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวลแห่งที่ 2 เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านให้ขจรขจายยิ่งๆ ขึ้นไป

พิธีมหาพุทธาภิเษก ในวันที่ 29 พ.ย.2549 เวลา 17.00 น. ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กทม. ซึ่งมีพระราชาคณะและเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศ อาทิ
1. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ กทม.
2. สมเด็จพระมหาธีรจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม กทม.
3. สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) วัดเทพศิรินทร์ กทม.
4. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) วัดสัมพันธวงศาราม กทม.
5. สมเด็จมหารัชมัคลาจารย์ (ช่วง วรปุณฺโณ) วัดปากน้ำ กทม.
6. หลวงปู่ทิม วัดพระขาว อยุธยา
7. หลวงพ่อรวย วัดตะโก อยุธยา
8. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว อยุธยา
9. หลวงพ่อพูล วัดบ้านแพน อยุธยา
10. หลวงพ่อเจือ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
11. หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เพชรบุรี
12. หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน นนทบุรี
13. หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา ชลบุรี
14. หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน อยุธยา
15. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม อยุธยา
16. หลวงพ่อทอง วัดพระธาตุจอมทอง เชียงใหม่
17. หลวงพ่อเนื่อง วัดระฆังโฆสิตาราม กทม.
18. หลวงพ่อทองสืบ วัดอินทรวิหาร กทม.
19. หลวงปู่แหวน วัดมหาธาตุ กทม.
20. หลวงพ่อธงชัย วัดไตรมิตร กทม.
21. หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย นนทบุรี
22. หลวงพ่อเก๋ วัดปากน้ำ ปทุมธานี
23. หลวงพ่อทองใบ วัดสายไหม ปทุมธานี
24. หลวงพ่อทองกลึง วัดเจดีย์หอย ปทุมธานี
25. หลวงพ่อวิเชียร วัดมูลจินดา ปทุมธานี
26.. หลวงพ่อทองหล่อ วัดคันลัด สมุทรปราการ
27. หลวงพ่อสมโภชน์ วัดแค สมุทรปราการ
28. หลวงพ่อจรัญ วัดบางพลีใหญ่ใน สมุทรปราการ
29. หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ อยุธยา
30. หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
31. หลวงพ่อสงวน วัดเสาธงทอง ลพบุรี
32. หลวงพ่อสมพร วัดป่าธรรมโสภณ ลพบุรี
33. หลวงพ่อป่วน วัดบรรหารแจ่มใส สุพรรณบุรี
34. หลวงพ่อสอิ้ง วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
35. หลวงพ่อสุนทร วัดเพชรสมุทร สมุทรสงคราม
36. หลวงพ่ออิฐ วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
37. หลวงพ่อแดง วัดอินทาราม สมุทรสงคราม
38. หลวงพ่อมาลัย วัดบางหญ้าแพรก สมุทรสงคราม
39. หลวงพ่อขาว วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา
40. หลวงพ่อสมศักดิ์ วัดโสธร ฉะเชิงเทรา
41. หลวงพ่อสมชาย วัดโพรงอากาศ ฉะเชิงเทรา
42. หลวงพ่อฉิ้น เมืองยะลา
43. หลวงพ่อกลัง เขาอ้อ
44. หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน พัทลุง
45. หลวงพ่อจ่าง วัดน้ำรอบ สุราษฏร์ธานี
46. หลวงพ่อบุญศรี วัดนาคาราม ภูเก็ต
47. หลวงพ่อเสนอ วัดตะโปทาราม ระนอง
48. หลวงพ่อห่วง วัดดอนกาหลง สตูล
49. หลวงพ่อนวน วัดประดิษฐานราม นครศรีธรรมราช
50. หลวงพ่อผัน วัดทรายขาว สงขลา
51. หลวงพ่ออุทธีร์ วัดเวฬุวัน ร้อยเอ็ด
52. หลวงพ่อเที่ยง วัดพระบาทเขากระโพง บุรีรัมย์
53. หลวงพ่อทองจันทร์ วัดคำแคน กาฬสิทธิ์
54. หลวงพ่อสมเกียรติ วัดมหาวนาราม อุบลราชธานี
55. หลวงพ่อไพรินทร์ วัดพระศรีมหาธาตุ พิษณุโลก
56. หลวงพ่อแขก วัดอรัญญิก พิษณุโลก
57. หลวงพ่อธงชั วัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่
58. หลวงพ่อสมพงศ์ วัดใหม่ปิ่นเกลียว นครปฐม
59. หลวงพ่อศรี วัดหน้าพระลาน สระบุรี
60. หลวงพ่อบุญธรรม วัดตะเคียน อ่างทอง
61. หลวงพ่อทอด วัดหนองสุ่ม สิ่งห์บุรี
62. หลวงพ่อประเทือง วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี
63. หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม นครปฐม
64. หลวงพ่อแก่น วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา
65. หลวงพ่อเกตุ วัดอุดมธานี นครนายก
66. พระครูอนุกูลพิศาลกิจ วัดบางพระ นครปฐม
67. พระครูเฉลียว วัดมหาธาตุ กทม.
68. พระครูประดิษฐ์นวกิจ วัดท่าตะคร้อ กาญจนบุรี
69. พระครูภาวนาวรกิจ วัดสันติคีรีศรีบรมธาตุ กาญจนบุรี

พระแต่ละองค์ถอดแบบมาจากพระเบญจภาคีองค์แชมป์ของกำนันชูชาติ โดยมิได้มีการตกแต่งแบบพิมพ์ใดๆ

มวลสารศักดิ์สิทธิ์จากวัดต้นกำเนิด ทั้ง 5 วัด และผงอิทธิเจ ปัตทะมัง จากเจ้าประคุณสมเด็จ
(เจ้าอาวาส ณ วัดต้นกำเนิด ชุด เบญจภาคี)
1. พระเทพวิสุทธิเมธี เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารม กรุงเทพ มวลสาร พระสมเด็จวัดระฆัง (พิมพ์ใหญ่)
2. พระครูสุจิต ธรรมวิมล เจ้าอาวาสวัดนางพญา จ.พิษณุโลก มวลสาร พระนางพญา (พิมพ์เข่าโค้ง)
3. พระครูพิศาลธรรมนิเทศก์ เจ้าอาวาสวัดมหาวัน จ.ลำพูน มวลสาร พระรอด (พิมพ์ใหญ่)
4. พระอาจารย์บุณภิสิทธิ์ สุทธิญาโณ เจ้าอาวาสวัดพิกุล จ.กำแพงเพชร มวลสาร พระกำแพงซุ้มกอ (พิมพ์ใหญ่)
5. พระมหาวิเชียร กลุยาโณ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี มวลสาร พระผงสุพรรณ (พิมพ์หน้าแก่)
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน2,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 01 ก.พ. 2560 - 22:51.48
วันปิดประมูล อ. - 14 ก.พ. 2560 - 22:56.20 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 2,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
150 บาท อา. - 05 ก.พ. 2560 - 08:11.12
200 บาท พฤ. - 09 ก.พ. 2560 - 17:58.05
2,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) จ. - 13 ก.พ. 2560 - 22:56.20
กำลังโหลด...
Top